ผู้จัดการรายวัน360- ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฉลุย ศาลรธน.วินิจฉัยช่วยคนพิการลงคะแนน-ตัดสิทธิ ขรก.การเมือง ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ขัดรธน. นัดลงมติ คำสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 ขัดรธน.หรือไม่ 5 มิ.ย.นี้ "วิษณุ" รับลูกนายกฯ คุยพรรคการเมือง หลังกม.ลูกประกาศใช้ครบ
วานนี้ ( 30 พ.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 35 (4) และ( 5) ที่บัญญัติว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ใด ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และไม่ได้เเจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หรือเเจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้ว แต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้นั้นจะถูกจำกัดสิทธิ์ (4) การดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา (5) สิทธิในการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการดำรงตำแหน่งตามาตราดังกล่าว เป็นสิทธิชนิดหนึ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ออกกฎหมายจำกัดสิทธิดังกล่าวได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 95 วรรค 3
ส่วนมาตรา 92 วรรค 1 ของ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่ระบุว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการออกเสียงลงคะแนนให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายให้มีการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกเสียงลงคะแนนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นพิเศษหรือจัดให้มีการช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวต้องให้บุคคลนั้นได้ออกเสียงลงคะแนนด้วยตนเอง ตามเจตนาของบุคคลนั้น เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพทำให้คนพิการ หรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งได้ ให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้กระทำการเแทนโดยความยินยอม และเป็นไปตามเจตนาของคนพิการ หรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุนั้น ทั้งนี้ให้ถือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีมติเอกฉันท์ว่า ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอำนวยความสะดวกหรือจัดให้มีความช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนของคนพิการหรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุตามมาตราดังกล่าว ยังอยู่ในขอบเขตของวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
สำหรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ขอให้วินิจฉัยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ถึง 27 และ มาตรา 45 หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดแถลงด้วยวาจา เพื่อการนำไปสู่การลงมติ ในวันอังคารที่ 5 มิ.ย.นี้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระบุการหารือกับพรรคการเมืองจะต้องรอความชัดเจนหลังกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้ ทำให้การหารือดังกล่าวอาจจะไม่ใช่ในเดือน มิ.ย. ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ ใช่หรือไม่ ว่า ก็ไม่ควรจะใช่ เพราะยังไม่รู้ว่าจะพบกันด้วยเรื่องอะไร กฎหมายเพิ่งทูลเกล้าฯ บางพรรคการเมืองตั้งเงื่อนไข ขอให้มีการถ่ายทอดสด ขอให้มีการมาครบทุกพรรค เรื่องเช่นนี้ ทั้งผู้ให้และผู้รับ ต้องสมถวิลทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่มีฝ่ายใดต้องการ ก็ไม่จำเป็น ความตั้งใจของนายกฯ ตอนแรกไม่ได้จะพูดเรื่องปลดล็อก แต่จะพูดหลายเรื่อง แต่บางพรรคตั้งข้อแม้ หากไม่คุยเรื่องปลดล็อก เขาไม่คุยด้วย และจะมานั่งมองตากันกี่คน หากไม่มีใคร ก็ไม่ต้องมา เพราะคนที่ไม่มาเขาก็ไม่มา ส่วนคนที่จะมา ก็เจอกันทุกวันอยู่แล้ว จะหารือเมื่อไหร่ ก็ให้รอหลังกฎหมายลูกประกาศใช้ และอย่าลืมว่า กฎหมายลูกส.ส. ต้องทิ้งระยะไว้ 90 วัน ก่อนเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง 150 วัน ตอนแรกคิดว่ากฎหมายจะประกาศในเดือนมิ.ย. แต่เมื่อมีตัวแปรหลายอย่างเกิดขึ้น จึงเลื่อนไป การพูดคุยนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขที่ต้องทำเป็นกำหนดขึ้นมา
เมื่อถามว่า ในการพูดคุยนอกจากเรื่องที่กำหนดไว้ใน คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/60 แล้วนายกฯ ยังระบุจะพูดถึงนโยบายด้วย ทำให้พรรคการเมืองไม่อยากร่วมพูดคุย รองนายกฯกล่าวว่า สิ่งที่ระบุไว้ในคำสั่ง คสช. ขอให้มันมี แต่เรื่องอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ หากจะคุยเพิ่มเติมก็ได้ ส่วนที่ไม่อยากคุยเรื่อนโยบายนั้นนานๆเจอกันที มีอะไรก็ควรคุยกันได้
