"เอนก" ถอนตัว"หม่อมเต่า" โผล่ขึ้นนั่งหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) "เทพเทือก" ประกาศไม่รับตำแหน่ง ขอเป็นแค่โค้ช ให้นักการเมืองรุ่นใหม่ เตรียมขึ้นเวทีช่วยเดินสายปราศรัย ฟุ้งได้เป็นรัฐบาลชัวร์ ด้าน"หม่อมเต่า" เชื่อหลังเลือกตั้งได้นายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรค หาก"ประยุทธ์"ไม่อยู่ในบัญชีพรรค เป็นนายกฯ ยาก อุบจะทาบทามเป็น 1 ใน 3 ชื่อของ รปช. หรือไม่ รอ กก.บริหารพรรคชุดถาวร ตัดสิน
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (5ส.ค.) มีการประชุมผู้ร่วมจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) โดยมีวาระสำคัญคือ การเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครปช. กล่าวเปิดการประชุมว่า พรรครปช. เป็นพรรคของประชาชน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ เป็นแบบฉบับของการปฏิรูปพรรคการเมือง และประเทศต่อไป
หัวใจสำคัญของพรรคคือ ประชาชนเป็นผู้ออกทุน กำหนดนโยบาย และทิศทางการทำงานทางการเมือง เลือกผู้บริหารพรรคด้วยตัวเอง ไม่ใช่เอาญาติพี่น้องมาเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งเวลาการเลือกตั้งใกล้เข้ามาแล้ว ต้องเตรียมตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ โดยในส่วนของบัญชีรายชื่อจะมีสัดส่วนผู้หญิงและผู้ชาย อย่างละครึ่ง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำไพรมารีโหวต
นายสุเทพ กล่าวยืนยันว่า จะยืนเคียงกับประชาชน ทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแผ่นดิน โดยไม่รับตำแหน่งใด ๆในพรรค ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และเขตเลือกตั้ง แต่จะใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ขึ้นเวทีปราศรัยทุกเวที ทั่วประเทศ
"ผมเชื่อมั่นว่าพรรคเราได้เป็นรัฐบาล เพราะหลังการเลือกตั้งคราวนี้ ไม่มีพรรคการเมืองไหนได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวแน่นอน มั่นใจว่า เราจะต้องเป็นรัฐบาลผสม และถึงวันนั้น ผมยังรักษาคำพูดที่ว่า จะไม่รับตำแหน่งใด ในครม. แต่จะสนับสนุนให้นักการเมืองรุ่นใหม่ เข้าไปทำหน้าที่แทน โดยผมจะใช้ประสบการณ์การเมืองที่มี ทำหน้าที่เป็นโค้ช หรือพี่เลี้ยงเท่านั้น " นายสุเทพ กล่าว
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติพิจารณาชื่อพรรค ชื่อย่อ เครื่องหมาย อุดมการณ์ และนโยบาย ก่อนที่จะลงมติเลือกตำแหน่งหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหาร โดยนายสุเทพ ได้เสนอชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นหัวหน้าพรรค นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค น.ส.จุฑาทัตต เหล่าธรรมทัศน์ เหรัญญิกพรรค นายจอมเดช ตรีเมฆ นายทะเบียนพรรค พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ นายวีระชัย คล้ายทอง และ นางสุเมตตา แซ่โก๊ะ เป็นกรรมการบริหารพรรค ขณะที่สมาชิกในที่ประชุมได้เสนอชื่อ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เข้าแข่งขัน แต่นายเอนก ได้ขอถอนตัว โดยระบุว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล มีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรค ทั้งพื้นฐานการศึกษา และความตั้งใจ ที่จะช่วยสานต่ออุดมการณ์ของประชาชน อีกทั้งประวัติการรับราชการ ก็ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา กล้าขัดแย้งกับรัฐบาล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ที่สุดที่ประชุมได้มีมติเลือกคณะกรรมการบริหารตามรายชื่อที่ นายสุเทพ เสนอ
