ธรรมะที่นักบวชในพุทธศาสนาพึงนำมาพิจารณาเนืองๆ มีอยู่ 10 ประการคือ
1. เรามีเพศภาวะต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
4. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเอง ด้วยศีลได้หรือไม่
5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้วยังติเตียนเราด้วยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
6. เราต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น
7. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องรับผลของกรรมนั้น
8. วันคืนล่วงไปเราทำอะไรอยู่
9. เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
10. คุณวิเศษยิ่งกว่า (ที่) มนุษย์ธรรมดาจะทำได้ ที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินเมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในภายหลัง
ทั้ง 10 ประการดังกล่าวข้างต้น คือพุทธพจน์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนสาวกที่เป็นบรรพชิตหรือเป็นนักบวชให้นำมาเป็นเครื่องเตือนตนเองบ่อยๆ
โดยนัยแห่งธรรมะอันเป็นข้อเตือนใจ 10 ประการนี้ พระอรรถาจารย์ได้อธิบายขยายความสรุปเป็นลำดับดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ความเห็นแตกต่างระหว่างบรรพชิตคือ นักบวชกับคฤหัสถ์ในด้านกายภาค อันได้แก่ข้อที่ 1, 2 และ 3 เพื่อให้นักบวชทุกคนรู้ว่า นับตั้งแต่มีการบวชเป็นบรรพชิต ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการโกนผม นุ่งห่มผ้าเหลือง ต้องมีชีวิตด้วยการขอปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค จากทายก ทายิกา ผู้ศรัทธาจะทำมาหากินด้วยการค้าขาย ทำไร่ ทำนาเยี่ยงคฤหัสถ์ไม่ได้อีกต่อไป และประการสุดท้ายจะแสดงพฤติกรรม ไม่ว่าจะด้วยการพูด และการทำเยี่ยงคฤหัสถ์โดยไม่มีศีลควบคุมไม่ได้
2. เพื่อให้สำนึกในหน้าที่ ซึ่งนักบวชพึงกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาระหน้าที่ในการฝึกกาย วาจา และจิตให้อยู่ในกรอบของศีล สมาธิ และปัญญา ด้วยการถามตนเองดังปรากฏในข้อ 4, 5, 6, 8, 9 และ 10
ถ้านักบวชในพุทธศาสนามีธรรม 10 ประการนี้ประจำใจ ความวุ่นวายเฉกเช่นที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้ จะไม่เกิดขึ้น
แต่ที่เกิดขึ้นและลุกลามทั่วสังฆมณฑลอยู่ในขณะนี้ ก็เนื่องจากไม่มีธรรม 10 ประการ เริ่มตั้งแต่ข้อแรก ถ้านักบวชรู้ว่าตนมีเพศภาวะต่างจากคฤหัสถ์การแสวงหาวัตถุ ซึ่งไม่ควรแก่สมณบริโภค เช่น รถยนต์ เครื่องเสียง และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะนักบวชที่แท้ จะมีแค่บริขาร 8 ตามพระพุทธานุญาตคือ
1. จีวร 2. สบง 3. สังฆาฏิ 4. บาตร 5. มีดโกน 6. หินลับมีด 7. กล่องเข็มและด้าย 8. กระบอกกรองน้ำ
ประการที่สอง ถ้าเป็นนักบวชแท้จะต้องคอยสำรวจตนเองเกี่ยวกับศีลว่ามีข้อใดบกพร่อง ด่างพร้อยหรือไม่ และจะต้องรักสงบโดยการอยู่ในที่สงัดปราศจากคนพลุกพล่าน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ไม่คลุกคลีด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา เฉกเช่นนักบวชบางรูปที่ห้อมล้อมสีกาพากันเที่ยวถึงต่างแดน และที่สำคัญพระแท้จะต้องปฏิบัติเพื่อลด ละกิเลสมุ่งความหลุดพ้น มิใช่ยึดติดกับสิ่งนอกกาย ดังที่เห็นดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้
ด้วยเหตุนี้ ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเห็นเมืองไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ก็จะต้องช่วยกันค้ำจุนเกื้อหนุนพระดีมีศีลและปฏิบัติ เพื่อขจัดกิเลส ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันขจัดอลัชชีออกจากวงการสงฆ์ ด้วยการไม่ทำบุญและเกื้อหนุนพระไม่ดี เพียงแค่นี้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นพุทธมามกะโดยสมบูรณ์แล้ว ในฐานะที่เป็นชาวพุทธในเพศคฤหัสถ์
