ผู้จัดการรายวัน 360 - "บิ๊กตู่" แซวครูร้องพักหนี้ ไม่มีปฏิญญาเมืองทอง บอกเป็นหนี้มีเกียรติ ตัวเองก็เคยมีหนี้ แนะทยอยใช้ รัฐบาลคอยช่วยดูแล "วิษณุ" แจง กลุ่มครู แค่ขอชะลอหนี้ ย้ำเป็นหนี้ต้องจ่าย เตือนเบี้ยวหนี้โดนฟ้องล้มละลายขาดคุณสมบัติความเป็นครู 'คุรุสภา'แจงกลุ่มครูประกาศปฏิญญา ยังไม่ผิดจรรยาบรรณ แต่ไม่เหมาะสม สมาพันธ์ครูฯใต้ไม่เห็นด้วย"ปฏิญญามหาสารคาม" ชี้ครูเบี้ยวหนี้ไม่ยอมจ่ายมีแค่ 20%
วานนี้ (18ก.ค.) ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวช่วงหนึ่งในปาฐกถาหัวข้อ”มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อสุขภาพคนไทย” ว่า วันนี้คงไม่มีปฏิญญาเมืองทอง มันทำไม่ได้ จะมีได้อย่างไรการเป็นหนี้เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมีเกียรติและหนี้ ก็ไม่ได้มีใครเอาไปใช้ตัวเองเอาไปใช้เองจะมาบอกว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้ขอให้ทยอยใช้หนี้ไปรัฐบาลก็ดูแลอยู่แล้วทุกคนเคยมีหนี้ทั้งสิ้นตนเองก็เคยมี ทุกคนไม่เท่ากันอยู่แล้วแต่ถ้าเราพัฒนาตัวเองก็จะสามารถชนะอุปสรรคต่างๆไปได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มครู ประกาศปฏิญญามหาสารคาม ขอยุติการชำระหนี้ธนาคารออมสิน ว่า นายกรัฐมนตรี พูดชัดเจนแล้วว่า จะยกเลิกหนี้ไม่ได้ ถ้าไม่จ่ายหนี้ ก็อาจถูกฟ้องล้มละลาย ขาดคุณสมบัติความเป็นครู อย่างไรก็ตาม ทราบว่าทางกลุ่มครู ออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่ใช่จะไม่จ่ายหนี้ แต่ขอชะลอหนี้ แต่ยืนยันถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายหนี้
*** 'คุรุสภา' แจงยังไม่ผิดจรรยาบรรณ
นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ครูคงไม่สามารถจะเบี้ยวหนี้ได้อยู่แล้ว เพราะได้ทำสัญญาข้อตกลงกันระหว่างผู้กู้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระ อัตราดอกเบี้ย การทำประกันชีวิต ซึ่งระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ชัดเจน ดังนั้น การที่ครูจะเบี้ยวหนี้จึงทำไม่ได้ในทางกฏหมาย ยกเว้นคนที่ที่ตั้งใจจะเบี้ยวอยู่แล้ว เพราะในจำนวนครูที่กู้ในแสนคน ก็มีคนที่ตั้งใจเบี้ยวหนี้ แต่มีเพียงไม่กี่พันคน ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องดำเนินการทางกฏหมายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หากครูเบี้ยวหนี้จริง จะเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพครู คือ 1. ถือว่าเป็นการไม่มีวินัยในตนเอง ใช้เงินเกินที่หา ไม่จ่ายหนี้ตามเวลา 2. ไม่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และไม่เป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ทำให้วิชาชีพและองค์กรเสื่อมเสีย 3.ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา และจิตใจ 4.ไม่ยึดมั่นในระบอบคุณธรรม สร้างความสามัคครีในหมู่คณะ และ 5.ไม่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การที่คุรุสภาจะดำเนินการกับครูที่เบี้ยวหนี้ จะต้องมีผู้มาร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีหน่วยงานใดมากล่าวโทษ หรือร้องเรียนมา คุรุสภาจึงไม่มีการดำเนินการทางจรรยาบรรณกับผู้ที่เบี้ยวหนี้ แต่ประเด็นนี้ หากทางธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้เสียหายกล่าวหามา ทางคุรุสภา จะดำเนินการทางจรรยาบรรณกับผู้ที่เบี้ยวหนี้ได้ ซึ่งโทษหากมีมูลก็ตั้งแต่ขั้นตักเตือน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพครู หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่โทษเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รับข้อกล่าวหาแล้วจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) พิจารณาโทษทางจรรยาบรรณต่อไป