ด้านม.ร.ว.จตุมงคล กล่าวภายหลังที่ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคว่า แม้ว่าการเมืองจะมีความคิดเรื่องการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายค้าน แต่ตนตั้งใจว่าฝ่ายค้านจะต้องทำงานร่วมกับรัฐบาล ฟังความเห็นซึ่งกันและกัน หาคำตอบที่ดีที่สุดกับบ้านเมืองเพื่อให้ประเทศอยู่ได้ และเห็นว่าตามรธน.ใหม่ วิธีคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ จะทำให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมาก มีโอกาสน้อย จึงน่าจะเป็นรัฐบาลผสม และพรรค รปช. มีโอกาสเป็นรัฐบาล ส่วนจะสนับสนุนใครเป็นนายกฯ นั้น ยังไม่มีประโยชน์ที่จะคิดล่วงหน้า ซึ่งการเลือกตั้งคราวหน้า ทุกพรรคถูกบังคับให้เสนอชื่อนายกฯไม่เกิน 3 คน โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกพรรคก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าหลังเลือกตั้งแล้ว น่าจะได้นายกฯ จากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ
ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นนายกฯ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะตัดสินใจอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด หรือเปล่า เพราะถ้าไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ โอกาสที่จะไปถึงการเลือกนายกฯ คนนอก น่าจะเป็นไปได้ยาก แต่ในส่วนของพรรครปช. ยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ว่า จะทาบทาม พล.อ.ประยุทธ์ มาอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรค หรือไม่ เพราะยังมีเวลาในการตัดสินใจ รวมถึงกรรมการบริหารพรรคชุดนี้ เป็นกรรมการบริหารพรรคชั่วคราว ก่อนที่จะมีกรรมการบริหารพรรคถาวร จากการเลือกของที่ประชุมสมัชชา พรรคต่อไป
ส่วนการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐในอนาคตหรือไม่นั้น เท่าที่เห็นในขณะนี้ ยังไม่คิดว่ามีอุดมการณ์ หรือนโยบายที่ขัดแย้งกัน จึงคาดว่าจะร่วมรัฐบาลได้ ส่วนพรรคเพื่อไทย ยังไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร เพราะอาจมีการแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่ หรือย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น สำหรับกระแสดูด อดีตส.ส.นั้น ในส่วนของรปช.ไม่ได้ดูดส.ส. และไม่อยากให้ใช้คำนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องธรรมดาที่อดีตส.ส. จะตัดสินใจไปสังกัดพรรคการเมืองใหม่
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (5ส.ค.) มีการประชุมผู้ร่วมจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) โดยมีวาระสำคัญคือ การเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครปช. กล่าวเปิดการประชุมว่า พรรครปช. เป็นพรรคของประชาชน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ เป็นแบบฉบับของการปฏิรูปพรรคการเมือง และประเทศต่อไป
หัวใจสำคัญของพรรคคือ ประชาชนเป็นผู้ออกทุน กำหนดนโยบาย และทิศทางการทำงานทางการเมือง เลือกผู้บริหารพรรคด้วยตัวเอง ไม่ใช่เอาญาติพี่น้องมาเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งเวลาการเลือกตั้งใกล้เข้ามาแล้ว ต้องเตรียมตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ โดยในส่วนของบัญชีรายชื่อจะมีสัดส่วนผู้หญิงและผู้ชาย อย่างละครึ่ง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำไพรมารีโหวต
นายสุเทพ กล่าวยืนยันว่า จะยืนเคียงกับประชาชน ทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแผ่นดิน โดยไม่รับตำแหน่งใด ๆในพรรค ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และเขตเลือกตั้ง แต่จะใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ขึ้นเวทีปราศรัยทุกเวที ทั่วประเทศ
"ผมเชื่อมั่นว่าพรรคเราได้เป็นรัฐบาล เพราะหลังการเลือกตั้งคราวนี้ ไม่มีพรรคการเมืองไหนได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวแน่นอน มั่นใจว่า เราจะต้องเป็นรัฐบาลผสม และถึงวันนั้น ผมยังรักษาคำพูดที่ว่า จะไม่รับตำแหน่งใด ในครม. แต่จะสนับสนุนให้นักการเมืองรุ่นใหม่ เข้าไปทำหน้าที่แทน โดยผมจะใช้ประสบการณ์การเมืองที่มี ทำหน้าที่เป็นโค้ช หรือพี่เลี้ยงเท่านั้น " นายสุเทพ กล่าว
