ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ในตำราเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดทำโดยโรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์) มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ นั้นได้ให้ความสำคัญโดยการใช้ “รสยา”เป็นวิธีการวินิจฉัย “สรรพคุณเภสัช” ความว่า
“สรรพคุณเภสัช หมายถึง การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ที่นำมาประกอบปรุงเป็นยา ซึ่งต้องจดจำให้ได้ว่าตัวยาแต่ละตัวมีรสยาอย่างไร รสของตัวยานี้จะแสดงถึงสรรพคุณของตัวยาในการรักษาโรค การรู้จักยานั้นมีสรรพคุณรักษาโรคอย่างไร สรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะรสยาแต่ละรสจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างฟักน เภสัชกรต้องศึกษาให้รู้จักรสยาของยาให้ถ่องแท้ และรสยานั่นเองจะแสดงสรรพคุณทันที”
นั่นหมายความว่าการแพทย์แผนไทยเดิมนั้นไม่ได้สนใจสารสำคัญหรือสารสกัดทางวิทยาศาตร์ในการวินิจฉัยคุณสมบัติทางเภสัชเหมือนกับวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แต่ใช้“รสยา” เป็นตัววิเคราะห์สรรพคุณเภสัช แล้วจึงนำมาวินิจฉัยด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกำหนดสัดส่วนรสยาอื่นๆเพื่อลดผลเสียของรสยานั้นออกมาเป็น “ตำรับยา”
โดยในการศึกษาเรื่องสรรพคุณเภสัชได้กล่าวถึงรสยา ๙ รส แก้โรคดังนี้
๑) รสฝาด สรรพคุณ มีฤทธิ์ทางสมาน เช่น สมานบาดแผลทั้งภายในและภายนอก แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด แก้ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ
แต่รสฝาดกับแสลงกับโรค ไอ ท้องผูก โรคลม โรคพรรดึก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟพิการ)
๒) รสหวาน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื่น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ
แต่รสหวาน แสลงกับโรค ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน โรคเบาหวาน น้ำเหลือเสีย บาดแผล
๓) รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน
แต่รสเมาเบื่อ แสลงกับโรค หัวใจพิการ ไอ
๔) รสขม สรรพคุณ แก้ในทางโลหิตและดี แก้กำเดา แก้ไข้ต่างๆ เช่น ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
แต่รสขม แสลงกับโรค หัวใจพิการ โรคลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ
๕) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมจุกเสียด ขับลมให้ผายหรือเรอ บำรุงเตโชธาติ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อย ช่วยย่อยอาหาร
แต่รสเผ็ดร้อน กลับแสลงกับโรค ไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง
๖) รสมัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
แต่รสมันแสลงกับโรค เสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ
๗) รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำ ดับร้อน
แต่รสหอมเย็น แสลงกับโรค ลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง
๘) รสเค็ม สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลืองเสีย ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว
แต่รสเค็ม แสลงกับโรค อุจจาระพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล
๙) รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ
แต่รสเปรี้ยว แสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสีย และไข้ต่างๆ
นอกจากนี้ในตำราเวชศึกษา (ตำราหลวง) ของพระยาพิศณุประศาสตร์เวชยังเพิ่ม “รสจืด” อีกหนึ่งรส สรรพคุณแก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน แก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ไม่แสลงกับโรคใด [1]
เกือบทุกรส (ยกเว้นรสจืด)ไม่ได้มีแต่สรรพคุณ แต่ก็มีโทษด้วย ด้วยเหตุผลนี้เองจึงต้องมีการผสมด้วยรสยาอื่นๆที่มีสรรพคุณลดโทษของสรรพคุณที่ต้องการ
ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น สมุนไพรที่มีรสฝาด เป็นสมุนไพรที่จะสามารถสมานแผลทั้งภายในและภายนอกได้ดี แต่มีผลเสียคือหากรับประทานในปริมาณที่มาก ก็จะทำให้มีลมมากและท้องผูก ดังนั้นหากจะต้องการสรรพคุณสมานแผลแต่ไม่ต้องการให้เกิดลมในท้องก็ต้องมีรสเผ็ดร้อนเข้าไปในตำรับด้วย และหากต้องการที่จะให้มีการแก้อาการท้องผูกก็ต้องมีรสเปรี้ยวเข้าไปผสมด้วย
ตัวอย่างข้างต้น เพื่อแสดงเหตุผลว่าทำไมตำราแพทย์แผนไทยจึงไม่ใช้ยาเดี่ยวในการรักษาโรค แต่ใช้เป็นยาตำรับเสมอ ก็เพราะสมุนไพรที่ใช้เป็นยาเดี่ยวทุกชนิดมีประโยชน์แต่ก็มีโทษในตัวเองทั้งสิ้น
แต่ภูมิปัญญาเรื่องรสยานั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น แต่เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาต่อเนื่องมาอย่างน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อกว่า ๓๐๐ ปีที่แล้ว โดยปรากฏอยู่ในตำราพระโอสถพระนารายณ์บันทึกเอาไว้ความตอนหนึ่งว่า
“แล้วให้รู้สรรพคุณยา แลรศยาทั้ง ๙ ประการก่อน จึงจะประกอบยา วางยา ถ้าวางยาชอบโรคๆนั้นกลัวยาดุจกาเห็นธนู ถ้ามิดังนั้น ดุจดังหมู่เนื้อเห็นพระยาไกรสรสีหราชก็จะปลาศหนี ถ้าดูโรคมิถูกวางยาผิด ดังอสรพิศม์อันบุคคลเอาไม้ไปรันลงที่ขนดหาง โรคคือโทโส จะกำเริบขึ้นกลมทั่วสรรพางค์กาย มรณํ อันว่าความตาย ภวิสฺสติ ก็จะมี ทุวํ แท้จริง...” [2]
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นรสยาของ “กัญชา” ด้วย คือ “รสเมาเบื่อ” ซึ่งได้ถูกกำหนดในสรรพคุณทางเภสัชว่า “รสเมาเบื่อ” แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน จะสามารถนำมาใช้กับวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันได้จริงมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของสมุนไพรแต่ละตัวด้วย
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจว่ามีกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรายหนึ่ง ในวารสาร Case Reports in Oncology เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ พบว่าสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ซึ่งออกฤทธิ์เมาเบื่อทั้งในกัญชงและกัญชาสามารถช่วยทำให้มีค่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวลดลงได้อย่างชัดเจนนั้น (แม้ว่าในกรณีนี้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตลงจากภาวะทางเดินอาหารทะลุภายหลังจากการใช้น้ำมันกัญชงเป็นยาเดี่ยวก็ตาม) [3] กรณีศึกษาดังกล่าวจะสามารถเทียบเคียงเพื่อยืนยันความอัศจรรย์ของสรรพคุณทางเภสัชในทางการแพทย์แผนไทยรู้มาก่อนหน้านี้นานมาหลายร้อยปีแล้วได้หรือไม่ว่า “รสเมาเบื่อ” มีสรรพคุณแก้พิษโลหิต
อย่างไรก็ตามเมื่อแพทย์แผนไทยในอดีตจะได้ใช้วิธีการชิม “รสยา” ของสมุนไพร เมื่อชิมรสยาแล้ว ก็อาจจะพบความจริงมากขึ้น และบันทึกมาเป็นสรรพคุณยาบันทึกอยู่ในคัมภีร์ที่มีชื่อว่า “คัมภีร์สรรพคุณ” สืบทอดใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
