ผมหยิบเรื่องนี้มาเขียนในสัปดาห์นี้ก็เพราะว่าในวันที่ 1 กันยายน 2561 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะจัดเวทีเสวนาเรื่อง “อย่าบังแดด”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน “มหกรรมสมุนไพรและอาหาร” (29 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2561) ที่อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7-8 ผมจึงขอถือโอกาสนำเสนอเนื้อหาบางส่วนและประชาสัมพันธ์งานล่วงหน้าครับ
แทบไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์ “อย่าบังแดด”เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช แต่ในปัจจุบันก็ยังมีเหตุการณ์เช่นนี้ดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรา ท่านสามารถดูประวัติความเป็นมาได้จากแผ่นภาพนี้ครับ

1.เหตุผลและความจำเป็น
ในปี 2560 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้ารวมกันคิดเป็นมูลค่า 6.51 แสนล้านบาท (4.2% ของจีดีพี) โดยเป็นการผลิตจากรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณ 38%
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า บ้านอยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 345 หน่วยต่อเดือน และจากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวงพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนนี้จะต้องจ่ายในอัตราเฉลี่ย 4.01 บาทต่อหน่วย (ข้อมูลปี 2561 รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) คิดเป็นเงินปีละ 16,613 บาท หรือเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ของรายได้รายปีของครัวเรือนทั่วประเทศ (เดือนละ 23,840 บาท ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อน่าสังเกตที่สำคัญ 3 ประการ คือ
หนึ่ง ปัจจุบันไฟฟ้าทั่วโลกเป็นการผลิตจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภคจำนวนนับล้านราย ที่เป็นเช่นนี้เพราะขีดจำกัดของเทคโนโลยี ไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงต้องไหลทางเดียว คือ ไหลจากโรงไฟฟ้าไปถึงครัวเรือน ทั้งๆ ที่ในทางเทคนิคแล้วไฟฟ้าสามารถไหลได้ทั้งสองทิศทาง ดังนั้น เงินจึงต้องไหลออกจากกระเป๋าของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าร่ำรวยขึ้นๆ ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องยากจนลงๆ
สอง รายจ่ายเนื่องจากค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 5.8 ของรายได้ครัวเรือน หรือเกือบ 1,400 บาทต่อเดือน ไม่ใช่จำนวนเงินที่จะมองข้ามได้สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง
สาม ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่เรียกว่าโซลาร์เซลล์ ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สามารถติดตั้งได้สะดวกและมีราคาถูกลงมาก สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขายให้กับครัวเรือน จึงเปิดโอกาสให้แต่ละครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง รวมทั้งให้ไฟฟ้าสามารถไหลได้สองทางเข้าสู่สายส่งเพื่อขายส่วนที่เหลือใช้เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้
2.ตัวอย่างจากรัฐบาลอินเดีย
จากบทความ “การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า มองเทศมองไทย” โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร (มติชน 23 มิ.ย.60) พบว่า ที่ประเทศอินเดีย ราคาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่ำกว่าที่ใช้ถ่านหินผลิตประมาณ 20% และคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปี อินเดียจะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ถึงร้อยละ 60 ของความต้องการของประเทศทั้งหมด
อาจารย์ผาสุก ยังได้กล่าวอีกว่า “เมื่อ 10 ปีที่แล้วอินเดียเหมือนกับไทย ตรงที่ผู้วางแผนด้านพลังงานยังบอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก เพื่อให้มีสำรองที่เพียงพอกับความต้องการ แต่ตอนนี้ได้ยกเลิกแผนดังกล่าวหมดแล้ว และยังได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าของโครงการที่ได้รับอนุญาตไปแล้วแต่ถูกยกเลิกไป”
