ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาทางด้านอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการบริการประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกคำแนะนำในด้านโภชนาการใหม่ว่า...
“ระดับของคอเลสเตอรอลในอาหารไม่ได้มีความสัมพันธ์ว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ” [1]
คำแนะนำดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาหารและยาที่มีผลทำให้ ”คอเลสเตอรอลลดลง”นั้น ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบในการทำให้ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอีกต่อไปแล้ว
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญดังกล่าวนี้ เป็นผลทำให้กลุ่มทุนในธุรกิจไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว) และกลุ่มทุนธุรกิจยาลดคอเลสเตอรอล ซึ่งมียุทธศาสตร์ทางธุรกิจตรงกันในการลดคอเลสเตอรอลย่อมถูกตั้งคำถามและข้อสงสัยจากประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ย้อนกลับไปที่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ “ร้ายแรงมากกว่า”อยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
ในประเด็นหลังที่ว่าร้ายแรงนัก เพราะหมายความว่าถ้าคนๆหนึ่งอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วคอเลสเตอรอลลดลงแค่ปีละ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คนๆนั้นมีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมภายใน 5 ปี หรือเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายในไม่เกิน 3 ปีครึ่งเท่านั้น
งานวิจัยชิ้นนี้ได้แสดงถึงความเอาแน่เอานอนไม่ได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับคอเลสเตอรอลกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจของแต่ละช่วงวัยที่ไม่เหมือนกัน
เพราะถ้าคอเลลสเตอรอลสูงคือดัชนีชี้วัดโรคหัวใจจริงๆ ทำไมหลักการนี้กลับมีผลตรงกันข้ามกับผู้สูงวัย (คอเลสเตอรอลลดลงกลับตายเร็วขึ้น) ทั้งๆที่อุบัติการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก็เกิดขึ้นมากในผู้สูงวัยด้วย !?
งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เร่ิมเกิดข้อสงสัยไปทั่วโลกว่า “สมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลสูง” เป็นดัชนีชี้วัดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น เป็นสมมุติฐานที่หลงประเด็นหรือไม่?
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่าข้อมูลงานวิจัยช้ินสำคัญระดับตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 แต่กว่าที่คำแนะนำในการโภชนาการของชาวอเมริกันที่จะออกมา ยอมรับว่าคอเลสเตอรอลในอาหารไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจคือปี พ.ศ. 2558
นั่นหมายความว่ากว่าที่จะมีการเปลี่ยนคำแนะนำในเรื่องระดับคอเลสเตอรอลกับการโภชนาการ ต้องใช้เวลาถึง 28 ปีนับจากนั้น ลองคิดดูว่าอิทธิพลของธุรกิจที่เกี่ยวกับการลดคอเลสเตอรอล ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลืองและข้าวโพด) และธุรกิจยาลดคอเลสเตรอล จะทำกำไรไปอย่างมหาศาลเพียงใดในช่วงเวลาที่ผ่านมาจากความเข้าใจผิดเรื่องสมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลในอาหารสูง
เช่นเดียวกันกับประเด็น “ไขมันทรานส์”ที่เกิดขึ้นเพราะถูกหลอกว่า “ไขมันอิ่มตัว”พวกเนย ชีส น้ำมันมะพร้าวเป็นของไม่ดี จึงนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเติมไฮโดเจนบางส่วนเพื่อมาแทนกลุ่มชีสและเนย ประชาชนจึงหลงเชื่อหันมากินไขมันทรานส์ทั่วโลก
ซึ่งไขมันทรานส์นี้ก็เป็นผลิตผลจากการดัดแปลงมาจากไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งก็ส่งผลทำให้ถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ตัดแต่งพันธุกรรมทั้งหลายขายดิบขายดียิ่งร่ำรวยอย่างมหาศาล ท่ามกลางการอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก
กว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต้องใช้เวลานานมากไม่ต่ำกว่า 20 ปี ทั้งๆที่งานวิจัยที่เริ่มเปิดโปงความเลวร้ายของไขมันทรานส์ชิ้นสำคัญและมีน้ำหนักนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยวารสารทางการแพทย์ The New England Journal of Medicine ได้เผยแพร่ผลการวิจัยในผู้หญิงจำนวน 80,082 อายุระหว่าง 34 - 59 ปี ในการศึกษาของ Nurses' Health Study โดยติดตามผล 14 ปี พบเรื่องสำคัญว่าคนที่กินไขมันทรานส์เพิ่มขึ้นทุกๆ 2% ของพลังงานเทียบกับคาร์โบไฮเดรต จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้นถึง 93% [3]
บทเรียนความล่าช้าในการเปลี่ยนแปลงเรื่องคอเลสเตอรอล และไขมันทรานส์สอนให้รู้ว่า ถ้าประชาชนและผู้บริโภคยังรอให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐในประกาศการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มทุน (หรือต้องรอองค์กรต่างชาติหรือมหาอำนาจเป็นผู้ประกาศเปลี่ยนนโยบายด้านอาหาร) ประชาชนตาดำๆก็อาจจะต้องป่วยและเสียชีวิตไปอีก 20-30 ปีก่อน จึงจะมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงในระดับนโยบายภาครัฐ
และประชาชนที่จะรอดก็คือผู้ที่ติดตามงานวิจัยอย่างใกล้ชิดและรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมจากงานวิจัยได้ก่อนการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายภาครัฐ
ตัวอย่างงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชี้นหนึ่งก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ซ่อนเร้นบอกความจริงไม่หมดทำให้คนทั่วโลกหลงประเด็นเรื่องคอเลสเตอรอลมานานแสนนาน แต่เพิ่งทราบความจริงที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เช่นกัน
งานวิจัยชิ้นที่กล่าวถึงนี้มีความน่าเชื่อถือและมีอิทธิพลทำให้เกิดความหวาดกลัวและเข้าใจผิดอย่างมหันต์ว่าไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และเป็นผลทำให้มนุษยชาติหันมาใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร นั่นก็คืองานวิจัยการทดลองโรคหลอดเลือดหัวใจของมลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516
งานวิจัยที่ว่าน่าเชื่อถือนี้ก็เพราะงานวิจัยดังกล่าวได้ใช้การสำรวจกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ถึง 9,423 คน และบางทีอาจจะเป็นงานวิจัยในมนุษย์ที่ใช้ประชากรมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในการ “ลดคอเลสเตอรอล” ด้วยการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวประเภทที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก หรือที่เรียกว่า ไขมันโอเมก้า 6 มาบริโภคทดแทนไขมันอิ่มตัวมากขึ้น ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานในการรณรงค์ให้ประชากรโลกมาบริโภคกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อ “ลดคอเลสเตอรอล” มาเป็นเวลาประมาณ 45 ปีที่ผ่านมา
“กินไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้คอเลสเตอรอลลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม” [4]
ความจริงครึ่งแรกนี้ได้ถูกนำมาใช้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในโลกใบนี้หันมาเปลี่ยนใช้ไขมันไม่อิ่มตัวมานานถึง 45 ปี และบริษัทขายยาลดคอเลสเตอรอลก็ได้พ่วงกระแสการกลัวคอเลสเตรอลสูงไปด้วย เรียกได้ว่ารวยกันทั้งไขมันไม่อิ่มตัวและบริษัทขายยาลดคอเลสเตอรอล
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ไม่ถูกเปิดเผยตลอด 45 ปีที่ผ่านมาในงานวิจัยชิ้นเดียวกัน คือคอเลสเตอรอลที่ลดลงทุกๆ 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 22%!!!!
ความจริงครึ่งหลังที่ว่าคอเลสเตอรอลที่ลดลงจากการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เพิ่งจะมีการเปิดเผยความจริงนี้ในวารสารทางการแพทย์ชั้นแนวหน้าของอังกฤษ บีเอ็มเจ (BMJ Journals)โดยคณะของ ดร.คริสโตเฟอร์ อี. รัมส์เดน เมื่อปี พ.ศ.2559 นี้เอง
แม้การเปิดเผยความจริงครั้งนี้จะผ่านไปแล้ว 2 ปีกว่า แต่จะมีคนไทยสักกี่คนรู้ว่าคนที่คอเลสเตอรอลลดลงจากการกินไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น?
และถ้าใครจะรอให้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยประกาศตามนโยบายของประเทศมหาอำนาจที่ครองตลาดถั่วเหลืองและข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรม ก็อาจจะต้องรอไปอีกไม่ต่ำกว่า 20 - 30 ปี และเชื่อว่าคนเหล่านั้นก็อาจจะเสียชีวิตไปก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหมือนกับ “เหยื่อชีวิตที่สังเวยไขมันทรานส์”เช่นกัน
การทบทวนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การหันมากินไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแต่ประการใด
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังได้กล่าวถึงการวิเคราะห์อภิมานจากการทบทวน 5 งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 10,808 ราย สรุปได้ว่าไม่พบประโยชน์ใดๆต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งนี้เมื่อมีการวิเคราะห์แยกรายละเอียดของการทดลองของมลรัฐมินิโซต้าก็จะพบว่า
(1) กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำจะมีสัดส่วนการเสียชีวิตสะสมน้อยกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง (เล็กน้อย) หรือแทบไม่แตกต่างกัน
(2) ผลจะเกิดตรงกันข้ามในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำอันเป็นผลมาจากการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัว จะมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูงอย่างเห็นได้ชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 1 [4]

สิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากงานวิจัยข้างต้นได้ผลตรงกันว่าผู้ที่สูงวัยคอเลสเตอรอลลดลงหรือแม้แต่แอลดีแอลลดลงก็ไม่ใช่สัญญาณชีพที่ดี และหมายถึงว่าผู้ที่สูงวัยแล้วมีคอเลสเตอรอลลดลงจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมสูงเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความจริงอีกด้านหนึ่งที่พบจากงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวกับโรคตามวัย Aging and Disease เมื่อปี พ.ศ. 2556 พบความสัมพันธ์ของคอเลสเตอรอลกับผู้สูงวัยใน 10 ประเทศตรงกันว่า ผู้สูงวัยยิ่งสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่ หรือใกล้วันหมดอายุขัยเท่าไหร่ กลับสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลง หรือแม้แต่แอลดีแอลก็สังเคราะห์ได้ลดลงด้วย [5] ดูภาพประกอบที่ 2

สำทับด้วยงานวิจัยอย่างเป็นระบบในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ เมื่อปี พ.ศ. 2559 พบว่าสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว คนที่มีไขมันแอลดีแอล (ที่มักเรียกว่าไขมันตัวเลว)อยู่ในระดับสูงกลับมีความเสี่ยงการเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่มีไขมันแอลดีแอลต่ำ [6]
คำถามคือผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลลดลงเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นจริงหรือไม่ และคนสูงวัยที่คอเลสเตอรอลลดลงเขาเสี่ยงชีวิตด้วยโรคอะไร?
งานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีปรากฏอย่างเห็นในวารสารทางการแพทย์ของสแกนดิเนเวียน Scandinavian Journal of Primary Health Care ซึ่งเคยเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าผลการติดตามกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุเกินกว่า 75 ปีขึ้นไป ติดตามผลเป็นเวลา 6 ปี ปรากฏว่า คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงกว่า 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอายุยืนกว่ากลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 3 [7]

โดยกลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 57%
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหัวใจ “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 41 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 55 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 54 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็ง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 50 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 49 %
แสดงให้เห็นว่าผู้สูงวัยขาดคอเลสเตอรอลไม่ได้ และการลดลงของคอเลสเตอรอลคือสัญญาณอายุขัยที่นับถอยหลัง ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย
ทั้งนี้คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย เช่น มาจากตับ สมอง และผนังหลอดเลือด (atheroma) ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต อวัยวะสืบพันธุ์
ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นนวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด และใช้คอเลสเตอรอลเป็นผนังหุ้มเซลล์ เป็นฉนวนหุ้มปลายประสาท
ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดอักเสบเกิดบาดแผล เช่น จากการบริโภคน้ำตาลมาก หรือไขมันไม่อิ่มตัวผัดทอดมาก) ร่างกายจะต้องส่งไขมันและโปรตีนมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหายที่เรียกว่า แอลดีแอล (LDL) ซึ่งเรามักจะประณามคอเลสเตอรอลที่มาทำหน้าที่ซ่อมแซมผนังหลอดเลือดว่าเป็นไขมันเลว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไขมันตามหลอดเลือดนั้นเป็นปลายเหตุ แต่ต้นเหตุมาจากอาหารที่เรานำใส่ปากนั่นเอง
เฉพาะคิดถึงเรื่องบทบาทหน้าที่ของคอเลสเตอรอลในการเป็น “ผนังหุ้มเซลล์”ก็น่าจะพิจารณาต่อว่า คอเลสเตอรอลมีความจำเป็นในการใช้เพื่อเยียวยาและซ่อมและสร้างทุกเซลล์ที่เสื่อมสภาพลงไป ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันกับหางโครโมโซมที่เรียกว่า “เทโลเมียร์” จะสั้นลงไปเรื่อยๆทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์เสมอ
และเมื่อมีการแบ่งเซลล์ก็ต้องมีผนังหุ้มเซลล์อีกเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อสูงวัยมากขึ้นเทโลเมียร์สั้นลง การแบ่งเซลล์และซ่อมเซลล์ก็ลดลง รวมถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลก็ต้องลดลงไปด้วยตามธรรมชาติ ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนต้านการอักเสบ เยื่อหุ้มเซลล์ วิตามินดี ฉนวนหุ้มปลายประสาท ที่มาใช้คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบก็ต้องลดลงไปด้วย ดังนั้นสัญญาณการลดลงของคอเลสเตอรอลของผู้สูงวัยก็อาจจะเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการชราภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ลองคิดดูถึงเหตุการณ์ที่ว่าหลอดเลือดเกิดความเสียหายจากการบริโภคน้ำตาลมาก แป้งขัดขาวมาก และไขมันไม่อิ่มตัวมาก (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)[8] ไม่ว่าจะผลิตคอเลสเตอรอลได้มากหรือน้อยการอักเสบก็ยังอยู่ที่เดิม จริงหรือไม่?