ย้อนกลับไปเมื่อ ๑๔๘ ปีที่แล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ (จุลศักราช ๑๒๓๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า คัมภีร์แพทย์ของไทยที่ได้บันทึกความรู้อันมีคุณประโยชน์แก่แผ่นดินและใช้ศึกษาต่อกันมาได้เร่ิมสูญหายและคลาดเคลื่อนมากแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ชำระสอบสวนตำรับคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่ขณะนั้นให้ถูกต้องดี แล้วส่งมอบให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่บันทึกในสมุดไทยเป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุลศลเฉลิมพระเกียรติ และเป็นตำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ซึ่งปัจจุบันต้นฉบับคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงเป็นสมุดไทยจัดเก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เรียกว่า “ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕”
“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งนี้มีความสำคัญในเนื้อหาก็เพราะเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้ง “คณะกรรมการแพทย์หลวง”ขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทย์ ร่วมกับ พระยาอมรสาตรประสิทธิ์ศิลป์หลวงกุมารเพช หลวงกุมารแพทย์ ขุนกุมารประเสริฐ ขุนกุมารประสิทธิ์ และขุนเทพกุมาร เป็นต้น เพื่อให้ช่วยกันตรวจสอบชำระคัมภีร์แพทย์ทั้งมวลให้ถูกต้อง จึงถือว่าเป็นการชำระตรวจสอบจากคณะกรรมการแพทย์หลวงอย่างเป็นทางการ “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” จึงเป็นคัมภีร์ที่มีการรวบรวมและชำระตรวจสอบความถูกต้องโดยคณะกรรมการแพทย์หลวง ซึ่งกลายเป็นมรดกภูมิปัญญาอันลำค่าที่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรยาวไกลยิ่งนัก
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปภายหลังจากจากสร้างคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงเป็นเวลา ๓๗ ปี พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) หรือ “หมอคง” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยในคณาจารย์ของ “ราชแพทยาลัย” และต่อมาท่านได้เป็นผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร ได้เห็นความจำเป็นว่า บรรดาราษฎรไทยที่ป่วยไข้ต้องรู้จักวิธีการรักษาตนเอง การจะเจาะแสวงหาตำราแพทย์ซึ่งมีอยู่น้อยมาคัดลอดเพื่อไปใช้เยียวยาก็เป็นการล่าช้าไม่ทันการ
นอกจากนี้พระคัมภีร์ของหลวงที่ตรวจสอบถูกต้องมีอยู่แล้วก็จริง แต่ก็ใช้กันในหมู่แพทย์หลวงเท่านั้น ประชาชนทั่วไปมีโอกาสใช้น้อย อีกทั้งพระยาพิศณุประสาทเวชมีความประสงค์จะเทิดทูนความศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์แพทย์แผนไทยไว้ให้เป็นสมบัติสาธารณะแก่ลูกหลานเหลนไทยทั้งมวล จึงนำความกราบทูลขอประทานพระอนุญาต สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณในเวลานั้น พิมพ์ “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ๒ เล่มจบ ให้เป็นตำราแพทย์แผนไทยของเราเอง และได้รับฉันทานุมัติให้จัดพิมพ์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
เนื่องจาก “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ซึ่งจัดทำภายหลัง “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เป็นเวลา ๓๗ ปี แม้ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดไปจากเดิมบ้าง บางส่วนมีการตัดออก บางส่วนปรับเปลี่ยนรายละเอียดตำรับยา บางส่วนมีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ด้วย ซึ่งยังไม่มีใครทราบถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความแตกต่างดังกล่าวได้ แต่การได้รับฉันทานุมัติให้จัดพิมพ์เช่นนี้ก็เชื่อได้ว่าน่าจะมีการตรวจสอบแล้วจากสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วยเช่นเดียวกัน เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความรู้และความสามารถแบบบูรณาการทั้งวิชาการแพทย์ฝรั่งและแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี
แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นการพิสูจน์ว่าตำรับยามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุและปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหากวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้มีข้อมูลหรือความรู้ใหม่จากงานวิจัยยุคใหม่ คนในยุคปัจจุบันก็ควรจะหาหนทางในการพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่โดยอาศัยกลไกการคิดจากภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยของบรรพบุรุษมาบูรณาการได้ เพื่อทำให้ยามีคุณภาพมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้นก็คือ “กันชา” ในคัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณที่ปรากฏใน“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ พระคัมภีร์สรรพคุณฯที่ปรากฏใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง”มีข้อความที่ตรงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ๒ คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงที่มีอายุต่างกัน ๓๗ ปี แสดงให้เห็นถึงการยืนยันสรรพคุณและวิธีการใช้ “กันชา” ตรงกันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความว่า
“กันชา แก้ไข้ผอมเหลืองหากำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เปนด้วยวาโยธาตุกำเริบ แก้นอนมิหลับ เอาตรีกฏุก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีเขมา ๑ พริกล่อนเสมอภาค ใบกันชาเท่ายาทั้งหลายทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มส้า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบญจทับทิม ต้มละลายยากิน หายแล” [4], [5]
(วาโยกำเริบ หมายถึง ธาตุลมผิดปรกติไปจากธรรมชาติในแบบที่มีการเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น, ตรีกฏุก หมายถึง พิกัดตัวยาท่ีจำกัดจำนวนเครื่องยาฤทธิ์ร้อน ๓ อย่าง ประกอบด้วย พริกไทย ดีปลี และเหง้าขิง (ขิงแห้ง), จันทน์ทั้ง ๒ หมายถึง จันทน์แดงและจันทน์ขาว, เบญจทับทิม หมายถึง ทับทิมทั้ง ๕ ได้เแก่ รากทับทิม เปลือกหรือต้นทับทิม ใบทับทิม ดอกทับทิม ผลทับทิม)
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในหัวข้อสรรพคุณกันชาโดยเฉพาะ ก็ระบุเอาไว้ว่าถ้าจะใช้กันชาตามสรรพคุณ “ตัวยาตรง” ที่ระบุมา ก็ให้ใช้ผสมเป็นตำรับยาร่วมกับรสยาอื่นๆ ไม่ได้ใช้ให้เป็นอย่างเดี่ยวแต่ประการใด
ทั้งนี้โครงสร้างยาไทยแบ่งออกเป็น
“ตัวยาตรง” คือ ยาที่มีสรรพคุณบำบัดโรคและไข้ที่เป็นอยู่
“ตัวยาช่วย” (รอง) คือ เมื่อมีโรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษา
“ตัวยาประกอบ” คือ ตัวยาที่มีสรรพคุณป้องกันโรคตาม และช่วยบำรุงหรือแก้ในส่วนที่หมอเห็นควร หรืออาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น
“ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา” เพื่อให้ยาน่ารับประทาน มีรสที่ง่ายในการรับประทาน
