ผู้จัดการรายวัน 360 - ดีเอสไอ บูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงาน เข้าตรวจสอบพื้นที่ รังเย็นรีสอร์ท อ.ด่านซ้าย จ.เลย ดำเนินคดีกับ บริษัท ซี.พี.เค.อินเตอร์เนชั่นแนลบุกรุกป่ากว่า 6 พันไร่ ด้านป่าไม้จ่อฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 600 ล้าน ผลการค้นบ้านชัยชนะ พบห้างยิงสัตว์ คนงานปัดไม่รู้เห็น อ้างเจ้านายไม่ได้มานานแล้ว
วานนี้ (4 ก.ย.) เวลา 09.30 น. พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีดีเอสไอ ร่วมกับ พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ หน.ชป.ศปบ.4 กอ.รมน. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผอ.สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ , กรมที่ดิน , กรมพัฒนาที่ดิน และ ทหารในพื้นที่ ร่วมกันเข้าตรวจสอบพื้นที่ รังเย็นรีสอร์ท อ.ด่านซ้าย จ.เลย และสอบสวนพยานบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง เพื่อประกอบการสอบสวนในคดี
พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า สืบเนื่องจาก กรมป่าไม้ได้ ร้องทุกข์ต่อ ดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ บริษัท ซี.พี.เค.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในความผิด ร่วมกันบุกรุกป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เนื้อที่ประมาณ 6,000 กว่าไร่ ซึ่ง ดีเอสไอ ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษที่ 56/2561 จากนั้นจึงได้ประสานขอรับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 15/2561 จากสถานีตำรวจภูธรโคกงาม มาเป็นพยานหลักฐานในคดีพิเศษนี้
จากการสอบสวนพบว่า พื้นที่เกิดเหตุเคยมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 147 แปลง รวมเนื้อที่ 6,229 ไร่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีความเห็นสั่งฟ้อง และทราบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีการหลบหนี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ยังไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ยึดถือครอบครองที่ดิน ในความผิดบุกรุกป่าแต่อย่างใด ต่อมา กรมที่ดิน ได้มีคำสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยใช้หลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐานในการออก นอกจากนี้ ยังได้มีการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 9516 ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของรังเย็นรีสอร์ท หมู่ 7 ต.โคกงาม อ.ด่านซ้าย จ.เลย และปัจจุบัน กรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 2462/2561 เมื่อวันที่ 31 ก.ค.2561 จึงทำให้พื้นที่บริเวณรังเย็นรีสอร์ท เป็นพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
"ดีเอสไอ ร่วมกับ กรมป่าไม้ บินถ่ายภาพทางอากาศในบริเวณพื้นที่เกิดเหต พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ มีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ มีสิ่งปลูกสร้าง มีพืชผลทางการเกษตร มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ถนน ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา เข้าไปถึงในพื้นที่ พื้นที่ที่อยู่นอก น.ส.3 ก. มีร่องรอยการถูกบุกรุกเพิ่มเติม ทั้งนี้ การทวงคืนผืนป่า ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ที่จะนำทรัพย์สินซึ่งเป็นของแผ่นดิน ที่มีการนำไปยึดถือครอบครองเป็นของส่วนตัว กลับมาเป็นสมบัติของประเทศชาติต่อไป"
นายชีวภาพ ขีวธรรม ผอ.สำนักป้องกันป่าและสำนักไฟป่า หัวหน้าชุมพยัคภัย กรมป่าไม้ กล่าวว่า ที่ดินในความครอบครองของบริษัทซี.พี.เคฯ ได้ถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2546 แต่ยังมีการใช้ประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้าง และเข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์พืชผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยกรมป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายของภาครัฐ พบว่าเฉลียไร่ละ 100,000 บาท คาดว่าจะต้องฟ้องแพ่งเรียกคืนประมาณ 600 ล้านบาท สำหรับพื้นที่รังเย็น รีสอร์ท 19 ไร่ บ.ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังกรมป่าไม้ โดยขอเข้าทำประโยชน์บางส่วน ซึ่งฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าระหว่างการดำเนินคดีจะให้เข้าใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
ภายหลังการตรวจยึดที่ดินกว่า 6,000 ไร่ พบว่ามีการถือครองที่ดินเพิ่มเติม จึงได้ตรวจยึดเพิ่มอีก 249 ไร่ รวมพื้นที่รอบนอกด้วย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อหาออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบพบว่าคดียังไม่หมดอายุความ แต่ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐได้หลบหนีไปยังประเทศลาว
รายงานเพิ่มเติมแจ้งว่า ภายหลังการตรวจพื้นที่รังเย็นรีสอร์ท เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ปลูกสร้างบ้านชัยชนะพบว่าเป็นบ้านพักส่วนตัว 2 หลัง และเรือนพักคนงาน ภายในมีกรงเลี้ยงสัตว์แต่คาดว่าถูกขนย้ายไปแล้ว เหลือเพียงไก่แจ้จำนวนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งห้างร้านบนต้นไม้เพื่อใช้ยิงสัตว์
โดยนายสอน ชินระนาท ผู้จัดการ ทำหน้าที่ดูแลบ้านชัยชนะนาน 17 ปี ระบุว่า ขณะนี้ไม่มีการเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านชัยชนะแล้ว. ส่วนห้างยิงสัตว์ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างไว้ ขณะที่แม่บ้านดูแลทำความสะอาด ระบุว่า ทำงานในบ้านชัยชนะมานาน 8 ปี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 5,000 บาท ระยะหลังเจ้านายไม่ได้เดินทางมา
