“กรมการปกครอง” แจงยิบปมให้สัญชาติ 4 หมูป่า บอก “หม่อง ทองดี” เตรียมเฮ รอหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ 3 แห่ง “กระทรวงวิทย์-ไทยพีบีเอส-กรมอุทยาน” ก่อนส่งเรื่องถึงอธิบดีปกครองไฟเขียวขอสัญชาติไทยไปยังจ.เชียงใหม่
วานนี้ (9 ส.ค.) นายวีนัส ศรีสุข ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณีสังคมมีความสงสัยถึงมาตรฐานการให้สัญชาติไทยแก่ 4 หมูป่าอะคาเดมี แต่ นายหม่อง ทองดี อดีตแชมป์พับกระดาษที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยยังไม่ได้สัญชาติไทย ว่า กรณีของ 4 หมูป่าอะคาเดมี โดยผลของกฎหมายสัญชาติ จากมติ ครม.ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติในปัจจุบันคือมติเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 กำหนดไว้ดังนี้กลุ่มที่ 1 เด็กที่เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จีนฮ้อ ไทลื้อ ชาวเขา เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งด.ช.พรชัย คำหลวง กับด.ช.มงคล บุญเปี่ยม มีแม่เป็นกลุ่มไทลื้อที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเกิน 15 ปี ฉะนั้นด.ช.พรชัย กับด.ช.มงคลก็ได้สัญชาติ
กรณีของด.ช.อดุลย์ สามอ่อน ไม่สามารถเข้ากลุ่มที่ 1 ได้เพราะถูกพ่อแม่ทอดทิ้งแม้เกิดในประเทศไทย ซึ่งตามหาพ่อแม่ไม่ได้ ด.ช.อดุลย์ อยู่ในการดูแลของคริสต์จักร อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งด.ช.อดุลย์เข้าเกณฑ์ในคุณสมบัติกลุ่มที่สองคือเด็กไร้รากเหง้าที่พ่อแม่ทอดทิ้งไป โดยจะได้สัญชาติไทยต่อเมื่อเกิดประเทศไทยเรียนหนังสือในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 10 ปี มีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าออกให้โดยหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ซึ่งด.ช.อดุลย์เกิดในประเทศไทยอายุย่าง 14 ปี มีหนังสือรับรองความเป็นบุคคลไร้รากเหง้าออกโดยพม.จ.เชียงราย จึงได้สัญชาติ ส่วนกรณี พระเอกพล จันทะวงษ์ หรือ พระวิสารโทภิกขุ ที่ได้สัญชาติไทย เพราะพิสูจน์ได้ว่าเกิดในประเทศไทย และพ่อที่เสียชีวิตไปก็ได้สัญชาติไทยแล้ว จึงทำให้ได้สัญชาติไทยเช่นกัน
สำหรับกรณีของนายหม่อง เกิดในประเทศไทย แต่พ่อแม่ของนายหม่องไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยเพราะพ่อแม่เขาเป็นแรงงานต่างด้าวและเป็นแรงงานที่พิสูจน์สัญชาติกับประเทศเมียนมาร์แล้ว ถือพาสปอร์ตเมียนมาร์ทั้งสองคน จึงเป็นสาเหตุที่นายหม่องขอสัญชาติไม่ได้ เพราะพ่อแม่เป็นแรงงานต่างด้าวและไม่ใช่เด็กไร้รากเหง้าซึ่งส่วนนี้ถือเป็นปัญหา นายหม่องถือเป็นกลุ่มที่ 3 ของมติครม.เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 คือบุตรของคนต่างด้าวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย ต้องเรียนจบปริญญาตรีในประเทศไทย ถึงมีโจทย์ให้นายหม่องไปเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งเมื่อจบปริญญาตรีก็สามารถนำปริญญาบัตร ทรานสคริปต์ขอสัญชาติได้ โดยไม่ต้องสนใจเรื่องพ่อแม่
ซึ่งเมื่อรอให้จบปริญญาตรีก็จะนาน จึงเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ 3 ว่าถ้าคนที่ยังเรียนไม่จบปริญญาตรีแต่เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศก็สามารถขอสัญชาติ 7 ทวิได้ แต่มีเงื่อนไขต้องยื่นคำร้องว่าทำคุณประโยชน์ ซึ่งต้องมีหลักฐานการทำคุณประโยชน์โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีหลักฐานอธิบดีกรมการปกครองจะเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายหม่องมีหนังสือรับรองการทำคุณประโยชน์จากส่วนราชการมาที่อธิบดีกรมการปกครอง ก็จะทำหนังสือกรมการปกครองตอบไปยังจ.เชียงใหม่ ว่าเป็นคนที่ทำประโยชน์ให้ประเทศ นายหม่องก็จะเอาหนังสือการรับรองจากอธิบดีกรมการปกครองไปขอสัญชาติ
“ต้องเรียนว่าตั้งแต่ไปแข่งเครื่องบินกระดาษพับตั้งแต่ปี 2552 ก็ยังไม่มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานไหน ซึ่งขณะนี้ทราบว่านายหม่องติดต่อประสานขอหนังสือรับรองไปยังกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว และทางกระทรวงก็จะออกหนังสือรับรองให้ นอกจากนี้จะมีกรมอุทยานฯ ที่นายหม่องไปสอนเรื่องโดรน รวมถึงสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งขณะนี้ทางกรมรอเอกสารจากส่วนราชการอยู่” นายวีนัส ระบุ.
