นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง"พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ประชาชนได้ประโยชน์ ?" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3–4 ก.ย.61 จากประชาชน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ... พบว่า
เมื่อถามถึงผลดีหรือผลเสีย ต่อประชาชนที่ ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ เอื้อประโยชน์ให้วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพ สามารถเปิดร้านขายยาได้เหมือนกับเภสัชกร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.20 ระบุว่า ส่งผลเสีย เพราะวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพไม่มีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ เท่ากับเภสัชกร ที่จบมาเฉพาะด้าน ร้อยละ 46.48 ระบุว่า ส่งผลดี เพราะจะได้มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพก็มีความรู้ความสามารถ ไม่น้อยกว่าเภสัชกร
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับยาที่ควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.08 ระบุว่า การขายยาทางออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 15.92 ระบุว่า การให้วิชาชีพอื่นสามารถเปิดร้านขายยาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ร้อยละ 13.12 ระบุว่า การโฆษณายาอันตราย ร้อยละ 12.80 ระบุว่า การผสมยาถือเป็นการผลิตยาใหม่ต้องมีการควบคุมเข้มงวด ร้อยละ 12.16 ระบุว่า การขายยาชุด ยาแบ่งขาย ร้อยละ 10.80 ระบุว่า การจัดประเภทของยาตามหลักสากล คือ จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร ยาสามัญที่ประชาชนซื้อได้เอง
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อบุคลากรวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพว่าจะสามารถจ่ายยา/ขายยาได้เทียบเท่ากับเภสัชกร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.00 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น เพราะ เภสัชกรมีความรู้ ความชำนาญมากกว่าบุคลากรวิชาชีพอื่น ในสายสุขภาพ เนื่องจากเรียนตรงตามหลักสูตรและตรงกับสายงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทางในการแนะนำหรือจ่ายยา รองลงมา ร้อยละ 29.44 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ บุคลากรวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพ มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับเภสัชกร
เมื่อถามถึงการยอมรับให้วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพสามารถจ่ายยา/ขายยา โดยไม่มีเภสัชกรควบคุม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.04 ระบุว่า ยอมรับไม่ได้ เพราะ ผู้ที่จะจ่ายยาได้นั้นต้องเป็นเภสัชกร หรือมีเภสัชกรคอยควบคุมการจ่ายยา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีความมั่นใจ หากเป็นวิชาชีพอื่นที่ไม่ได้จบเฉพาะทาง ไม่มีความเชี่ยวชาญเทียบเท่าเภสัชกร อาจจะจ่ายยาไม่ตรงกับโรคที่เป็นหรือจ่ายยาผิด รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ยอมรับได้ เพราะ เป็นการเปิดกว้างในด้านอาชีพมากขึ้น
เมื่อถามถึงผลดีหรือผลเสีย ต่อประชาชนที่ ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ เอื้อประโยชน์ให้วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพ สามารถเปิดร้านขายยาได้เหมือนกับเภสัชกร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.20 ระบุว่า ส่งผลเสีย เพราะวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพไม่มีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ เท่ากับเภสัชกร ที่จบมาเฉพาะด้าน ร้อยละ 46.48 ระบุว่า ส่งผลดี เพราะจะได้มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพก็มีความรู้ความสามารถ ไม่น้อยกว่าเภสัชกร
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับยาที่ควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.08 ระบุว่า การขายยาทางออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 15.92 ระบุว่า การให้วิชาชีพอื่นสามารถเปิดร้านขายยาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ร้อยละ 13.12 ระบุว่า การโฆษณายาอันตราย ร้อยละ 12.80 ระบุว่า การผสมยาถือเป็นการผลิตยาใหม่ต้องมีการควบคุมเข้มงวด ร้อยละ 12.16 ระบุว่า การขายยาชุด ยาแบ่งขาย ร้อยละ 10.80 ระบุว่า การจัดประเภทของยาตามหลักสากล คือ จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร ยาสามัญที่ประชาชนซื้อได้เอง
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อบุคลากรวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพว่าจะสามารถจ่ายยา/ขายยาได้เทียบเท่ากับเภสัชกร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.00 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น เพราะ เภสัชกรมีความรู้ ความชำนาญมากกว่าบุคลากรวิชาชีพอื่น ในสายสุขภาพ เนื่องจากเรียนตรงตามหลักสูตรและตรงกับสายงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทางในการแนะนำหรือจ่ายยา รองลงมา ร้อยละ 29.44 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ บุคลากรวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพ มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับเภสัชกร
เมื่อถามถึงการยอมรับให้วิชาชีพอื่นในสายสุขภาพสามารถจ่ายยา/ขายยา โดยไม่มีเภสัชกรควบคุม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.04 ระบุว่า ยอมรับไม่ได้ เพราะ ผู้ที่จะจ่ายยาได้นั้นต้องเป็นเภสัชกร หรือมีเภสัชกรคอยควบคุมการจ่ายยา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีความมั่นใจ หากเป็นวิชาชีพอื่นที่ไม่ได้จบเฉพาะทาง ไม่มีความเชี่ยวชาญเทียบเท่าเภสัชกร อาจจะจ่ายยาไม่ตรงกับโรคที่เป็นหรือจ่ายยาผิด รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ยอมรับได้ เพราะ เป็นการเปิดกว้างในด้านอาชีพมากขึ้น