เรามักจะได้ยินคำว่า “ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security)” จากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีพลังงานและพวกข้าราชการที่เกี่ยวข้องกันบ่อยๆ โดยที่ไม่ได้ขยายความว่าหมายถึงอะไร และเป็นความมั่นคงของใครระหว่างผู้ผลิตพลังงานหรือผู้บริโภคพลังงานหรือในความหมายที่กว้างไปกว่านั้นคือ ความมั่นคงและยั่งยืนของระบบนิเวศของโลกทั้งใบ
องค์กรที่ชื่อว่า “องค์กรพลังงานสากล (International Energy Agency-ไออีเอ)” ซึ่งก่อตั้งปี 2517 เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศโอเปกผู้ส่งออกน้ำมันดิบหลังวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันโลก ได้ให้นิยามของความมั่นคงด้านพลังงานว่า “คือสภาพที่มีแหล่งพลังงานใช้อย่างไม่ขาดสายในราคาที่สามารถจ่ายได้” พร้อมกับได้ขยายความเพิ่มเติมไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวว่า “ในระยะยาวต้องมีการลงทุนเพื่อป้อนพลังงานที่จำเป็นในเวลาที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ในระยะสั้นความมั่นคงด้านพลังงานต้องให้ความสนใจกับความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในระบบพลังงานให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน”
สรุป สาระสำคัญของความมั่นคงด้านพลังงาน (ตามความหมายขององค์กรไออีเอ) ก็คือการมีแหล่งพลังงานที่ (1) สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (2) ในราคาที่สามารถจ่ายได้เท่านั้น โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผูกขาดและรวมศูนย์การผลิต การจ้างงาน การพึ่งตนเองด้านพลังงานของประเทศ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันมีผลต่อความมั่นคงของมนุษย์และชุมชนแต่ประการใด
จะเรียกว่าเป็นความมั่นคงของผู้ผลิตพลังงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งในตอนท้ายผมจะอธิบายให้เห็นว่า มีความมั่นคงถึงขนาดที่ว่าไม่ต้องผลิตก็ยังได้รับเงิน
กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในประเทศลาวซึ่งแตกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงเป็นตัวอย่างในแง่ของการไม่คำนึงถึงความมั่นคงของชุมชนทั้งที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่สร้างเขื่อนและที่อยู่ท้ายเขื่อน
การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำจากเขื่อนสามารถตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงานได้ดีในแง่ที่ว่า เมื่อปล่อยน้ำออกจากเขื่อนปุ๊บก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทันที ไม่ต้องรอต้มน้ำให้เดือดเป็นไอเหมือนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จึงนิยมใช้เขื่อนผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดขอวัน (พีค) ในขณะเดียวกันก็มีต้นทุนต่อหน่วยไฟฟ้าต่ำ ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่แพง หรือ “สามารถจ่ายได้” ตามนิยามขององค์กรไออีเอ
แต่นั่นมันเป็นความจริงในอดีต ในปัจจุบันนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนก็ใช่ว่าจะมีราคาถูกมากนัก ผมมีข้อมูลการประมาณราคาไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาให้ดูด้วยครับ
จากตารางจะพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย (ซึ่งเป็นราคาซื้อขายที่ชายแดน ยังไม่รวมค่าสายส่งในประเทศไทย) หน่วยละ 1.76 บาทในขณะที่ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์และโรงไฟฟ้าขนอม (ซึ่งผลิตจากก๊าซธรรมชาติ) ราคาหน่วยละ 2.01 บาท และ 2.28 บาท ตามลำดับ