นอกจากสรรพคุณยาของกันชาที่ระบุในพระคัมภีร์สรรพคุณฯ ที่ปรากฏใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” แล้ว ยังปรากฏการใช้กันชาหรือกัญชาในพระคัมภีร์อื่นๆใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกหลายขนาน
เพียงแต่ว่าสถานภาพของ “กันชา” ส่วนใหญ่ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง ไม่ได้ถูกใช้เป็นยาหลักหรือตัวยาตรงในตำรับ แต่เป็นเพียงตัวยา ๑ ส่วน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยมากจากหลายตัวยารวมกัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กันชาจะเป็นสัดส่วนน้อยในตำรับยาส่วนใหญ่ แต่ถ้ากัญชากลายเป็นยาเสพติด ตำรับยาเหล่านี้ก็จะไม่สามารถนำกันชามาเข้าตำรับได้ ส่งผลทำให้ยาเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ตามโครงสร้างของยาเดิม จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง
ชื่อตำรับและสรรพคุณยาไทยจากมรดกภูมิปัญญาพระราชทานต่อไปนี้ได้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะกฎหมายซึ่งกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติด มีดังนี้
ยาไฟอาวุธ ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ :“กินแก้ทราง ๗ จำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พองท้องใหญ่ แก้พุงโรแลลม จุกเสียด แลแก้ป้าง แก้ม้ามแก้ดานเสมหะให้ปวดมวนเสียดแทง แก้อุจจาระเปนเสมหะโลหิตระคนกันมักให้ถอยกำลัง มักให้เปนไข้ไม่รู้สึกตัวให้ลงเปนโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะเพื่อลม”
ยาแก้ลมอุทธังคมาตวาต ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต :“แม้นจะแก้ลมอุทธังคมาตวาต อันจับหัวใจให้ชักมือกำให้เท้ากำ ลิ้นกระด้างแข็ง ตีขึ้นปะทะอกหายใจสอึกสอื้น เปนประหนึ่งจะสิ้นใจ ท่านให้ทำยานี้”
ยาแก้ริศดวงมหากาฬ ๕ จำพวก ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต : “สิทธิการิยะ จะกล่าวกำเนิดริศดวงมหากาฬ ๔ จำพวกๆหนึ่งขึ้นในลำคอ ในทวารหนัก ในทวารเบา จำพวกหนึ่งขึ้นในลำไส้ตลอดถึงลำคอ เมื่อขึ้นนั้น ตั้งขึ้นเปนกองเปนหมู่กันประมาณ ๙ - ๑๐ เม็ดๆ เท่าถั่วเขียว เมื่อสุกนั้นแตกออกเปนบุพโพโลหิตระคนกัน แล้วก็เลื่อนเข้าหากัน ให้บานออกสัณฐานดังดอกบุก เปนบุพโพโลหิตไหลซึมอยู่ ไม่รู้ก็ว่าฝีปลวกและฝีหัวคว่ำเพราะว่าบริวารนั้นตั้งเปนเม็ด ขึ้นตามลำไส้ตลอดขึ้นลำคอให้ปากคอนั้นเปื่อยกินเผ็ดกินร้อนมิได้ ถ้าจะแก้ท่านให้ปรุงยานี้ให้กินภายในเสียก่อน”
ยาแก้ลงบิดให้ปวดให้มวนท้อง ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต : “ยาแก้ลงบิดให้ปวดให้มวนท้อง”
ยาแก้โรคสัณฑฆาฏ (โรคอันเกิดจากสำส่อนทางกาม)สำหรับบุรุษ ในพระคัมภีร์ชวดาร : “จะว่าด้วยโรคสำหรับบุรุษหรือสัตรีก็เหมือนกัน แต่จะว่าด้วบุรุษนั้นก่อน ถ้าผู้ใดเปนโทษสัณฑฆาฏ แลกล่อนแห้ง มักให้ผูกพรรดึกและลมเสียดแทง ให้เปนลูกเปนก้อนเปนดานในท้องให้เมื่อยขบทั่วสารพางค์ มักให้เจ็บบั้นเอว ให้มือเท้าตายเปนเหน็บชา มักขัดหัวเหน่าตะโพก ตึงสองราวข้างไปจนตลอดทวารหนัก ปัสสาวะเปนโลหิต ให้ปวดสีสะวิงเวียนหน้าตา ปากเบี้ยว ตาแหกเสียงแห้งเจรจาไม่ไคร่ได้ยิน จักษุมือดหูหนัก แลจุกเสียด วท้องขึ้นแน่นน่าอกเสพย์อาหารไม่มีรศ โรคทั้งนี้เปนเพื่อวาตะ, เสมหะ, โลหิต, กำเริบ เมื่อจะเปนนั้นให้เหม็นเนื้อตัวแลอาหารถอย บางทีให้จับสบัดร้อนสท้านหนาว มักอยากของเปรี้ยวหวานแลเย็น เปนทั้งนี้เพราะโลหิตแห้งติดกระดูกสันหลัง บุรุษและสัตรีเปนเหมือนกันจะแก้ท่านให้แต่งยานี้”
ยาสนั่นไตรภพ (แก้ไกษยเหล็ก) ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “สิทธิการิย จะกล่าวลักษณไกษยโรคอันบังเกิดขึ้นเปน อุปปาติกะ คือ ไกษยเหล็กนั้นเป็นคำรบ ๓ มีประเภทกระทำให้ปวดหัวเหน่า แลท้องน้อยนั้นแขงดุจดังแผ่นหิน และจะไหวตัวไปมาก็มิได้ ครั้นแก่เข้าแขงลามขึ้นไปถึงยอดอก แล้วให้บริโภคอาหารมิได้ ให้ปวดขบดังจะขาดใจตาย”
ยาแก้ไกษยกล่อน (ไกษยดิน) ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “ไกษยดินนั้นมันเกิดเพื่อปถวีธาตุ คือเส้นกล่อนนั้นมันตั้งเปนก้อนอยู่ตามหัวเหน่าซ้าย, ขวา, ก็ดี มันก็เลื่อนลงไปเอาลูกอัณฑะ ให้กำเริบฟกขึ้น จับต้องเข้ามิได้ ให้เจ็บเสียวตลอดถึงหัวใจ เมื่อกินยาชอบมันก็ชักหดขึ้นไป ตั้งเปนก้อนเปนเถาขึ้นมาหัวเหน่ามันก็ให้เสียดสีข้างถึงยอดอก แล้วมันให้ปวดยอดอก อันว่าเส้นอันนั้นมันแทงเข้าเมื่อใด มันให้โทษ ๑๑ ประการ มันให้เจ็บเสียดแทง เปนพรรดึกให้เปนก้อนอยู่ในท้อง แล้วมันให้เจ็บทั่วสารพางค์กาย มันให้เจ็บสะเอวมันให้มือตาย เท้าตาย ให้เมื่อยขบขัดหัวเหน่าตะโพกให้ท้องตึงๆ ลงไปสองราวข้างและทวารเบา มันให้เจ็บสีสะให้วิงให้เวียนหน้าตา ให้ตาฟาง หูตึงให้ขัดสีข้าง ให้ท้องขึ้นท้องพอง บริโภคอาหารไม่มีรส โรคทั้งนี้เกิดเพราะเสมหะแห้งอยู่นอกไส้ มักเกิดพรรดึก เมื่อจะเปนนั้นมันให้ขึ้นเนื้อขึ้นตัวให้ถอยอาหาร บางทีมันให้จับร้อนจับหนาวอยากเปรี้ยวหวาน มันอยากอย่างนี้ชอบที่แห่งโรคดังนี้ บุรุษสัตรีเหมือนกัน อันว่าไกษยกล่อนเหล่านี้มันเกิดขึ้นเพื่อเส้นแลอุจจาระผูกพรรดึก อยู่ในปถวีธาตุ”
ยาแก้ลมไกษยเสียด โรคไกษยท้น ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “อันว่าไกษท้น เมื่อท้องเปล่านั้นค่อยสงบ ครั้นกินอาหารเข้าไปมันก็ท้นขึ้นมาเอายอดอก เมื่อมันแน่นอกแน่นในโครงหายใจอยู่อัดๆ ดังจะส้ินใจ มันแน่นขึ้นมาแต่ท้องน้อย มันชักเอากระเพาะเข้าขึ้นไปไว้จะกินอาหารมิได้”
ยาผงพรหมภักตร์ แก้ไกษยท้องมาร ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย): “ยาผงชื่อยาพรหมภักตร์ ประจุกไกษยครอบไกษยท้องมาร หืดไอทั้งปวง แก้ลมตีนตายเสลดตกผอมเหลือง เปนลมง่วงเหงาเจ็บในอก”
ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นั้น นอกจากจะพระคัมภีร์สรรพคุณจะระบุถึงวิธีการใช้ “กันชา” ในลักษณะเป็นยาตัวตรงในตำรับแล้ว ก็ยังมีอีกตำรับหนึ่งที่มีการเข้า “กันชา”อย่างน่าสนใจ เพราะเป็นตำรับยาที่ไม่ได้อยู่ใน “ตำราแพทย์หลวง” แต่เป็น ตำรับยาที่มีการระบุว่าอยู่ในตำราหลวงชื่อ “ไฟสุมขอน” นำมาบรรจุอยู่ใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๒ ในพระคัมภีร์ไกษย” เพื่อแก้ลมของไกษยทั้งปวง ชื่อยา “อัมฤตย์โอสถ” เป็นยา ๑ ใน ๒ ขนานที่นำมาจากตำราหลวงไฟสุมขอน ความว่า
“ขนานหนึ่งชื่อ อัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวง เอาสหัสคุณ ๑ แก่นแสมทะเล ๑ รากส้มกุ้ง ๑ ลูกมะตูม ๑ ลูกมะแหน ๑ ลูกพิลังกาสา ๑ สมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ โกฏเขมา ๑ เทียนดำ ๑ เทียนขาว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑. ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคเอาเปลือกหอยโข่ง ๑ เปลือกหอยขม ๑ เปลือกหอยแครง ๑ เบี้ยผู้เผา ๑ เอาสิ่งละ ๓ ส่วน เอากันชา ๑๐ ส่วน เอาพริกไทย ๒ เท่าของยาทั้งหลาย ตำผงกระสายยักย้ายใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด ตำราหลวง ๒ ขนานเท่านี้แล”