เพียงแต่ว่าถ้าอายุน้อยการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลยังสูง หางโครโมโซมหรือเทโลเมียร์ก็ยังยาวอยู่ก็อาจเกิดการซ่อมแซมเซลล์ได้มาก แต่ถ้าอายุมากขึ้นร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลงควบคู่ไปกับหางโครโมโซมสั้นลงแล้ว ก็เป็นดัชนีแสดงให้เห็นว่าการซ่อมเซลล์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น การอักเสบหรือบาดแผลถูกเยียวยาได้น้อยในภาวะที่คอเลสเตอรอลลดลง
การอักเสบของหลอดเลือดนั้นทำให้ “ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น” ซึ่งอาจจะเป็นคนละเรื่องกับระดับคอเลสเตอรอลหรือแอลดีแอล (LDL)ในกระแสเลือด เพราะร่างกายจะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและแอลดีแอลได้มากเมื่อวัยหนุ่มสาว และสังเคราะห์ทั้งคอเลสเตอรอลและแอลดีแอลได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นโดยธรรมชาติ
แต่เมื่อใดก็ตามที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและยังซ่อมแซมเซลล์ไม่เสร็จหรือซ่อมได้ช้าลงเพราะสูงวัยมากขึ้น เอชดีแอล (HDL)ซึ่งถูกเรียกว่าไขมันตัวดีก็จะถูกตับสังเคราะห์น้อยลงเพื่อให้ไขมันแอลดีแอล (LDL)ยังคงพอกอยู่ที่หลอดเลือดต่อไปโดยไม่ต้องถูกเอชดีแอล (HDL) นำไขมันตามร่างกายและหลอดเลือดส่งกลับไปที่ตับในระหว่างการซ่อมเซลล์นั้น
ทั้งนี้การบริโภคแป้งขัดขาว และน้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น [9] ก็เพราะเกิดการอักเสบของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ผนังหลอดเลือดย่อมหนาตัวขึ้น ความดันโลหิตก็ย่อมต้องสูงขึ้น
ส่วนไขมันไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)ไขมันกลุ่มนี้มีกรดไขมันไลโนเลอิกหรือไขมันโอเมก้า 6 มาก แต่เนื่องจากความไม่อิ่มตัวของไขมันนี้เองจึงเป็นไขมันที่เกิดอนุมูลอิสระง่ายและเป็นพิษต่อเซลล์ [10]
อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัวส่วนใหญ่ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว) จะถูกบริโภคในรูปของการใช้ผัดทอดด้วยความร้อน ซึ่งจากงานวิจัยในวารสารด้านวัสดุอันตรายอย่าง Journal of Hazardous Materials เมื่อปี พ.ศ. 2560 พบว่าการใช้ “น้ำมันไม่อิ่มตัว” มาทอดกับเนื้อหมูและมันฝรั่งจะเกิดควันที่มีสารอัลดีไฮด์สูงกว่าไขมันอิ่มตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการทอดแบบน้ำมันท่วม จนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัวให้น้อยลง [11] ซึ่งสารอัลดีไฮด์นี้มีงานวิจัยระบุด้วยว่าเป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุของหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจ โรคตับ ฯลฯ [12]
สารอัลดีไฮด์ที่เกิดจากการผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัวตามงานวิจัยข้างต้นนั้น สอดคล้องกับข่าวก่อนหน้านั้นที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ เดอะ เทเลกราฟ เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ได้รายงานการทดลองของ ศาสตราจารย์ มาร์ติน กรูทวีลด์ จากมหาวิทยาลัยเดอ มงฟอร์ต ประเทศอังกฤษ ที่ได้นำน้ำมันแต่ละชนิดมาผัดทอดมันฝรั่งและปลาอย่างตรงไปตรงมา ก็จะพบว่าการผัดทอดด้วยความร้อนสูงนั้นยิ่งไขมันไม่อิ่มตัวมากเท่าไหร่ก็จะย่ิงมีสารพิษกลุ่มอัลดีไฮด์เป็นอันตรายต่อสุขภาพและหลอดเลือดหัวใจมากเท่านั้น [13] ดูภาพประกอบที่ 4

นอกจากนี้วารสารด้านวิทยาศาสตร์อาหาร Journal of Food Science ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 ในการใช้น้ำมันท่วมเพื่อทอดมันฝรั่ง ปรากฏว่าน้ำมันที่ไม่อิ่มตัวเกิดสารพิษที่เรียกว่า “อะคริลาไมด์ (Acrylamide)” มากกว่าไขมันอิ่มตัวเช่นกัน [14] สารพิษอะคริลาไมด์นี้มีโอกาสที่จะก่อมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งไต มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งรังไข่ [15]
และด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนำ้มันไม่อิ่มตัวแม้จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดแอลดีแอล แต่ก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้ และหากนำมาผัดทอดอาหารด้วยความร้อนสูงก็อาจจะยิ่งมีอันตรายมากขึ้นไปอีก
เมื่อ “สมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลสูง” หรือ “แอลดีแอล (LDL) สูง” ไม่สามารถใช้ได้กับการประเมินในเรื่องของหลอดเลือดหัวใจได้เสมอไปด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันในรายละเอียดข้างต้น เพราะระดับคอเลสเตอรอลและแอลดีแอล (LDL) ยิ่งต่ำในผู้สูงวัยกลับย่ิงทำให้มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน “แอลดีแอล (LDL) ” ซึ่งเรียกว่าไขมันตัวเลวในความจริงแล้วก็ยังต้องดูรายละเอียดว่ามีผลร้ายจริงหรือไม่ เพราะในงานวิจัยยุคหลังจะมีการพิจารณาชนิดของ แอลดีแอล (LDL) มากขึ้นอีก ว่าเป็นแอลดีแอล (LDL)ขนาดเล็กและหนาแน่นซึ่งเสี่ยงทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นขนาดอื่นกันแน่ [16]
อย่างไรก็ตามพบหลายงานวิจัยที่สำคัญได้พบสถิติว่า หากเรานำ “สัดส่วน” ระหว่าง “คอเลสเตอรอลโดยรวม หารด้วยเอชดีแอล (HDL)” กลับพบว่าจะช่วยเป็นดัชนีชี้วัดเรื่องความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าทั้งในชายและหญิง [17] - [22]
จากงานวิจัยข้างต้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน คือ“คอเลสเตอรอลหารด้วย HDL สำหรับชายไม่ควรเกิน 5.0 และผู้หญิงก็ไม่ควรเกิน 4.4” ถ้าเกินกว่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยิ่งสัดส่วนน้อยลง ยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจประมาณการให้ง่ายขึ้นคือ ให้ต่ำกว่า 4.0 ไว้ก่อนโดยมีตัวเลขสัดส่วนประมาณ 3.3 เป็นเป้าหมายในอุดมคติ
เมื่อมาประมวลตามข้อมูลและงานวิจัยข้างต้นแล้ว ผู้เขียนมีข้อแนะนำดังนี้
1.ผู้สูงวัยเกิน 50 ปี ไม่แน่ว่าคอเลสเตอรอลลดลงจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะอาจเป็นสัญญาณความเสื่อม ชราภาพ และใกล้เสียชีวิตมากขึ้น
2. แอลดีแอล (LDL) หรือที่เรียกว่าไขมันตัวเลว ถ้าลดลงหรือเพิ่มขึ้นจำเป็นจะต้องดูรายละเอียดให้มากขึ้นถึงชนิดของแอลดีแอลว่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นขนาดเล็กและหนาแน่นที่จะเพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ตราบใดยังไม่ได้ตรวจเรื่องขนาดของแอลดีแอลก็อาจจะสรุปยังไม่ได้ถึงผลกระทบต่อความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. การวัด “สัดส่วน” ของคอเลสเตอรอลหารด้วย เอชดีแอล (HDL) เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในทางสถิติในการตรวจวัดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าการดูค่าตัวใดตัวหนึ่ง โดยผลของสัดส่วนดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งดี ยิ่งลดลงมากก็ยิ่งดี
4. ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างพัฒนาการวัดสุขภาพของหลอดเลือดในอีกหลายมิติ ซึ่งรวมถึงความพยายามหาค่าการอักเสบของหลอดเลือดมาประกอบการพิจารณาสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ
เมื่อท่านผู้อ่านมีความเข้าใจมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ลองกลับไปดูอีกครั้งในงานวิจัยล่าสุดที่ทดลองในมนุษย์ซึ่งเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ BMJ Open เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยตั้งใจเลือกกลุ่ม "ผู้สูงวัย" ทั้งชายและหญิงจำนวน 91 คน ซึ่งมีช่วงวัยตั้งแต่ 50 ปี ถึง 75 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 60 ปี นำมาแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มใกล้เคียงกัน กลุ่มแรกจำนวน 28 คนให้ดื่มน้ำมันมะพร้าว กลุ่มที่สองจำนวน 33 คน ให้กินเนย และกลุ่มที่สามจำนวน 30 คน ให้กินน้ำมันมะกอก โดยให้รับประทานวันละ 50 กรัม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปรากฏผลดังนี้ [23]
ประการแรก คอเลสเตอรอลโดยรวมเพิ่มขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม โดยมีเนยมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากที่สุดแต่ก็ไม่มากนัก น้ำมันมะพร้าวเพิ่มขึ้นรองลงมา น้ำมันมะกอกเพิ่มขึ้นน้อยมากจนแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก
ประการที่สอง เอชดีแอล (HDL) หรือที่เรียกว่าไขมันตัวดี เพิ่มสูงขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม แต่กลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยมีอัตราการเพิ่มของ HDL สูงกว่าการเพิ่มขึ้นในกลุ่มเนยและน้ำมันมะกอกอย่างชัดเจน
