ผู้จัดการรายวัน 360 - ทางการแขวงอัตตะปือ ในประเทศลาว ได้ประกาศขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หลังจากเขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย ที่กำลังก่อสร้างแตกร้าวส่งน้ำในอ่างไหลทะลักลงสู่ลำน้ำเบื้องล่าง ไหลบ่าเข้าท่วมท้นบ้านเรือนประชาชนนับสิบหมู่บ้านในเขตเมืองสะหนามไซ หลายท้องถิ่นน้ำท่วมมิด เกิดความโกลาหล อพยพประชาชนหลายพันคนออกจากพื้นที่ พบผู้คนจำนวนมากออกจากเขตน้ำท่วมไม่ทัน ต้องขึ้นไปอาศัยบนหลังคารอความช่วยเหลือ ด้านนายกฯลาว สั่งยุติประชุมครม.กลางคัน แล้วรีบขึ้นไปบัญชาการด่วน
ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น ช่วง 2 วันที่ผ่านมา ทางการได้ให้ความช่วยเหลือนำประชาชนไปยังที่ปลอดภัยได้ไม่กี่ร้อยคน คาดว่ายังมีผู้ประสบภัยอีกกว่า 2,000 คน กำลังรอความช่วยเหลือ จำนวนมากต้องหนีน้ำท่วมสูงมิหลังคาบ้าน ไปหลบบนต้นไม้ เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำอาหารแห่งกับน้ำดื่มออกแจกจ่ายอย่างทุลักทุเล เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด ส่งความช่วยเหลือทางเรือเป็นหลัก แม้จะยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ แต่ชาวอัตตะปืดจำนวนหนึ่งโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ อ้างว่ามีผู้พบเห็นประชาชนหลายสิบคนถูกน้ำพัดพาไปในวันจันทร์(23 ก.ค.) น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้อาจมีผู้เสียชีวิตจำนวนนับร้อย
ในขณะนี้ มีเพียงเพียงสื่อในท้องถิ่นที่ระบุว่า "เกิดอุบัติเหต" ที่เขื่อนดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการตีความว่าเขื่อนแตก เนื่องจากไม่สามารถอุ้มน้ำปริมาณมหาศาลเอาไว้ได้
เขื่อนผลิตไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ก่อสร้างเกือบจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ มีกำหนดเริ่มปั่นไฟในปลายปีนี้่ มีกำลังติดตั้ง 410 เมกะวัตต์ สำรวจมาตั้งแต่ปี 2551 เริ่มก่อสร้างต้นปี 2556 เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเอสเคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรักชั่น จากเกาหลี บริษัทพลังงานไฟฟ้าเกาหลี ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จากไทย กับบริษัทถือหุ้นลาว ของรัฐบาลลาว โครงการมีมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์ ภายใต้สัญญาสัมปทานแบบบีโอที เป็นเวลา 32 ปี
ตามรายงานของสื่อออนไลน์ภาษาลาวทางการแขวง ได้ออกประกาศสั่งการให้ทุกหน่วยงานทั้งพะลเรือน ตำรวจ-ทหาร ระดมความช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย ขอความช่วยเหลือจากแขวงใกล้เคียง และ ขอความช่วยเหลือ "มายังเพื่อนมิตรทั้งใกล้และไกล
กระแสน้ำในล้ำน้ำเซเปียนได้ไหลท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างรวดเร็วใน 5 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด ในบางท้องถิ่นระดับน้ำสูง 5-6 เมตร ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออีกหลายหมู่บ้านใกล้เคียง น้ำท่วมบ้านเรือน เทืออกสวนนาไร เสียหายสุดคณานับ นอกจากนี้ วิกฤตดังกล่าวยังทำให้ลำน้ำเซกองที่ไหลผ่านตัวเมืองเอก ลงไปยังเมือง (อำเภอ) ต่างๆ ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นในช่วง 2-3 วันมานี้ เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในเขตป่าต้นน้ำ หลังจากพายุโซนร้อนลูกล่าสุดจากทะเลจีนใต้ พัดเข้าแดนลาวในคืนวันที่ 19 ก.ค. ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่แขวงภาคเหนือสุดลงไปจนถึงตอนใต้สุดของประเทศ
แขวงอัตตะปือมีเขื่อนผลิตไฟฟ้านับสิบแห่ง สร้างกั้นลำน้ำสาขาแม่น้ำโขงหลายสาย รวมทั้งเขื่อนเซกอง เขื่อนเซกะหมาน และ เขื่อนน้ำกอง ด้วย
นายสุริอุดง สูนดารา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโนโลยี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก แจ้งว่า นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี ได้สั่งปิดการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน และจับเครื่องบินลงใต้ไปยังแขวงอัตตะปือ เพื่อติดตามอำนวยการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
เหตุการณ์ที่เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยสัปดาห์นี้ นับเป็น "อุบัติเหตุ" เกี่ยวกับเขื่อนผลิตไฟฟ้าครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 2 ปี หลังจากเขื่อนเซหะหมาน 3 ขนาด 250 เมกะวัตต์ในแขวงเซกอง ซึ่งก่อสร้างโดยบริษัทเวียดนาม ปั่นไฟฟ้าเข้าระบบมา 4 ปี เกิดพังทะลายในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งเกิดจากผู้พัฒนาโครงการไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐานเทคนิคของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว และในเดือนก.ย.เกิดกรณีคล้ายกันนี้ที่เขื่อนน้ำอ้าว ขนาด 12 เมกะวัตต์ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 80%
ขณะที่บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท ไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยที่ตั้งอยู่ที่แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2561 เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8เมตร ยาว 770 เมตร และสูง 16เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อยโครงการโรงไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อยเกิดทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ และที่อยู่ห่างไหลลงสู่ลำน้ำเซเปียน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลสู่พื้นที่กักเก็บน้ำของโครงการ ขณะนี้บริษัทฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราวแล้ว