ในยาขนานนี้จะเห็นได้ว่าพริกไทยเป็นยาหลัก กันชาเป็นยารอง ทั้งนี้ในพระคัมภีร์สรรพคุณได้กล่าวถึงมหาพิกัดระบุว่า “พริกไทยนั้นแก้ในกองลมสรรพคุณสิ่งอื่นจะแก้ลมยิ่งกว่านั้นหามิได้” ดังนั้นการที่กันชาเข้าในตำรับยาที่มีพริกไทยซึ่งมีรสเผ็ดร้อนก็ดี คือเข้ากับพิกัดยา “ตรีกฏุก”ก็ดี (พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง) ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มธาตุไฟเพื่อไล่ลมทั้งสิ้น แต่การเพิ่มธาตุไฟเช่นนี้แสลงกับการมีไข้ ซึ่งกันชาออกฤทธิ์ตรงกันข้ามในการลดพิษไข้ลง
นอกจากนั้นเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารนั้น งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางเภสัชของยุโรปชื่อ European Review for Medical and Pharmacological Sciences เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าสารสกัดกัญชาอาจทำให้มีการลดการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร [6] ในขณะที่วารสารทางด้านโภชนการเวชศาสตร์ Journal of Medicinal Food ฉบับเมื่อปี พ.ศ ๒๕๕๓ กลับระบุกลไกของสารเพพเพอรีนในพริกไทยดำสามารถช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติได้ [7]
นอกจากนี้สารสำคัญของพริกไทยดำนอกจากจะขับลม ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นแล้ว พริกไทยดำยังช่วยเพิ่มฤทธิ์สรรพคุณยาตัวอื่น ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงย่อมส่งผลทำให้เกิดการต้านการกลายพันธุ์ของยีน และต้านเนื้องอก [8] ในขณะที่สารสำคัญของกัญชาในวงการแพทย์แผนปัจจุบันก็ยอมรับมากขึ้นแล้วว่า ช่วยทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร ลดอาการอาเจียน ลดอาการปวด ลดอาการชักได้
ความอัศจรรย์อยู่ตรงที่ว่าประเทศไทยมีผลงานวิจัยและความรู้แบบเภสัชศาสตร์ยุคใหม่ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลกอยู่ในมือ แต่ก็มีภูมิปัญญาชาติในการใช้กัญชาในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มาหลายร้อยปีอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติตะวันตกและอเมริกาไม่มี และรอเวลาเพียงแค่ทุกฝ่ายช่วยกันปลดล็อกกฎหมายในการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้เท่านั้น
แต่ปัจจุบันการปลดล็อคกฎหมายการใช้กัญชาในทางการแพทย์ขณะนี้ยังล่าช้าอยู่มาก คนบางกลุ่มพยายามกีดกั้นให้ใช้ในรูปสารสำคัญเพื่อให้แพทย์แผนปัจจุบันผูกขาดได้ใช้เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คนบางกลุ่มพยายามกำหนดข้อบ่งชี้โรคที่ให้ใช้กัญชาในแพทย์แผนไทยตามผลการวิจัยของเภสัชยุคใหม่เท่านั้น โดยไม่สนภูมิปัญญาชาติที่สั่งสมมา คนบางกลุ่มยังขวางไม่ให้มหาวิทยาลัยเอกชนทำการเพาะปลูกในพื้นที่ควบคุมเพื่อวิจัยและพัฒนาการสกัดหรือเพื่อการวิจัยทดลองในมนุษย์โดยอ้างว่ายังไม่มีระเบียบ นอกจากนี้ยังมีคนบางกลุ่มพยายามจะวิ่งเต้นให้องค์การเภสัชกรรมผูกขาดการปลูกและการสกัดกัญชาเพียงรายเดียว เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันทั้งคุณภาพและราคา หรือเพื่อทำให้เกิดการผูกขาดกลุ่มธุรกิจกัญชาให้อยู่กับเฉพาะพวกตัวเองผ่านองค์กรของรัฐ หรือเพื่อเคาะกะลาให้เอกชนวิ่งเต้นการผูกขาดผ่านองค์การของรัฐเท่านั้น
ทั้งๆที่ทุกวันนี้เอกต่างชาติก็ทยอยจดสิทธิบัตรการใช้สารสกัดกัญมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยก็แอบใช้น้ำมันกัญชาที่ไร้มาตรฐานและขายราคาแพงกันอย่างเอิกเกริก มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนในประเทศก็มีความสามารถในการพัฒนาและวิจัยไปมากแล้ว เหตุใดคนเหล่านี้จึงเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนไม่มีหัวจิตหัวใจคิดเห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเอาเสียเลย
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรจะต้องเร่งปลดล็อกกัญชาให้ใช้ในทางการแพทย์ ไม่ใช่ปลดล็อกในรูปสารสำคัญในกัญชาให้กับแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่สมควรจะต้องปลดล็อกให้แพทย์แผนไทยได้มีโอกาสใช้ตามเจนนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการให้แพทย์แผนไทยทได้มีโอกาสใช้ตำรับยาตามคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไป
นอกจากนี้สารสำคัญในกัญชาอีกตัวหนึ่งคือ CBD ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการมึนเมา ก็ควรจะเร่งปลดล็อกให้ใช้ในทางการแพทย์เพื่อประโยชน์ชองผู้ป่วยไปก่อนได้เลย ไม่จำเป็นต้องรออะไรอีกแล้ว แม้แต่ผู้ป่วยก็ควรจะมีสิทธิ์ที่จะปลูกในบ้านตามจำนวนที่กำหนดโดยการลงทะเบียนตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ทำกัน เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามสมควรแก่โรค
หวังว่าภาพสมุดไทยที่บันทึกคัมภีร์สรรพคุณและวิธีการใช้กัญชาเมื่อ ๑๔๘ ปีก่อน จะมีส่วนช่วยทำให้ผู้ที่ได้อ่านมีความตระหนักในภูมิปัญญาชาติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าให้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันเร่งปลดล็อกกัญชาให้ใช้ในทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง
[1] โรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์) มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ, ตำราเภสัชกรรมไทย พิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์, ๒๕๔๘ ISBN 974-93028-2-6
[2] ตำราพระโอสถพระนารายน์, สมเด็จพะรบริมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน ในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๐
[3] Singh Y, Bali C. Cannabis Extract Treatment for Terminal Acute Lymphoblastic Leukemia with a Philadelphia Chromosome Mutation. Case Reports in Oncology. 2013;6(3):585-592. doi:10.1159/000356446. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3901602/
[4] กรมศิลปากร. หอสมุดแห่งชาติ, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่มที่ ๒ กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒ ISBN 974-417-443-9 หน้า ๓๘๖
[5] กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๒๕๔๗ ISBN 978-974-01-9742-3
[6] Aviello G, Romano B, Izzo AA. Cannabinoids and gastrointestinal motility: animal and human. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2008 Aug;12 Suppl 1:81-93. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18924447
[7] Mehmood MH, Gilani AH , Pharmacological basis for the medicinal use of black pepper and piperine in gastrointestinal disorders.J Med Food. 2010 Oct;13(5):1086-96. doi: 10.1089/jmf.2010.1065.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20828313
[8] Srinivasan K, Black pepper and its pungent principle-piperine: a review of diverse physiological effects.Crit Rev Food Sci Nutr. 2007;47(8):735-48.
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ในตำราเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดทำโดยโรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์) มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ นั้นได้ให้ความสำคัญโดยการใช้ “รสยา”เป็นวิธีการวินิจฉัย “สรรพคุณเภสัช” ความว่า
“สรรพคุณเภสัช หมายถึง การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ที่นำมาประกอบปรุงเป็นยา ซึ่งต้องจดจำให้ได้ว่าตัวยาแต่ละตัวมีรสยาอย่างไร รสของตัวยานี้จะแสดงถึงสรรพคุณของตัวยาในการรักษาโรค การรู้จักยานั้นมีสรรพคุณรักษาโรคอย่างไร สรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะรสยาแต่ละรสจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างฟักน เภสัชกรต้องศึกษาให้รู้จักรสยาของยาให้ถ่องแท้ และรสยานั่นเองจะแสดงสรรพคุณทันที”
นั่นหมายความว่าการแพทย์แผนไทยเดิมนั้นไม่ได้สนใจสารสำคัญหรือสารสกัดทางวิทยาศาตร์ในการวินิจฉัยคุณสมบัติทางเภสัชเหมือนกับวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แต่ใช้“รสยา” เป็นตัววิเคราะห์สรรพคุณเภสัช แล้วจึงนำมาวินิจฉัยด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกำหนดสัดส่วนรสยาอื่นๆเพื่อลดผลเสียของรสยานั้นออกมาเป็น “ตำรับยา”
โดยในการศึกษาเรื่องสรรพคุณเภสัชได้กล่าวถึงรสยา ๙ รส แก้โรคดังนี้
๑) รสฝาด สรรพคุณ มีฤทธิ์ทางสมาน เช่น สมานบาดแผลทั้งภายในและภายนอก แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด แก้ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ
แต่รสฝาดกับแสลงกับโรค ไอ ท้องผูก โรคลม โรคพรรดึก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟพิการ)
๒) รสหวาน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื่น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ
แต่รสหวาน แสลงกับโรค ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน โรคเบาหวาน น้ำเหลือเสีย บาดแผล
๓) รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน
แต่รสเมาเบื่อ แสลงกับโรค หัวใจพิการ ไอ
๔) รสขม สรรพคุณ แก้ในทางโลหิตและดี แก้กำเดา แก้ไข้ต่างๆ เช่น ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
แต่รสขม แสลงกับโรค หัวใจพิการ โรคลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ
๕) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมจุกเสียด ขับลมให้ผายหรือเรอ บำรุงเตโชธาติ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อย ช่วยย่อยอาหาร
แต่รสเผ็ดร้อน กลับแสลงกับโรค ไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง
๖) รสมัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
แต่รสมันแสลงกับโรค เสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ
๗) รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำ ดับร้อน
แต่รสหอมเย็น แสลงกับโรค ลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง
๘) รสเค็ม สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลืองเสีย ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว
แต่รสเค็ม แสลงกับโรค อุจจาระพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล
๙) รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ
แต่รสเปรี้ยว แสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสีย และไข้ต่างๆ
นอกจากนี้ในตำราเวชศึกษา (ตำราหลวง) ของพระยาพิศณุประศาสตร์เวชยังเพิ่ม “รสจืด” อีกหนึ่งรส สรรพคุณแก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน แก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ไม่แสลงกับโรคใด [1]
เกือบทุกรส (ยกเว้นรสจืด)ไม่ได้มีแต่สรรพคุณ แต่ก็มีโทษด้วย ด้วยเหตุผลนี้เองจึงต้องมีการผสมด้วยรสยาอื่นๆที่มีสรรพคุณลดโทษของสรรพคุณที่ต้องการ
ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น สมุนไพรที่มีรสฝาด เป็นสมุนไพรที่จะสามารถสมานแผลทั้งภายในและภายนอกได้ดี แต่มีผลเสียคือหากรับประทานในปริมาณที่มาก ก็จะทำให้มีลมมากและท้องผูก ดังนั้นหากจะต้องการสรรพคุณสมานแผลแต่ไม่ต้องการให้เกิดลมในท้องก็ต้องมีรสเผ็ดร้อนเข้าไปในตำรับด้วย และหากต้องการที่จะให้มีการแก้อาการท้องผูกก็ต้องมีรสเปรี้ยวเข้าไปผสมด้วย
ตัวอย่างข้างต้น เพื่อแสดงเหตุผลว่าทำไมตำราแพทย์แผนไทยจึงไม่ใช้ยาเดี่ยวในการรักษาโรค แต่ใช้เป็นยาตำรับเสมอ ก็เพราะสมุนไพรที่ใช้เป็นยาเดี่ยวทุกชนิดมีประโยชน์แต่ก็มีโทษในตัวเองทั้งสิ้น
แต่ภูมิปัญญาเรื่องรสยานั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น แต่เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาต่อเนื่องมาอย่างน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อกว่า ๓๐๐ ปีที่แล้ว โดยปรากฏอยู่ในตำราพระโอสถพระนารายณ์บันทึกเอาไว้ความตอนหนึ่งว่า
“แล้วให้รู้สรรพคุณยา แลรศยาทั้ง ๙ ประการก่อน จึงจะประกอบยา วางยา ถ้าวางยาชอบโรคๆนั้นกลัวยาดุจกาเห็นธนู ถ้ามิดังนั้น ดุจดังหมู่เนื้อเห็นพระยาไกรสรสีหราชก็จะปลาศหนี ถ้าดูโรคมิถูกวางยาผิด ดังอสรพิศม์อันบุคคลเอาไม้ไปรันลงที่ขนดหาง โรคคือโทโส จะกำเริบขึ้นกลมทั่วสรรพางค์กาย มรณํ อันว่าความตาย ภวิสฺสติ ก็จะมี ทุวํ แท้จริง...” [2]
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นรสยาของ “กัญชา” ด้วย คือ “รสเมาเบื่อ” ซึ่งได้ถูกกำหนดในสรรพคุณทางเภสัชว่า “รสเมาเบื่อ” แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน จะสามารถนำมาใช้กับวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันได้จริงมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของสมุนไพรแต่ละตัวด้วย
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจว่ามีกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรายหนึ่ง ในวารสาร Case Reports in Oncology เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ พบว่าสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ซึ่งออกฤทธิ์เมาเบื่อทั้งในกัญชงและกัญชาสามารถช่วยทำให้มีค่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวลดลงได้อย่างชัดเจนนั้น (แม้ว่าในกรณีนี้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตลงจากภาวะทางเดินอาหารทะลุภายหลังจากการใช้น้ำมันกัญชงเป็นยาเดี่ยวก็ตาม) [3] กรณีศึกษาดังกล่าวจะสามารถเทียบเคียงเพื่อยืนยันความอัศจรรย์ของสรรพคุณทางเภสัชในทางการแพทย์แผนไทยรู้มาก่อนหน้านี้นานมาหลายร้อยปีแล้วได้หรือไม่ว่า “รสเมาเบื่อ” มีสรรพคุณแก้พิษโลหิต
อย่างไรก็ตามเมื่อแพทย์แผนไทยในอดีตจะได้ใช้วิธีการชิม “รสยา” ของสมุนไพร เมื่อชิมรสยาแล้ว ก็อาจจะพบความจริงมากขึ้น และบันทึกมาเป็นสรรพคุณยาบันทึกอยู่ในคัมภีร์ที่มีชื่อว่า “คัมภีร์สรรพคุณ” สืบทอดใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
