"ศรีวราห์" แฉแดงฮาร์ดคอร์ เคลื่อนอาวุธหนัก จ้องป่วนใหญ่ 22 พ.ค. เตรียมประกาศให้ ทำเนียบฯ เป็นเขตควบคุม ห้ามเข้าใกล้ระยะ 50 ม. ด้าน คสช. ขอม็อบอยากเลือกตั้ง เคลื่อนไหวใน ม.ธรรมศาสตร์ แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมาย เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่อยากเห็นความวุ่นวายกลับมาอีก เตือนไม่ให้เคลื่อนขบวนไปทำเนียบฯ ย้ำบังคับใช้ กม. หากฝ่าฝืน ด้านแกนนำกลุ่มอยากเลือกตั้ง ไม่สนคำเตือน ลั่น 22 พ.ค. เคลื่อนม็อบบุกทำเนียบฯ แน่ "หญิงหน่อย"จวก คสช. ใช้ ม.116 ฟัน 8 แกนนำเพื่อไทย กรณีแถลงข่าว 4 ปี คสช. บริหารประเทศล้มเหลว ไม่กลัวถูกยุบพรรค
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการชุมนุมเพื่อรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง 19 พ.ค.53 ที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า แม้จะไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ และผู้ประกอบการในพื้นที่คงไม่สบายใจ ที่เห็นภาพบรรยากาศเก่าๆ กลับมาอีก โดยล่าสุดผลสำรวจ "4 ปี คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ" ของนิด้าโพล ระบุว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากที่สุด คือการรักษาความสงบเรียบร้อย ไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง จึงสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายอีก
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง วันที่ 22 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปี คสช.นั้น รัฐบาลขอเตือนไม่ไห้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบฯ เพราะเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อการจราจร เนื่องจากเป็นวันทำการปกติ ซึ่งจะมีปริมาณรถหนาแน่น และการชุมนุมอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป หลายคนรู้สึกเอือมระอากับการมีม็อบมาตลอด 10 ปี ทำให้ประเทศชาติถอยหลังไปมาก รวมทั้งอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุปะทะได้
ทั้งนี้ นายกฯ รับทราบว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประสานขออนุญาต จัดการชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำชับว่า ให้ชุมนุมอย่างมีขอบเขต แต่เห็นว่า ความจริงไม่จำเป็นต้องเรียกร้องอะไร เพราะรัฐบาลบอกกับประชาชนอยู่แล้วว่า จะมีการเลือกตั้งช่วงต้นปี 62 ส่วนพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เป็นพื้นที่ควบคุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ ไม่อนุญาตให้ผู้ชุมนุมเข้าพื้นที่ โดยหากฝ่าฝืน จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. กล่าวถึง กรณีที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เตรียมชุมนุมเคลื่อนไหวบุกทำเนียบฯในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ว่า จากการข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมือง หรือ "แดงฮาร์ดคอร์" เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนัก สร้างสถานการณ์ จึงได้มีการสั่งจับตากลุ่มแกนนำกลุ่มเสื้อแดง และเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ แม้เป็นคนละกลุ่มกัน แต่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเคลื่อนไหว
ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณหลักร้อย แต่ทางตำรวจได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความเรียบร้อย และรับมือสถานการณ์ 3 - 20 กองร้อย พร้อมรถพยาบาล รถควบคุมผู้ต้องหา ชุดควบคุมฝูงชนไว้แล้ว
"คาดว่าจะมีการประกาศให้ทำเนียบรัฐบาล เป็นเขตควบคุม ห้ามชุมนุมใกล้พื้นที่ในระยะ 50 เมตร หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" รอง ผบ.ตร. กล่าว
ทั้งนี้ การชุมนุมดังกล่าว ถือเป็นการชุมนุมทางการเมือง และทางกลุ่มได้ขออนุญาตชุมนุม แค่ในพื้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ หากทางกลุ่มมีการเคลื่อนไหวออกนอกพื้นที่ ก็ถือว่ามีความผิดทั้ง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และ คำสั่งที่ 3/2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะบังคับใช้กฎหมายทันที
ขณะที่ แหล่งข่าวหน่วยงานความมั่นคง กล่าวถึง แนวทางการป้องกันไม่ให้กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เคลื่อนขบวนไปทำเนียบฯ ว่า สามารถทำได้ 2 กรณี คือ 1. มีการแจ้งความ และตำรวจขอศาลออกหมายจับแกนนำ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ แกนนำกระทำความผิดในข้อหาต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล 2. มีการกระทำความผิดซึ่งหน้า เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และ พ.ร.บ.จราจร เนื่องจากตำรวจไม่อนุญาตให้แกนนำเคลื่อนขบวนออกมาบนถนน แต่การจับกุมต้องพิจารณาสถานการณ์ด้วย ว่าเสี่ยงจะเกิดการปะทะหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หากบังคับใช้กฎหมายไปแล้ว เสี่ยงที่จะกระทบกระทั่งทำให้เหตุการณ์บานปลาย ก็ต้องปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินการไปก่อน แล้วค่อยดำเนินการตามกฎหมายภายหลัง ซึ่งมีข้อมูลมาว่า มีการวางแผนยั่วยุ หวังให้เกิดความรุนแรง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายล้มรัฐบาล และคสช.