1. เรามีเพศภาวะต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
4. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเอง ด้วยศีลได้หรือไม่
5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้วยังติเตียนเราด้วยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
6. เราต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น
7. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องรับผลของกรรมนั้น
8. วันคืนล่วงไปเราทำอะไรอยู่
9. เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
10. คุณวิเศษยิ่งกว่า (ที่) มนุษย์ธรรมดาจะทำได้ ที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินเมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในภายหลัง
ทั้ง 10 ประการดังกล่าวข้างต้น คือพุทธพจน์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนสาวกที่เป็นบรรพชิตหรือเป็นนักบวชให้นำมาเป็นเครื่องเตือนตนเองบ่อยๆ
โดยนัยแห่งธรรมะอันเป็นข้อเตือนใจ 10 ประการนี้ พระอรรถาจารย์ได้อธิบายขยายความสรุปเป็นลำดับดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ความเห็นแตกต่างระหว่างบรรพชิตคือ นักบวชกับคฤหัสถ์ในด้านกายภาค อันได้แก่ข้อที่ 1, 2 และ 3 เพื่อให้นักบวชทุกคนรู้ว่า นับตั้งแต่มีการบวชเป็นบรรพชิต ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการโกนผม นุ่งห่มผ้าเหลือง ต้องมีชีวิตด้วยการขอปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค จากทายก ทายิกา ผู้ศรัทธาจะทำมาหากินด้วยการค้าขาย ทำไร่ ทำนาเยี่ยงคฤหัสถ์ไม่ได้อีกต่อไป และประการสุดท้ายจะแสดงพฤติกรรม ไม่ว่าจะด้วยการพูด และการทำเยี่ยงคฤหัสถ์โดยไม่มีศีลควบคุมไม่ได้
2. เพื่อให้สำนึกในหน้าที่ ซึ่งนักบวชพึงกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาระหน้าที่ในการฝึกกาย วาจา และจิตให้อยู่ในกรอบของศีล สมาธิ และปัญญา ด้วยการถามตนเองดังปรากฏในข้อ 4, 5, 6, 8, 9 และ 10
ถ้านักบวชในพุทธศาสนามีธรรม 10 ประการนี้ประจำใจ ความวุ่นวายเฉกเช่นที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้ จะไม่เกิดขึ้น
แต่ที่เกิดขึ้นและลุกลามทั่วสังฆมณฑลอยู่ในขณะนี้ ก็เนื่องจากไม่มีธรรม 10 ประการ เริ่มตั้งแต่ข้อแรก ถ้านักบวชรู้ว่าตนมีเพศภาวะต่างจากคฤหัสถ์การแสวงหาวัตถุ ซึ่งไม่ควรแก่สมณบริโภค เช่น รถยนต์ เครื่องเสียง และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะนักบวชที่แท้ จะมีแค่บริขาร 8 ตามพระพุทธานุญาตคือ
1. จีวร 2. สบง 3. สังฆาฏิ 4. บาตร 5. มีดโกน 6. หินลับมีด 7. กล่องเข็มและด้าย 8. กระบอกกรองน้ำ
ประการที่สอง ถ้าเป็นนักบวชแท้จะต้องคอยสำรวจตนเองเกี่ยวกับศีลว่ามีข้อใดบกพร่อง ด่างพร้อยหรือไม่ และจะต้องรักสงบโดยการอยู่ในที่สงัดปราศจากคนพลุกพล่าน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ไม่คลุกคลีด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา เฉกเช่นนักบวชบางรูปที่ห้อมล้อมสีกาพากันเที่ยวถึงต่างแดน และที่สำคัญพระแท้จะต้องปฏิบัติเพื่อลด ละกิเลสมุ่งความหลุดพ้น มิใช่ยึดติดกับสิ่งนอกกาย ดังที่เห็นดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้
ด้วยเหตุนี้ ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเห็นเมืองไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ก็จะต้องช่วยกันค้ำจุนเกื้อหนุนพระดีมีศีลและปฏิบัติ เพื่อขจัดกิเลส ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันขจัดอลัชชีออกจากวงการสงฆ์ ด้วยการไม่ทำบุญและเกื้อหนุนพระไม่ดี เพียงแค่นี้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นพุทธมามกะโดยสมบูรณ์แล้ว ในฐานะที่เป็นชาวพุทธในเพศคฤหัสถ์