ย้อนกลับไปเมื่อ ๑๔๘ ปีที่แล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ (จุลศักราช ๑๒๓๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า คัมภีร์แพทย์ของไทยที่ได้บันทึกความรู้อันมีคุณประโยชน์แก่แผ่นดินและใช้ศึกษาต่อกันมาได้เร่ิมสูญหายและคลาดเคลื่อนมากแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ชำระสอบสวนตำรับคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่ขณะนั้นให้ถูกต้องดี แล้วส่งมอบให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่บันทึกในสมุดไทยเป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุลศลเฉลิมพระเกียรติ และเป็นตำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ซึ่งปัจจุบันต้นฉบับคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงเป็นสมุดไทยจัดเก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เรียกว่า “ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕”
“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งนี้มีความสำคัญในเนื้อหาก็เพราะเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้ง “คณะกรรมการแพทย์หลวง”ขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทย์ ร่วมกับ พระยาอมรสาตรประสิทธิ์ศิลป์หลวงกุมารเพช หลวงกุมารแพทย์ ขุนกุมารประเสริฐ ขุนกุมารประสิทธิ์ และขุนเทพกุมาร เป็นต้น เพื่อให้ช่วยกันตรวจสอบชำระคัมภีร์แพทย์ทั้งมวลให้ถูกต้อง จึงถือว่าเป็นการชำระตรวจสอบจากคณะกรรมการแพทย์หลวงอย่างเป็นทางการ “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” จึงเป็นคัมภีร์ที่มีการรวบรวมและชำระตรวจสอบความถูกต้องโดยคณะกรรมการแพทย์หลวง ซึ่งกลายเป็นมรดกภูมิปัญญาอันลำค่าที่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรยาวไกลยิ่งนัก
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปภายหลังจากจากสร้างคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงเป็นเวลา ๓๗ ปี พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) หรือ “หมอคง” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยในคณาจารย์ของ “ราชแพทยาลัย” และต่อมาท่านได้เป็นผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร ได้เห็นความจำเป็นว่า บรรดาราษฎรไทยที่ป่วยไข้ต้องรู้จักวิธีการรักษาตนเอง การจะเจาะแสวงหาตำราแพทย์ซึ่งมีอยู่น้อยมาคัดลอดเพื่อไปใช้เยียวยาก็เป็นการล่าช้าไม่ทันการ
นอกจากนี้พระคัมภีร์ของหลวงที่ตรวจสอบถูกต้องมีอยู่แล้วก็จริง แต่ก็ใช้กันในหมู่แพทย์หลวงเท่านั้น ประชาชนทั่วไปมีโอกาสใช้น้อย อีกทั้งพระยาพิศณุประสาทเวชมีความประสงค์จะเทิดทูนความศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์แพทย์แผนไทยไว้ให้เป็นสมบัติสาธารณะแก่ลูกหลานเหลนไทยทั้งมวล จึงนำความกราบทูลขอประทานพระอนุญาต สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณในเวลานั้น พิมพ์ “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ๒ เล่มจบ ให้เป็นตำราแพทย์แผนไทยของเราเอง และได้รับฉันทานุมัติให้จัดพิมพ์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
เนื่องจาก “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ซึ่งจัดทำภายหลัง “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เป็นเวลา ๓๗ ปี แม้ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดไปจากเดิมบ้าง บางส่วนมีการตัดออก บางส่วนปรับเปลี่ยนรายละเอียดตำรับยา บางส่วนมีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ด้วย ซึ่งยังไม่มีใครทราบถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความแตกต่างดังกล่าวได้ แต่การได้รับฉันทานุมัติให้จัดพิมพ์เช่นนี้ก็เชื่อได้ว่าน่าจะมีการตรวจสอบแล้วจากสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วยเช่นเดียวกัน เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความรู้และความสามารถแบบบูรณาการทั้งวิชาการแพทย์ฝรั่งและแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี
แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นการพิสูจน์ว่าตำรับยามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุและปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหากวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้มีข้อมูลหรือความรู้ใหม่จากงานวิจัยยุคใหม่ คนในยุคปัจจุบันก็ควรจะหาหนทางในการพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่โดยอาศัยกลไกการคิดจากภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยของบรรพบุรุษมาบูรณาการได้ เพื่อทำให้ยามีคุณภาพมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้นก็คือ “กันชา” ในคัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณที่ปรากฏใน“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ พระคัมภีร์สรรพคุณฯที่ปรากฏใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง”มีข้อความที่ตรงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ๒ คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงที่มีอายุต่างกัน ๓๗ ปี แสดงให้เห็นถึงการยืนยันสรรพคุณและวิธีการใช้ “กันชา” ตรงกันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความว่า
“กันชา แก้ไข้ผอมเหลืองหากำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เปนด้วยวาโยธาตุกำเริบ แก้นอนมิหลับ เอาตรีกฏุก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีเขมา ๑ พริกล่อนเสมอภาค ใบกันชาเท่ายาทั้งหลายทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มส้า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบญจทับทิม ต้มละลายยากิน หายแล” [4], [5]
(วาโยกำเริบ หมายถึง ธาตุลมผิดปรกติไปจากธรรมชาติในแบบที่มีการเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น, ตรีกฏุก หมายถึง พิกัดตัวยาท่ีจำกัดจำนวนเครื่องยาฤทธิ์ร้อน ๓ อย่าง ประกอบด้วย พริกไทย ดีปลี และเหง้าขิง (ขิงแห้ง), จันทน์ทั้ง ๒ หมายถึง จันทน์แดงและจันทน์ขาว, เบญจทับทิม หมายถึง ทับทิมทั้ง ๕ ได้เแก่ รากทับทิม เปลือกหรือต้นทับทิม ใบทับทิม ดอกทับทิม ผลทับทิม)
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในหัวข้อสรรพคุณกันชาโดยเฉพาะ ก็ระบุเอาไว้ว่าถ้าจะใช้กันชาตามสรรพคุณ “ตัวยาตรง” ที่ระบุมา ก็ให้ใช้ผสมเป็นตำรับยาร่วมกับรสยาอื่นๆ ไม่ได้ใช้ให้เป็นอย่างเดี่ยวแต่ประการใด
ทั้งนี้โครงสร้างยาไทยแบ่งออกเป็น
“ตัวยาตรง” คือ ยาที่มีสรรพคุณบำบัดโรคและไข้ที่เป็นอยู่
“ตัวยาช่วย” (รอง) คือ เมื่อมีโรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษา
“ตัวยาประกอบ” คือ ตัวยาที่มีสรรพคุณป้องกันโรคตาม และช่วยบำรุงหรือแก้ในส่วนที่หมอเห็นควร หรืออาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น
“ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา” เพื่อให้ยาน่ารับประทาน มีรสที่ง่ายในการรับประทาน