ผมไม่แน่ใจว่าราคาดังกล่าวได้รวมเอา “ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity Payment) และค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment)” (ซึ่งมีราคาประมาณ 0.67 ถึง 0.83 บาทต่อหน่วย) ด้วยหรือไม่ (แต่เข้าใจว่าน่าจะไม่รวม) โดยแต่ละปีมีมูลค่ารวมกันทั้งระบบประมาณกว่า 9 หมื่นล้านบาท ไม่ว่าโรงไฟฟ้าเหล่านั้นจะได้เดินเครื่องผลิตจริงหรือไม่ก็ตามซึ่งหมายถึงว่าผู้ผลิตมีความมั่นคงมากๆ
นี่คือเหตุผลที่ว่า เราไม่ควรมีโรงไฟฟ้าสำรองไว้มากจนเกินไป ซึ่งมาตรฐานสากลเคยยึดหลักการสำรองไว้ที่ 15% ของความต้องการสูงสุดของปี
เมื่อ50 ปีที่แล้ว การสร้างเขื่อนไม่ค่อยมีใครคัดค้าน ตรงกันข้ามกลับมองว่าเป็นความก้าวหน้า ความทันสมัย แต่เมื่อสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนไป ทั้งปัญหาโลกร้อนที่นำภัยพิบัติมาให้และทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีพลังงานโซลาร์เซลล์และกังหันลม การสร้างเขื่อน การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงเป็นเรื่องที่ล้าสมัยและไม่สมควรอย่างยิ่ง
เราเคยเชื่อกันว่า พลังงานจากสายลมและแสงแดดไม่มีความมั่นคงเพราะว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องได้ แต่ปรากฏว่าระบบไฟฟ้าของรัฐแคลิฟอร์เนีย (มีประชากร 40 ล้านคน) สหรัฐอเมริกาสามารถแก้ปัญหาได้โดยการนำแบตเตอรี่มาใช้แบบ “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” เหมือนกับการผลิตจากเขื่อนเลยครับ เรียกว่าสามารถทำให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ตามนิยามขององค์กรอีไอเอได้เลย ผมมีภาพให้ดูพร้อมแหล่งอ้างอิงแบบ Real Time เชิญเข้าไปดูได้เลยที่(http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx)
ผมเองได้เข้าไปดูข้อมูลของเว็บไซต์นี้ค่อนข้างบ่อยครับ พบว่าบางช่วงเวลามีการนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาสร้างสมดุลมากถึง 186 เมกะวัตต์ และถ้ามีไฟฟ้าเหลือก็มีการชาร์จไฟฟ้าเก็บลงแบตเตอรี่ โดยไม่มีอะไรซับซ้อนเลย นี่คือความทันสมัยที่ผู้บริหารของไทยแกล้งทำเป็นไม่รู้
คงเหลือประเด็นเดียวที่เป็นอาจจะเป็นปัญหาคือเรื่องราคาว่าอยู่ในระดับที่สามารถจ่ายได้หรือไม่
ผมเองได้พยายามเก็บข้อมูลจากเครือข่ายที่ผมรู้จัก พอสรุปได้ว่า ถ้าติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาขนาด 3 กิโลวัตต์ ต้องลงทุนประมาณ 125,000 บาท โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,450 หน่วยต่อกิโลวัตต์ โดยสามารถใช้งานได้นาน 25 ปี (อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ซึ่งเคยใช้งานได้ 5 ปีก็ได้รับการพัฒนาเป็นการรับประกันนานถึง 12-20 ปีเพราะการแข่งขัน) ถ้าไม่มีการคิดค่าดอกเบี้ยจากเงินลงทุน เราสามารถคำนวณได้ว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (LCOE) เท่ากับ 1.15 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
มันยังคงต่ำกว่าค่าไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยค่อนข้างเยอะครับ แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้โดยการติดตั้งแบตเตอรี่ซึ่งราคาก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ลดลงเหลือเท่าใด ผมขอไม่กล่าวถึงในบทความนี้นะครับ
ผมยังคงเหลือประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานที่อยู่นอกเหนือในนิยามขององค์กรไออีเอ โดยเฉพาะในประเด็นการลดการผูกขาดและการพึ่งตนเองด้านพลังงานของประเทศ
