วานนี้ (18ก.ค.) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าว หลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่ 1/2561 และ สถานการณ์น้ำปัจจุบันว่า ได้มีการวางแผนเพื่อดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินดำเนินการ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ในการตอบโจทย์การแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม และเพิ่มน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่ต้องการน้ำเพิ่มขึ้น โดยในแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ระยะแรกปี62- 65 จะดำเนินโครงการสำคัญ 31 โครงการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามภาคต่างๆ
ทั้งนี้ ในปี 62 จะดำเนินการ 9 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช 2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย 3.โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เลย 4.โครงการประตูระบายน้ำ น้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร 5. โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ จ.สกลนคร
6. โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ 7. โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ (ระยะที่ 1) 8. โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุงตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ และ 9. โครงการระบายน้ำบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งโครงการนี้จะต้องเริ่มดำเนินการในปีนี้ให้ได้ เพราะจะช่วยลดการเกิดอุทกภัยในภาคกลางตอนกลาง และตอนล่าง รวมพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วย ทั้งนี้ในการก่อสร้างโครงการต่างๆ ต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งขณะนี้เหลืออีก 1-2 เปอร์เซ็นต์ ที่กำลังมีการเจรจาเพื่อชดเชยค่าเวนคืน
"โครงการเหล่านี้มีความพร้อม ทั้งมีแบบก่อสร้าง มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผ่านกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการทั้ง 9 โครงการใหญ่ คือ 69,000 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณประจำปี และเป็นการทยอยของบฯ ไม่ได้ขอครั้งเดียว ซึ่งโครงการต่างๆได้ดำเนินการโดยเรียงลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วน ยืนยันว่าหากดำเนินทั้ง 9 โครงการได้ ก็จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ถึง 840,201 ไร่ และกักเก็บปริมาณน้ำได้ถึง 379 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ บางโครงการสามารถแล้วเสร็จได้ภายใน 2 ปี แต่บางโครงการอาจใช้เวลา 4-5 ปี แล้วแต่ขนาดของโครงการ ซึ่งทั้งหมดเป็นนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในการบริหารจัดการน้ำ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จะเป็นผู้ขับเคลื่อนทั้งหมด และกรมชลประทาน เป็นฝ่ายปฏิบัติ และคาดหวังว่า โครงการทั้งหมดจะให้ประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ และช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยได้" พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว
ทั้งนี้ ในปี 62 จะดำเนินการ 9 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช 2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย 3.โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เลย 4.โครงการประตูระบายน้ำ น้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร 5. โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ จ.สกลนคร
6. โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ 7. โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ (ระยะที่ 1) 8. โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุงตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ และ 9. โครงการระบายน้ำบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งโครงการนี้จะต้องเริ่มดำเนินการในปีนี้ให้ได้ เพราะจะช่วยลดการเกิดอุทกภัยในภาคกลางตอนกลาง และตอนล่าง รวมพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วย ทั้งนี้ในการก่อสร้างโครงการต่างๆ ต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งขณะนี้เหลืออีก 1-2 เปอร์เซ็นต์ ที่กำลังมีการเจรจาเพื่อชดเชยค่าเวนคืน
"โครงการเหล่านี้มีความพร้อม ทั้งมีแบบก่อสร้าง มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผ่านกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการทั้ง 9 โครงการใหญ่ คือ 69,000 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณประจำปี และเป็นการทยอยของบฯ ไม่ได้ขอครั้งเดียว ซึ่งโครงการต่างๆได้ดำเนินการโดยเรียงลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วน ยืนยันว่าหากดำเนินทั้ง 9 โครงการได้ ก็จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ถึง 840,201 ไร่ และกักเก็บปริมาณน้ำได้ถึง 379 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ บางโครงการสามารถแล้วเสร็จได้ภายใน 2 ปี แต่บางโครงการอาจใช้เวลา 4-5 ปี แล้วแต่ขนาดของโครงการ ซึ่งทั้งหมดเป็นนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในการบริหารจัดการน้ำ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จะเป็นผู้ขับเคลื่อนทั้งหมด และกรมชลประทาน เป็นฝ่ายปฏิบัติ และคาดหวังว่า โครงการทั้งหมดจะให้ประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ และช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยได้" พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว