ผู้จัดการรายวัน360- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ออกโรงแฉ 2 บริษัทลิสซิ่งชื่อดัง "เงินติดล้อ-เมืองไทยแคปปิตอล" คิดดอกเบี้ยโหดเกินกฎหมายกำหนดไว้ 15% ต่อปี หนุนฟ้องกลุ่ม ดำเนินคดี เอาผิดแพ่ง-อาญา พร้อมจี้รัฐเร่งจัดการแก้ปัญหาเชิงนโยบายด่วน ห่วงผู้เสียหายโดนยึดรถโดยไม่เป็นธรรม
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ ได้รับการติดต่อจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ว่ามีผู้เสียหายที่ทำสัญญากู้ยืมเงินกับบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และบริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กว่า 100 ราย โดยบริษัททั้งสองให้กู้ยืมเงิน โดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งผู้เสียหายได้ตั้งทนาย เพื่อดำเนินการฟ้องทั้งสองบริษัทเป็นคดีกลุ่มแล้ว ที่ศาลแพ่ง (รัชดาภิเษก) และศาลจังหวัดตลิ่งชัน โดยตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายและทนายความ ได้ร่วมกันแถลงข่าว เพื่อเตือนภัย และหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการปัญหาในเชิงนโยบายโดยด่วน พร้อมกับขอให้สองบริษัทดังกล่าว ยุติการเก็บดอกเบี้ยทันที เพราะเป็นการเก็บดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด
นายวิษณุ สนองเกียรติ ทนายความ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่า บริษัทให้กู้ยืมเงิน โดยมีการจำนำทะเบียนรถไว้ ซึ่งส่วนมากเป็นรถจักรยานยนต์ เงินต้นที่ผู้เสียหายกู้ ถูกบวกค่าธรรมเนียมและค่าประกันภัยแล้วไปตั้งเป็นเงินต้น โดยระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อเดือน 1.75 ต่อเดือน และ 2.50 ต่อเดือน ซึ่งรวมแล้วสูงถึงร้อยละ 18 ต่อปี ร้อยละ 21 ต่อปี และร้อยละ 30 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงต้องฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนที่ไปกู้ยืมเงินกับบริษัทนี้ ได้รับการคุ้มครองด้วย
"แม้การดำเนินธุรกิจเงินติดล้อ จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง หากเป็นหนี้ที่มีหลักประกัน ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า ร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถือว่าผิดกฎหมาย และดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายสามารถเรียกคืนได้"นายวิษณุกล่าว
นายศุภวุฒิ อยู่วัฒนา ทนายความที่ปรึกษากลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ กล่าวว่า กรณีของผู้เสียหายกลุ่มนี้ พบว่าบริษัทไม่ส่งมอบสัญญาให้ผู้กู้ และไม่แจ้งว่าคิดดอกเบี้ยเท่าไร แต่ใช้วิธีบอกว่า ผู้กู้ต้องคืนดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนเท่าไรแทน ในระยะเวลา 3 เดือน หากคำนวณดอกเบี้ย ร้อยละ 2.4 ต่อเดือน คิดเป็นกว่าร้อยละ 28 ต่อปี หากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินกู้ และดอกเบี้ยคืนได้ภายในกำหนด บริษัทจะดำเนินการยึดรถที่โอนลอยไว้ หรือเรียกให้ชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคืนโดยทันที
นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อ Car for cash นั้น ยังไม่พบว่าอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานใด หากผู้ประกอบธุรกิจการกู้ยืมเงิน ที่มีการจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ต้องใช้เกณฑ์ในการคิดดอกเบี้ย ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่คิดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจทั้งสองบริษัท อาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ และได้รับทราบว่า กระทรวงการคลัง กำลังจัดทำ (ร่าง) พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน พ.ศ. ... ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทกำหนดโทษหากผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น จึงขอเสนอให้กระทรวงการคลัง เร่งพิจารณากฎหมายดังกล่าวด้วย
นายประสิทธิ์ ป้องเศษ ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายที่กู้เงินกับ บริษัท เงินติดล้อ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2559 ได้กู้ยืมเงิน 10,000 บาท ทางบริษัทบังคับให้ทำประกันภัยรถจักรยานยนต์ โดยมีเบี้ยประกัน 926 บาท ได้รับเงินจริง 9,074 บาท แต่ในสัญญาระบุว่า กู้เงิน 10,926 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 ต่อเดือน เท่ากับ 30% ต่อปี และผ่อนชำระคืนเป็นรายงวด งวดละ 1,184 บาท ทั้งหมด 12 งวด เป็นเงินทั้งหมด 14,208 บาท และให้มอบคู่มือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน โดยได้ชำระเงินงวดแรกในเดือนมี.ค. ตามสัญญา 1,184 บาท แต่งวดที่สอง ไม่ได้ชำระ บริษัทได้ส่งหนังสือทวงถาม จึงไปชำระในเดือนพ.ค. บริษัทได้คิดค่าทวงถาม 100 บาท และคิดดอกเบี้ย 253.19 บาท ค่าธรรมเนียม 590.77 บาท ค่าปรับ 11.02 บาท รวมเป็นเงินชำระ 2,480 บาท จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ และชำระปิดบัญชีไป 12,600 บาท รวมชำระทั้งสิ้น 16,264 บาท