ในตอนท้าย อาจารย์ผาสุกได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ผู้บริหารรู้สึกเสียใจจริงที่ไม่ได้ยกเลิกเร็วกว่านี้ แต่ผู้วางแผนของไทยยังเหมือนกับที่อินเดียเมื่อสิบปีที่แล้ว”
ผมได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า
(1)ประเทศอินเดียมีสำรองถ่านหินมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยต้องนำเข้าถ่านหิน
(2) ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ต่ำสุดที่ชนะการประมูลขนาด 600 เมกะวัตต์ (ก.ค. 61) ราคาหน่วยละ 2.44 รูปี หรือ 1.15 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
(3) ในช่วง พ.ค. 2557 ถึง ม.ค. 61 อินเดียติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น 8 เท่าตัว จาก 2,650 เมกะวัตต์ เป็น 23,000 เมกะวัตต์
3.ตัวอย่างจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ในปี 2560 รัฐแคลิฟอร์เนีย (มีประชากร 40 ล้านคน) มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้วจำนวน 8.52 แสนราย เฉพาะปี 2560 อย่างเดียว มีการติดตั้งรวม 1,128 เมกะวัตต์ (เฉลี่ย 2.1 กิโลวัตต์ต่อนาที) ประมาณ 65% เป็นการติดตั้งในที่อยู่อาศัย ในช่วง 2553 ถึง 2560 จำนวนการติดตั้งเพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว รวมเป็น 5,793 เมกะวัตต์
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2561 รัฐนี้ได้ออกระเบียบให้บ้านใหม่ทุกหลัง (ไม่เกิน 3 ชั้น) ที่จะสร้างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปจะต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา
กลไกสำคัญที่ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วก็คือ การนำระบบที่เรียกว่า “Net Metering” มาใช้ซึ่งมีคำอธิบายสั้นๆ อยู่ในภาพครับ

โดยสรุปก็คือ ในเวลากลางคืน (ซึ่งผลิตไฟฟ้าไม่ได้) ผู้อยู่อาศัยก็ใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง มิเตอร์ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น ในเวลากลางวันไฟฟ้าที่ผลิตได้และเหลือใช้ก็จะไหลเข้าสู่สายส่ง (ไฟฟ้าไหลได้ 2 ทาง) มิเตอร์ก็จะหมุนถอยหลัง เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินก็หักลบกลบหนี้กัน นั่นคือต้องจ่ายจริงเพียงเล็กน้อย หรือถ้าผลิตเองได้มากกว่าก็จะได้รับเงินจากการไฟฟ้า
กลไก Net Metering มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และประเทศยากจน เช่น เคนยา เป็นต้น
4.ตัวอย่างในประเทศไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เคยจ่ายอยู่เดือน 4-5 พันบาทลดลงมาเหลือ 27 บาท ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่ได้นำมิเตอร์ใหม่ (ดิจิตอล) มาเปลี่ยนให้ ส่งผลให้ไฟฟ้าที่เหลือใช้ไหลเข้าสู่สายส่งได้ แต่มิเตอร์ไม่สามารถหมุนย้อนกลับ แต่ไฟฟ้ายังคงไหลได้สองทาง นั่นคือ ทางการไฟฟ้าฯ ได้รับไฟฟ้าไปขายให้กับรายอื่น โดยไม่มีการหักลบกลบหนี้กับมูลนิธิฯ ก่อน
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายรายแล้วครับ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับที่ประเทศอื่นๆ เขาปฏิบัติกัน อย่าลืมนะครับว่า รัฐบาลไทยได้ไปลงนามในข้อตกลงปารีสว่าจะร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่เมื่อภาคประชาชนลงมือปฏิบัติก็ถูกกลั่นแกล้งอย่างไร้เหตุผล
5.ท่าทีจากรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่
เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ผ่านมติด้วยคะแนนท่วมท้นให้รัฐบาลเปิดโครงการ “โซลาร์รูฟเสรี” (เมื่อมกราคม 2558) แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปีครึ่ง รัฐมนตรีพลังงานคนปัจจุบัน (นายศิริ จิระพงษ์พันธ์) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