ในขณะที่กระทรวงพลังงานของไทยไม่รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคา แต่รัฐแคลิฟอร์เนียมีผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วถึง 8.3 แสนราย รวมกว่า 1 หมื่นเมกะวัตต์ โดยมีการรับซื้อด้วยระบบ Net Metering (คือหมายถึงให้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้แต่เหลือใช้สามารถไหลเข้าสู่สายส่งของรัฐได้ โดยยอมมิเตอร์หมุนถอยหลัง เมื่อถึงเวลาเก็บเงินก็ให้คิดจากตัวเลขสุทธิในมิเตอร์)
จากเว็บไซต์ของ CAISO (http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/default.aspx) พอประมาณได้ว่าในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ได้ 90 ล้านหน่วย และจากกังหันลมได้ 55 ล้านหน่วยรวมกันประมาณ 145 ล้านหน่วย ในขณะที่คนไทยเราทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าในปี 2560 เฉลี่ยวันละ 507 ล้านหน่วย
นั่นคือ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงแดดและสายลมไม่ได้มีจำนวนเล็กน้อยเลย
ไฟฟ้าจำนวนนี้ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องซื้อ ที่กระจายอยู่ทั่วไป ถ้าคิดเป็นมูลค่าที่คนไทยจ่ายหน่วยละ 4 บาทก็จะได้ประมาณ 580 ล้านบาท
นี่คือรายได้ที่จะตกอยู่ภายในรัฐ ถ้าเป็นประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่เกินครึ่งของพลังงานที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเงินก็จะกระจายอยู่ภายในประเทศ มีการจ้างงานและลดความเหลื่อมล้ำ
ดังนั้น การใช้สายลมและแสงแดดเพื่อผลิตไฟฟ้า จะนำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานและความมั่นคงของประเทศมากกว่าการสร้างเขื่อนและพลังงานฟอสซิลอย่างแน่นอน อ้อ! อ่านจบแล้วกรุณาคลิ๊กเข้าไปดูข้อมูลจากที่ผมได้อ้างอิงไว้ด้วยนะครับ จะได้เห็นกับตาของท่านเองว่าเป็นความจริงหรือไม่
องค์กรที่ชื่อว่า “องค์กรพลังงานสากล (International Energy Agency-ไออีเอ)” ซึ่งก่อตั้งปี 2517 เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศโอเปกผู้ส่งออกน้ำมันดิบหลังวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันโลก ได้ให้นิยามของความมั่นคงด้านพลังงานว่า “คือสภาพที่มีแหล่งพลังงานใช้อย่างไม่ขาดสายในราคาที่สามารถจ่ายได้” พร้อมกับได้ขยายความเพิ่มเติมไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวว่า “ในระยะยาวต้องมีการลงทุนเพื่อป้อนพลังงานที่จำเป็นในเวลาที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ในระยะสั้นความมั่นคงด้านพลังงานต้องให้ความสนใจกับความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในระบบพลังงานให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน”
สรุป สาระสำคัญของความมั่นคงด้านพลังงาน (ตามความหมายขององค์กรไออีเอ) ก็คือการมีแหล่งพลังงานที่ (1) สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (2) ในราคาที่สามารถจ่ายได้เท่านั้น โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผูกขาดและรวมศูนย์การผลิต การจ้างงาน การพึ่งตนเองด้านพลังงานของประเทศ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันมีผลต่อความมั่นคงของมนุษย์และชุมชนแต่ประการใด
จะเรียกว่าเป็นความมั่นคงของผู้ผลิตพลังงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งในตอนท้ายผมจะอธิบายให้เห็นว่า มีความมั่นคงถึงขนาดที่ว่าไม่ต้องผลิตก็ยังได้รับเงิน
กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในประเทศลาวซึ่งแตกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงเป็นตัวอย่างในแง่ของการไม่คำนึงถึงความมั่นคงของชุมชนทั้งที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่สร้างเขื่อนและที่อยู่ท้ายเขื่อน
การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำจากเขื่อนสามารถตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงานได้ดีในแง่ที่ว่า เมื่อปล่อยน้ำออกจากเขื่อนปุ๊บก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทันที ไม่ต้องรอต้มน้ำให้เดือดเป็นไอเหมือนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จึงนิยมใช้เขื่อนผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดขอวัน (พีค) ในขณะเดียวกันก็มีต้นทุนต่อหน่วยไฟฟ้าต่ำ ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่แพง หรือ “สามารถจ่ายได้” ตามนิยามขององค์กรไออีเอ
แต่นั่นมันเป็นความจริงในอดีต ในปัจจุบันนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนก็ใช่ว่าจะมีราคาถูกมากนัก ผมมีข้อมูลการประมาณราคาไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาให้ดูด้วยครับ
จากตารางจะพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย (ซึ่งเป็นราคาซื้อขายที่ชายแดน ยังไม่รวมค่าสายส่งในประเทศไทย) หน่วยละ 1.76 บาทในขณะที่ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์และโรงไฟฟ้าขนอม (ซึ่งผลิตจากก๊าซธรรมชาติ) ราคาหน่วยละ 2.01 บาท และ 2.28 บาท ตามลำดับ
ผมไม่แน่ใจว่าราคาดังกล่าวได้รวมเอา “ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity Payment) และค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment)” (ซึ่งมีราคาประมาณ 0.67 ถึง 0.83 บาทต่อหน่วย) ด้วยหรือไม่ (แต่เข้าใจว่าน่าจะไม่รวม) โดยแต่ละปีมีมูลค่ารวมกันทั้งระบบประมาณกว่า 9 หมื่นล้านบาท ไม่ว่าโรงไฟฟ้าเหล่านั้นจะได้เดินเครื่องผลิตจริงหรือไม่ก็ตามซึ่งหมายถึงว่าผู้ผลิตมีความมั่นคงมากๆ
นี่คือเหตุผลที่ว่า เราไม่ควรมีโรงไฟฟ้าสำรองไว้มากจนเกินไป ซึ่งมาตรฐานสากลเคยยึดหลักการสำรองไว้ที่ 15% ของความต้องการสูงสุดของปี
เมื่อ50 ปีที่แล้ว การสร้างเขื่อนไม่ค่อยมีใครคัดค้าน ตรงกันข้ามกลับมองว่าเป็นความก้าวหน้า ความทันสมัย แต่เมื่อสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนไป ทั้งปัญหาโลกร้อนที่นำภัยพิบัติมาให้และทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีพลังงานโซลาร์เซลล์และกังหันลม การสร้างเขื่อน การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงเป็นเรื่องที่ล้าสมัยและไม่สมควรอย่างยิ่ง
เราเคยเชื่อกันว่า พลังงานจากสายลมและแสงแดดไม่มีความมั่นคงเพราะว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องได้ แต่ปรากฏว่าระบบไฟฟ้าของรัฐแคลิฟอร์เนีย (มีประชากร 40 ล้านคน) สหรัฐอเมริกาสามารถแก้ปัญหาได้โดยการนำแบตเตอรี่มาใช้แบบ “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” เหมือนกับการผลิตจากเขื่อนเลยครับ เรียกว่าสามารถทำให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ตามนิยามขององค์กรอีไอเอได้เลย ผมมีภาพให้ดูพร้อมแหล่งอ้างอิงแบบ Real Time เชิญเข้าไปดูได้เลยที่(http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx)