ประการที่สาม แอลดีแอล (LDL) หรือที่ถูกเรียกว่าไขมันตัวเลว พบว่าลดลงทั้งในกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอก แต่ LDL ของกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวลดลงมากกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินน้ำมันมะกอก (ซึ่งถือว่าไม่แตกต่างกันมากนัก) ส่วน LDL ของเนยกลับสูงเพิ่มขึ้น (ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะเลวเสมอไปเพราะยังไม่ได้ตรวจวัดชนิดของ LDL ที่เพิ่มขึ้นว่าเป็นขนาดเล็กและหนาแน่นที่เป็นปัญหากับโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่)
ประการที่สี่ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญก็คือ “สัดส่วน” ของคอเลสเตอรอลรวมหารด้วย เอชดีแอล (HDL) (ยิ่งลดลงมากยิ่งดี) ปรากฏว่ากลุ่มน้ำมันมะพร้าวลดลงมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่กินนำ้มันมะกอก โดยระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันมะกอกลดลงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่กลุ่มที่สวนทางเพิ่มขึ้นกลับเป็นไขมันเนย
เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL พบว่า กลุ่มกินน้ำมันมะพร้าวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันมะกอก แต่ถือว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วยไขมันเนยมีสัดส่วนดังกล่าวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอก
ประการที่ห้า งานวิจัยชิ้นนี้มีการวัดค่า ซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-Reactive Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบว่ามีสภาพการอักเสบหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุหรืออวัยวะที่เกิดการอักเสบ
กลับกลายเป็นว่ากลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวมากที่สุดกับมีโปรตีนแสดง “ค่าการอักเสบลดลง”อย่างมีนัยสำคัญ ลดลงรองลงมาเล็กน้อยคือน้ำมันเนยซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวรองมาจากน้ำมันมะพร้าว แต่น้ำมันมะกอกกลับให้ผลว่าโปรตีนแสดงค่าการอักเสบสูงเพิ่มขึ้น
สรุปผลงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า HDL(ไขมันตัวดี) สูงเพิ่มขึ้นมากที่สุดกลับเป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าว ส่วนค่า LDL (ถูกเรียกว่าไขมันตัวเลว) ลดลงมากที่สุดก็เป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวเช่นกัน และสัดส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL ซึ่งยิ่งลดลงมากยิ่งดีนั้น กลุ่มที่มีสัดส่วนลดมากที่สุดก็กลับเป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวอยู่ดี แม้ว่าจะไม่แตกต่างกันมากนักเมื่อเทียบกับน้ำมันมะกอก แต่ส่วนค่าโปรตีนที่วัดค่าการอักเสบกลับลดลงในกลุ่มที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวมากที่สุด รองลงมาคือน้ำมันเนย แต่ที่เพิ่มขึ้นกลับเป็นน้ำมันมะกอก
แม้งานวิจัยชิ้นดังกล่าวจะยังมีช่วงระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ แต่ก็เชื่อว่าจะมีงานวิจัยลักษณะเช่นนี้ทยอยออกมาอีกเรื่อยๆ ในปลายปีนี้และต้นปีหน้า และอย่างน้อยก็อาจจะทำให้ท่านผู้อ่านบางคนอาจจะเห็นทิศทางแล้วว่าควรจะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อไป
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง :
[1] Advisory Committee (Advisory Report) to the Secretaries of the U.S. Departments of Health and Human Services (HHS) and Agriculture (USDA), Scientific Report of the 2015 Dietary Guidelines Advisory Committee.
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Hu, FB (1997). "Dietary fat intake and the risk of coronary heart disease in women". New England Journal of Medicine (PDF). 337 (21): 1491–1499. doi:10.1056/NEJM199711203372102. PMID 9366580.10.1056/NEJM19971120337210210.1056/NEJM199711203372102
[4] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[5] Félix-Redondo FJ, Grau M, Fernández-Bergés D. Cholesterol and Cardiovascular Disease in the Elderly. Facts and Gaps. Aging and Disease. 2013;4(3):154-169.
[6] Ravnskov U, Diamond DM, Hama R, et al. Lack of an association or an inverse association between low-density-lipoprotein cholesterol and mortality in the elderly: a systematic review. BMJ Open. 2016;6(6):e010401. doi:10.1136/bmjopen-2015-010401.
[7] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[8] Aseem Malhotra, Rita F Redberg, Pascal Meier,Saturated fat does not clog the arteries: coronary heart disease is a chronic inflammatory condition, the risk of which can be effectively reduced from healthy lifestyle interventions., British Journal of sports medicine, April 30, 2017
[9]
Danxia Yu
, et al. , High Intakes of Dietary Carbohydrate and Rice were Associated with Increased Risk of Coronary Heart Disease in Chinese Men and Women, NUTRITIONAL EPIDEMIOLOGY, Originally published23 Mar 2018Circulation. 2018;127:AMP24
[10] Esterbauer H, Cytotoxicity and genotoxicity of lipid-oxidation products., Am J Clin Nutr. 1993 May;57(5 Suppl):779S-785S; discussion 785S-786S. doi: 10.1093/ajcn/57.5.779S.
[11] Peng CY, et al., Effects of cooking method, cooking oil, and food type on aldehyde emissions in cooking oil fumes., J Hazard Mater. 2017 Feb 15;324(Pt B):160-167. doi: 10.1016/j.jhazmat.2016.10.045. Epub 2016 Oct 20.
[12] O'Brien PJ, Siraki AG, Shangari N, Aldehyde sources, metabolism, molecular toxicity mechanisms, and possible effects on human health. Crit Rev Toxicol. 2005 Aug;35(7):609-62.
[13] Robert Mendick, Chief Reporter, Cooking with vegetable oils releases toxic cancer-causing chemicals, say experts, The Telegraph, Health News, 8:13 PM, GMT 07 November 2015.
[14] Lim PK, et al., The influence of deep frying using various vegetable oils on acrylamide formation in sweet potato (Ipomoea batatas L. Lam) chips., J Food Sci. 2014 Jan;79(1):T115-21. doi: 10.1111/1750-3841.12250. Epub 2013 Dec 17.
[15] Pelucchi C, et al., Dietary acrylamide and cancer risk: an updated meta-analysis.
Int J Cancer. 2015 Jun 15;136(12):2912-22. doi: 10.1002/ijc.29339. Epub 2014 Nov 26.
[16] Ivanova EA, Myasoedova VA, Melnichenko AA, Grechko AV, Orekhov AN. Small Dense Low-Density Lipoprotein as Biomarker for Atherosclerotic Diseases. Oxidative Medicine and Cellular Longevity. 2017;2017:1273042. doi:10.1155/2017/1273042.
[17] Kinosian B, Glick H, Garland G , Cholesterol and coronary heart disease: predicting risks by levels and ratios.Ann Intern Med. 1994 Nov 1;121(9):641-7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7944071
[18] Stampfer MJ, Krauss RM, Ma J, et al. A prospective study of triglyceride level, low-density lipoprotein particle diameter, and risk of myocardial infarction. JAMA. 1996;276:882–888. [PubMed]
[19] Ridker PM, Hennekens CH, Buring JE, Rifai N. C-reactive protein and other markers of inflammation in the prediction of cardiovascular disease in women. N Engl J Med. 2000;342:836–843. [PubMed]
[20] Hong MK, Romm PA, Reagan K, Green CE, Rackley CE. Usefulness of the total cholesterol to high-density lipoprotein cholesterol ratio in predicting angiographic coronary artery disease in women. Am J Cardiol. 1991;68:1646–1650. [PubMed]
[21] Nielsen NE, Olsson AG, Swahn E. Plasma lipoprotein particle concentrations in postmenopausal women with unstable coronary artery disease. Analysis of diagnostic accuracy using receiver operating characteristics. J Intern Med. 2000;247:43–52. [PubMed]
[22] Pintó X, Meco JF, Corbella E, et al. Programa de prevención secundaria de la arteriosclerosis de un hospital universitario. Resultados y factores predictivos del curso clínico. Med Clin (Barc) 2003;120:768–772.[PubMed]
[23] Khaw K-T, Sharp SJ, Finikarides L, et al. Randomised trial of coconut oil, olive oil or butter on blood lipids and other cardiovascular risk factors in healthy men and women. BMJ Open. 2018;8(3):e020167. doi:10.1136/bmjopen-2017-020167.