“โซลาร์รูฟท็อปนั้นเราจะไม่ใช้คำว่าเสรีเพื่อให้เกิดความสับสน แต่จะเป็นอย่างไรเราขอพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง เพราะจะเป็นแกนหลักในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสมที่จะรองรับได้ แต่ราคารับซื้อคงจะไม่กำหนดที่ 2.44 บาทต่อหน่วย เช่นกับพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เพราะมีความแตกต่างมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากโดยเฉพาะครัวเรือน คิดว่าจะเปิดโครงการได้ปีนี้” (ไทยโพสต์ 14 พ.ค.61)
คือให้รอถึงสิ้นปี 2560 ทั้งๆ ที่ผลงานวิจัยร่วมของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ และทีดีอาร์ไอ ได้แล้วเสร็จตั้งแต่ก่อนเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวระบุว่า“ภาครัฐควรสนับสนุนให้บ้านเรือนติด...จะคุ้มทุนภายใน 7-10 ปี”
ผมมี 2 คำถาม คือ (หนึ่ง) จะให้รอถึง พ.ศ.ไหน ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีด้านนี้กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก (ดูกรณีประเทศอินเดีย) และ (สอง) ในเรื่องราคารับซื้อ ผมไม่ทราบว่าตัวเลข 2.44 บาทต่อหน่วยมาจากไหน แต่ราคาที่ กฟผ.ขายให้กับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในปี 2560 นั้น เท่ากับ 2.63 และ 2.62 บาทต่อหน่วย (ตามลำดับ) แต่เมื่อมาถึงครัวเรือน (รวมภาษี) ประมาณ 4.01 บาท (อ้างแล้วในข้อ 1)
ทำไมต้องมากดราคารับซื้อจากภาคครัวเรือนซึ่งได้ถูกนโยบายของรัฐทำให้เป็นหนี้รายครัวเรือนเฉลี่ย 1.78 แสนบาทต่อครัวเรือน โดยร้อยละ 50.7 ของจำนวนครัวเรือนเป็นหนี้ (ข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติ) ทำไมรัฐบาลไม่ใช้โอกาสนี้ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
6.ประมาณการต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย
โดยอาศัยข้อมูลต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์จากผู้รู้ (เช่น พระครูวิมลปัญญาคุณ) และแผนที่ศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ทำให้เราสามารถคำนวณหาต้นทุนไฟฟ้าเฉลี่ย (Levelized Cost of Energy) ซึ่งเป็นการคิดอย่างคร่าวๆ ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าบำรุงรักษา (ซึ่งน้อยมาก) และอื่นๆ พบว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด 25 ปี (ที่ตำแหน่งในแผนที่ ดูภาพประกอบ) จะเท่ากับ 1.17 บาทต่อหน่วย ถ้าทางรัฐบาลรับซื้อในราคา 3.50 บาทต่อหน่วย (น้อยกว่าที่ กฟผ.ขาย) ก็จะทำให้เจ้าของบ้านมีรายได้รวม 3.72 แสนบาท

7.ข้อแก้ตัวของภาครัฐตกหมดแล้วทุกประเด็น
เรามักจะได้ยินผู้บริหารประเทศออกมาพูดบ่อย ๆว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ แพง มีน้อย ไม่เสถียร เป็นโรงไฟฟ้าหลักไม่ได้”
เรื่อง แพง กับมีน้อย คงจะหมดข้ออ้างด้วยแหล่งอ้างอิงที่ผมได้กล่าวมาแล้ว สำหรับเรื่องไม่เสถียร และเป็นโรงไฟฟ้าหลักไม่ได้ ผมอยากให้ไปอ่านบทความเรื่อง “แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน มิติใหม่การบริหารระบบไฟฟ้า กฟผ. Energy 4.0” ซึ่งเป็นบทความของ กฟผ.เอง แต่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน(http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2596:20180619-art01&catid=49&Itemid=251) เขาเปรียบแบตเตอรี่เหมือนกับ Power Bank (ซึ่งท่านผู้อ่านคุ้นเคย) ช่วยให้พลังงานเสถียร สามารถใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งทาง กฟผ.ได้นำมาใช้แล้วใน 3 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ และลพบุรี
และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีข้อมูลจริงครบถ้วนแบบ real time กรุณาดูของรัฐแคลิฟอร์เนียครับ (http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx)
8.สรุป