" ตอนนี้มีการข่าวแจ้งตรงกันหลายทาง ว่า พวกฮาร์ดคอร์เก่าๆ มีการเตรียมอาวุธไว้ผสมโรง ส่วนผู้ชุมนุม จะรู้เห็นหรือไม่ ไม่ทราบ ส่วนแนวโน้มกลุ่มผู้ชุมนุม จะบุกเข้าภายในทำเนียบฯ เพื่อป่วนการประชุม ครม.นั้น คงยอมไม่ได้ และจะป้องกันให้ดีที่สุด เรากลัวเหตุการณ์จะบานปลายคล้ายการชุมนุมทางการเมืองปี 53 ที่มีการเผา วางเพลิงสถานที่ต่างๆ หากกลุ่มฮาร์ดคอร์ออกมาก่อเหตุจริง จะทำให้คุมสถานการณ์ไม่ได้ " แหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคง กล่าว
ด้านพล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11 ) ในฐานะ ทีมโฆษกคสช. กล่าวว่า การรับมือผู้ชุมนุม เราบังคับใช้กฎหมายปกติ คือ พ.ร.บ.ชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ พ.ศ.2558 ส่วนการรับมือหากจะมีการเคลื่อนไหวไปที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เราจะประสานงานตลอด ซึ่งไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ขอความร่วมมือว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้จัดกิจกรรมใน ม.ธรรมศาสตร์ ถ้าเดินขบวนไปทำเนียบฯ จะทำให้รถติด ช่วงนี้โรงเรียนเปิดเทอมแล้ว และเกรงว่าจะทำให้ประชาชนรู้สึกไม่ดี ก็ได้ เราจึงพยายามให้ข้อมูล และชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ก็ต้องพยายามดูแลกิจกรรม และรักษาความสงบเรียบร้อยให้ได้มากที่สุด ส่วนจะใช้วิธีการบล็อกผู้ชุมนุมตั้งแต่ ม.ธรรมศาสตร์ หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะเป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แต่ในภาพรวม ขอความร่วมมือให้เคลื่อนไหวภายใต้กรอบกฎหมาย ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม
ยันเคลื่อนพลบุกทำเนียบฯ
ด้านนายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กล่าวยืนยัน ว่าวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะนัดชุมนุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ และจะมีการเคลื่อนไปยังทำเนียบรัฐบาล ตามแผนเดิมที่วางไว้ เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า มีสิทธิ์ที่จะเคลื่อนขบวนได้ อีกทั้งได้ขออนุญาตต่อผู้มีอำนาจแล้ว จึงอยากจะขอให้ผู้มีอำนาจ เคารพในกฎหมายด้วย
ส่วนการไปทำเนียบรัฐบาล อาจมีการกระทบสิทธิคนอื่น ทำให้เกิความไม่สะดวกบ้าง เรื่องการใช้ถนน แต่การเดินขบวนจะใช้เพียงแค่ 1 ช่องจราจรเท่านั้น
"เรายังไม่คิดไปถึงการชุมนุมที่ยืดเยื้อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ของวันนี้ (21 พ.ค.) และ วันที่ 22 พ.ค. รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย แต่ยืนยันว่าเจตนารมณ์ของกลุ่มคือ การแสดงพลังเพื่อทวงสัญญาในการเลือกตั้ง และไม่ต้องการบุกเข้าไปในทำเนียบฯ แค่ต้องการให้คนที่มีอำนาจได้ยินเสียงของประชาชน ซึ่งข้อเรียกร้องที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการตอบรับจากรัฐบาล ส่วนการดูแลความปลอดภัยการชุมนุม จะใช้นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เป็นหลัก พร้อมประสานตำรวจอีกทางหนึ่ง เชื่อว่าจะไม่เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น" นายรังสิมันต์ กล่าว และว่า ถ้ามีเจ้าหน้าที่มาขัดขวางการเคลื่อนขบวน เราได้เตรียมแผนสองไว้แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผย โดยเราพอรู้ว่าเจ้าหน้าที่ จะมาไม้ไหน จึงคิดหาทางการแก้ไขไว้แล้ว หากเกิดปัญหาขึ้น แต่หากมีการบล็อกแกนนำถึงบ้านเพื่อไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ทำผิดกฎหมาย
"หญิงหน่อย"ไม่กลัวยุบพรรค
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึง กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แจ้งความดำเนินคดี 8 แกนนำพรรคเพื่อไทย ในความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 116 และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวม 4 ข้อหา หลังจากแกนนำพรรคเปิดแถลงข่าว 4 ปี คสช.บริหารประเทศล้มเหลว ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็น ติชมด้วยเหตุผล ถือเป็นการแสดงออกตามกฎหมาย ดังนั้นไม่ควรมีความผิดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือนักการเมืองก็ตาม
