ผู้จัดการรายวัน 360 - ปปง. อายัดทรัพย์ 88 ล้านบาท อดีตบิ๊กพม.“พุฒิพัฒน์-ณรงค์-นายธีรพงษ์" พร้อมพวกรวม 12 ราย เซ่นโกงคนจนแล้ว พร้อมร้อง ปปป. เอาผิดทั้งขบวนการฐานความผิดฟอกเงิน “วัชระ”เชื่อมีไอ้โม่งตัวใหญ่กว่าปลัดพม. ร่วมงาบเงินคนจน จี้”บิ๊กตู่”เร่งปราบโกงในพม. แบบถอนรากถอนโคน
วานนี้ (13 มิ.ย.) พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน (รรท.) เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีมติให้อายัดทรัพย์สินของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้แก่ นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัด พม., นายณรงค์ คงคำ อดีตรองปลัด พม. และนายธีรพงษ์ ศรีสุคนธ์ อดีตผู้ตรวจราชการ พม. กับพวกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์รวม 12 ราย จำนวน 41 รายการ เช่น ที่ดิน ห้องชุด รถยนต์หรู และเงินฝากธนาคาร มูลค่าประมาณ 88 ล้านบาท หลังมีพฤติการณ์ทุจริตการยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้ โดยผู้ที่ถูกอายัดทรัพย์สินสามารถเดินทางมาชี้แจงได้ที่ ปปง. ภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากถูกอายัด
“กลุ่มคนดังกล่าวมีพฤติการณ์กระทำความผิดทางอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งสำนักงาน ปปง. จะได้ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาญาความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป”
พร้อมกันนี้ นายวิทยา นีติธรรม เลขานุการกรม ปปง. เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.กมล เหรียญราชา ผบก.ปปป. ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเอาผิด นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัด พม. กับ หญิงสาวคนสนิท อดีตข้าราชการใน พม. ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดในช่วงปี 2558-2560 หรือ ปีงบประมาณ 2559-2560 มีลักษณะการทำผิดในรูปขบวนการ และไม่ได้โอนเงินผ่านธนาคารแต่เป็นแบบหิ้วเงินทอนกลับจึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบ
ด้าน พล.ต.ต.กมล เปิดเผยว่า เบื้องต้น รับหนังสือไว้ก่อน โดยนัด ปปง. มาแจ้งความร้องทุกข์อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ก่อนเริ่มดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งคณะชุดทำงานขึ้นมา พร้อมยอมรับว่า คดีดังกล่าวมีความซับซ้อนพอสมควร แต่ทางปปง. มีความรายละเอียดคดีชัดเจน หลังจากนี้ บก.ปปป. ต้องขออนุมัติจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวน (บช.ก.) เพื่อให้มีอำนาจสืบสวนสอบสวน ลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามผู้ต้องหาและทรัพย์สินต่อไป
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ประชาปัตย์ กล่าวว่า การดำเนินการกับเครือข่ายของอดีตปลัดพม. เป็นเพียงส่วนน้อยที่ตรวจสอบพบ เพราะการทุจริตเงินผู้ยากไร้ คนขอทาน ผู้ป่วยเอดส์ ปีงบประมาณ 2559 และ 2560 ปีละ 600 ล้าน รวม 2 ปี 1,200 ล้านบาท มีการกระจายเงินไปศูนย์คนไร้ที่พึ่ง ศูนย์ชาวเขาทั่วประเทศ บางแห่งโอนไปถึง 20 - 30 ล้านบาท คาดว่ามีการทุจริตมากกว่า ร้อยละ 80 เงินไม่ตกถึงมือคนยากจนผู้เดือดร้อนตามเป้าหมายของโครงการ ผอ.ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง หรือหัวหน้าศูนย์ชาวเขา ที่ทุจริตได้นำเงินดังกล่าวส่งกลับคืนให้ผู้ใหญ่ในกรม เพื่อแลกกับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นซี. 9 ส่วนอธิบดี ก็ส่งส่วยให้กับผู้มีอำนาจเพื่อแลกกับตำแหน่งที่สูงขึ้น นี่คือระบบอุปถัมภ์ที่แฝงอยู่ในกระทรวง พม. จนทำให้ข้าราชการที่ดี ไม่ทุจริตเงินให้นายไม่เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ทั้งนี้ เชื่อว่าจะมีคนรับเงินทุจริตที่ใหญ่กว่านี้ แต่อดีตข้าราชการที่ถูกลงโทษ จะกล้าเปิดเผยหรือไม่