“ผมว่ากลุ่มครูที่ออกมาประกาศปฏิญญา ยังไม่เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ เพราะยังไม่มีการเบี้ยวหนี้ แต่อาจจะดูไม่เหมาะสมทางวิชาชีพครู และต้องดูด้วยว่าคนที่ออกมาประกาศนั้นยังเป็นครูอยู่หรือเปล่า ส่วนคนที่เกษียณแล้ว หรือคนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทางคุรุสภา ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับทางธนาคารออมสิน หรือเจ้าหนี้ที่จะไปดำเนินการกล่าวหา ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาระบุแล้วว่าหากครูมีหนี้สินมากและไม่สามารถชำระคืนเจ้าหนี้ได้ ก็จะถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย การทำผิดวินัยก็จะเกิด และขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการ ถึงขั้นออกจากราชการได้”
อย่างไรก็ตาม ทาง สกสค.จะทำหน้าที่ไปเจรจาเพื่อไม่ให้ครูถูกเอาเปรียบ รวมถึงทางรัฐบาลก็พยายามช่วยครูที่เป็นลูกหนี้ เช่น ให้ สกสค.ไปเจรจากับธนาคารออมสิน ให้ช่วยลดดอกเบี้ยให้กับครูที่เป็นลูกหนี้ชั้นดีแล้ว แต่ก็มีครูที่ไม่มีวินัยในการใช้หนี้ รวมถึงเกิดลัทธิทำตาม หรือ มีคนมาบอกว่ามีกองทุนแล้ว ถ้าครูไม่จ่าย ทางกองทุนก็จะจ่ายให้ จึงเกิดความผิดพลาดในการทำ MOU ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้เร่งให้ศธแก้ไขในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. ใส่ใจและทุ่มเทกับเรื่องนี้มาก ลงมาดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยตนเอง ทำให้ครูได้ลดดอกเบี้ย และยังนำเงิน 1% ที่ครูเคยถูกหักเข้ากองทุนนำกลับคืนให้ครูในรูปแบบการลดดอกเบี้ยเพิ่มให้อีกด้วย แต่ก็ยังมีครูส่วนหนึ่งที่ยังไม่พอใจ อาจจะเป็นเพราะครูมีหนี้ก่อนใหญ่ ซึ่งเป็นความผิดพลาดมาตั้งแต่แรกและครูเมื่อมีที่กู้ได้จำนวนมากก็ไม่คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายคืน ซึ่งทางต้นสังกัดควรจะมีมาตรการสำหรับครูที่จะเป็นหนี้
“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูควรจะมีวินัยในการใช้ชีวิต เพราะถ้าหากไม่มีวินัยในการใช้ชีวิตก็จะมีปัญหา แต่ก็มีจำนวนที่น้อยมากไม่ถึง 1% แต่บางส่วนก็น่าเห็นใจ เพราะคนที่มาเป็นครูส่วนใหญ่ก็มาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะที่ดีนัก และต้องคอยจุนเจือครอบครัว และมีภาษีสังคมมาก ครูมีลูกศิษย์มาก และคนคาดหวังครูมาก ซึ่งอาจจะเป็นภาระที่คนอาจจะมองไม่เห็น ครูบางคนกู้เงินไปช่วยเหลือเด็กเจ็บป่วย ซึ่งคนที่ไม่ได้เป็นครูก็อาจจะไม่เข้าใจปัญหา”
*** สมาพันธ์ครูฯใต้ค้าน"ครูพักหนี้"
นายสมพงศ์ ปานเกล้า ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูภาคใต้ กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยกรรมสมาพันธ์ครูภาคใต้และครูภาคใต้ 90% ไม่เห็นด้วยกับคำปฏิญญามหาสารคามและจะไม่เข้าร่วมด้วย โดยมีกลุ่มครูส่วนน้อยคือประมาณ 20% ของครู 450,000 คนที่กู้เงิน ช.พ.ค.กับธนาคารออมสิน ที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ และค้างจ่ายเงินหนี้กับธนาคารอออมสิน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัดสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกศค.) ได้ใช้เงินกองทุนสนับสนุนพิเศษ ซึ่งเป็นกองทุนที่ตกลงร่วมระหว่างธนาคารออมสินกับ สกศค.หากลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้เกิน 3 เดือน ให้ออมสินหักเงินจากกองทุนได้ ขณะนี้ ได้จ่ายแทนลูกหนี้ค้างจ่ายเงินกู้ ช.พ.ค.ไปแล้ว 10,000 กว่าล้านบาทจาก 20,000 ล้านบาท ครูส่วนใหญ่ 80% ยังเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคที่ออกมาเคลื่อนไหว จะนำประเด็นปัญหาเข้าที่ประชุมใหญ่ของสมาพันธ์ฯในวันที่ 21 กรกฎาคมที่ จ.พัทลุง