รัฐบาลนี้ได้ชูนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” แต่เมื่อประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์กลับกีดกันและกลั่นแกล้งสารพัด มันถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องร่วมกันรณรงค์และตะโกนพร้อมๆ กันว่า“อย่าบังแดด”
แทบไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์ “อย่าบังแดด”เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช แต่ในปัจจุบันก็ยังมีเหตุการณ์เช่นนี้ดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรา ท่านสามารถดูประวัติความเป็นมาได้จากแผ่นภาพนี้ครับ
1.เหตุผลและความจำเป็น
ในปี 2560 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้ารวมกันคิดเป็นมูลค่า 6.51 แสนล้านบาท (4.2% ของจีดีพี) โดยเป็นการผลิตจากรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณ 38%
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า บ้านอยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 345 หน่วยต่อเดือน และจากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวงพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนนี้จะต้องจ่ายในอัตราเฉลี่ย 4.01 บาทต่อหน่วย (ข้อมูลปี 2561 รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) คิดเป็นเงินปีละ 16,613 บาท หรือเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ของรายได้รายปีของครัวเรือนทั่วประเทศ (เดือนละ 23,840 บาท ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อน่าสังเกตที่สำคัญ 3 ประการ คือ
หนึ่ง ปัจจุบันไฟฟ้าทั่วโลกเป็นการผลิตจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภคจำนวนนับล้านราย ที่เป็นเช่นนี้เพราะขีดจำกัดของเทคโนโลยี ไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงต้องไหลทางเดียว คือ ไหลจากโรงไฟฟ้าไปถึงครัวเรือน ทั้งๆ ที่ในทางเทคนิคแล้วไฟฟ้าสามารถไหลได้ทั้งสองทิศทาง ดังนั้น เงินจึงต้องไหลออกจากกระเป๋าของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าร่ำรวยขึ้นๆ ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องยากจนลงๆ
สอง รายจ่ายเนื่องจากค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 5.8 ของรายได้ครัวเรือน หรือเกือบ 1,400 บาทต่อเดือน ไม่ใช่จำนวนเงินที่จะมองข้ามได้สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง
สาม ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่เรียกว่าโซลาร์เซลล์ ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สามารถติดตั้งได้สะดวกและมีราคาถูกลงมาก สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขายให้กับครัวเรือน จึงเปิดโอกาสให้แต่ละครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง รวมทั้งให้ไฟฟ้าสามารถไหลได้สองทางเข้าสู่สายส่งเพื่อขายส่วนที่เหลือใช้เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้
2.ตัวอย่างจากรัฐบาลอินเดีย
จากบทความ “การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า มองเทศมองไทย” โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร (มติชน 23 มิ.ย.60) พบว่า ที่ประเทศอินเดีย ราคาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่ำกว่าที่ใช้ถ่านหินผลิตประมาณ 20% และคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปี อินเดียจะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ถึงร้อยละ 60 ของความต้องการของประเทศทั้งหมด
อาจารย์ผาสุก ยังได้กล่าวอีกว่า “เมื่อ 10 ปีที่แล้วอินเดียเหมือนกับไทย ตรงที่ผู้วางแผนด้านพลังงานยังบอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก เพื่อให้มีสำรองที่เพียงพอกับความต้องการ แต่ตอนนี้ได้ยกเลิกแผนดังกล่าวหมดแล้ว และยังได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าของโครงการที่ได้รับอนุญาตไปแล้วแต่ถูกยกเลิกไป”