วานนี้ (9 ส.ค.) นายวีนัส ศรีสุข ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณีสังคมมีความสงสัยถึงมาตรฐานการให้สัญชาติไทยแก่ 4 หมูป่าอะคาเดมี แต่ นายหม่อง ทองดี อดีตแชมป์พับกระดาษที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยยังไม่ได้สัญชาติไทย ว่า กรณีของ 4 หมูป่าอะคาเดมี โดยผลของกฎหมายสัญชาติ จากมติ ครม.ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติในปัจจุบันคือมติเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 กำหนดไว้ดังนี้กลุ่มที่ 1 เด็กที่เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จีนฮ้อ ไทลื้อ ชาวเขา เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งด.ช.พรชัย คำหลวง กับด.ช.มงคล บุญเปี่ยม มีแม่เป็นกลุ่มไทลื้อที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเกิน 15 ปี ฉะนั้นด.ช.พรชัย กับด.ช.มงคลก็ได้สัญชาติ
กรณีของด.ช.อดุลย์ สามอ่อน ไม่สามารถเข้ากลุ่มที่ 1 ได้เพราะถูกพ่อแม่ทอดทิ้งแม้เกิดในประเทศไทย ซึ่งตามหาพ่อแม่ไม่ได้ ด.ช.อดุลย์ อยู่ในการดูแลของคริสต์จักร อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งด.ช.อดุลย์เข้าเกณฑ์ในคุณสมบัติกลุ่มที่สองคือเด็กไร้รากเหง้าที่พ่อแม่ทอดทิ้งไป โดยจะได้สัญชาติไทยต่อเมื่อเกิดประเทศไทยเรียนหนังสือในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 10 ปี มีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าออกให้โดยหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ซึ่งด.ช.อดุลย์เกิดในประเทศไทยอายุย่าง 14 ปี มีหนังสือรับรองความเป็นบุคคลไร้รากเหง้าออกโดยพม.จ.เชียงราย จึงได้สัญชาติ ส่วนกรณี พระเอกพล จันทะวงษ์ หรือ พระวิสารโทภิกขุ ที่ได้สัญชาติไทย เพราะพิสูจน์ได้ว่าเกิดในประเทศไทย และพ่อที่เสียชีวิตไปก็ได้สัญชาติไทยแล้ว จึงทำให้ได้สัญชาติไทยเช่นกัน
สำหรับกรณีของนายหม่อง เกิดในประเทศไทย แต่พ่อแม่ของนายหม่องไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยเพราะพ่อแม่เขาเป็นแรงงานต่างด้าวและเป็นแรงงานที่พิสูจน์สัญชาติกับประเทศเมียนมาร์แล้ว ถือพาสปอร์ตเมียนมาร์ทั้งสองคน จึงเป็นสาเหตุที่นายหม่องขอสัญชาติไม่ได้ เพราะพ่อแม่เป็นแรงงานต่างด้าวและไม่ใช่เด็กไร้รากเหง้าซึ่งส่วนนี้ถือเป็นปัญหา นายหม่องถือเป็นกลุ่มที่ 3 ของมติครม.เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 คือบุตรของคนต่างด้าวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย ต้องเรียนจบปริญญาตรีในประเทศไทย ถึงมีโจทย์ให้นายหม่องไปเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งเมื่อจบปริญญาตรีก็สามารถนำปริญญาบัตร ทรานสคริปต์ขอสัญชาติได้ โดยไม่ต้องสนใจเรื่องพ่อแม่
ซึ่งเมื่อรอให้จบปริญญาตรีก็จะนาน จึงเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ 3 ว่าถ้าคนที่ยังเรียนไม่จบปริญญาตรีแต่เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศก็สามารถขอสัญชาติ 7 ทวิได้ แต่มีเงื่อนไขต้องยื่นคำร้องว่าทำคุณประโยชน์ ซึ่งต้องมีหลักฐานการทำคุณประโยชน์โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีหลักฐานอธิบดีกรมการปกครองจะเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายหม่องมีหนังสือรับรองการทำคุณประโยชน์จากส่วนราชการมาที่อธิบดีกรมการปกครอง ก็จะทำหนังสือกรมการปกครองตอบไปยังจ.เชียงใหม่ ว่าเป็นคนที่ทำประโยชน์ให้ประเทศ นายหม่องก็จะเอาหนังสือการรับรองจากอธิบดีกรมการปกครองไปขอสัญชาติ
“ต้องเรียนว่าตั้งแต่ไปแข่งเครื่องบินกระดาษพับตั้งแต่ปี 2552 ก็ยังไม่มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานไหน ซึ่งขณะนี้ทราบว่านายหม่องติดต่อประสานขอหนังสือรับรองไปยังกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว และทางกระทรวงก็จะออกหนังสือรับรองให้ นอกจากนี้จะมีกรมอุทยานฯ ที่นายหม่องไปสอนเรื่องโดรน รวมถึงสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งขณะนี้ทางกรมรอเอกสารจากส่วนราชการอยู่” นายวีนัส ระบุ.