“ในขณะนี้ธนาคารออมสินจะช่วยเหลือครูซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นดี ธนาคารออมสินจึงได้ร่วมกับ สกศค.ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครูลูกหนี้ชั้นดี จึงขอชวนเชิญครูทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารออมสิน”นายสมพงศ์กล่าว
วานนี้ (18ก.ค.) ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวช่วงหนึ่งในปาฐกถาหัวข้อ”มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อสุขภาพคนไทย” ว่า วันนี้คงไม่มีปฏิญญาเมืองทอง มันทำไม่ได้ จะมีได้อย่างไรการเป็นหนี้เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมีเกียรติและหนี้ ก็ไม่ได้มีใครเอาไปใช้ตัวเองเอาไปใช้เองจะมาบอกว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้ขอให้ทยอยใช้หนี้ไปรัฐบาลก็ดูแลอยู่แล้วทุกคนเคยมีหนี้ทั้งสิ้นตนเองก็เคยมี ทุกคนไม่เท่ากันอยู่แล้วแต่ถ้าเราพัฒนาตัวเองก็จะสามารถชนะอุปสรรคต่างๆไปได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มครู ประกาศปฏิญญามหาสารคาม ขอยุติการชำระหนี้ธนาคารออมสิน ว่า นายกรัฐมนตรี พูดชัดเจนแล้วว่า จะยกเลิกหนี้ไม่ได้ ถ้าไม่จ่ายหนี้ ก็อาจถูกฟ้องล้มละลาย ขาดคุณสมบัติความเป็นครู อย่างไรก็ตาม ทราบว่าทางกลุ่มครู ออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่ใช่จะไม่จ่ายหนี้ แต่ขอชะลอหนี้ แต่ยืนยันถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายหนี้
*** 'คุรุสภา' แจงยังไม่ผิดจรรยาบรรณ
นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ครูคงไม่สามารถจะเบี้ยวหนี้ได้อยู่แล้ว เพราะได้ทำสัญญาข้อตกลงกันระหว่างผู้กู้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระ อัตราดอกเบี้ย การทำประกันชีวิต ซึ่งระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ชัดเจน ดังนั้น การที่ครูจะเบี้ยวหนี้จึงทำไม่ได้ในทางกฏหมาย ยกเว้นคนที่ที่ตั้งใจจะเบี้ยวอยู่แล้ว เพราะในจำนวนครูที่กู้ในแสนคน ก็มีคนที่ตั้งใจเบี้ยวหนี้ แต่มีเพียงไม่กี่พันคน ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องดำเนินการทางกฏหมายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หากครูเบี้ยวหนี้จริง จะเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพครู คือ 1. ถือว่าเป็นการไม่มีวินัยในตนเอง ใช้เงินเกินที่หา ไม่จ่ายหนี้ตามเวลา 2. ไม่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และไม่เป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ทำให้วิชาชีพและองค์กรเสื่อมเสีย 3.ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา และจิตใจ 4.ไม่ยึดมั่นในระบอบคุณธรรม สร้างความสามัคครีในหมู่คณะ และ 5.ไม่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การที่คุรุสภาจะดำเนินการกับครูที่เบี้ยวหนี้ จะต้องมีผู้มาร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีหน่วยงานใดมากล่าวโทษ หรือร้องเรียนมา คุรุสภาจึงไม่มีการดำเนินการทางจรรยาบรรณกับผู้ที่เบี้ยวหนี้ แต่ประเด็นนี้ หากทางธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้เสียหายกล่าวหามา ทางคุรุสภา จะดำเนินการทางจรรยาบรรณกับผู้ที่เบี้ยวหนี้ได้ ซึ่งโทษหากมีมูลก็ตั้งแต่ขั้นตักเตือน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพครู หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่โทษเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รับข้อกล่าวหาแล้วจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) พิจารณาโทษทางจรรยาบรรณต่อไป