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาทางด้านอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการบริการประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกคำแนะนำในด้านโภชนาการใหม่ว่า...
“ระดับของคอเลสเตอรอลในอาหารไม่ได้มีความสัมพันธ์ว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ” [1]
คำแนะนำดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาหารและยาที่มีผลทำให้ ”คอเลสเตอรอลลดลง”นั้น ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบในการทำให้ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอีกต่อไปแล้ว
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญดังกล่าวนี้ เป็นผลทำให้กลุ่มทุนในธุรกิจไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว) และกลุ่มทุนธุรกิจยาลดคอเลสเตอรอล ซึ่งมียุทธศาสตร์ทางธุรกิจตรงกันในการลดคอเลสเตอรอลย่อมถูกตั้งคำถามและข้อสงสัยจากประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ย้อนกลับไปที่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ “ร้ายแรงมากกว่า”อยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
ในประเด็นหลังที่ว่าร้ายแรงนัก เพราะหมายความว่าถ้าคนๆหนึ่งอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วคอเลสเตอรอลลดลงแค่ปีละ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คนๆนั้นมีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมภายใน 5 ปี หรือเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายในไม่เกิน 3 ปีครึ่งเท่านั้น
งานวิจัยชิ้นนี้ได้แสดงถึงความเอาแน่เอานอนไม่ได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับคอเลสเตอรอลกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจของแต่ละช่วงวัยที่ไม่เหมือนกัน
เพราะถ้าคอเลลสเตอรอลสูงคือดัชนีชี้วัดโรคหัวใจจริงๆ ทำไมหลักการนี้กลับมีผลตรงกันข้ามกับผู้สูงวัย (คอเลสเตอรอลลดลงกลับตายเร็วขึ้น) ทั้งๆที่อุบัติการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก็เกิดขึ้นมากในผู้สูงวัยด้วย !?
งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เร่ิมเกิดข้อสงสัยไปทั่วโลกว่า “สมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลสูง” เป็นดัชนีชี้วัดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น เป็นสมมุติฐานที่หลงประเด็นหรือไม่?
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่าข้อมูลงานวิจัยช้ินสำคัญระดับตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 แต่กว่าที่คำแนะนำในการโภชนาการของชาวอเมริกันที่จะออกมา ยอมรับว่าคอเลสเตอรอลในอาหารไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจคือปี พ.ศ. 2558
นั่นหมายความว่ากว่าที่จะมีการเปลี่ยนคำแนะนำในเรื่องระดับคอเลสเตอรอลกับการโภชนาการ ต้องใช้เวลาถึง 28 ปีนับจากนั้น ลองคิดดูว่าอิทธิพลของธุรกิจที่เกี่ยวกับการลดคอเลสเตอรอล ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลืองและข้าวโพด) และธุรกิจยาลดคอเลสเตรอล จะทำกำไรไปอย่างมหาศาลเพียงใดในช่วงเวลาที่ผ่านมาจากความเข้าใจผิดเรื่องสมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลในอาหารสูง
เช่นเดียวกันกับประเด็น “ไขมันทรานส์”ที่เกิดขึ้นเพราะถูกหลอกว่า “ไขมันอิ่มตัว”พวกเนย ชีส น้ำมันมะพร้าวเป็นของไม่ดี จึงนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเติมไฮโดเจนบางส่วนเพื่อมาแทนกลุ่มชีสและเนย ประชาชนจึงหลงเชื่อหันมากินไขมันทรานส์ทั่วโลก
ซึ่งไขมันทรานส์นี้ก็เป็นผลิตผลจากการดัดแปลงมาจากไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งก็ส่งผลทำให้ถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ตัดแต่งพันธุกรรมทั้งหลายขายดิบขายดียิ่งร่ำรวยอย่างมหาศาล ท่ามกลางการอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก
กว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต้องใช้เวลานานมากไม่ต่ำกว่า 20 ปี ทั้งๆที่งานวิจัยที่เริ่มเปิดโปงความเลวร้ายของไขมันทรานส์ชิ้นสำคัญและมีน้ำหนักนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยวารสารทางการแพทย์ The New England Journal of Medicine ได้เผยแพร่ผลการวิจัยในผู้หญิงจำนวน 80,082 อายุระหว่าง 34 - 59 ปี ในการศึกษาของ Nurses' Health Study โดยติดตามผล 14 ปี พบเรื่องสำคัญว่าคนที่กินไขมันทรานส์เพิ่มขึ้นทุกๆ 2% ของพลังงานเทียบกับคาร์โบไฮเดรต จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้นถึง 93% [3]
บทเรียนความล่าช้าในการเปลี่ยนแปลงเรื่องคอเลสเตอรอล และไขมันทรานส์สอนให้รู้ว่า ถ้าประชาชนและผู้บริโภคยังรอให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐในประกาศการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มทุน (หรือต้องรอองค์กรต่างชาติหรือมหาอำนาจเป็นผู้ประกาศเปลี่ยนนโยบายด้านอาหาร) ประชาชนตาดำๆก็อาจจะต้องป่วยและเสียชีวิตไปอีก 20-30 ปีก่อน จึงจะมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงในระดับนโยบายภาครัฐ
และประชาชนที่จะรอดก็คือผู้ที่ติดตามงานวิจัยอย่างใกล้ชิดและรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมจากงานวิจัยได้ก่อนการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายภาครัฐ
ตัวอย่างงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชี้นหนึ่งก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ซ่อนเร้นบอกความจริงไม่หมดทำให้คนทั่วโลกหลงประเด็นเรื่องคอเลสเตอรอลมานานแสนนาน แต่เพิ่งทราบความจริงที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เช่นกัน
งานวิจัยชิ้นที่กล่าวถึงนี้มีความน่าเชื่อถือและมีอิทธิพลทำให้เกิดความหวาดกลัวและเข้าใจผิดอย่างมหันต์ว่าไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และเป็นผลทำให้มนุษยชาติหันมาใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร นั่นก็คืองานวิจัยการทดลองโรคหลอดเลือดหัวใจของมลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516
งานวิจัยที่ว่าน่าเชื่อถือนี้ก็เพราะงานวิจัยดังกล่าวได้ใช้การสำรวจกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ถึง 9,423 คน และบางทีอาจจะเป็นงานวิจัยในมนุษย์ที่ใช้ประชากรมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในการ “ลดคอเลสเตอรอล” ด้วยการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวประเภทที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก หรือที่เรียกว่า ไขมันโอเมก้า 6 มาบริโภคทดแทนไขมันอิ่มตัวมากขึ้น ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานในการรณรงค์ให้ประชากรโลกมาบริโภคกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อ “ลดคอเลสเตอรอล” มาเป็นเวลาประมาณ 45 ปีที่ผ่านมา
“กินไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้คอเลสเตอรอลลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม” [4]
ความจริงครึ่งแรกนี้ได้ถูกนำมาใช้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในโลกใบนี้หันมาเปลี่ยนใช้ไขมันไม่อิ่มตัวมานานถึง 45 ปี และบริษัทขายยาลดคอเลสเตอรอลก็ได้พ่วงกระแสการกลัวคอเลสเตรอลสูงไปด้วย เรียกได้ว่ารวยกันทั้งไขมันไม่อิ่มตัวและบริษัทขายยาลดคอเลสเตอรอล
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ไม่ถูกเปิดเผยตลอด 45 ปีที่ผ่านมาในงานวิจัยชิ้นเดียวกัน คือคอเลสเตอรอลที่ลดลงทุกๆ 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 22%!!!!
ความจริงครึ่งหลังที่ว่าคอเลสเตอรอลที่ลดลงจากการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เพิ่งจะมีการเปิดเผยความจริงนี้ในวารสารทางการแพทย์ชั้นแนวหน้าของอังกฤษ บีเอ็มเจ (BMJ Journals)โดยคณะของ ดร.คริสโตเฟอร์ อี. รัมส์เดน เมื่อปี พ.ศ.2559 นี้เอง
แม้การเปิดเผยความจริงครั้งนี้จะผ่านไปแล้ว 2 ปีกว่า แต่จะมีคนไทยสักกี่คนรู้ว่าคนที่คอเลสเตอรอลลดลงจากการกินไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น?
