พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าได้เตรียมเสนอครม. แก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7 เพื่อให้ประชาชนที่ปลูกไม้ยืนต้น มูลค่าสูงในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือพื้นที่ของตนเอง สามารถตัดไม้ไปขายได้ หรือสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินได้ ซึ่งต้องเป็นต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด อาทิ ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน ประดู่ มะค่า ตะเคียน สะเดา นางพญาเสือโคร่ง ฯลฯ ว่าคนที่มีต้นไม้มีค่าอยู่ในครอบครอง ก็อยากจะได้ประโยชน์จากต้นไม้นั้น ซึ่งเดิมทางกระทรวงฯ พบว่ามีคนไม่ดี ทำไม้เถื่อน จึงต้องกำหนดเป็นไม้หวงห้าม เช่น ไม้พะยูง อยู่ในพื้นที่บ้านใครแล้วถูกตัด ก็จะถือว่ามีความผิด ดังนั้น จึงต้องขอปลดล็อกตรงนี้ โดยทางกระทรวงเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมครม.สัปดาห์หน้า เพื่อขอยกเลิก มาตรา7 ของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงฯ หมดแล้ว รวมทั้งผ่านการทำประชาพิจารณ์ของประชาชนเรียบร้อยแล้ว
"ถ้าเรื่องนี้ผ่าน ไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินของเจ้าของ ซึ่งสามารถขายได้ ส่วนรายละเอียดในกติกาเรื่องการรับรองไม้ต่างๆนั้น จะอยู่ในรายละเอียด ต่อไปประชาชนหากมีที่ดินก็สามารถปลูกเอาไว้เพื่อเป็นเงินออมในอนาคต เพราะอีก 20-30 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าสูง ดีกว่าการหยอดกระปุก เพราะกระปุกไม่แตก ปลูกให้เป็นทรัพย์สินได้ แต่มูลค่าของไม้แต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และตลาดจะเป็นตัวกำหนดมูลค่าของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ดังนั้นใครที่มีที่ดินจำนวนมาก ก็น่าจูงใจให้ปลูกไม้มีค่ากันมากๆ" พล.อ.สุรศักดิ์กล่าว
เมื่อถามว่า ทำไมจึงไม่มีการกำหนดราคากลางของไม้มีค่าเอาไว้ พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่าราคากลางจะเป็นไปตามกลไกตลาด อาทิ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซึ่งตลาดกลางรับซื้อไม้สักอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งไม่พะยูง เป็นไม้ที่มีราคาสูงที่สุด
"ถ้าเรื่องนี้ผ่าน ไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินของเจ้าของ ซึ่งสามารถขายได้ ส่วนรายละเอียดในกติกาเรื่องการรับรองไม้ต่างๆนั้น จะอยู่ในรายละเอียด ต่อไปประชาชนหากมีที่ดินก็สามารถปลูกเอาไว้เพื่อเป็นเงินออมในอนาคต เพราะอีก 20-30 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าสูง ดีกว่าการหยอดกระปุก เพราะกระปุกไม่แตก ปลูกให้เป็นทรัพย์สินได้ แต่มูลค่าของไม้แต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และตลาดจะเป็นตัวกำหนดมูลค่าของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ดังนั้นใครที่มีที่ดินจำนวนมาก ก็น่าจูงใจให้ปลูกไม้มีค่ากันมากๆ" พล.อ.สุรศักดิ์กล่าว
เมื่อถามว่า ทำไมจึงไม่มีการกำหนดราคากลางของไม้มีค่าเอาไว้ พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่าราคากลางจะเป็นไปตามกลไกตลาด อาทิ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซึ่งตลาดกลางรับซื้อไม้สักอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งไม่พะยูง เป็นไม้ที่มีราคาสูงที่สุด