“บีทีเอส”แถลงมาตรการเยียวยาผู้โดยสารได้รับผลกระทบรถไฟฟ้าขัดข้อง 25-27 มิ.ย. "คืนเงิน-เพิ่มรอบนั่งฟรี" คาดเสียรายได้ 20-30 ล้าน “คีรี” ยันบีทีเอสไม่ผิด โอดลงทุนมา 20 ปีไม่คุ้ม ย้อนเวลาได้คงไม่ลงทุน แต่คุยฟุ้งพร้อมลุย “ไฮสปีดเทรน3สนามบิน” มีต่างชาติสนใจร่วมเป็นพันธมิตร แย้มจับมือ “เจ้าสัวซีพี” ด้วย ล่าสุดทุนจีน-เกาหลีรวม 3 รายซื้อซองรถไฟเชื่อมสนามบินเพิ่ม รวมถึงตอนนี้ 19 รายชิงชัย
วานนี้ (5 ก.ค.) นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTSC) ผู้รับสัมปทานให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.บีทีเอส โฮลดิ้งส กรุ๊ป (BTS) พร้อมด้วย นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการ บีทีเอส และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส ร่วมกันแถลงถึงมาตรการแก้ไขปัญหาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ตลอดจนมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนของผู้โดยสารในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับมาตรการเยียวยาผู้โดยสารได้รับผลกระทบจากรถไฟฟ้าขัดข้องเมื่อวันที่ 25-27 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ในส่วนของผู้โดยสารประเภทตั๋วเที่ยวเดียว สามารถนำกลับมาใช้ได้ภายใน 14 วัน หากไม่ต้องการเดินทางขอคืนเงินได้ภายในวันที่ 31 ก.ค.61 ส่วนบัตรโดยสารประเภทแบบเติมเงิน สามารถขอรับเที่ยวเดินทางพิเศษจำนวน 3 เที่ยว และผู้ถือบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดินทาง 30 วัน สามารถขอรับเที่ยวเดินทางพิเศษจำนวน 6 เที่ยว โดยให้นำบัตรโดยสารมาติดต่อขอรับการเดินทางพิเศษได้ทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 7-31 ก.ค.61 ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะมีผู้โดยสารมาขอรับสิทธิ์ดังกล่าวทำให้สูญเสียรายได้ราว 20-30ล้านบาท
โดย นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่กสทช.ได้เสนอให้บีทีเอสใช้คลื่น 800-900 MHzจากปัจจุบันใช้คลื่น 2400 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่จะจัดสรรให้โครงการรถไฟความเร็วสูง แต่หากจัดสรรให้บีทีเอสเราก็ยินดีพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ทั้งนี้ บริษัทคงต้องหารือกับซัพพลายเออร์ก่อน
นอกจากนี้ นายคีรี ยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันนี้ (6 ก.ค) จะมีการนำเข้าอุปกรณ์ช่วยกรองสัญญาณเพื่อนำมาติดตั้งเพิ่มเติมในตัวรถไฟฟ้า เพื่อให้การเดินรถเสถียรขึ้นซึ่งบริษัทมั่นใจว่าในสุดสัปดาห์นี้การเดินรถไฟฟ้าจะเข้าสู่ภาวะปกติ รวมทั้งจะพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการมีคลื่นใหม่ๆเข้ามา โดยเจรจากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหารถไฟฟ้าแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน คงยังทำได้ไม่เต็มที่นัก เพราะติดปัญหาคอขวดที่สถานีสะพานตากสิน ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ข้อยุติการเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.)และภาครัฐ โดยได้มีการออกแบบส่งให้กทม.แล้วและอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)เพิ่มเติม
นายคีรี กล่าวด้วยว่า จากเหตุการณ์ความล่าช้าในการเดินรถที่ผ่านมา บริษัทไม่ได้มองว่า กสทช. ทีโอที ดีแทค หรือบีทีเอส ผิด เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่บีทีเอสผิดทั้ง 100% มาตรการที่ออกมานี้ไม่ใช่การชดเชย เพียงแต่บริษัทไม่ต้องการให้ผู้โดยสารเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
