xs
xsm
sm
md
lg

เคาะ 19 เขตส่งเสริมนิคมฯอีอีซี...ดึงเงินทุน 1 ล้านล.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการรายวัน 360 - มีผลแล้ว! ประกาศ 19 เขตส่งเสริมนิคมอุตฯชื่อดัง เข้าโครงการ “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก-อีอีซี” พื้นที่กว่า 8 หมื่นไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด เผยกำหนดเขตส่งเสริมให้ทั้งผู้ประกอบการ ผู้อยู่อาศัย ผู้พำนักในเขตส่งเสริมแต่ละแห่ง เฉพาะ“เครืออมตะ” เข้าร่วมอีอีซี กว่า 4 หมื่นไร่ คาด 19 เขตดึงเงินลงทุน 10 ปี 1.1 ล้านล้าน

วานนี้ (8 พ.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ กนศ. (บอร์ดอีอีซี) ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กำหนดเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ จำนวน 18 แห่ง พื้นที่กว่า 83,000 ไร่ ใน 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

มีรายงานว่า ล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศทั้ง 18 ฉบับ หลังจากที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2560 เรื่องการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดเขตส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการ ผู้อยู่อาศัย หรือผู้พำนักในเขตส่งเสริมแต่ละแห่งจะได้รับตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างชัดเจน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 (4) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/ 2560 เรื่องการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 ประกอบกับ มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561

มีรายงานว่า ประกาศทั้ง 18 ฉบับ ประกอบด้วย กำหนดเขตส่งเสริม “นิคมอุตสาหกรรม ซี.พี.ระยอง” รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และอุตสาหกรรมดิจิทัล พื้นที่ 3,068 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา บริเวณ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา และต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง, นิคมอุตสาหกรรม ที เอฟ ดี 2 จ.ฉะเชิงเทรา รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ พื้นที่ 841 ไร่ 42 ตารางวา บริเวณ ต.ท่าสะอ้าน และ ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสทรีส์ จ.ชลบุรี พื้นที่ 690 ไร่ 92 ตารางวา บริเวณ ต.หนองใหญ่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ,นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง พื้นที่ 1,357 ไร่ 1 งาน 54.7 ตารางวา บริเวณ ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต และอุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์

นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) จ.ชลบุรี พื้นที่ 1,561 ไร่ บริเวณ ต.หนองขาม ต.บ่อวิน และต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต, เขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4) จ.ชลบุรี พื้นที่ 653 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา บริเวณ ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5) จ.ชลบุรี พื้นที่ 1,472 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา บริเวณ ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร พื้นที่ 18,840 ไร่ 31 ตารางวา บริเวณ ต.คลองตำหรุ ต.หนองไม้แดง ต.ดอนหัวฬ่อ อ.เมืองชลบุรี ต.บ้านเก่า ต.บางนาง ต.หนองกะขะ และต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์ และ อุตสาหกรรมดิจิทัล

นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2) พื้นที่ 6,100 ไร่ บริเวณทางหลวงหมายเลข 3466 (สุขุมวิท-พานทอง) กิโลเมตรที่ 5 และบริเวณทางหลวงหมายเลข 3122 (บ้านโพธิ์-พานทอง) กิโลเมตรที่ 14 อ.พานทอง จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาการ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ พื้นที่ 16,894 ไร่ 3 งาน 32.95 ตารางวา บริเวณทางหลวงจังหวัดหมายเลข 331 ในพื้นที่ ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และ ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ และอุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง 36 จ.ระยอง พื้นที่ 1,281 ไร่ 1 งาน 42.4 ตารางวา บริเวณ ต.นิคมพัฒนา อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์

นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) พื้นที่ 3,747 ไร่ บริเวณ ต.ห้วยโป่ง ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง รองรับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ, นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) พื้นที่ 9,689 ไร่ บริเวณ ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ,นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด พื้นที่ 8,003 ไร่ บริเวณ ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง รองรับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 3 จ.ชลบุรี พื้นที่ 2,198 ไร่ บริเวณ ต.หนองเสือใหญ่ อ.หนองใหญ่ ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ดแห่งที่ 2 จ.ชลบุรี พื้นที่ 3,502 ไร่ บริเวณ ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี แห่งที่ 2 พื้นที่ 632 ไร่ บริเวณ ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล และนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี พื้นที่ 3,482 ไร่ บริเวณ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมการบินและลอจิสติกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

มีรายงานว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กนศ.มีมติเห็นชอบประกาศเขตส่งเสริมเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม 19 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดระยอง จำนวน 6 แห่ง มีพื้นที่ประกาศเขตส่งเสริมรวม 40,268 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่สามารถรองรับการลงทุน 8,043 ไร่ และคาดว่าจะมีเงินลงทุนได้ 290,113 ล้านบาท

จังหวัดชลบุรี จำนวน 12 แห่ง มีพื้นที่ประกาศเขตส่งเสริมรวม 42,300 ไร่ เป็นพื้นที่ที่สามารถรองรับการลงทุน 17,663 ไร่ และคาดว่าจะมีเงินลงทุนได้ 762,092 ล้านบาท จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 แห่ง รวม 841 ไร่ รองรับการลงทุน 660 ไร่ และคาดว่าจะมีเงินลงทุนได้ 51,900 ล้านบาท

ทั้งนี้ การประกาศเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายครั้งนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 83,409 ไร่ เป็นพื้นที่ลงทุน 26,366 ไร่ และคาดว่าจะรองรับวงเงินลงทุนใน 10 ปีข้างหน้าได้ 1.104 ล้านล้านบาท หากรวมกับการอนุมัติเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายในการประชุมครั้งที่ 3 อีก 2 แห่ง จะครอบคลุมพื้นที่ 86,775 ไร่ เป็นพื้นที่ลงทุน 28,666 ไร่ และสามารถรองรับวงเงินลงทุนได้ 1.314 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น