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ ได้รับการติดต่อจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ว่ามีผู้เสียหายที่ทำสัญญากู้ยืมเงินกับบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และบริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กว่า 100 ราย โดยบริษัททั้งสองให้กู้ยืมเงิน โดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งผู้เสียหายได้ตั้งทนาย เพื่อดำเนินการฟ้องทั้งสองบริษัทเป็นคดีกลุ่มแล้ว ที่ศาลแพ่ง (รัชดาภิเษก) และศาลจังหวัดตลิ่งชัน โดยตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายและทนายความ ได้ร่วมกันแถลงข่าว เพื่อเตือนภัย และหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการปัญหาในเชิงนโยบายโดยด่วน พร้อมกับขอให้สองบริษัทดังกล่าว ยุติการเก็บดอกเบี้ยทันที เพราะเป็นการเก็บดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด
นายวิษณุ สนองเกียรติ ทนายความ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่า บริษัทให้กู้ยืมเงิน โดยมีการจำนำทะเบียนรถไว้ ซึ่งส่วนมากเป็นรถจักรยานยนต์ เงินต้นที่ผู้เสียหายกู้ ถูกบวกค่าธรรมเนียมและค่าประกันภัยแล้วไปตั้งเป็นเงินต้น โดยระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อเดือน 1.75 ต่อเดือน และ 2.50 ต่อเดือน ซึ่งรวมแล้วสูงถึงร้อยละ 18 ต่อปี ร้อยละ 21 ต่อปี และร้อยละ 30 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงต้องฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนที่ไปกู้ยืมเงินกับบริษัทนี้ ได้รับการคุ้มครองด้วย
"แม้การดำเนินธุรกิจเงินติดล้อ จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง หากเป็นหนี้ที่มีหลักประกัน ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า ร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถือว่าผิดกฎหมาย และดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายสามารถเรียกคืนได้"นายวิษณุกล่าว
นายศุภวุฒิ อยู่วัฒนา ทนายความที่ปรึกษากลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ กล่าวว่า กรณีของผู้เสียหายกลุ่มนี้ พบว่าบริษัทไม่ส่งมอบสัญญาให้ผู้กู้ และไม่แจ้งว่าคิดดอกเบี้ยเท่าไร แต่ใช้วิธีบอกว่า ผู้กู้ต้องคืนดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนเท่าไรแทน ในระยะเวลา 3 เดือน หากคำนวณดอกเบี้ย ร้อยละ 2.4 ต่อเดือน คิดเป็นกว่าร้อยละ 28 ต่อปี หากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินกู้ และดอกเบี้ยคืนได้ภายในกำหนด บริษัทจะดำเนินการยึดรถที่โอนลอยไว้ หรือเรียกให้ชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคืนโดยทันที
นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อ Car for cash นั้น ยังไม่พบว่าอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานใด หากผู้ประกอบธุรกิจการกู้ยืมเงิน ที่มีการจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ต้องใช้เกณฑ์ในการคิดดอกเบี้ย ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่คิดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจทั้งสองบริษัท อาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ และได้รับทราบว่า กระทรวงการคลัง กำลังจัดทำ (ร่าง) พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน พ.ศ. ... ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทกำหนดโทษหากผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น จึงขอเสนอให้กระทรวงการคลัง เร่งพิจารณากฎหมายดังกล่าวด้วย
นายประสิทธิ์ ป้องเศษ ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายที่กู้เงินกับ บริษัท เงินติดล้อ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2559 ได้กู้ยืมเงิน 10,000 บาท ทางบริษัทบังคับให้ทำประกันภัยรถจักรยานยนต์ โดยมีเบี้ยประกัน 926 บาท ได้รับเงินจริง 9,074 บาท แต่ในสัญญาระบุว่า กู้เงิน 10,926 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 ต่อเดือน เท่ากับ 30% ต่อปี และผ่อนชำระคืนเป็นรายงวด งวดละ 1,184 บาท ทั้งหมด 12 งวด เป็นเงินทั้งหมด 14,208 บาท และให้มอบคู่มือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน โดยได้ชำระเงินงวดแรกในเดือนมี.ค. ตามสัญญา 1,184 บาท แต่งวดที่สอง ไม่ได้ชำระ บริษัทได้ส่งหนังสือทวงถาม จึงไปชำระในเดือนพ.ค. บริษัทได้คิดค่าทวงถาม 100 บาท และคิดดอกเบี้ย 253.19 บาท ค่าธรรมเนียม 590.77 บาท ค่าปรับ 11.02 บาท รวมเป็นเงินชำระ 2,480 บาท จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ และชำระปิดบัญชีไป 12,600 บาท รวมชำระทั้งสิ้น 16,264 บาท