วานนี้ (13 มิ.ย.) พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน (รรท.) เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีมติให้อายัดทรัพย์สินของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้แก่ นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัด พม., นายณรงค์ คงคำ อดีตรองปลัด พม. และนายธีรพงษ์ ศรีสุคนธ์ อดีตผู้ตรวจราชการ พม. กับพวกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์รวม 12 ราย จำนวน 41 รายการ เช่น ที่ดิน ห้องชุด รถยนต์หรู และเงินฝากธนาคาร มูลค่าประมาณ 88 ล้านบาท หลังมีพฤติการณ์ทุจริตการยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้ โดยผู้ที่ถูกอายัดทรัพย์สินสามารถเดินทางมาชี้แจงได้ที่ ปปง. ภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากถูกอายัด
“กลุ่มคนดังกล่าวมีพฤติการณ์กระทำความผิดทางอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งสำนักงาน ปปง. จะได้ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาญาความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป”
พร้อมกันนี้ นายวิทยา นีติธรรม เลขานุการกรม ปปง. เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.กมล เหรียญราชา ผบก.ปปป. ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเอาผิด นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัด พม. กับ หญิงสาวคนสนิท อดีตข้าราชการใน พม. ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดในช่วงปี 2558-2560 หรือ ปีงบประมาณ 2559-2560 มีลักษณะการทำผิดในรูปขบวนการ และไม่ได้โอนเงินผ่านธนาคารแต่เป็นแบบหิ้วเงินทอนกลับจึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบ
ด้าน พล.ต.ต.กมล เปิดเผยว่า เบื้องต้น รับหนังสือไว้ก่อน โดยนัด ปปง. มาแจ้งความร้องทุกข์อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ก่อนเริ่มดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งคณะชุดทำงานขึ้นมา พร้อมยอมรับว่า คดีดังกล่าวมีความซับซ้อนพอสมควร แต่ทางปปง. มีความรายละเอียดคดีชัดเจน หลังจากนี้ บก.ปปป. ต้องขออนุมัติจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวน (บช.ก.) เพื่อให้มีอำนาจสืบสวนสอบสวน ลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามผู้ต้องหาและทรัพย์สินต่อไป
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ประชาปัตย์ กล่าวว่า การดำเนินการกับเครือข่ายของอดีตปลัดพม. เป็นเพียงส่วนน้อยที่ตรวจสอบพบ เพราะการทุจริตเงินผู้ยากไร้ คนขอทาน ผู้ป่วยเอดส์ ปีงบประมาณ 2559 และ 2560 ปีละ 600 ล้าน รวม 2 ปี 1,200 ล้านบาท มีการกระจายเงินไปศูนย์คนไร้ที่พึ่ง ศูนย์ชาวเขาทั่วประเทศ บางแห่งโอนไปถึง 20 - 30 ล้านบาท คาดว่ามีการทุจริตมากกว่า ร้อยละ 80 เงินไม่ตกถึงมือคนยากจนผู้เดือดร้อนตามเป้าหมายของโครงการ ผอ.ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง หรือหัวหน้าศูนย์ชาวเขา ที่ทุจริตได้นำเงินดังกล่าวส่งกลับคืนให้ผู้ใหญ่ในกรม เพื่อแลกกับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นซี. 9 ส่วนอธิบดี ก็ส่งส่วยให้กับผู้มีอำนาจเพื่อแลกกับตำแหน่งที่สูงขึ้น นี่คือระบบอุปถัมภ์ที่แฝงอยู่ในกระทรวง พม. จนทำให้ข้าราชการที่ดี ไม่ทุจริตเงินให้นายไม่เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ทั้งนี้ เชื่อว่าจะมีคนรับเงินทุจริตที่ใหญ่กว่านี้ แต่อดีตข้าราชการที่ถูกลงโทษ จะกล้าเปิดเผยหรือไม่