ทั้งนี้การใช้ มาตรา 116 ในข้อกฏหมายบัญญัติไว้ว่า เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่าถูกนำมาใช้เพื่อความมั่นคงของผู้มีอำนาจ จึงอยากให้ คสช.ใช้ มาตรา 116 ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ไม่ใช่เพื่อปกป้องคุ้มครองตนเอง การวิพากษ์วิจารณ์นำเสนอความคิดเห็น ไม่น่าจะเข้าข่ายความผิด มาตรา116
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การแจ้งความเอาผิดครั้งนี้ อาจนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นคนสมัยพรรคไทยรักไทย ก็โดนยุบพรรคมาหลายครั้งแล้ว ถือเป็นเครื่องมือที่รวดเร็วที่สุด สำหรับผู้มีอำนาจที่สามารถจะทำได้ ส่วนยุบพรรคไปแล้ว จะห้ามความผูกพัน ความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพรรคนั้นๆ ได้หรือไม่
ด้านนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า วันนี้บรรยากาศทางการเมือง กำลังเป็นไปด้วยดี กำลังเข้าสู่ช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ตามโรดแมปที่นายกฯได้ประกาศไว้แล้ว รัฐบาลควรเปิดกว้างให้ประชาชนรวมไปถึงพรรคการเมือง ได้แสดงความเห็นบ้าง
แม้ว่าขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถประชุมพรรคได้ แต่ก็ควรเปิดช่อง ให้ทุกพรรคการเมืองได้แสดงความคิดเห็นบ้าง แม้บางเรื่องอาจจะถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ก็ควรจะยอมรับความเป็นจริง อย่าโยนฟืนโหมเข้าไปในกองไฟ แล้วทำให้บรรยากาศทางการเมืองมันร้อน จนเกิดการเผชิญหน้ากันอีก ซึ่งมันไม่เกิดประโยชน์อะไร
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการชุมนุมเพื่อรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง 19 พ.ค.53 ที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า แม้จะไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ และผู้ประกอบการในพื้นที่คงไม่สบายใจ ที่เห็นภาพบรรยากาศเก่าๆ กลับมาอีก โดยล่าสุดผลสำรวจ "4 ปี คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ" ของนิด้าโพล ระบุว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากที่สุด คือการรักษาความสงบเรียบร้อย ไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง จึงสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายอีก
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง วันที่ 22 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปี คสช.นั้น รัฐบาลขอเตือนไม่ไห้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบฯ เพราะเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อการจราจร เนื่องจากเป็นวันทำการปกติ ซึ่งจะมีปริมาณรถหนาแน่น และการชุมนุมอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป หลายคนรู้สึกเอือมระอากับการมีม็อบมาตลอด 10 ปี ทำให้ประเทศชาติถอยหลังไปมาก รวมทั้งอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุปะทะได้
ทั้งนี้ นายกฯ รับทราบว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประสานขออนุญาต จัดการชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำชับว่า ให้ชุมนุมอย่างมีขอบเขต แต่เห็นว่า ความจริงไม่จำเป็นต้องเรียกร้องอะไร เพราะรัฐบาลบอกกับประชาชนอยู่แล้วว่า จะมีการเลือกตั้งช่วงต้นปี 62 ส่วนพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เป็นพื้นที่ควบคุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ ไม่อนุญาตให้ผู้ชุมนุมเข้าพื้นที่ โดยหากฝ่าฝืน จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. กล่าวถึง กรณีที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เตรียมชุมนุมเคลื่อนไหวบุกทำเนียบฯในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ว่า จากการข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมือง หรือ "แดงฮาร์ดคอร์" เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนัก สร้างสถานการณ์ จึงได้มีการสั่งจับตากลุ่มแกนนำกลุ่มเสื้อแดง และเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ แม้เป็นคนละกลุ่มกัน แต่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเคลื่อนไหว
ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณหลักร้อย แต่ทางตำรวจได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความเรียบร้อย และรับมือสถานการณ์ 3 - 20 กองร้อย พร้อมรถพยาบาล รถควบคุมผู้ต้องหา ชุดควบคุมฝูงชนไว้แล้ว
"คาดว่าจะมีการประกาศให้ทำเนียบรัฐบาล เป็นเขตควบคุม ห้ามชุมนุมใกล้พื้นที่ในระยะ 50 เมตร หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" รอง ผบ.ตร. กล่าว
ทั้งนี้ การชุมนุมดังกล่าว ถือเป็นการชุมนุมทางการเมือง และทางกลุ่มได้ขออนุญาตชุมนุม แค่ในพื้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ หากทางกลุ่มมีการเคลื่อนไหวออกนอกพื้นที่ ก็ถือว่ามีความผิดทั้ง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และ คำสั่งที่ 3/2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะบังคับใช้กฎหมายทันที
ขณะที่ แหล่งข่าวหน่วยงานความมั่นคง กล่าวถึง แนวทางการป้องกันไม่ให้กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เคลื่อนขบวนไปทำเนียบฯ ว่า สามารถทำได้ 2 กรณี คือ 1. มีการแจ้งความ และตำรวจขอศาลออกหมายจับแกนนำ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ แกนนำกระทำความผิดในข้อหาต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล 2. มีการกระทำความผิดซึ่งหน้า เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และ พ.ร.บ.จราจร เนื่องจากตำรวจไม่อนุญาตให้แกนนำเคลื่อนขบวนออกมาบนถนน แต่การจับกุมต้องพิจารณาสถานการณ์ด้วย ว่าเสี่ยงจะเกิดการปะทะหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หากบังคับใช้กฎหมายไปแล้ว เสี่ยงที่จะกระทบกระทั่งทำให้เหตุการณ์บานปลาย ก็ต้องปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินการไปก่อน แล้วค่อยดำเนินการตามกฎหมายภายหลัง ซึ่งมีข้อมูลมาว่า มีการวางแผนยั่วยุ หวังให้เกิดความรุนแรง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายล้มรัฐบาล และคสช.
" ตอนนี้มีการข่าวแจ้งตรงกันหลายทาง ว่า พวกฮาร์ดคอร์เก่าๆ มีการเตรียมอาวุธไว้ผสมโรง ส่วนผู้ชุมนุม จะรู้เห็นหรือไม่ ไม่ทราบ ส่วนแนวโน้มกลุ่มผู้ชุมนุม จะบุกเข้าภายในทำเนียบฯ เพื่อป่วนการประชุม ครม.นั้น คงยอมไม่ได้ และจะป้องกันให้ดีที่สุด เรากลัวเหตุการณ์จะบานปลายคล้ายการชุมนุมทางการเมืองปี 53 ที่มีการเผา วางเพลิงสถานที่ต่างๆ หากกลุ่มฮาร์ดคอร์ออกมาก่อเหตุจริง จะทำให้คุมสถานการณ์ไม่ได้ " แหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคง กล่าว
ด้านพล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11 ) ในฐานะ ทีมโฆษกคสช. กล่าวว่า การรับมือผู้ชุมนุม เราบังคับใช้กฎหมายปกติ คือ พ.ร.บ.ชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ พ.ศ.2558 ส่วนการรับมือหากจะมีการเคลื่อนไหวไปที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เราจะประสานงานตลอด ซึ่งไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ขอความร่วมมือว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้จัดกิจกรรมใน ม.ธรรมศาสตร์ ถ้าเดินขบวนไปทำเนียบฯ จะทำให้รถติด ช่วงนี้โรงเรียนเปิดเทอมแล้ว และเกรงว่าจะทำให้ประชาชนรู้สึกไม่ดี ก็ได้ เราจึงพยายามให้ข้อมูล และชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ก็ต้องพยายามดูแลกิจกรรม และรักษาความสงบเรียบร้อยให้ได้มากที่สุด ส่วนจะใช้วิธีการบล็อกผู้ชุมนุมตั้งแต่ ม.ธรรมศาสตร์ หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะเป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แต่ในภาพรวม ขอความร่วมมือให้เคลื่อนไหวภายใต้กรอบกฎหมาย ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม
ยันเคลื่อนพลบุกทำเนียบฯ
ด้านนายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กล่าวยืนยัน ว่าวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะนัดชุมนุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ และจะมีการเคลื่อนไปยังทำเนียบรัฐบาล ตามแผนเดิมที่วางไว้ เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า มีสิทธิ์ที่จะเคลื่อนขบวนได้ อีกทั้งได้ขออนุญาตต่อผู้มีอำนาจแล้ว จึงอยากจะขอให้ผู้มีอำนาจ เคารพในกฎหมายด้วย
ส่วนการไปทำเนียบรัฐบาล อาจมีการกระทบสิทธิคนอื่น ทำให้เกิความไม่สะดวกบ้าง เรื่องการใช้ถนน แต่การเดินขบวนจะใช้เพียงแค่ 1 ช่องจราจรเท่านั้น
"เรายังไม่คิดไปถึงการชุมนุมที่ยืดเยื้อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ของวันนี้ (21 พ.ค.) และ วันที่ 22 พ.ค. รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย แต่ยืนยันว่าเจตนารมณ์ของกลุ่มคือ การแสดงพลังเพื่อทวงสัญญาในการเลือกตั้ง และไม่ต้องการบุกเข้าไปในทำเนียบฯ แค่ต้องการให้คนที่มีอำนาจได้ยินเสียงของประชาชน ซึ่งข้อเรียกร้องที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการตอบรับจากรัฐบาล ส่วนการดูแลความปลอดภัยการชุมนุม จะใช้นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เป็นหลัก พร้อมประสานตำรวจอีกทางหนึ่ง เชื่อว่าจะไม่เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น" นายรังสิมันต์ กล่าว และว่า ถ้ามีเจ้าหน้าที่มาขัดขวางการเคลื่อนขบวน เราได้เตรียมแผนสองไว้แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผย โดยเราพอรู้ว่าเจ้าหน้าที่ จะมาไม้ไหน จึงคิดหาทางการแก้ไขไว้แล้ว หากเกิดปัญหาขึ้น แต่หากมีการบล็อกแกนนำถึงบ้านเพื่อไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ทำผิดกฎหมาย
"หญิงหน่อย"ไม่กลัวยุบพรรค
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึง กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แจ้งความดำเนินคดี 8 แกนนำพรรคเพื่อไทย ในความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 116 และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวม 4 ข้อหา หลังจากแกนนำพรรคเปิดแถลงข่าว 4 ปี คสช.บริหารประเทศล้มเหลว ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็น ติชมด้วยเหตุผล ถือเป็นการแสดงออกตามกฎหมาย ดังนั้นไม่ควรมีความผิดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือนักการเมืองก็ตาม
ทั้งนี้การใช้ มาตรา 116 ในข้อกฏหมายบัญญัติไว้ว่า เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่าถูกนำมาใช้เพื่อความมั่นคงของผู้มีอำนาจ จึงอยากให้ คสช.ใช้ มาตรา 116 ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ไม่ใช่เพื่อปกป้องคุ้มครองตนเอง การวิพากษ์วิจารณ์นำเสนอความคิดเห็น ไม่น่าจะเข้าข่ายความผิด มาตรา116
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การแจ้งความเอาผิดครั้งนี้ อาจนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นคนสมัยพรรคไทยรักไทย ก็โดนยุบพรรคมาหลายครั้งแล้ว ถือเป็นเครื่องมือที่รวดเร็วที่สุด สำหรับผู้มีอำนาจที่สามารถจะทำได้ ส่วนยุบพรรคไปแล้ว จะห้ามความผูกพัน ความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพรรคนั้นๆ ได้หรือไม่
ด้านนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า วันนี้บรรยากาศทางการเมือง กำลังเป็นไปด้วยดี กำลังเข้าสู่ช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ตามโรดแมปที่นายกฯได้ประกาศไว้แล้ว รัฐบาลควรเปิดกว้างให้ประชาชนรวมไปถึงพรรคการเมือง ได้แสดงความเห็นบ้าง
แม้ว่าขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถประชุมพรรคได้ แต่ก็ควรเปิดช่อง ให้ทุกพรรคการเมืองได้แสดงความคิดเห็นบ้าง แม้บางเรื่องอาจจะถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ก็ควรจะยอมรับความเป็นจริง อย่าโยนฟืนโหมเข้าไปในกองไฟ แล้วทำให้บรรยากาศทางการเมืองมันร้อน จนเกิดการเผชิญหน้ากันอีก ซึ่งมันไม่เกิดประโยชน์อะไร