นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รองประธาน สปท. และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศตัวว่าอยู่ระหว่างการตัดสินใจ จะลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคปชป. ว่า นายอลงกรณ์ พ้นจากสมาชิกภาพพรรคไปแล้ว ก็ต้องถือว่าไม่มีคุณสมบัติ แต่ถ้าอยากจะกลับเข้ามาได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรค ก็ต้องใช้เกณฑ์ที่เข้มกว่า อาจจะใช้จำนวน ส.ส. 40 คน และ สมาชิกอีกจำนวนหนึ่งรับรอง ซึ่งก็ต้องไปแก้ข้อบังคับพรรคก่อน และหากจะเป็นสมาชิกพรรคต้องเป็น 5 ปี
ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ปชป. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พรรคถูกแทรกแซงจาก คสช. โดยจะส่งนอมินี หวังเข้ามาเป็นหน.พรรค เพราะเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เป็นอุปสรรคต่อการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พวกเขาต้องการให้ปชป. เป็นพรรคสาขาหนึ่งของคสช. เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่น ที่ยอมสยบต่ออำนาจเผด็จการ เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการได้ตำแหน่งรัฐมนตรี ร่วมรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม คสช.คิดผิด ที่เชื่อว่าหากทำให้นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว การสืบทอดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ จะง่ายขึ้น เขาลืมไปว่า นอกจากนายอภิสิทธิ์แล้ว ยังมี นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และคนอื่นๆ ที่ล้วนแต่มีจุดยืนเดียวกับนายอภิสิทธิ์ ตามอุดมการณ์ของพรรค
"บางคนเป็นนอมินี รับหน้าที่เขาส่งมา เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดโอกาสให้แข่งขันทุกคน บางคนอย่าว่าแต่เป็นหัวหน้าพรรคเลย เป็นภารโรงพรรค ก็ยังไม่ได้ บางคนเชลียร์คณะรัฐประหาร คสช. อย่างน่าเกลียด แล้วยังมีหน้าจะมาขอเป็นหัวหน้าพรรคอีก บางคนถึงขนาดต้องลาออกจากพรรค ด่าพรรค ไปเอาตำแหน่งจากคสช. แล้วจะขอกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคหน้าตาเฉย " นายวัชระกล่าว
**"จ้อน" ยันไม่ได้เป็นนอมินี คสช.
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ถ้านายวัชระ หมายถึงตน ก็ต้องยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีคสช. หรือทหารคนไหนมาเกี่ยวข้อง มีแต่คนภายในพรรคปชป. ที่มาทาบทามตน และตนก็ยังไม่ได้ตัดสินใจแต่อย่างใด
ส่วนที่บอกว่าตนลาออกจากพรรค แล้วด่าพรรคเอาใจ คสช. เพื่อไปเอาตำแหน่งจากคสช.นั้น นายวัชระ คงลืมไปว่าตนเสนอให้มีการปฏิรูปพรรคปชป. ในช่วงที่ตนเป็นรองหัวหน้าพรรค ก็นำเสนอแนวทางการปฏิรูปพรรค วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ก่อนเกิดการรัฐประหาร กว่า 1 ปี ถ้าพรรคเชื่อตน ช่วยกันปฏิรูป ไม่บอยคอตเลือกตั้ง ก็คงไม่มีการรัฐประหาร และต้องสูญเสียประชาธิปไตยมาจนถึงวันนี้
ส่วนการลาออกจากพรรค ก็ตอนเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วยเหตุผลเชิงหลักการว่า การทำงานปฏิรูป ต้องเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สำหรับประเด็นการเอาใจ คสช.นั้น ระหว่างที่ตนเป็น สปช. ก็ลงมติสำคัญๆ สวนทางกับคสช. โดยเฉพาะร่าง กม.โฉนดชุมชน และร่าง รธน. ฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ตนก็โหวตรับ จนไม่คิดว่าจะได้มาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และยิ่งไม่คิดว่าจะได้รับเลือกจากสมาชิก ให้เป็นรองประธาน สปท. คนที่ 1 ช่วงเป็น สปช. และรองประธาน สปท. เกือบ 3 ปี ก็ไม่เคยไปพบไปหา คสช. ที่บ้าน หรือในค่ายทหารเป็นการส่วนตัวแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าตนอยากได้ตำแหน่ง อยากได้ผลประโยชน์ คงวิ่งเข้าไปรับใช้ใกล้ชิด และตอนยังเป็นรองประธาน สปท. ก็ประกาศวางมือการเมือง ขอทำงานปฏิรูปประเทศ ตั้งแต่ 13 เม.ย.59 ก่อนพ้นจากตำแหน่งถึง 1 ปี และไม่สะกิดใจหรือว่า ถ้าตนอยากได้ตำแหน่งทางการเมือง ทำไมจึงไม่มีชื่อตนไปเป็นแกนนำพรรคต่างๆที่จัดตั้ง และประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งที่เป็นนักการเมืองคนเดียว ที่มีตำแหน่งสูงสุดในแม่น้ำ 5 สาย นายวัชระ ต้องหัดมองคนอย่างเข้าใจ และพูดความจริง มิใช่กล่าวหาใส่ร้ายสาดโคลน แบบการเมืองเก่าๆ ซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนาของประชาชน และเชื่อว่าสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ ก็ไม่เห็นด้วยกับการเมืองสไตล์นี้ เพราะมีแต่ทำให้พรรคตกต่ำ