ในตอนท้าย อาจารย์ผาสุกได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ผู้บริหารรู้สึกเสียใจจริงที่ไม่ได้ยกเลิกเร็วกว่านี้ แต่ผู้วางแผนของไทยยังเหมือนกับที่อินเดียเมื่อสิบปีที่แล้ว”
ผมได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า
(1)ประเทศอินเดียมีสำรองถ่านหินมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยต้องนำเข้าถ่านหิน
(2) ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ต่ำสุดที่ชนะการประมูลขนาด 600 เมกะวัตต์ (ก.ค. 61) ราคาหน่วยละ 2.44 รูปี หรือ 1.15 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
(3) ในช่วง พ.ค. 2557 ถึง ม.ค. 61 อินเดียติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น 8 เท่าตัว จาก 2,650 เมกะวัตต์ เป็น 23,000 เมกะวัตต์
3.ตัวอย่างจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ในปี 2560 รัฐแคลิฟอร์เนีย (มีประชากร 40 ล้านคน) มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้วจำนวน 8.52 แสนราย เฉพาะปี 2560 อย่างเดียว มีการติดตั้งรวม 1,128 เมกะวัตต์ (เฉลี่ย 2.1 กิโลวัตต์ต่อนาที) ประมาณ 65% เป็นการติดตั้งในที่อยู่อาศัย ในช่วง 2553 ถึง 2560 จำนวนการติดตั้งเพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว รวมเป็น 5,793 เมกะวัตต์
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2561 รัฐนี้ได้ออกระเบียบให้บ้านใหม่ทุกหลัง (ไม่เกิน 3 ชั้น) ที่จะสร้างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปจะต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา
กลไกสำคัญที่ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วก็คือ การนำระบบที่เรียกว่า “Net Metering” มาใช้ซึ่งมีคำอธิบายสั้นๆ อยู่ในภาพครับ
โดยสรุปก็คือ ในเวลากลางคืน (ซึ่งผลิตไฟฟ้าไม่ได้) ผู้อยู่อาศัยก็ใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง มิเตอร์ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น ในเวลากลางวันไฟฟ้าที่ผลิตได้และเหลือใช้ก็จะไหลเข้าสู่สายส่ง (ไฟฟ้าไหลได้ 2 ทาง) มิเตอร์ก็จะหมุนถอยหลัง เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินก็หักลบกลบหนี้กัน นั่นคือต้องจ่ายจริงเพียงเล็กน้อย หรือถ้าผลิตเองได้มากกว่าก็จะได้รับเงินจากการไฟฟ้า
กลไก Net Metering มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และประเทศยากจน เช่น เคนยา เป็นต้น
4.ตัวอย่างในประเทศไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เคยจ่ายอยู่เดือน 4-5 พันบาทลดลงมาเหลือ 27 บาท ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่ได้นำมิเตอร์ใหม่ (ดิจิตอล) มาเปลี่ยนให้ ส่งผลให้ไฟฟ้าที่เหลือใช้ไหลเข้าสู่สายส่งได้ แต่มิเตอร์ไม่สามารถหมุนย้อนกลับ แต่ไฟฟ้ายังคงไหลได้สองทาง นั่นคือ ทางการไฟฟ้าฯ ได้รับไฟฟ้าไปขายให้กับรายอื่น โดยไม่มีการหักลบกลบหนี้กับมูลนิธิฯ ก่อน
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายรายแล้วครับ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับที่ประเทศอื่นๆ เขาปฏิบัติกัน อย่าลืมนะครับว่า รัฐบาลไทยได้ไปลงนามในข้อตกลงปารีสว่าจะร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่เมื่อภาคประชาชนลงมือปฏิบัติก็ถูกกลั่นแกล้งอย่างไร้เหตุผล
5.ท่าทีจากรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่
เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ผ่านมติด้วยคะแนนท่วมท้นให้รัฐบาลเปิดโครงการ “โซลาร์รูฟเสรี” (เมื่อมกราคม 2558) แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปีครึ่ง รัฐมนตรีพลังงานคนปัจจุบัน (นายศิริ จิระพงษ์พันธ์) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