“อย่าให้บริษัทต้องรับทุกอย่าง อยากให้เข้าใจว่า การลงทุนรถไฟฟ้าเมื่อ 20ปีที่แล้ว เป็นเพราะผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าผมรู้เท่าถึงการณ์คงไม่ลงทุน 5 หมื่นล้านบาท และดอกเบี้ย 5% โดยบริษัทลงทุนทั้งหมด กทม.ไม่ได้ใส่เงินเลย ซึ่งช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยสูงกว่านั้น แต่วันนี้บีทีเอสมีกำไรเพราะเราไม่มีหนี้ ซึ่งบริษัทได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทำให้หนี้เงินต้นไม่มี จึงได้มีกำไร ซึ่งระบบขนส่งมวลชนหลังจากบีทีเอสรัฐบาลลงทุนด้านการก่อสร้างหมด เอกชนลงทุนด้านระบบเดินรถเท่านั้น วันนี้บีทีเอสแข็งแรงแล้ว บริษัทจึงลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม” นายคีรีกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายคีรี ได้กล่าวแสดงความพร้อมที่จะลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมืองและสนามบินอู่ตะเภา ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ทีโออาร์) เนื่องจากเป็นระบบและเส้นทางใหม่ โดยจะจับมือกับพันธมิตร คือ บีเอสอาร์(บีทีเอส บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง)ที่จะเข้าร่วมกันประมูลโครงการนี้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทต่างชาติ2รายจากยุโรปและเอเชียสนใจที่จะมาร่วมกับกลุ่มบีทีเอสในการประมูลโครงการดังกล่าวด้วย โดยบริษัทต่างชาตินี้มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารที่ดิน และรถไฟฟ้า ส่วนปตท.หากสนใจร่วมทุนกับกลุ่มบีทีเอสในการเข้าประมูลก็ยินดี เพราะโครงการขนาดใหญ่คงไม่มีใครทำเองได้ทั้งหมด ขณะเดียวกัน ตนก็ได้มีการเจรจากับนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) มาหลายครั้งเพื่อมองหาโอกาสการร่วมมือกัน โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะประมูลก็จะเสนอบางโครงการเข้าไปร่วมทุนด้วย เช่น อสังหาริมทรัพย์ การเดินรถฯ เป็นต้น ทั้งนี้บีทีเอสเปิดกว้าง พร้อมที่จะเจรจากับผู้ที่สนใจและตั้งใจจริงในการเป็นพันธมิตรในโครงการดังกล่าว
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ได้มีบริษัทเข้าซื้อเอกสารการเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท จำนวน 3 บริษัท คือ 1.China Resources (Holdings) Company Limited 2.CITIC Group Corporation และ 3.Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.
โดยก่อนนี้มีบริษัทเอกชนเข้าซื้อเอกสารแล้ว 16 บริษัท อาทิ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), 9.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่าเรลเวย์ กรุ๊ป เป็นต้น
ส่งผลให้ขณะนี้ผู้ซื้อเอกสารที่จำหน่ายในราคาชุดละ 1 ล้านบาทรวมแล้ว 19 บริษัท โดยจะเปิดขายไปจนถึงวันที่ 9 ก.ค. หลังจากนั้นจะเปิดรับซองเอกสารเสนอราคาในวันที่ 12 พ.ย. และประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาในวันที่ 13 พ.ย.61ต่อไป.
วานนี้ (5 ก.ค.) นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTSC) ผู้รับสัมปทานให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.บีทีเอส โฮลดิ้งส กรุ๊ป (BTS) พร้อมด้วย นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการ บีทีเอส และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส ร่วมกันแถลงถึงมาตรการแก้ไขปัญหาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ตลอดจนมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนของผู้โดยสารในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับมาตรการเยียวยาผู้โดยสารได้รับผลกระทบจากรถไฟฟ้าขัดข้องเมื่อวันที่ 25-27 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ในส่วนของผู้โดยสารประเภทตั๋วเที่ยวเดียว สามารถนำกลับมาใช้ได้ภายใน 14 วัน หากไม่ต้องการเดินทางขอคืนเงินได้ภายในวันที่ 31 ก.ค.61 ส่วนบัตรโดยสารประเภทแบบเติมเงิน สามารถขอรับเที่ยวเดินทางพิเศษจำนวน 3 เที่ยว และผู้ถือบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดินทาง 30 วัน สามารถขอรับเที่ยวเดินทางพิเศษจำนวน 6 เที่ยว โดยให้นำบัตรโดยสารมาติดต่อขอรับการเดินทางพิเศษได้ทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 7-31 ก.ค.61 ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะมีผู้โดยสารมาขอรับสิทธิ์ดังกล่าวทำให้สูญเสียรายได้ราว 20-30ล้านบาท
โดย นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่กสทช.ได้เสนอให้บีทีเอสใช้คลื่น 800-900 MHzจากปัจจุบันใช้คลื่น 2400 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่จะจัดสรรให้โครงการรถไฟความเร็วสูง แต่หากจัดสรรให้บีทีเอสเราก็ยินดีพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ทั้งนี้ บริษัทคงต้องหารือกับซัพพลายเออร์ก่อน