“ผมว่ากลุ่มครูที่ออกมาประกาศปฏิญญา ยังไม่เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ เพราะยังไม่มีการเบี้ยวหนี้ แต่อาจจะดูไม่เหมาะสมทางวิชาชีพครู และต้องดูด้วยว่าคนที่ออกมาประกาศนั้นยังเป็นครูอยู่หรือเปล่า ส่วนคนที่เกษียณแล้ว หรือคนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทางคุรุสภา ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับทางธนาคารออมสิน หรือเจ้าหนี้ที่จะไปดำเนินการกล่าวหา ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาระบุแล้วว่าหากครูมีหนี้สินมากและไม่สามารถชำระคืนเจ้าหนี้ได้ ก็จะถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย การทำผิดวินัยก็จะเกิด และขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการ ถึงขั้นออกจากราชการได้”
อย่างไรก็ตาม ทาง สกสค.จะทำหน้าที่ไปเจรจาเพื่อไม่ให้ครูถูกเอาเปรียบ รวมถึงทางรัฐบาลก็พยายามช่วยครูที่เป็นลูกหนี้ เช่น ให้ สกสค.ไปเจรจากับธนาคารออมสิน ให้ช่วยลดดอกเบี้ยให้กับครูที่เป็นลูกหนี้ชั้นดีแล้ว แต่ก็มีครูที่ไม่มีวินัยในการใช้หนี้ รวมถึงเกิดลัทธิทำตาม หรือ มีคนมาบอกว่ามีกองทุนแล้ว ถ้าครูไม่จ่าย ทางกองทุนก็จะจ่ายให้ จึงเกิดความผิดพลาดในการทำ MOU ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้เร่งให้ศธแก้ไขในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. ใส่ใจและทุ่มเทกับเรื่องนี้มาก ลงมาดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยตนเอง ทำให้ครูได้ลดดอกเบี้ย และยังนำเงิน 1% ที่ครูเคยถูกหักเข้ากองทุนนำกลับคืนให้ครูในรูปแบบการลดดอกเบี้ยเพิ่มให้อีกด้วย แต่ก็ยังมีครูส่วนหนึ่งที่ยังไม่พอใจ อาจจะเป็นเพราะครูมีหนี้ก่อนใหญ่ ซึ่งเป็นความผิดพลาดมาตั้งแต่แรกและครูเมื่อมีที่กู้ได้จำนวนมากก็ไม่คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายคืน ซึ่งทางต้นสังกัดควรจะมีมาตรการสำหรับครูที่จะเป็นหนี้
“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูควรจะมีวินัยในการใช้ชีวิต เพราะถ้าหากไม่มีวินัยในการใช้ชีวิตก็จะมีปัญหา แต่ก็มีจำนวนที่น้อยมากไม่ถึง 1% แต่บางส่วนก็น่าเห็นใจ เพราะคนที่มาเป็นครูส่วนใหญ่ก็มาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะที่ดีนัก และต้องคอยจุนเจือครอบครัว และมีภาษีสังคมมาก ครูมีลูกศิษย์มาก และคนคาดหวังครูมาก ซึ่งอาจจะเป็นภาระที่คนอาจจะมองไม่เห็น ครูบางคนกู้เงินไปช่วยเหลือเด็กเจ็บป่วย ซึ่งคนที่ไม่ได้เป็นครูก็อาจจะไม่เข้าใจปัญหา”
*** สมาพันธ์ครูฯใต้ค้าน"ครูพักหนี้"
นายสมพงศ์ ปานเกล้า ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูภาคใต้ กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยกรรมสมาพันธ์ครูภาคใต้และครูภาคใต้ 90% ไม่เห็นด้วยกับคำปฏิญญามหาสารคามและจะไม่เข้าร่วมด้วย โดยมีกลุ่มครูส่วนน้อยคือประมาณ 20% ของครู 450,000 คนที่กู้เงิน ช.พ.ค.กับธนาคารออมสิน ที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ และค้างจ่ายเงินหนี้กับธนาคารอออมสิน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัดสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกศค.) ได้ใช้เงินกองทุนสนับสนุนพิเศษ ซึ่งเป็นกองทุนที่ตกลงร่วมระหว่างธนาคารออมสินกับ สกศค.หากลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้เกิน 3 เดือน ให้ออมสินหักเงินจากกองทุนได้ ขณะนี้ ได้จ่ายแทนลูกหนี้ค้างจ่ายเงินกู้ ช.พ.ค.ไปแล้ว 10,000 กว่าล้านบาทจาก 20,000 ล้านบาท ครูส่วนใหญ่ 80% ยังเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคที่ออกมาเคลื่อนไหว จะนำประเด็นปัญหาเข้าที่ประชุมใหญ่ของสมาพันธ์ฯในวันที่ 21 กรกฎาคมที่ จ.พัทลุง
“ในขณะนี้ธนาคารออมสินจะช่วยเหลือครูซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นดี ธนาคารออมสินจึงได้ร่วมกับ สกศค.ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครูลูกหนี้ชั้นดี จึงขอชวนเชิญครูทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารออมสิน”นายสมพงศ์กล่าว