ผมเองได้เข้าไปดูข้อมูลของเว็บไซต์นี้ค่อนข้างบ่อยครับ พบว่าบางช่วงเวลามีการนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาสร้างสมดุลมากถึง 186 เมกะวัตต์ และถ้ามีไฟฟ้าเหลือก็มีการชาร์จไฟฟ้าเก็บลงแบตเตอรี่ โดยไม่มีอะไรซับซ้อนเลย นี่คือความทันสมัยที่ผู้บริหารของไทยแกล้งทำเป็นไม่รู้
คงเหลือประเด็นเดียวที่เป็นอาจจะเป็นปัญหาคือเรื่องราคาว่าอยู่ในระดับที่สามารถจ่ายได้หรือไม่
ผมเองได้พยายามเก็บข้อมูลจากเครือข่ายที่ผมรู้จัก พอสรุปได้ว่า ถ้าติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาขนาด 3 กิโลวัตต์ ต้องลงทุนประมาณ 125,000 บาท โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,450 หน่วยต่อกิโลวัตต์ โดยสามารถใช้งานได้นาน 25 ปี (อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ซึ่งเคยใช้งานได้ 5 ปีก็ได้รับการพัฒนาเป็นการรับประกันนานถึง 12-20 ปีเพราะการแข่งขัน) ถ้าไม่มีการคิดค่าดอกเบี้ยจากเงินลงทุน เราสามารถคำนวณได้ว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (LCOE) เท่ากับ 1.15 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
มันยังคงต่ำกว่าค่าไฟฟ้าจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยค่อนข้างเยอะครับ แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้โดยการติดตั้งแบตเตอรี่ซึ่งราคาก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ลดลงเหลือเท่าใด ผมขอไม่กล่าวถึงในบทความนี้นะครับ
ผมยังคงเหลือประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานที่อยู่นอกเหนือในนิยามขององค์กรไออีเอ โดยเฉพาะในประเด็นการลดการผูกขาดและการพึ่งตนเองด้านพลังงานของประเทศ
ในขณะที่กระทรวงพลังงานของไทยไม่รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคา แต่รัฐแคลิฟอร์เนียมีผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วถึง 8.3 แสนราย รวมกว่า 1 หมื่นเมกะวัตต์ โดยมีการรับซื้อด้วยระบบ Net Metering (คือหมายถึงให้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้แต่เหลือใช้สามารถไหลเข้าสู่สายส่งของรัฐได้ โดยยอมมิเตอร์หมุนถอยหลัง เมื่อถึงเวลาเก็บเงินก็ให้คิดจากตัวเลขสุทธิในมิเตอร์)
จากเว็บไซต์ของ CAISO (http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/default.aspx) พอประมาณได้ว่าในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ได้ 90 ล้านหน่วย และจากกังหันลมได้ 55 ล้านหน่วยรวมกันประมาณ 145 ล้านหน่วย ในขณะที่คนไทยเราทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าในปี 2560 เฉลี่ยวันละ 507 ล้านหน่วย
นั่นคือ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงแดดและสายลมไม่ได้มีจำนวนเล็กน้อยเลย
ไฟฟ้าจำนวนนี้ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องซื้อ ที่กระจายอยู่ทั่วไป ถ้าคิดเป็นมูลค่าที่คนไทยจ่ายหน่วยละ 4 บาทก็จะได้ประมาณ 580 ล้านบาท
นี่คือรายได้ที่จะตกอยู่ภายในรัฐ ถ้าเป็นประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่เกินครึ่งของพลังงานที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเงินก็จะกระจายอยู่ภายในประเทศ มีการจ้างงานและลดความเหลื่อมล้ำ
ดังนั้น การใช้สายลมและแสงแดดเพื่อผลิตไฟฟ้า จะนำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานและความมั่นคงของประเทศมากกว่าการสร้างเขื่อนและพลังงานฟอสซิลอย่างแน่นอน อ้อ! อ่านจบแล้วกรุณาคลิ๊กเข้าไปดูข้อมูลจากที่ผมได้อ้างอิงไว้ด้วยนะครับ จะได้เห็นกับตาของท่านเองว่าเป็นความจริงหรือไม่