ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นางสาว โฉมศรี ชูช่วย
นางสาว วรนุช ดีละมัน
นางสาว มัทนาวดี หัทยานนท์
นาย ณัฐพงษ์ เอียดเต็ม
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นางสาว โฉมศรี ชูช่วย
นางสาว วรนุช ดีละมัน
นางสาว มัทนาวดี หัทยานนท์
นาย ณัฐพงษ์ เอียดเต็ม
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกส่งผลให้เกิดความต้องการปัจจัยในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายขนาดการผลิตให้มากขึ้น เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของประชากรได้อย่างเพียงพอ ปกติแล้วเมื่อมีการขยายตัวของภาคการผลิตก็จะมีการใช้ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการผลิตเพิ่มขึ้นตามมา และในกระบวนการผลิตบางขั้นตอนมีจำเป็นต้องใช้สารเคมีมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิต หรือเมื่อทำการผลิตเรียบร้อยแล้วอาจจะมีการปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาพบว่ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด หลายประเทศมีความต้องการพลังงานเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม และภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง การเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสารมลพิษทางอากาศต่างๆ อาทิ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไดออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปของไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nox, No2) รวมทั้งไดออกซินและฟูแรน (Dioxin/Furan) [1] ซึ่งเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยไม่จงใจจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และจัดเป็นสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม สามารถสะสมได้ดีในเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตถ่ายทอดได้ทางห่วงโซ่อาหารและยังเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากการปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายออกสู่แหล่งรองรับ ทางน้ำ อากาศ จนมีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร เป็นเส้นทางที่มนุษย์จะได้รับสารพิษเข้สู่ร่างกาย จนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาทั้ง ทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม [2] ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการป้องกัน และ การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารพิษ และปัญหาที่จะเกิดตามมาในอนาคต ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางรัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการกระตุ้นจิตสำนึกของเยาวชนรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความตระหนักต่อภัยเงียบที่เกิดจากการรับสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกาย
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเรื่องปัญหาพลังงานที่จะเกิดขึ้นปัจจุบันรัฐบาลจึงมีการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีการลดการใช้พลังงาน และมุ่งเน้นในการพัฒนาและหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆที่ประเทศไทยสามารถสร้างและจัดการได้จากทรัพยากรภายในประเทศรวมทั้งการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ดีที่สุด (Best Available Techniques) และ แนวปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practices) ตามนโยบายขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) [3]
ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองแนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยงานที่เห็นความสำคัญ และต้องการส่งเสริมและเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับสารมลพิษไดออกซิน จึงได้มีการจัดโครงการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการลดสารไดออกซินและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดความร้อนในภาคอุตสาหกรรมผ่านการใช้เชื้อเพลิง LPG ให้แก่เยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝั่งให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารไดออกซินเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนมีองค์ความรู้เกี่ยวการการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดความร้อนในภาคอุตสาหกรรมผ่านการใช้เชื้อเพลิง LPG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นจุดเริ่มต้นให้เยาวชนสามารถรวมกลุ่ม ในการเผยแพร่และสร้างสรรค์กิจกรรมทางสิ่งแวดล้อมฯ ตามวุฒิภาวะที่พึงกระทำได้ และเป็นการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในการซักถามต่อประเด็นด้านมลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยโครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2561
โครงการครั้งนี้ได้จะดำเนินการฝึกอบรมให้แก่นักเรียนในประเทศเทศไทยจำนวน 15 โรงเรียนในภาคใต้ 5 โรงเรียน กรุงเทพมหานคร 5 โรงเรียน และภาคตะวันออก 5 โรงเรียน สำหรับการดำเนินงานจะมุ่งเน้นการให้ความรู้พื้นฐานและปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ มีการใช้สื่ออุปกรณ์ในการสอนที่ทันสมัย เช่น อินโฟกราฟฟิก (Info graphics) การใช้สื่อแบบภาพเคลื่อนไหว (Motion Clips) เพื่อง่ายต่อการอธิบาย และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเนื้อหาสำคัญของโครงการจะมุ่งเน้นในเรื่องของสารไดออกซินและการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดความร้อนในภาคอุตสาหกรรมผ่านการใช้เชื้อเพลิง LPG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยมีวิทยากรที่มีความรู้เป็นผู้ดำเนินโครงการ
ผลการศึกษาพบว่าการประเมินความรู้ของนักเรียนทั้ง 15 โรงเรียนก่อนการเข้าฝึกอบรมและหลังจากผ่านการฝึกอบรมนักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 12-28 ซึ่งความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นของนักเรียนทั้ง 15 โรงเรียนมีค่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยค่าเฉลี่ยร้อยละของความรู้ที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในเขตภาคใต้มีค่าสูงที่สุดคือ 21.38 รองลงมาคือเขตกรุงเทพมหานครคือ 21.14 และเขตภาคตะวันออกคือ 18.94 ตามลำดับ
จากการฝึกอบรมสามารถสรุปความสนใจของนักเรียนในแต่ละเขตพื้นที่ได้ว่า ก่อนการฝึกอบรมนักเรียนจากทุกเขตพื้นที่มีความสนใจและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารไดออกซินที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของความรู้เกี่ยวกับสารไดออกซินนั้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องสารไดออกซินมาก่อนแต่จะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารมลพิษชนิดอื่น แต่หลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้นทำให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารไดออกซินเพิ่มมากขึ้นและสามารถวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น, ยกตัวอย่างแหล่งที่มาของสารไดออกซินที่สามารถปลดปล่อยออกสู่ธรรมชาติได้ รวมไปถึงยังสามารถกระตุ้นให้นักเรียนมีตระหนักและสร้างความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นถึงความเป็นพิษของสารไดออกซิน และแนวทางที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการได้รับสารไดออกซินได้อย่างไรบ้าง โดยความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้นักเรียนสามารถไปปรับใช้ในชีวิตประจำเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับและปลดปล่อยสารไดออกซินออกสู่สิ่งแวดล้อมและนักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัวหรือชุมชนที่อยู่อาศัยได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
ในด้านของความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกอบรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินสอบถามเรื่องความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสารไดออกซินด้วยเครื่องมือทางสถิติ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับที่ดีถึงดีมาก อาจเป็นเพราะการฝึกอบรมในครั้งนี้สอดคล้องกับลักษณะของการจัดกิจกรรม และการนำสื่อการสอนที่ทันสมัยโดยใช้เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบใหม่อย่าง Infographics และ motion clip มาใช้ในระหว่างการฝึกอบรมทำให้ง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียนและมีความสนุกในการเรียนรู้สิ่งใหม่ จากเนื้อหาที่ยากทำให้สนุกและเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสื่อที่ดีและเหมาะสมกับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ให้แก่นักเรียน และนอกจากนี้เนื้อหาที่นำมาสอนมีความเหมาะสมกับวัยและความสนใจโดยเนื้อหาที่นำมาฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ภาษาที่ใช้เข้าใจได้ง่าย ภาพประกอบชัดเจน ดังนั้นจึงทำให้ผลการประเมินการฝึกอบรมในครั้งนี้นักเรียนมีความความพึงพอใจในระดับดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพึงพอใจในด้านของความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความรู้สึกอยากอนุรักษ์พลังงานและลดการปลดปล่อยสารไดออกซินให้น้อยลงด้วย แสดงให้เห็นว่าการอบรมในครั้งนี้ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของอันตรายจากสารไดออกซิน ซึ่งนำไปสู่การระมัดระวังและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารไดออกซิน รวมถึงวิธีการที่จะช่วยลดการปลดปล่อยสารมลพิษซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการให้ความรู้กับเยาวชนรุ่นต่อไปในอนาคต ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำให้เยาวชนเริ่มตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดการปลดปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในอนาคต ดังนั้นถือได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ทำให้เยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารไดออกซินและการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดความร้อนในภาคอุตสาหกรรมผ่านการใช้เชื้อเพลิง LPG ให้แก่กลุ่มเยาวชนเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมในอนาคตให้มีความรู้ความเข้าใจและเตรียมพร้อมที่จะสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของชาติสืบไปในอนาคต นอกจากนี้เยาวชนยังมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดโครงการอบรมในเรื่องของพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการให้ความรู้กับเยาวชนรุ่นต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
[1] Mike. R, CROPS & CARBON: PAYING FARMERS TO COMBAT CLIMATE CHANGE, Earthscan, 2011, 300 pages, ISBN: 978-1-84971-375-7 (hbk), Book Review. Economic Analysis & Policy, Vol. 43 No. 1, MARCH 2013.
[2] Berg. M. V. d., Birnbaum, L. S., Denison, M., Vito, M. D., Farland, W., Feeley, M., Fiedler, H., Hakansson, H., Hanberg, A., Haws, L., Rose, M., Safe, S., Schrenk, D., Tohyama, C., Tritscher, A., Tuomisto, J., Tysklind, M., Walker, N. & Peterson, R. E., 2006. Review the 2005, World Health Organization reevaluation of human and mammalian toxic equivalency factors for dioxins and dioxins-like compounds, Toxicological sciences 93(2),223-241.
[3] Fiedler, H., 2007. National PCDD/PCDF release inventories under the Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants, Chemosphere 67, 96–108.