นอกจากนี้ นายคีรี ยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันนี้ (6 ก.ค) จะมีการนำเข้าอุปกรณ์ช่วยกรองสัญญาณเพื่อนำมาติดตั้งเพิ่มเติมในตัวรถไฟฟ้า เพื่อให้การเดินรถเสถียรขึ้นซึ่งบริษัทมั่นใจว่าในสุดสัปดาห์นี้การเดินรถไฟฟ้าจะเข้าสู่ภาวะปกติ รวมทั้งจะพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการมีคลื่นใหม่ๆเข้ามา โดยเจรจากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหารถไฟฟ้าแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน คงยังทำได้ไม่เต็มที่นัก เพราะติดปัญหาคอขวดที่สถานีสะพานตากสิน ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ข้อยุติการเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.)และภาครัฐ โดยได้มีการออกแบบส่งให้กทม.แล้วและอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)เพิ่มเติม
นายคีรี กล่าวด้วยว่า จากเหตุการณ์ความล่าช้าในการเดินรถที่ผ่านมา บริษัทไม่ได้มองว่า กสทช. ทีโอที ดีแทค หรือบีทีเอส ผิด เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่บีทีเอสผิดทั้ง 100% มาตรการที่ออกมานี้ไม่ใช่การชดเชย เพียงแต่บริษัทไม่ต้องการให้ผู้โดยสารเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
“อย่าให้บริษัทต้องรับทุกอย่าง อยากให้เข้าใจว่า การลงทุนรถไฟฟ้าเมื่อ 20ปีที่แล้ว เป็นเพราะผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าผมรู้เท่าถึงการณ์คงไม่ลงทุน 5 หมื่นล้านบาท และดอกเบี้ย 5% โดยบริษัทลงทุนทั้งหมด กทม.ไม่ได้ใส่เงินเลย ซึ่งช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยสูงกว่านั้น แต่วันนี้บีทีเอสมีกำไรเพราะเราไม่มีหนี้ ซึ่งบริษัทได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทำให้หนี้เงินต้นไม่มี จึงได้มีกำไร ซึ่งระบบขนส่งมวลชนหลังจากบีทีเอสรัฐบาลลงทุนด้านการก่อสร้างหมด เอกชนลงทุนด้านระบบเดินรถเท่านั้น วันนี้บีทีเอสแข็งแรงแล้ว บริษัทจึงลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม” นายคีรีกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายคีรี ได้กล่าวแสดงความพร้อมที่จะลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมืองและสนามบินอู่ตะเภา ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ทีโออาร์) เนื่องจากเป็นระบบและเส้นทางใหม่ โดยจะจับมือกับพันธมิตร คือ บีเอสอาร์(บีทีเอส บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง)ที่จะเข้าร่วมกันประมูลโครงการนี้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทต่างชาติ2รายจากยุโรปและเอเชียสนใจที่จะมาร่วมกับกลุ่มบีทีเอสในการประมูลโครงการดังกล่าวด้วย โดยบริษัทต่างชาตินี้มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารที่ดิน และรถไฟฟ้า ส่วนปตท.หากสนใจร่วมทุนกับกลุ่มบีทีเอสในการเข้าประมูลก็ยินดี เพราะโครงการขนาดใหญ่คงไม่มีใครทำเองได้ทั้งหมด ขณะเดียวกัน ตนก็ได้มีการเจรจากับนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) มาหลายครั้งเพื่อมองหาโอกาสการร่วมมือกัน โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะประมูลก็จะเสนอบางโครงการเข้าไปร่วมทุนด้วย เช่น อสังหาริมทรัพย์ การเดินรถฯ เป็นต้น ทั้งนี้บีทีเอสเปิดกว้าง พร้อมที่จะเจรจากับผู้ที่สนใจและตั้งใจจริงในการเป็นพันธมิตรในโครงการดังกล่าว
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ได้มีบริษัทเข้าซื้อเอกสารการเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท จำนวน 3 บริษัท คือ 1.China Resources (Holdings) Company Limited 2.CITIC Group Corporation และ 3.Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.
โดยก่อนนี้มีบริษัทเอกชนเข้าซื้อเอกสารแล้ว 16 บริษัท อาทิ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), 9.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่าเรลเวย์ กรุ๊ป เป็นต้น
ส่งผลให้ขณะนี้ผู้ซื้อเอกสารที่จำหน่ายในราคาชุดละ 1 ล้านบาทรวมแล้ว 19 บริษัท โดยจะเปิดขายไปจนถึงวันที่ 9 ก.ค. หลังจากนั้นจะเปิดรับซองเอกสารเสนอราคาในวันที่ 12 พ.ย. และประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาในวันที่ 13 พ.ย.61ต่อไป.