วานนี้ ( 30 พ.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 35 (4) และ( 5) ที่บัญญัติว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ใด ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และไม่ได้เเจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หรือเเจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้ว แต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้นั้นจะถูกจำกัดสิทธิ์ (4) การดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา (5) สิทธิในการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการดำรงตำแหน่งตามาตราดังกล่าว เป็นสิทธิชนิดหนึ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ออกกฎหมายจำกัดสิทธิดังกล่าวได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 95 วรรค 3
ส่วนมาตรา 92 วรรค 1 ของ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่ระบุว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการออกเสียงลงคะแนนให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายให้มีการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกเสียงลงคะแนนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นพิเศษหรือจัดให้มีการช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวต้องให้บุคคลนั้นได้ออกเสียงลงคะแนนด้วยตนเอง ตามเจตนาของบุคคลนั้น เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพทำให้คนพิการ หรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งได้ ให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้กระทำการเแทนโดยความยินยอม และเป็นไปตามเจตนาของคนพิการ หรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุนั้น ทั้งนี้ให้ถือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีมติเอกฉันท์ว่า ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอำนวยความสะดวกหรือจัดให้มีความช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนของคนพิการหรือทุพลภาพ หรือผู้สูงอายุตามมาตราดังกล่าว ยังอยู่ในขอบเขตของวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
สำหรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ขอให้วินิจฉัยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ถึง 27 และ มาตรา 45 หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดแถลงด้วยวาจา เพื่อการนำไปสู่การลงมติ ในวันอังคารที่ 5 มิ.ย.นี้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระบุการหารือกับพรรคการเมืองจะต้องรอความชัดเจนหลังกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้ ทำให้การหารือดังกล่าวอาจจะไม่ใช่ในเดือน มิ.ย. ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ ใช่หรือไม่ ว่า ก็ไม่ควรจะใช่ เพราะยังไม่รู้ว่าจะพบกันด้วยเรื่องอะไร กฎหมายเพิ่งทูลเกล้าฯ บางพรรคการเมืองตั้งเงื่อนไข ขอให้มีการถ่ายทอดสด ขอให้มีการมาครบทุกพรรค เรื่องเช่นนี้ ทั้งผู้ให้และผู้รับ ต้องสมถวิลทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่มีฝ่ายใดต้องการ ก็ไม่จำเป็น ความตั้งใจของนายกฯ ตอนแรกไม่ได้จะพูดเรื่องปลดล็อก แต่จะพูดหลายเรื่อง แต่บางพรรคตั้งข้อแม้ หากไม่คุยเรื่องปลดล็อก เขาไม่คุยด้วย และจะมานั่งมองตากันกี่คน หากไม่มีใคร ก็ไม่ต้องมา เพราะคนที่ไม่มาเขาก็ไม่มา ส่วนคนที่จะมา ก็เจอกันทุกวันอยู่แล้ว จะหารือเมื่อไหร่ ก็ให้รอหลังกฎหมายลูกประกาศใช้ และอย่าลืมว่า กฎหมายลูกส.ส. ต้องทิ้งระยะไว้ 90 วัน ก่อนเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง 150 วัน ตอนแรกคิดว่ากฎหมายจะประกาศในเดือนมิ.ย. แต่เมื่อมีตัวแปรหลายอย่างเกิดขึ้น จึงเลื่อนไป การพูดคุยนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขที่ต้องทำเป็นกำหนดขึ้นมา
เมื่อถามว่า ในการพูดคุยนอกจากเรื่องที่กำหนดไว้ใน คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/60 แล้วนายกฯ ยังระบุจะพูดถึงนโยบายด้วย ทำให้พรรคการเมืองไม่อยากร่วมพูดคุย รองนายกฯกล่าวว่า สิ่งที่ระบุไว้ในคำสั่ง คสช. ขอให้มันมี แต่เรื่องอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ หากจะคุยเพิ่มเติมก็ได้ ส่วนที่ไม่อยากคุยเรื่อนโยบายนั้นนานๆเจอกันที มีอะไรก็ควรคุยกันได้