"ผมฝากถึงท่านอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคบางท่านว่า จะปฏิรูปพรรค ต้องเปิดใจกว้าง อย่าให้ลูกพรรคดิสเครดิตทำลายชื่อเสียงกีดกัน กันตั้งแต่ไก่โห่แบบนี้ ทั้งที่ผมยังไม่ตัดสินใจจะลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต้องคิดว่า ยิ่งมีคนสนใจลงสมัคร ไม่ว่าคนใน หรือคนนอก ยิ่งดีต่อพรรค เพราะสมาชิกจะได้มีผู้นำพรรคให้เลือกหลายคน" นายอลงกรณ์ กล่าว
ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ปชป. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พรรคถูกแทรกแซงจาก คสช. โดยจะส่งนอมินี หวังเข้ามาเป็นหน.พรรค เพราะเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เป็นอุปสรรคต่อการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พวกเขาต้องการให้ปชป. เป็นพรรคสาขาหนึ่งของคสช. เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่น ที่ยอมสยบต่ออำนาจเผด็จการ เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการได้ตำแหน่งรัฐมนตรี ร่วมรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม คสช.คิดผิด ที่เชื่อว่าหากทำให้นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว การสืบทอดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ จะง่ายขึ้น เขาลืมไปว่า นอกจากนายอภิสิทธิ์แล้ว ยังมี นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และคนอื่นๆ ที่ล้วนแต่มีจุดยืนเดียวกับนายอภิสิทธิ์ ตามอุดมการณ์ของพรรค
"บางคนเป็นนอมินี รับหน้าที่เขาส่งมา เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดโอกาสให้แข่งขันทุกคน บางคนอย่าว่าแต่เป็นหัวหน้าพรรคเลย เป็นภารโรงพรรค ก็ยังไม่ได้ บางคนเชลียร์คณะรัฐประหาร คสช. อย่างน่าเกลียด แล้วยังมีหน้าจะมาขอเป็นหัวหน้าพรรคอีก บางคนถึงขนาดต้องลาออกจากพรรค ด่าพรรค ไปเอาตำแหน่งจากคสช. แล้วจะขอกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคหน้าตาเฉย " นายวัชระกล่าว
**"จ้อน" ยันไม่ได้เป็นนอมินี คสช.
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ถ้านายวัชระ หมายถึงตน ก็ต้องยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีคสช. หรือทหารคนไหนมาเกี่ยวข้อง มีแต่คนภายในพรรคปชป. ที่มาทาบทามตน และตนก็ยังไม่ได้ตัดสินใจแต่อย่างใด
ส่วนที่บอกว่าตนลาออกจากพรรค แล้วด่าพรรคเอาใจ คสช. เพื่อไปเอาตำแหน่งจากคสช.นั้น นายวัชระ คงลืมไปว่าตนเสนอให้มีการปฏิรูปพรรคปชป. ในช่วงที่ตนเป็นรองหัวหน้าพรรค ก็นำเสนอแนวทางการปฏิรูปพรรค วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ก่อนเกิดการรัฐประหาร กว่า 1 ปี ถ้าพรรคเชื่อตน ช่วยกันปฏิรูป ไม่บอยคอตเลือกตั้ง ก็คงไม่มีการรัฐประหาร และต้องสูญเสียประชาธิปไตยมาจนถึงวันนี้
ส่วนการลาออกจากพรรค ก็ตอนเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วยเหตุผลเชิงหลักการว่า การทำงานปฏิรูป ต้องเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สำหรับประเด็นการเอาใจ คสช.นั้น ระหว่างที่ตนเป็น สปช. ก็ลงมติสำคัญๆ สวนทางกับคสช. โดยเฉพาะร่าง กม.โฉนดชุมชน และร่าง รธน. ฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ตนก็โหวตรับ จนไม่คิดว่าจะได้มาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และยิ่งไม่คิดว่าจะได้รับเลือกจากสมาชิก ให้เป็นรองประธาน สปท. คนที่ 1 ช่วงเป็น สปช. และรองประธาน สปท. เกือบ 3 ปี ก็ไม่เคยไปพบไปหา คสช. ที่บ้าน หรือในค่ายทหารเป็นการส่วนตัวแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าตนอยากได้ตำแหน่ง อยากได้ผลประโยชน์ คงวิ่งเข้าไปรับใช้ใกล้ชิด และตอนยังเป็นรองประธาน สปท. ก็ประกาศวางมือการเมือง ขอทำงานปฏิรูปประเทศ ตั้งแต่ 13 เม.ย.59 ก่อนพ้นจากตำแหน่งถึง 1 ปี และไม่สะกิดใจหรือว่า ถ้าตนอยากได้ตำแหน่งทางการเมือง ทำไมจึงไม่มีชื่อตนไปเป็นแกนนำพรรคต่างๆที่จัดตั้ง และประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งที่เป็นนักการเมืองคนเดียว ที่มีตำแหน่งสูงสุดในแม่น้ำ 5 สาย นายวัชระ ต้องหัดมองคนอย่างเข้าใจ และพูดความจริง มิใช่กล่าวหาใส่ร้ายสาดโคลน แบบการเมืองเก่าๆ ซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนาของประชาชน และเชื่อว่าสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ ก็ไม่เห็นด้วยกับการเมืองสไตล์นี้ เพราะมีแต่ทำให้พรรคตกต่ำ
"ผมฝากถึงท่านอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคบางท่านว่า จะปฏิรูปพรรค ต้องเปิดใจกว้าง อย่าให้ลูกพรรคดิสเครดิตทำลายชื่อเสียงกีดกัน กันตั้งแต่ไก่โห่แบบนี้ ทั้งที่ผมยังไม่ตัดสินใจจะลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต้องคิดว่า ยิ่งมีคนสนใจลงสมัคร ไม่ว่าคนใน หรือคนนอก ยิ่งดีต่อพรรค เพราะสมาชิกจะได้มีผู้นำพรรคให้เลือกหลายคน" นายอลงกรณ์ กล่าว