และถ้าใครจะรอให้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยประกาศตามนโยบายของประเทศมหาอำนาจที่ครองตลาดถั่วเหลืองและข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรม ก็อาจจะต้องรอไปอีกไม่ต่ำกว่า 20 - 30 ปี และเชื่อว่าคนเหล่านั้นก็อาจจะเสียชีวิตไปก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหมือนกับ “เหยื่อชีวิตที่สังเวยไขมันทรานส์”เช่นกัน
การทบทวนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การหันมากินไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแต่ประการใด
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังได้กล่าวถึงการวิเคราะห์อภิมานจากการทบทวน 5 งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 10,808 ราย สรุปได้ว่าไม่พบประโยชน์ใดๆต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งนี้เมื่อมีการวิเคราะห์แยกรายละเอียดของการทดลองของมลรัฐมินิโซต้าก็จะพบว่า
(1) กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำจะมีสัดส่วนการเสียชีวิตสะสมน้อยกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง (เล็กน้อย) หรือแทบไม่แตกต่างกัน
(2) ผลจะเกิดตรงกันข้ามในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำอันเป็นผลมาจากการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัว จะมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูงอย่างเห็นได้ชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 1 [4]
สิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากงานวิจัยข้างต้นได้ผลตรงกันว่าผู้ที่สูงวัยคอเลสเตอรอลลดลงหรือแม้แต่แอลดีแอลลดลงก็ไม่ใช่สัญญาณชีพที่ดี และหมายถึงว่าผู้ที่สูงวัยแล้วมีคอเลสเตอรอลลดลงจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมสูงเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความจริงอีกด้านหนึ่งที่พบจากงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวกับโรคตามวัย Aging and Disease เมื่อปี พ.ศ. 2556 พบความสัมพันธ์ของคอเลสเตอรอลกับผู้สูงวัยใน 10 ประเทศตรงกันว่า ผู้สูงวัยยิ่งสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่ หรือใกล้วันหมดอายุขัยเท่าไหร่ กลับสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลง หรือแม้แต่แอลดีแอลก็สังเคราะห์ได้ลดลงด้วย [5] ดูภาพประกอบที่ 2
สำทับด้วยงานวิจัยอย่างเป็นระบบในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ เมื่อปี พ.ศ. 2559 พบว่าสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว คนที่มีไขมันแอลดีแอล (ที่มักเรียกว่าไขมันตัวเลว)อยู่ในระดับสูงกลับมีความเสี่ยงการเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่มีไขมันแอลดีแอลต่ำ [6]
คำถามคือผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลลดลงเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นจริงหรือไม่ และคนสูงวัยที่คอเลสเตอรอลลดลงเขาเสี่ยงชีวิตด้วยโรคอะไร?
งานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีปรากฏอย่างเห็นในวารสารทางการแพทย์ของสแกนดิเนเวียน Scandinavian Journal of Primary Health Care ซึ่งเคยเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าผลการติดตามกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุเกินกว่า 75 ปีขึ้นไป ติดตามผลเป็นเวลา 6 ปี ปรากฏว่า คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงกว่า 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอายุยืนกว่ากลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 3 [7]
โดยกลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 57%
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหัวใจ “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 41 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 55 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 54 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็ง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 50 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 49 %
แสดงให้เห็นว่าผู้สูงวัยขาดคอเลสเตอรอลไม่ได้ และการลดลงของคอเลสเตอรอลคือสัญญาณอายุขัยที่นับถอยหลัง ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย
ทั้งนี้คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย เช่น มาจากตับ สมอง และผนังหลอดเลือด (atheroma) ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต อวัยวะสืบพันธุ์
ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นนวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด และใช้คอเลสเตอรอลเป็นผนังหุ้มเซลล์ เป็นฉนวนหุ้มปลายประสาท
ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดอักเสบเกิดบาดแผล เช่น จากการบริโภคน้ำตาลมาก หรือไขมันไม่อิ่มตัวผัดทอดมาก) ร่างกายจะต้องส่งไขมันและโปรตีนมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหายที่เรียกว่า แอลดีแอล (LDL) ซึ่งเรามักจะประณามคอเลสเตอรอลที่มาทำหน้าที่ซ่อมแซมผนังหลอดเลือดว่าเป็นไขมันเลว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไขมันตามหลอดเลือดนั้นเป็นปลายเหตุ แต่ต้นเหตุมาจากอาหารที่เรานำใส่ปากนั่นเอง
เฉพาะคิดถึงเรื่องบทบาทหน้าที่ของคอเลสเตอรอลในการเป็น “ผนังหุ้มเซลล์”ก็น่าจะพิจารณาต่อว่า คอเลสเตอรอลมีความจำเป็นในการใช้เพื่อเยียวยาและซ่อมและสร้างทุกเซลล์ที่เสื่อมสภาพลงไป ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันกับหางโครโมโซมที่เรียกว่า “เทโลเมียร์” จะสั้นลงไปเรื่อยๆทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์เสมอ
และเมื่อมีการแบ่งเซลล์ก็ต้องมีผนังหุ้มเซลล์อีกเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อสูงวัยมากขึ้นเทโลเมียร์สั้นลง การแบ่งเซลล์และซ่อมเซลล์ก็ลดลง รวมถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลก็ต้องลดลงไปด้วยตามธรรมชาติ ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนต้านการอักเสบ เยื่อหุ้มเซลล์ วิตามินดี ฉนวนหุ้มปลายประสาท ที่มาใช้คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบก็ต้องลดลงไปด้วย ดังนั้นสัญญาณการลดลงของคอเลสเตอรอลของผู้สูงวัยก็อาจจะเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการชราภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ลองคิดดูถึงเหตุการณ์ที่ว่าหลอดเลือดเกิดความเสียหายจากการบริโภคน้ำตาลมาก แป้งขัดขาวมาก และไขมันไม่อิ่มตัวมาก (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)[8] ไม่ว่าจะผลิตคอเลสเตอรอลได้มากหรือน้อยการอักเสบก็ยังอยู่ที่เดิม จริงหรือไม่?