“โซลาร์รูฟท็อปนั้นเราจะไม่ใช้คำว่าเสรีเพื่อให้เกิดความสับสน แต่จะเป็นอย่างไรเราขอพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง เพราะจะเป็นแกนหลักในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสมที่จะรองรับได้ แต่ราคารับซื้อคงจะไม่กำหนดที่ 2.44 บาทต่อหน่วย เช่นกับพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เพราะมีความแตกต่างมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากโดยเฉพาะครัวเรือน คิดว่าจะเปิดโครงการได้ปีนี้” (ไทยโพสต์ 14 พ.ค.61)
คือให้รอถึงสิ้นปี 2560 ทั้งๆ ที่ผลงานวิจัยร่วมของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ และทีดีอาร์ไอ ได้แล้วเสร็จตั้งแต่ก่อนเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวระบุว่า“ภาครัฐควรสนับสนุนให้บ้านเรือนติด...จะคุ้มทุนภายใน 7-10 ปี”
ผมมี 2 คำถาม คือ (หนึ่ง) จะให้รอถึง พ.ศ.ไหน ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีด้านนี้กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก (ดูกรณีประเทศอินเดีย) และ (สอง) ในเรื่องราคารับซื้อ ผมไม่ทราบว่าตัวเลข 2.44 บาทต่อหน่วยมาจากไหน แต่ราคาที่ กฟผ.ขายให้กับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในปี 2560 นั้น เท่ากับ 2.63 และ 2.62 บาทต่อหน่วย (ตามลำดับ) แต่เมื่อมาถึงครัวเรือน (รวมภาษี) ประมาณ 4.01 บาท (อ้างแล้วในข้อ 1)
ทำไมต้องมากดราคารับซื้อจากภาคครัวเรือนซึ่งได้ถูกนโยบายของรัฐทำให้เป็นหนี้รายครัวเรือนเฉลี่ย 1.78 แสนบาทต่อครัวเรือน โดยร้อยละ 50.7 ของจำนวนครัวเรือนเป็นหนี้ (ข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติ) ทำไมรัฐบาลไม่ใช้โอกาสนี้ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
6.ประมาณการต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย
โดยอาศัยข้อมูลต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์จากผู้รู้ (เช่น พระครูวิมลปัญญาคุณ) และแผนที่ศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ทำให้เราสามารถคำนวณหาต้นทุนไฟฟ้าเฉลี่ย (Levelized Cost of Energy) ซึ่งเป็นการคิดอย่างคร่าวๆ ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าบำรุงรักษา (ซึ่งน้อยมาก) และอื่นๆ พบว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด 25 ปี (ที่ตำแหน่งในแผนที่ ดูภาพประกอบ) จะเท่ากับ 1.17 บาทต่อหน่วย ถ้าทางรัฐบาลรับซื้อในราคา 3.50 บาทต่อหน่วย (น้อยกว่าที่ กฟผ.ขาย) ก็จะทำให้เจ้าของบ้านมีรายได้รวม 3.72 แสนบาท
7.ข้อแก้ตัวของภาครัฐตกหมดแล้วทุกประเด็น
เรามักจะได้ยินผู้บริหารประเทศออกมาพูดบ่อย ๆว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ แพง มีน้อย ไม่เสถียร เป็นโรงไฟฟ้าหลักไม่ได้”
เรื่อง แพง กับมีน้อย คงจะหมดข้ออ้างด้วยแหล่งอ้างอิงที่ผมได้กล่าวมาแล้ว สำหรับเรื่องไม่เสถียร และเป็นโรงไฟฟ้าหลักไม่ได้ ผมอยากให้ไปอ่านบทความเรื่อง “แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน มิติใหม่การบริหารระบบไฟฟ้า กฟผ. Energy 4.0” ซึ่งเป็นบทความของ กฟผ.เอง แต่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน(http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2596:20180619-art01&catid=49&Itemid=251) เขาเปรียบแบตเตอรี่เหมือนกับ Power Bank (ซึ่งท่านผู้อ่านคุ้นเคย) ช่วยให้พลังงานเสถียร สามารถใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งทาง กฟผ.ได้นำมาใช้แล้วใน 3 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ และลพบุรี
และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีข้อมูลจริงครบถ้วนแบบ real time กรุณาดูของรัฐแคลิฟอร์เนียครับ (http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx)
8.สรุป
รัฐบาลนี้ได้ชูนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” แต่เมื่อประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์กลับกีดกันและกลั่นแกล้งสารพัด มันถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องร่วมกันรณรงค์และตะโกนพร้อมๆ กันว่า“อย่าบังแดด”