ผู้จัดการรายวัน 360 - "อุตตม" เผยแนวทางส่งเสริมสตาร์ทอัปไทย ต้องทำควบคู่เอสเอ็มอี โดยเน้นการสร้างคน ให้มีแนวคิดด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี ชี้นักลงทุนทั่วโลก ยังมีช่องว่างให้สตาร์ทอัปไทย ขณะที่หน้าที่ภาครัฐ ต้องเร่งส่งเสริมการสร้างสตาร์ทอัป เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายในงานสัมมนา “START UP จับต้องได้ สตาร์ทอัป แบบไหนถูกใจขาใหญ่” ณ โรงละครอักษรา คิงพาวเวอร์ จัดโดย ทีมงานผู้จัดการ 360 POSITIONING ว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถูกจังหวะและสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจต้องขับเคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้นต้องมีการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี ให้มีความชัดเจนและพัฒนาไปด้วยกันทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
“การขับเคลื่อนสตาร์ทอัป ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปต่อยอดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เพราะการแข่งขันในธุรกิจสตาร์ทอัป ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่มีการตื่นตัวทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศสิงคโปร์ มีสตาร์ทอัปที่แข็งแกร่ง มีแพลตฟอร์มสตาร์ทอัปชัดเจน แต่เราได้เปรียบสิงคโปร์ เพราะมีความหลากหลาย ทั้งด้านการผลิตอุตสาหกรรม การเกษตรที่แข็งแรง มีการท่องเที่ยว ดังนั้นการพัฒนาคน เพื่อรองรับการเป็นสตาร์ทอัป เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐ และกระทรวงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทย์ฯ กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงดิจิทัลฯ ต้องร่วมมือกัน” รมต.อุตสาหกรรม กล่าว
ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีแผนที่จะตั้งกระทรวงใหม่ ขึ้นมารองรับแนวคิดส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี ให้มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อรองรับฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในอนาคต ซึ่งต่อจากนี้ทั้งเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัป จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อเป็นพลังใหม่ของเศรษฐกิจในนอนาคต และเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรมสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากขึ้นมา
“การสร้างสตาร์ทอัป ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งนักลงทุน จะต้องเลือกลงทุนในสตาร์ทอัป ที่เห็นว่ามีกำไร ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างและมีสตาร์ทอัปจำนวนมาก เพื่อให้นักลงทุนเหล่านั้นได้เลือกลงทุน เพราะต้องยอมรับว่า ธุรกิจสตาร์ทอัปในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และลดลง ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ของสตาร์ทอัปจะเกิดขึ้น 10 ราย และรอดแค่ 2 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของสตาร์ทอัปทั่วโลก ทางออกของเรา คือ การเตรียมคนที่พร้อมจะมาเป็นสตาร์ทอัป” นายอุตตม กล่าว
ขณะที่การลงทุนของนักลงทุนที่สนใจร่วมกับสตาร์ทอัปไทย ในปีที่ผ่าน 2560 ที่ผ่านมา ยังมีตัวเลขอยู่ในระดับดี คือ ประมาณ 105 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 3 พันล้านบาท ในขณะที่ทั่วโลก มีนักลงทุน ลงทุนในกิจการ สตาร์ทอัป หรือ เวนเจอร์แคปปิตอล VC สูงถึง 140 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าสตาร์ทอัปไทยยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับนักลงทุน VC
นายอุตตม กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาท โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนส่งเสริม เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัป และยังได้มีการยกระดับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ มาเป็นศูนยส่งเสริม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ ศูนย์ ITC ได้ทำการเปิดศูนย์ ITC ไปแล้ว จำนวน 13 แห่งทั่วประเทศ โดยศูนย์เหล่านี้จะรองรับกลุ่มสตาร์ทอัป หรือ เอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น โดยกลุ่มนี้จะมีแนวคิด และอยากจะลองเริ่มผลิต หรือ ทำธุรกิจ แต่ไม่การจะลงทุน เรามีส่วนเทคโนโลยีการรผลิตให้ อาจจะลองทำก่อน โดยไม่ต้องลงทุน ถ้าเป็นที่กรุงเทพฯ จะเปิดที่ ศูนย์อุตสาหกรรมกล้วยน้ำไท สตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี สามารถใช้บริการได้