เพียงแต่ว่าถ้าอายุน้อยการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลยังสูง หางโครโมโซมหรือเทโลเมียร์ก็ยังยาวอยู่ก็อาจเกิดการซ่อมแซมเซลล์ได้มาก แต่ถ้าอายุมากขึ้นร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลงควบคู่ไปกับหางโครโมโซมสั้นลงแล้ว ก็เป็นดัชนีแสดงให้เห็นว่าการซ่อมเซลล์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น การอักเสบหรือบาดแผลถูกเยียวยาได้น้อยในภาวะที่คอเลสเตอรอลลดลง
การอักเสบของหลอดเลือดนั้นทำให้ “ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น” ซึ่งอาจจะเป็นคนละเรื่องกับระดับคอเลสเตอรอลหรือแอลดีแอล (LDL)ในกระแสเลือด เพราะร่างกายจะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและแอลดีแอลได้มากเมื่อวัยหนุ่มสาว และสังเคราะห์ทั้งคอเลสเตอรอลและแอลดีแอลได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นโดยธรรมชาติ
แต่เมื่อใดก็ตามที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและยังซ่อมแซมเซลล์ไม่เสร็จหรือซ่อมได้ช้าลงเพราะสูงวัยมากขึ้น เอชดีแอล (HDL)ซึ่งถูกเรียกว่าไขมันตัวดีก็จะถูกตับสังเคราะห์น้อยลงเพื่อให้ไขมันแอลดีแอล (LDL)ยังคงพอกอยู่ที่หลอดเลือดต่อไปโดยไม่ต้องถูกเอชดีแอล (HDL) นำไขมันตามร่างกายและหลอดเลือดส่งกลับไปที่ตับในระหว่างการซ่อมเซลล์นั้น
ทั้งนี้การบริโภคแป้งขัดขาว และน้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น [9] ก็เพราะเกิดการอักเสบของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ผนังหลอดเลือดย่อมหนาตัวขึ้น ความดันโลหิตก็ย่อมต้องสูงขึ้น
ส่วนไขมันไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)ไขมันกลุ่มนี้มีกรดไขมันไลโนเลอิกหรือไขมันโอเมก้า 6 มาก แต่เนื่องจากความไม่อิ่มตัวของไขมันนี้เองจึงเป็นไขมันที่เกิดอนุมูลอิสระง่ายและเป็นพิษต่อเซลล์ [10]
อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัวส่วนใหญ่ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว) จะถูกบริโภคในรูปของการใช้ผัดทอดด้วยความร้อน ซึ่งจากงานวิจัยในวารสารด้านวัสดุอันตรายอย่าง Journal of Hazardous Materials เมื่อปี พ.ศ. 2560 พบว่าการใช้ “น้ำมันไม่อิ่มตัว” มาทอดกับเนื้อหมูและมันฝรั่งจะเกิดควันที่มีสารอัลดีไฮด์สูงกว่าไขมันอิ่มตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการทอดแบบน้ำมันท่วม จนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัวให้น้อยลง [11] ซึ่งสารอัลดีไฮด์นี้มีงานวิจัยระบุด้วยว่าเป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุของหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจ โรคตับ ฯลฯ [12]
สารอัลดีไฮด์ที่เกิดจากการผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัวตามงานวิจัยข้างต้นนั้น สอดคล้องกับข่าวก่อนหน้านั้นที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ เดอะ เทเลกราฟ เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ได้รายงานการทดลองของ ศาสตราจารย์ มาร์ติน กรูทวีลด์ จากมหาวิทยาลัยเดอ มงฟอร์ต ประเทศอังกฤษ ที่ได้นำน้ำมันแต่ละชนิดมาผัดทอดมันฝรั่งและปลาอย่างตรงไปตรงมา ก็จะพบว่าการผัดทอดด้วยความร้อนสูงนั้นยิ่งไขมันไม่อิ่มตัวมากเท่าไหร่ก็จะย่ิงมีสารพิษกลุ่มอัลดีไฮด์เป็นอันตรายต่อสุขภาพและหลอดเลือดหัวใจมากเท่านั้น [13] ดูภาพประกอบที่ 4
นอกจากนี้วารสารด้านวิทยาศาสตร์อาหาร Journal of Food Science ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 ในการใช้น้ำมันท่วมเพื่อทอดมันฝรั่ง ปรากฏว่าน้ำมันที่ไม่อิ่มตัวเกิดสารพิษที่เรียกว่า “อะคริลาไมด์ (Acrylamide)” มากกว่าไขมันอิ่มตัวเช่นกัน [14] สารพิษอะคริลาไมด์นี้มีโอกาสที่จะก่อมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งไต มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งรังไข่ [15]
และด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนำ้มันไม่อิ่มตัวแม้จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดแอลดีแอล แต่ก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้ และหากนำมาผัดทอดอาหารด้วยความร้อนสูงก็อาจจะยิ่งมีอันตรายมากขึ้นไปอีก
เมื่อ “สมมุติฐานเรื่องคอเลสเตอรอลสูง” หรือ “แอลดีแอล (LDL) สูง” ไม่สามารถใช้ได้กับการประเมินในเรื่องของหลอดเลือดหัวใจได้เสมอไปด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันในรายละเอียดข้างต้น เพราะระดับคอเลสเตอรอลและแอลดีแอล (LDL) ยิ่งต่ำในผู้สูงวัยกลับย่ิงทำให้มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน “แอลดีแอล (LDL) ” ซึ่งเรียกว่าไขมันตัวเลวในความจริงแล้วก็ยังต้องดูรายละเอียดว่ามีผลร้ายจริงหรือไม่ เพราะในงานวิจัยยุคหลังจะมีการพิจารณาชนิดของ แอลดีแอล (LDL) มากขึ้นอีก ว่าเป็นแอลดีแอล (LDL)ขนาดเล็กและหนาแน่นซึ่งเสี่ยงทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นขนาดอื่นกันแน่ [16]
อย่างไรก็ตามพบหลายงานวิจัยที่สำคัญได้พบสถิติว่า หากเรานำ “สัดส่วน” ระหว่าง “คอเลสเตอรอลโดยรวม หารด้วยเอชดีแอล (HDL)” กลับพบว่าจะช่วยเป็นดัชนีชี้วัดเรื่องความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าทั้งในชายและหญิง [17] - [22]
จากงานวิจัยข้างต้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน คือ“คอเลสเตอรอลหารด้วย HDL สำหรับชายไม่ควรเกิน 5.0 และผู้หญิงก็ไม่ควรเกิน 4.4” ถ้าเกินกว่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยิ่งสัดส่วนน้อยลง ยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจประมาณการให้ง่ายขึ้นคือ ให้ต่ำกว่า 4.0 ไว้ก่อนโดยมีตัวเลขสัดส่วนประมาณ 3.3 เป็นเป้าหมายในอุดมคติ
เมื่อมาประมวลตามข้อมูลและงานวิจัยข้างต้นแล้ว ผู้เขียนมีข้อแนะนำดังนี้
1.ผู้สูงวัยเกิน 50 ปี ไม่แน่ว่าคอเลสเตอรอลลดลงจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะอาจเป็นสัญญาณความเสื่อม ชราภาพ และใกล้เสียชีวิตมากขึ้น
2. แอลดีแอล (LDL) หรือที่เรียกว่าไขมันตัวเลว ถ้าลดลงหรือเพิ่มขึ้นจำเป็นจะต้องดูรายละเอียดให้มากขึ้นถึงชนิดของแอลดีแอลว่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นขนาดเล็กและหนาแน่นที่จะเพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ตราบใดยังไม่ได้ตรวจเรื่องขนาดของแอลดีแอลก็อาจจะสรุปยังไม่ได้ถึงผลกระทบต่อความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. การวัด “สัดส่วน” ของคอเลสเตอรอลหารด้วย เอชดีแอล (HDL) เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในทางสถิติในการตรวจวัดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าการดูค่าตัวใดตัวหนึ่ง โดยผลของสัดส่วนดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งดี ยิ่งลดลงมากก็ยิ่งดี
4. ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างพัฒนาการวัดสุขภาพของหลอดเลือดในอีกหลายมิติ ซึ่งรวมถึงความพยายามหาค่าการอักเสบของหลอดเลือดมาประกอบการพิจารณาสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ
เมื่อท่านผู้อ่านมีความเข้าใจมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ลองกลับไปดูอีกครั้งในงานวิจัยล่าสุดที่ทดลองในมนุษย์ซึ่งเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ BMJ Open เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยตั้งใจเลือกกลุ่ม "ผู้สูงวัย" ทั้งชายและหญิงจำนวน 91 คน ซึ่งมีช่วงวัยตั้งแต่ 50 ปี ถึง 75 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 60 ปี นำมาแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มใกล้เคียงกัน กลุ่มแรกจำนวน 28 คนให้ดื่มน้ำมันมะพร้าว กลุ่มที่สองจำนวน 33 คน ให้กินเนย และกลุ่มที่สามจำนวน 30 คน ให้กินน้ำมันมะกอก โดยให้รับประทานวันละ 50 กรัม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปรากฏผลดังนี้ [23]
ประการแรก คอเลสเตอรอลโดยรวมเพิ่มขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม โดยมีเนยมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากที่สุดแต่ก็ไม่มากนัก น้ำมันมะพร้าวเพิ่มขึ้นรองลงมา น้ำมันมะกอกเพิ่มขึ้นน้อยมากจนแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก
ประการที่สอง เอชดีแอล (HDL) หรือที่เรียกว่าไขมันตัวดี เพิ่มสูงขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม แต่กลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยมีอัตราการเพิ่มของ HDL สูงกว่าการเพิ่มขึ้นในกลุ่มเนยและน้ำมันมะกอกอย่างชัดเจน