วานนี้ (4 ก.ย.) เวลา 09.30 น. พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีดีเอสไอ ร่วมกับ พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ หน.ชป.ศปบ.4 กอ.รมน. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผอ.สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ , กรมที่ดิน , กรมพัฒนาที่ดิน และ ทหารในพื้นที่ ร่วมกันเข้าตรวจสอบพื้นที่ รังเย็นรีสอร์ท อ.ด่านซ้าย จ.เลย และสอบสวนพยานบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง เพื่อประกอบการสอบสวนในคดี
พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า สืบเนื่องจาก กรมป่าไม้ได้ ร้องทุกข์ต่อ ดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ บริษัท ซี.พี.เค.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในความผิด ร่วมกันบุกรุกป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เนื้อที่ประมาณ 6,000 กว่าไร่ ซึ่ง ดีเอสไอ ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษที่ 56/2561 จากนั้นจึงได้ประสานขอรับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 15/2561 จากสถานีตำรวจภูธรโคกงาม มาเป็นพยานหลักฐานในคดีพิเศษนี้
จากการสอบสวนพบว่า พื้นที่เกิดเหตุเคยมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 147 แปลง รวมเนื้อที่ 6,229 ไร่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีความเห็นสั่งฟ้อง และทราบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีการหลบหนี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ยังไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ยึดถือครอบครองที่ดิน ในความผิดบุกรุกป่าแต่อย่างใด ต่อมา กรมที่ดิน ได้มีคำสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยใช้หลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐานในการออก นอกจากนี้ ยังได้มีการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 9516 ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของรังเย็นรีสอร์ท หมู่ 7 ต.โคกงาม อ.ด่านซ้าย จ.เลย และปัจจุบัน กรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 2462/2561 เมื่อวันที่ 31 ก.ค.2561 จึงทำให้พื้นที่บริเวณรังเย็นรีสอร์ท เป็นพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
"ดีเอสไอ ร่วมกับ กรมป่าไม้ บินถ่ายภาพทางอากาศในบริเวณพื้นที่เกิดเหต พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ มีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ มีสิ่งปลูกสร้าง มีพืชผลทางการเกษตร มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ถนน ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา เข้าไปถึงในพื้นที่ พื้นที่ที่อยู่นอก น.ส.3 ก. มีร่องรอยการถูกบุกรุกเพิ่มเติม ทั้งนี้ การทวงคืนผืนป่า ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ที่จะนำทรัพย์สินซึ่งเป็นของแผ่นดิน ที่มีการนำไปยึดถือครอบครองเป็นของส่วนตัว กลับมาเป็นสมบัติของประเทศชาติต่อไป"
นายชีวภาพ ขีวธรรม ผอ.สำนักป้องกันป่าและสำนักไฟป่า หัวหน้าชุมพยัคภัย กรมป่าไม้ กล่าวว่า ที่ดินในความครอบครองของบริษัทซี.พี.เคฯ ได้ถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2546 แต่ยังมีการใช้ประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้าง และเข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์พืชผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยกรมป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายของภาครัฐ พบว่าเฉลียไร่ละ 100,000 บาท คาดว่าจะต้องฟ้องแพ่งเรียกคืนประมาณ 600 ล้านบาท สำหรับพื้นที่รังเย็น รีสอร์ท 19 ไร่ บ.ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังกรมป่าไม้ โดยขอเข้าทำประโยชน์บางส่วน ซึ่งฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าระหว่างการดำเนินคดีจะให้เข้าใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
ภายหลังการตรวจยึดที่ดินกว่า 6,000 ไร่ พบว่ามีการถือครองที่ดินเพิ่มเติม จึงได้ตรวจยึดเพิ่มอีก 249 ไร่ รวมพื้นที่รอบนอกด้วย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อหาออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบพบว่าคดียังไม่หมดอายุความ แต่ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐได้หลบหนีไปยังประเทศลาว
รายงานเพิ่มเติมแจ้งว่า ภายหลังการตรวจพื้นที่รังเย็นรีสอร์ท เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ปลูกสร้างบ้านชัยชนะพบว่าเป็นบ้านพักส่วนตัว 2 หลัง และเรือนพักคนงาน ภายในมีกรงเลี้ยงสัตว์แต่คาดว่าถูกขนย้ายไปแล้ว เหลือเพียงไก่แจ้จำนวนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งห้างร้านบนต้นไม้เพื่อใช้ยิงสัตว์
โดยนายสอน ชินระนาท ผู้จัดการ ทำหน้าที่ดูแลบ้านชัยชนะนาน 17 ปี ระบุว่า ขณะนี้ไม่มีการเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านชัยชนะแล้ว. ส่วนห้างยิงสัตว์ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างไว้ ขณะที่แม่บ้านดูแลทำความสะอาด ระบุว่า ทำงานในบ้านชัยชนะมานาน 8 ปี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 5,000 บาท ระยะหลังเจ้านายไม่ได้เดินทางมา