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปแล้ว 90% กำหนดการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนก.พ. 2562 โครงการนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท RATCH ในสัดส่วน 25% SK Engineering & Construction Company Limited สัดส่วน 26% Korea Western Power Company Limited สัดส่วน 25% และรัฐบาล สปป. ลาว 24%
ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น ช่วง 2 วันที่ผ่านมา ทางการได้ให้ความช่วยเหลือนำประชาชนไปยังที่ปลอดภัยได้ไม่กี่ร้อยคน คาดว่ายังมีผู้ประสบภัยอีกกว่า 2,000 คน กำลังรอความช่วยเหลือ จำนวนมากต้องหนีน้ำท่วมสูงมิหลังคาบ้าน ไปหลบบนต้นไม้ เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำอาหารแห่งกับน้ำดื่มออกแจกจ่ายอย่างทุลักทุเล เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด ส่งความช่วยเหลือทางเรือเป็นหลัก แม้จะยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ แต่ชาวอัตตะปืดจำนวนหนึ่งโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ อ้างว่ามีผู้พบเห็นประชาชนหลายสิบคนถูกน้ำพัดพาไปในวันจันทร์(23 ก.ค.) น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้อาจมีผู้เสียชีวิตจำนวนนับร้อย
ในขณะนี้ มีเพียงเพียงสื่อในท้องถิ่นที่ระบุว่า "เกิดอุบัติเหต" ที่เขื่อนดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการตีความว่าเขื่อนแตก เนื่องจากไม่สามารถอุ้มน้ำปริมาณมหาศาลเอาไว้ได้
เขื่อนผลิตไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ก่อสร้างเกือบจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ มีกำหนดเริ่มปั่นไฟในปลายปีนี้่ มีกำลังติดตั้ง 410 เมกะวัตต์ สำรวจมาตั้งแต่ปี 2551 เริ่มก่อสร้างต้นปี 2556 เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเอสเคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรักชั่น จากเกาหลี บริษัทพลังงานไฟฟ้าเกาหลี ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จากไทย กับบริษัทถือหุ้นลาว ของรัฐบาลลาว โครงการมีมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์ ภายใต้สัญญาสัมปทานแบบบีโอที เป็นเวลา 32 ปี
ตามรายงานของสื่อออนไลน์ภาษาลาวทางการแขวง ได้ออกประกาศสั่งการให้ทุกหน่วยงานทั้งพะลเรือน ตำรวจ-ทหาร ระดมความช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย ขอความช่วยเหลือจากแขวงใกล้เคียง และ ขอความช่วยเหลือ "มายังเพื่อนมิตรทั้งใกล้และไกล
กระแสน้ำในล้ำน้ำเซเปียนได้ไหลท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างรวดเร็วใน 5 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด ในบางท้องถิ่นระดับน้ำสูง 5-6 เมตร ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออีกหลายหมู่บ้านใกล้เคียง น้ำท่วมบ้านเรือน เทืออกสวนนาไร เสียหายสุดคณานับ นอกจากนี้ วิกฤตดังกล่าวยังทำให้ลำน้ำเซกองที่ไหลผ่านตัวเมืองเอก ลงไปยังเมือง (อำเภอ) ต่างๆ ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นในช่วง 2-3 วันมานี้ เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในเขตป่าต้นน้ำ หลังจากพายุโซนร้อนลูกล่าสุดจากทะเลจีนใต้ พัดเข้าแดนลาวในคืนวันที่ 19 ก.ค. ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่แขวงภาคเหนือสุดลงไปจนถึงตอนใต้สุดของประเทศ
แขวงอัตตะปือมีเขื่อนผลิตไฟฟ้านับสิบแห่ง สร้างกั้นลำน้ำสาขาแม่น้ำโขงหลายสาย รวมทั้งเขื่อนเซกอง เขื่อนเซกะหมาน และ เขื่อนน้ำกอง ด้วย
นายสุริอุดง สูนดารา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโนโลยี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก แจ้งว่า นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี ได้สั่งปิดการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน และจับเครื่องบินลงใต้ไปยังแขวงอัตตะปือ เพื่อติดตามอำนวยการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
เหตุการณ์ที่เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยสัปดาห์นี้ นับเป็น "อุบัติเหตุ" เกี่ยวกับเขื่อนผลิตไฟฟ้าครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 2 ปี หลังจากเขื่อนเซหะหมาน 3 ขนาด 250 เมกะวัตต์ในแขวงเซกอง ซึ่งก่อสร้างโดยบริษัทเวียดนาม ปั่นไฟฟ้าเข้าระบบมา 4 ปี เกิดพังทะลายในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งเกิดจากผู้พัฒนาโครงการไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐานเทคนิคของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว และในเดือนก.ย.เกิดกรณีคล้ายกันนี้ที่เขื่อนน้ำอ้าว ขนาด 12 เมกะวัตต์ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 80%
ขณะที่บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท ไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยที่ตั้งอยู่ที่แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2561 เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8เมตร ยาว 770 เมตร และสูง 16เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อยโครงการโรงไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อยเกิดทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ และที่อยู่ห่างไหลลงสู่ลำน้ำเซเปียน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลสู่พื้นที่กักเก็บน้ำของโครงการ ขณะนี้บริษัทฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราวแล้ว
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปแล้ว 90% กำหนดการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนก.พ. 2562 โครงการนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท RATCH ในสัดส่วน 25% SK Engineering & Construction Company Limited สัดส่วน 26% Korea Western Power Company Limited สัดส่วน 25% และรัฐบาล สปป. ลาว 24%