นอกจากสรรพคุณยาของกันชาที่ระบุในพระคัมภีร์สรรพคุณฯ ที่ปรากฏใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” แล้ว ยังปรากฏการใช้กันชาหรือกัญชาในพระคัมภีร์อื่นๆใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกหลายขนาน
เพียงแต่ว่าสถานภาพของ “กันชา” ส่วนใหญ่ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง ไม่ได้ถูกใช้เป็นยาหลักหรือตัวยาตรงในตำรับ แต่เป็นเพียงตัวยา ๑ ส่วน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยมากจากหลายตัวยารวมกัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กันชาจะเป็นสัดส่วนน้อยในตำรับยาส่วนใหญ่ แต่ถ้ากัญชากลายเป็นยาเสพติด ตำรับยาเหล่านี้ก็จะไม่สามารถนำกันชามาเข้าตำรับได้ ส่งผลทำให้ยาเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ตามโครงสร้างของยาเดิม จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง
ชื่อตำรับและสรรพคุณยาไทยจากมรดกภูมิปัญญาพระราชทานต่อไปนี้ได้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะกฎหมายซึ่งกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติด มีดังนี้
ยาไฟอาวุธ ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ :“กินแก้ทราง ๗ จำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พองท้องใหญ่ แก้พุงโรแลลม จุกเสียด แลแก้ป้าง แก้ม้ามแก้ดานเสมหะให้ปวดมวนเสียดแทง แก้อุจจาระเปนเสมหะโลหิตระคนกันมักให้ถอยกำลัง มักให้เปนไข้ไม่รู้สึกตัวให้ลงเปนโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะเพื่อลม”
ยาแก้ลมอุทธังคมาตวาต ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต :“แม้นจะแก้ลมอุทธังคมาตวาต อันจับหัวใจให้ชักมือกำให้เท้ากำ ลิ้นกระด้างแข็ง ตีขึ้นปะทะอกหายใจสอึกสอื้น เปนประหนึ่งจะสิ้นใจ ท่านให้ทำยานี้”
ยาแก้ริศดวงมหากาฬ ๕ จำพวก ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต : “สิทธิการิยะ จะกล่าวกำเนิดริศดวงมหากาฬ ๔ จำพวกๆหนึ่งขึ้นในลำคอ ในทวารหนัก ในทวารเบา จำพวกหนึ่งขึ้นในลำไส้ตลอดถึงลำคอ เมื่อขึ้นนั้น ตั้งขึ้นเปนกองเปนหมู่กันประมาณ ๙ - ๑๐ เม็ดๆ เท่าถั่วเขียว เมื่อสุกนั้นแตกออกเปนบุพโพโลหิตระคนกัน แล้วก็เลื่อนเข้าหากัน ให้บานออกสัณฐานดังดอกบุก เปนบุพโพโลหิตไหลซึมอยู่ ไม่รู้ก็ว่าฝีปลวกและฝีหัวคว่ำเพราะว่าบริวารนั้นตั้งเปนเม็ด ขึ้นตามลำไส้ตลอดขึ้นลำคอให้ปากคอนั้นเปื่อยกินเผ็ดกินร้อนมิได้ ถ้าจะแก้ท่านให้ปรุงยานี้ให้กินภายในเสียก่อน”
ยาแก้ลงบิดให้ปวดให้มวนท้อง ในพระคัมภีร์มหาโชติรัต : “ยาแก้ลงบิดให้ปวดให้มวนท้อง”
ยาแก้โรคสัณฑฆาฏ (โรคอันเกิดจากสำส่อนทางกาม)สำหรับบุรุษ ในพระคัมภีร์ชวดาร : “จะว่าด้วยโรคสำหรับบุรุษหรือสัตรีก็เหมือนกัน แต่จะว่าด้วบุรุษนั้นก่อน ถ้าผู้ใดเปนโทษสัณฑฆาฏ แลกล่อนแห้ง มักให้ผูกพรรดึกและลมเสียดแทง ให้เปนลูกเปนก้อนเปนดานในท้องให้เมื่อยขบทั่วสารพางค์ มักให้เจ็บบั้นเอว ให้มือเท้าตายเปนเหน็บชา มักขัดหัวเหน่าตะโพก ตึงสองราวข้างไปจนตลอดทวารหนัก ปัสสาวะเปนโลหิต ให้ปวดสีสะวิงเวียนหน้าตา ปากเบี้ยว ตาแหกเสียงแห้งเจรจาไม่ไคร่ได้ยิน จักษุมือดหูหนัก แลจุกเสียด วท้องขึ้นแน่นน่าอกเสพย์อาหารไม่มีรศ โรคทั้งนี้เปนเพื่อวาตะ, เสมหะ, โลหิต, กำเริบ เมื่อจะเปนนั้นให้เหม็นเนื้อตัวแลอาหารถอย บางทีให้จับสบัดร้อนสท้านหนาว มักอยากของเปรี้ยวหวานแลเย็น เปนทั้งนี้เพราะโลหิตแห้งติดกระดูกสันหลัง บุรุษและสัตรีเปนเหมือนกันจะแก้ท่านให้แต่งยานี้”
ยาสนั่นไตรภพ (แก้ไกษยเหล็ก) ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “สิทธิการิย จะกล่าวลักษณไกษยโรคอันบังเกิดขึ้นเปน อุปปาติกะ คือ ไกษยเหล็กนั้นเป็นคำรบ ๓ มีประเภทกระทำให้ปวดหัวเหน่า แลท้องน้อยนั้นแขงดุจดังแผ่นหิน และจะไหวตัวไปมาก็มิได้ ครั้นแก่เข้าแขงลามขึ้นไปถึงยอดอก แล้วให้บริโภคอาหารมิได้ ให้ปวดขบดังจะขาดใจตาย”
ยาแก้ไกษยกล่อน (ไกษยดิน) ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “ไกษยดินนั้นมันเกิดเพื่อปถวีธาตุ คือเส้นกล่อนนั้นมันตั้งเปนก้อนอยู่ตามหัวเหน่าซ้าย, ขวา, ก็ดี มันก็เลื่อนลงไปเอาลูกอัณฑะ ให้กำเริบฟกขึ้น จับต้องเข้ามิได้ ให้เจ็บเสียวตลอดถึงหัวใจ เมื่อกินยาชอบมันก็ชักหดขึ้นไป ตั้งเปนก้อนเปนเถาขึ้นมาหัวเหน่ามันก็ให้เสียดสีข้างถึงยอดอก แล้วมันให้ปวดยอดอก อันว่าเส้นอันนั้นมันแทงเข้าเมื่อใด มันให้โทษ ๑๑ ประการ มันให้เจ็บเสียดแทง เปนพรรดึกให้เปนก้อนอยู่ในท้อง แล้วมันให้เจ็บทั่วสารพางค์กาย มันให้เจ็บสะเอวมันให้มือตาย เท้าตาย ให้เมื่อยขบขัดหัวเหน่าตะโพกให้ท้องตึงๆ ลงไปสองราวข้างและทวารเบา มันให้เจ็บสีสะให้วิงให้เวียนหน้าตา ให้ตาฟาง หูตึงให้ขัดสีข้าง ให้ท้องขึ้นท้องพอง บริโภคอาหารไม่มีรส โรคทั้งนี้เกิดเพราะเสมหะแห้งอยู่นอกไส้ มักเกิดพรรดึก เมื่อจะเปนนั้นมันให้ขึ้นเนื้อขึ้นตัวให้ถอยอาหาร บางทีมันให้จับร้อนจับหนาวอยากเปรี้ยวหวาน มันอยากอย่างนี้ชอบที่แห่งโรคดังนี้ บุรุษสัตรีเหมือนกัน อันว่าไกษยกล่อนเหล่านี้มันเกิดขึ้นเพื่อเส้นแลอุจจาระผูกพรรดึก อยู่ในปถวีธาตุ”
ยาแก้ลมไกษยเสียด โรคไกษยท้น ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย) : “อันว่าไกษท้น เมื่อท้องเปล่านั้นค่อยสงบ ครั้นกินอาหารเข้าไปมันก็ท้นขึ้นมาเอายอดอก เมื่อมันแน่นอกแน่นในโครงหายใจอยู่อัดๆ ดังจะส้ินใจ มันแน่นขึ้นมาแต่ท้องน้อย มันชักเอากระเพาะเข้าขึ้นไปไว้จะกินอาหารมิได้”
ยาผงพรหมภักตร์ แก้ไกษยท้องมาร ในพระคัมภีร์ไกษย (กษัย): “ยาผงชื่อยาพรหมภักตร์ ประจุกไกษยครอบไกษยท้องมาร หืดไอทั้งปวง แก้ลมตีนตายเสลดตกผอมเหลือง เปนลมง่วงเหงาเจ็บในอก”
ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นั้น นอกจากจะพระคัมภีร์สรรพคุณจะระบุถึงวิธีการใช้ “กันชา” ในลักษณะเป็นยาตัวตรงในตำรับแล้ว ก็ยังมีอีกตำรับหนึ่งที่มีการเข้า “กันชา”อย่างน่าสนใจ เพราะเป็นตำรับยาที่ไม่ได้อยู่ใน “ตำราแพทย์หลวง” แต่เป็น ตำรับยาที่มีการระบุว่าอยู่ในตำราหลวงชื่อ “ไฟสุมขอน” นำมาบรรจุอยู่ใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๒ ในพระคัมภีร์ไกษย” เพื่อแก้ลมของไกษยทั้งปวง ชื่อยา “อัมฤตย์โอสถ” เป็นยา ๑ ใน ๒ ขนานที่นำมาจากตำราหลวงไฟสุมขอน ความว่า
“ขนานหนึ่งชื่อ อัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวง เอาสหัสคุณ ๑ แก่นแสมทะเล ๑ รากส้มกุ้ง ๑ ลูกมะตูม ๑ ลูกมะแหน ๑ ลูกพิลังกาสา ๑ สมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ โกฏเขมา ๑ เทียนดำ ๑ เทียนขาว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑. ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคเอาเปลือกหอยโข่ง ๑ เปลือกหอยขม ๑ เปลือกหอยแครง ๑ เบี้ยผู้เผา ๑ เอาสิ่งละ ๓ ส่วน เอากันชา ๑๐ ส่วน เอาพริกไทย ๒ เท่าของยาทั้งหลาย ตำผงกระสายยักย้ายใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด ตำราหลวง ๒ ขนานเท่านี้แล”