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายในงานสัมมนา “START UP จับต้องได้ สตาร์ทอัป แบบไหนถูกใจขาใหญ่” ณ โรงละครอักษรา คิงพาวเวอร์ จัดโดย ทีมงานผู้จัดการ 360 POSITIONING ว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถูกจังหวะและสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจต้องขับเคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้นต้องมีการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี ให้มีความชัดเจนและพัฒนาไปด้วยกันทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
“การขับเคลื่อนสตาร์ทอัป ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปต่อยอดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เพราะการแข่งขันในธุรกิจสตาร์ทอัป ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่มีการตื่นตัวทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศสิงคโปร์ มีสตาร์ทอัปที่แข็งแกร่ง มีแพลตฟอร์มสตาร์ทอัปชัดเจน แต่เราได้เปรียบสิงคโปร์ เพราะมีความหลากหลาย ทั้งด้านการผลิตอุตสาหกรรม การเกษตรที่แข็งแรง มีการท่องเที่ยว ดังนั้นการพัฒนาคน เพื่อรองรับการเป็นสตาร์ทอัป เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐ และกระทรวงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทย์ฯ กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงดิจิทัลฯ ต้องร่วมมือกัน” รมต.อุตสาหกรรม กล่าว
ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีแผนที่จะตั้งกระทรวงใหม่ ขึ้นมารองรับแนวคิดส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี ให้มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อรองรับฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในอนาคต ซึ่งต่อจากนี้ทั้งเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัป จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อเป็นพลังใหม่ของเศรษฐกิจในนอนาคต และเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรมสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากขึ้นมา
“การสร้างสตาร์ทอัป ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งนักลงทุน จะต้องเลือกลงทุนในสตาร์ทอัป ที่เห็นว่ามีกำไร ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างและมีสตาร์ทอัปจำนวนมาก เพื่อให้นักลงทุนเหล่านั้นได้เลือกลงทุน เพราะต้องยอมรับว่า ธุรกิจสตาร์ทอัปในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และลดลง ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ของสตาร์ทอัปจะเกิดขึ้น 10 ราย และรอดแค่ 2 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของสตาร์ทอัปทั่วโลก ทางออกของเรา คือ การเตรียมคนที่พร้อมจะมาเป็นสตาร์ทอัป” นายอุตตม กล่าว
ขณะที่การลงทุนของนักลงทุนที่สนใจร่วมกับสตาร์ทอัปไทย ในปีที่ผ่าน 2560 ที่ผ่านมา ยังมีตัวเลขอยู่ในระดับดี คือ ประมาณ 105 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 3 พันล้านบาท ในขณะที่ทั่วโลก มีนักลงทุน ลงทุนในกิจการ สตาร์ทอัป หรือ เวนเจอร์แคปปิตอล VC สูงถึง 140 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าสตาร์ทอัปไทยยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับนักลงทุน VC
นายอุตตม กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาท โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนส่งเสริม เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัป และยังได้มีการยกระดับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ มาเป็นศูนยส่งเสริม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ ศูนย์ ITC ได้ทำการเปิดศูนย์ ITC ไปแล้ว จำนวน 13 แห่งทั่วประเทศ โดยศูนย์เหล่านี้จะรองรับกลุ่มสตาร์ทอัป หรือ เอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น โดยกลุ่มนี้จะมีแนวคิด และอยากจะลองเริ่มผลิต หรือ ทำธุรกิจ แต่ไม่การจะลงทุน เรามีส่วนเทคโนโลยีการรผลิตให้ อาจจะลองทำก่อน โดยไม่ต้องลงทุน ถ้าเป็นที่กรุงเทพฯ จะเปิดที่ ศูนย์อุตสาหกรรมกล้วยน้ำไท สตาร์ทอัป และเอสเอ็มอี สามารถใช้บริการได้