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติพิจารณาชื่อพรรค ชื่อย่อ เครื่องหมาย อุดมการณ์ และนโยบาย ก่อนที่จะลงมติเลือกตำแหน่งหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหาร โดยนายสุเทพ ได้เสนอชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นหัวหน้าพรรค นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค น.ส.จุฑาทัตต เหล่าธรรมทัศน์ เหรัญญิกพรรค นายจอมเดช ตรีเมฆ นายทะเบียนพรรค พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ นายวีระชัย คล้ายทอง และ นางสุเมตตา แซ่โก๊ะ เป็นกรรมการบริหารพรรค ขณะที่สมาชิกในที่ประชุมได้เสนอชื่อ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เข้าแข่งขัน แต่นายเอนก ได้ขอถอนตัว โดยระบุว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล มีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรค ทั้งพื้นฐานการศึกษา และความตั้งใจ ที่จะช่วยสานต่ออุดมการณ์ของประชาชน อีกทั้งประวัติการรับราชการ ก็ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา กล้าขัดแย้งกับรัฐบาล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ที่สุดที่ประชุมได้มีมติเลือกคณะกรรมการบริหารตามรายชื่อที่ นายสุเทพ เสนอ
ด้านม.ร.ว.จตุมงคล กล่าวภายหลังที่ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคว่า แม้ว่าการเมืองจะมีความคิดเรื่องการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายค้าน แต่ตนตั้งใจว่าฝ่ายค้านจะต้องทำงานร่วมกับรัฐบาล ฟังความเห็นซึ่งกันและกัน หาคำตอบที่ดีที่สุดกับบ้านเมืองเพื่อให้ประเทศอยู่ได้ และเห็นว่าตามรธน.ใหม่ วิธีคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ จะทำให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมาก มีโอกาสน้อย จึงน่าจะเป็นรัฐบาลผสม และพรรค รปช. มีโอกาสเป็นรัฐบาล ส่วนจะสนับสนุนใครเป็นนายกฯ นั้น ยังไม่มีประโยชน์ที่จะคิดล่วงหน้า ซึ่งการเลือกตั้งคราวหน้า ทุกพรรคถูกบังคับให้เสนอชื่อนายกฯไม่เกิน 3 คน โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกพรรคก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าหลังเลือกตั้งแล้ว น่าจะได้นายกฯ จากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ
ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นนายกฯ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะตัดสินใจอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด หรือเปล่า เพราะถ้าไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ โอกาสที่จะไปถึงการเลือกนายกฯ คนนอก น่าจะเป็นไปได้ยาก แต่ในส่วนของพรรครปช. ยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ว่า จะทาบทาม พล.อ.ประยุทธ์ มาอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรค หรือไม่ เพราะยังมีเวลาในการตัดสินใจ รวมถึงกรรมการบริหารพรรคชุดนี้ เป็นกรรมการบริหารพรรคชั่วคราว ก่อนที่จะมีกรรมการบริหารพรรคถาวร จากการเลือกของที่ประชุมสมัชชา พรรคต่อไป
ส่วนการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐในอนาคตหรือไม่นั้น เท่าที่เห็นในขณะนี้ ยังไม่คิดว่ามีอุดมการณ์ หรือนโยบายที่ขัดแย้งกัน จึงคาดว่าจะร่วมรัฐบาลได้ ส่วนพรรคเพื่อไทย ยังไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร เพราะอาจมีการแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่ หรือย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น สำหรับกระแสดูด อดีตส.ส.นั้น ในส่วนของรปช.ไม่ได้ดูดส.ส. และไม่อยากให้ใช้คำนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องธรรมดาที่อดีตส.ส. จะตัดสินใจไปสังกัดพรรคการเมืองใหม่