ในยาขนานนี้จะเห็นได้ว่าพริกไทยเป็นยาหลัก กันชาเป็นยารอง ทั้งนี้ในพระคัมภีร์สรรพคุณได้กล่าวถึงมหาพิกัดระบุว่า “พริกไทยนั้นแก้ในกองลมสรรพคุณสิ่งอื่นจะแก้ลมยิ่งกว่านั้นหามิได้” ดังนั้นการที่กันชาเข้าในตำรับยาที่มีพริกไทยซึ่งมีรสเผ็ดร้อนก็ดี คือเข้ากับพิกัดยา “ตรีกฏุก”ก็ดี (พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง) ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มธาตุไฟเพื่อไล่ลมทั้งสิ้น แต่การเพิ่มธาตุไฟเช่นนี้แสลงกับการมีไข้ ซึ่งกันชาออกฤทธิ์ตรงกันข้ามในการลดพิษไข้ลง
นอกจากนั้นเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารนั้น งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางเภสัชของยุโรปชื่อ European Review for Medical and Pharmacological Sciences เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าสารสกัดกัญชาอาจทำให้มีการลดการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร [6] ในขณะที่วารสารทางด้านโภชนการเวชศาสตร์ Journal of Medicinal Food ฉบับเมื่อปี พ.ศ ๒๕๕๓ กลับระบุกลไกของสารเพพเพอรีนในพริกไทยดำสามารถช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติได้ [7]
นอกจากนี้สารสำคัญของพริกไทยดำนอกจากจะขับลม ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นแล้ว พริกไทยดำยังช่วยเพิ่มฤทธิ์สรรพคุณยาตัวอื่น ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงย่อมส่งผลทำให้เกิดการต้านการกลายพันธุ์ของยีน และต้านเนื้องอก [8] ในขณะที่สารสำคัญของกัญชาในวงการแพทย์แผนปัจจุบันก็ยอมรับมากขึ้นแล้วว่า ช่วยทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร ลดอาการอาเจียน ลดอาการปวด ลดอาการชักได้
ความอัศจรรย์อยู่ตรงที่ว่าประเทศไทยมีผลงานวิจัยและความรู้แบบเภสัชศาสตร์ยุคใหม่ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลกอยู่ในมือ แต่ก็มีภูมิปัญญาชาติในการใช้กัญชาในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มาหลายร้อยปีอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติตะวันตกและอเมริกาไม่มี และรอเวลาเพียงแค่ทุกฝ่ายช่วยกันปลดล็อกกฎหมายในการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้เท่านั้น
แต่ปัจจุบันการปลดล็อคกฎหมายการใช้กัญชาในทางการแพทย์ขณะนี้ยังล่าช้าอยู่มาก คนบางกลุ่มพยายามกีดกั้นให้ใช้ในรูปสารสำคัญเพื่อให้แพทย์แผนปัจจุบันผูกขาดได้ใช้เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คนบางกลุ่มพยายามกำหนดข้อบ่งชี้โรคที่ให้ใช้กัญชาในแพทย์แผนไทยตามผลการวิจัยของเภสัชยุคใหม่เท่านั้น โดยไม่สนภูมิปัญญาชาติที่สั่งสมมา คนบางกลุ่มยังขวางไม่ให้มหาวิทยาลัยเอกชนทำการเพาะปลูกในพื้นที่ควบคุมเพื่อวิจัยและพัฒนาการสกัดหรือเพื่อการวิจัยทดลองในมนุษย์โดยอ้างว่ายังไม่มีระเบียบ นอกจากนี้ยังมีคนบางกลุ่มพยายามจะวิ่งเต้นให้องค์การเภสัชกรรมผูกขาดการปลูกและการสกัดกัญชาเพียงรายเดียว เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันทั้งคุณภาพและราคา หรือเพื่อทำให้เกิดการผูกขาดกลุ่มธุรกิจกัญชาให้อยู่กับเฉพาะพวกตัวเองผ่านองค์กรของรัฐ หรือเพื่อเคาะกะลาให้เอกชนวิ่งเต้นการผูกขาดผ่านองค์การของรัฐเท่านั้น
ทั้งๆที่ทุกวันนี้เอกต่างชาติก็ทยอยจดสิทธิบัตรการใช้สารสกัดกัญมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยก็แอบใช้น้ำมันกัญชาที่ไร้มาตรฐานและขายราคาแพงกันอย่างเอิกเกริก มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนในประเทศก็มีความสามารถในการพัฒนาและวิจัยไปมากแล้ว เหตุใดคนเหล่านี้จึงเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนไม่มีหัวจิตหัวใจคิดเห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเอาเสียเลย
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรจะต้องเร่งปลดล็อกกัญชาให้ใช้ในทางการแพทย์ ไม่ใช่ปลดล็อกในรูปสารสำคัญในกัญชาให้กับแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่สมควรจะต้องปลดล็อกให้แพทย์แผนไทยได้มีโอกาสใช้ตามเจนนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการให้แพทย์แผนไทยทได้มีโอกาสใช้ตำรับยาตามคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไป
นอกจากนี้สารสำคัญในกัญชาอีกตัวหนึ่งคือ CBD ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการมึนเมา ก็ควรจะเร่งปลดล็อกให้ใช้ในทางการแพทย์เพื่อประโยชน์ชองผู้ป่วยไปก่อนได้เลย ไม่จำเป็นต้องรออะไรอีกแล้ว แม้แต่ผู้ป่วยก็ควรจะมีสิทธิ์ที่จะปลูกในบ้านตามจำนวนที่กำหนดโดยการลงทะเบียนตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ทำกัน เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามสมควรแก่โรค
หวังว่าภาพสมุดไทยที่บันทึกคัมภีร์สรรพคุณและวิธีการใช้กัญชาเมื่อ ๑๔๘ ปีก่อน จะมีส่วนช่วยทำให้ผู้ที่ได้อ่านมีความตระหนักในภูมิปัญญาชาติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าให้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันเร่งปลดล็อกกัญชาให้ใช้ในทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง
[1] โรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์) มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ, ตำราเภสัชกรรมไทย พิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์, ๒๕๔๘ ISBN 974-93028-2-6
[2] ตำราพระโอสถพระนารายน์, สมเด็จพะรบริมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน ในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๐
[3] Singh Y, Bali C. Cannabis Extract Treatment for Terminal Acute Lymphoblastic Leukemia with a Philadelphia Chromosome Mutation. Case Reports in Oncology. 2013;6(3):585-592. doi:10.1159/000356446. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3901602/
[4] กรมศิลปากร. หอสมุดแห่งชาติ, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่มที่ ๒ กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒ ISBN 974-417-443-9 หน้า ๓๘๖
[5] กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๒๕๔๗ ISBN 978-974-01-9742-3
[6] Aviello G, Romano B, Izzo AA. Cannabinoids and gastrointestinal motility: animal and human. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2008 Aug;12 Suppl 1:81-93. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18924447
[7] Mehmood MH, Gilani AH , Pharmacological basis for the medicinal use of black pepper and piperine in gastrointestinal disorders.J Med Food. 2010 Oct;13(5):1086-96. doi: 10.1089/jmf.2010.1065.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20828313
[8] Srinivasan K, Black pepper and its pungent principle-piperine: a review of diverse physiological effects.Crit Rev Food Sci Nutr. 2007;47(8):735-48.