ประการที่สาม แอลดีแอล (LDL) หรือที่ถูกเรียกว่าไขมันตัวเลว พบว่าลดลงทั้งในกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอก แต่ LDL ของกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวลดลงมากกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินน้ำมันมะกอก (ซึ่งถือว่าไม่แตกต่างกันมากนัก) ส่วน LDL ของเนยกลับสูงเพิ่มขึ้น (ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะเลวเสมอไปเพราะยังไม่ได้ตรวจวัดชนิดของ LDL ที่เพิ่มขึ้นว่าเป็นขนาดเล็กและหนาแน่นที่เป็นปัญหากับโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่)
ประการที่สี่ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญก็คือ “สัดส่วน” ของคอเลสเตอรอลรวมหารด้วย เอชดีแอล (HDL) (ยิ่งลดลงมากยิ่งดี) ปรากฏว่ากลุ่มน้ำมันมะพร้าวลดลงมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่กินนำ้มันมะกอก โดยระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันมะกอกลดลงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่กลุ่มที่สวนทางเพิ่มขึ้นกลับเป็นไขมันเนย
เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL พบว่า กลุ่มกินน้ำมันมะพร้าวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันมะกอก แต่ถือว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วยไขมันเนยมีสัดส่วนดังกล่าวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอก
ประการที่ห้า งานวิจัยชิ้นนี้มีการวัดค่า ซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-Reactive Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบว่ามีสภาพการอักเสบหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุหรืออวัยวะที่เกิดการอักเสบ
กลับกลายเป็นว่ากลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวมากที่สุดกับมีโปรตีนแสดง “ค่าการอักเสบลดลง”อย่างมีนัยสำคัญ ลดลงรองลงมาเล็กน้อยคือน้ำมันเนยซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวรองมาจากน้ำมันมะพร้าว แต่น้ำมันมะกอกกลับให้ผลว่าโปรตีนแสดงค่าการอักเสบสูงเพิ่มขึ้น
สรุปผลงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า HDL(ไขมันตัวดี) สูงเพิ่มขึ้นมากที่สุดกลับเป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าว ส่วนค่า LDL (ถูกเรียกว่าไขมันตัวเลว) ลดลงมากที่สุดก็เป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวเช่นกัน และสัดส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL ซึ่งยิ่งลดลงมากยิ่งดีนั้น กลุ่มที่มีสัดส่วนลดมากที่สุดก็กลับเป็นกลุ่มที่กินน้ำมันมะพร้าวอยู่ดี แม้ว่าจะไม่แตกต่างกันมากนักเมื่อเทียบกับน้ำมันมะกอก แต่ส่วนค่าโปรตีนที่วัดค่าการอักเสบกลับลดลงในกลุ่มที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวมากที่สุด รองลงมาคือน้ำมันเนย แต่ที่เพิ่มขึ้นกลับเป็นน้ำมันมะกอก
แม้งานวิจัยชิ้นดังกล่าวจะยังมีช่วงระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ แต่ก็เชื่อว่าจะมีงานวิจัยลักษณะเช่นนี้ทยอยออกมาอีกเรื่อยๆ ในปลายปีนี้และต้นปีหน้า และอย่างน้อยก็อาจจะทำให้ท่านผู้อ่านบางคนอาจจะเห็นทิศทางแล้วว่าควรจะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อไป
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง :
[1] Advisory Committee (Advisory Report) to the Secretaries of the U.S. Departments of Health and Human Services (HHS) and Agriculture (USDA), Scientific Report of the 2015 Dietary Guidelines Advisory Committee.
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Hu, FB (1997). "Dietary fat intake and the risk of coronary heart disease in women". New England Journal of Medicine (PDF). 337 (21): 1491–1499. doi:10.1056/NEJM199711203372102. PMID 9366580.10.1056/NEJM19971120337210210.1056/NEJM199711203372102
[4] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[5] Félix-Redondo FJ, Grau M, Fernández-Bergés D. Cholesterol and Cardiovascular Disease in the Elderly. Facts and Gaps. Aging and Disease. 2013;4(3):154-169.
[6] Ravnskov U, Diamond DM, Hama R, et al. Lack of an association or an inverse association between low-density-lipoprotein cholesterol and mortality in the elderly: a systematic review. BMJ Open. 2016;6(6):e010401. doi:10.1136/bmjopen-2015-010401.
[7] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[8] Aseem Malhotra, Rita F Redberg, Pascal Meier,Saturated fat does not clog the arteries: coronary heart disease is a chronic inflammatory condition, the risk of which can be effectively reduced from healthy lifestyle interventions., British Journal of sports medicine, April 30, 2017
[9]
Danxia Yu
, et al. , High Intakes of Dietary Carbohydrate and Rice were Associated with Increased Risk of Coronary Heart Disease in Chinese Men and Women, NUTRITIONAL EPIDEMIOLOGY, Originally published23 Mar 2018Circulation. 2018;127:AMP24
[10] Esterbauer H, Cytotoxicity and genotoxicity of lipid-oxidation products., Am J Clin Nutr. 1993 May;57(5 Suppl):779S-785S; discussion 785S-786S. doi: 10.1093/ajcn/57.5.779S.
[11] Peng CY, et al., Effects of cooking method, cooking oil, and food type on aldehyde emissions in cooking oil fumes., J Hazard Mater. 2017 Feb 15;324(Pt B):160-167. doi: 10.1016/j.jhazmat.2016.10.045. Epub 2016 Oct 20.
[12] O'Brien PJ, Siraki AG, Shangari N, Aldehyde sources, metabolism, molecular toxicity mechanisms, and possible effects on human health. Crit Rev Toxicol. 2005 Aug;35(7):609-62.
[13] Robert Mendick, Chief Reporter, Cooking with vegetable oils releases toxic cancer-causing chemicals, say experts, The Telegraph, Health News, 8:13 PM, GMT 07 November 2015.
[14] Lim PK, et al., The influence of deep frying using various vegetable oils on acrylamide formation in sweet potato (Ipomoea batatas L. Lam) chips., J Food Sci. 2014 Jan;79(1):T115-21. doi: 10.1111/1750-3841.12250. Epub 2013 Dec 17.
[15] Pelucchi C, et al., Dietary acrylamide and cancer risk: an updated meta-analysis.
Int J Cancer. 2015 Jun 15;136(12):2912-22. doi: 10.1002/ijc.29339. Epub 2014 Nov 26.
[16] Ivanova EA, Myasoedova VA, Melnichenko AA, Grechko AV, Orekhov AN. Small Dense Low-Density Lipoprotein as Biomarker for Atherosclerotic Diseases. Oxidative Medicine and Cellular Longevity. 2017;2017:1273042. doi:10.1155/2017/1273042.
[17] Kinosian B, Glick H, Garland G , Cholesterol and coronary heart disease: predicting risks by levels and ratios.Ann Intern Med. 1994 Nov 1;121(9):641-7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7944071
[18] Stampfer MJ, Krauss RM, Ma J, et al. A prospective study of triglyceride level, low-density lipoprotein particle diameter, and risk of myocardial infarction. JAMA. 1996;276:882–888. [PubMed]
[19] Ridker PM, Hennekens CH, Buring JE, Rifai N. C-reactive protein and other markers of inflammation in the prediction of cardiovascular disease in women. N Engl J Med. 2000;342:836–843. [PubMed]
[20] Hong MK, Romm PA, Reagan K, Green CE, Rackley CE. Usefulness of the total cholesterol to high-density lipoprotein cholesterol ratio in predicting angiographic coronary artery disease in women. Am J Cardiol. 1991;68:1646–1650. [PubMed]
[21] Nielsen NE, Olsson AG, Swahn E. Plasma lipoprotein particle concentrations in postmenopausal women with unstable coronary artery disease. Analysis of diagnostic accuracy using receiver operating characteristics. J Intern Med. 2000;247:43–52. [PubMed]
[22] Pintó X, Meco JF, Corbella E, et al. Programa de prevención secundaria de la arteriosclerosis de un hospital universitario. Resultados y factores predictivos del curso clínico. Med Clin (Barc) 2003;120:768–772.[PubMed]
[23] Khaw K-T, Sharp SJ, Finikarides L, et al. Randomised trial of coconut oil, olive oil or butter on blood lipids and other cardiovascular risk factors in healthy men and women. BMJ Open. 2018;8(3):e020167. doi:10.1136/bmjopen-2017-020167.