ผู้จัดการรายวัน360- เพจ“ไทยคู่ฟ้า”ขอบคุณทุกความเห็น ปมบ้านพักตุลาการศาล ยันรัฐบาลยึดกฎหมายตัดสินใจรอบคอบ ให้ปัญหาคลี่คลาย "วิษณุ" ไม่กังวลม็อบต้านบ้านพักตุลาการ ชี้ เป็นการชุมนุมบริสุทธิ์ใจ ไร้การเมืองแทรก แจง ม.44 ต้องใช้ทางสร้างสรรค์ ไม่ได้มีไว้ทำลายทรัพย์สินราชการ "สุวพันธุ์" เผยลงพื้นที่เชียงใหม่ 6 พ.ค.นี้ ถก 17 เครือข่าย-ภาคประชาชน ยันหาข้อยุติให้เร็วที่สุด ชี้ข้อเสนอกันเป็นเขตอุทยานฯทำได้ ด้านเครือข่ายฯ ส่งตัวแทน 50 องค์กรเตรียมเจรจา "สุวพันธุ์" หวังมีข่าวดีที่ชาวเชียงใหม่รอคอย
หลังจากเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า”ได้โพสต์ข้อความ ขอความเห็นจากประชาชนในโซเชียลมีเดีย ถึงแนวทางแก้ปัญหาบ้านพักตุลาการ เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ปรากฏว่า ในช่วงค่ำของวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมานั้นเพจ “ไทยคู่ฟ้า”ได้โพสต์ข้อความขอบคุณทุกความเห็น โดยมีใจความว่า
"เพจไทยคู่ฟ้า ขอขอบพระคุณทุกความเห็นของพี่น้องประชาชน ต่อกรณีปัญหาบ้านพักตุลาการเชิง ดอยสุเทพ ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของภาครัฐได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม มั่นใจได้ว่า รัฐบาลจะพิจารณาและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงข้อกฎหมาย หลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใส และ ความรับผิดชอบ เพื่อให้ปัญหาคลี่คลายลงด้วยความราบรื่น"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่แก้ปัญหาสร้างบ้านพักตุลาการ เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ว่า ตนยังไม่ได้พูดคุยกับนายสุวพันธุ์ เป็นการส่วนตัว แต่ในขั้นตอนนี้ ยังไม่มีเรื่องที่ต้องหารือทางกฎหมาย ยกเว้นไปตรวจพบว่า ต้องมีการตอบในเชิงกฎหมาย อาจจะมาหารือในภายหลัง โดยการมอบหมาย นายสุวพันธุ์ถือเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ไปดูแลทั้งหมด ไปฐานะส่วนกลาง เพราะในพื้นที่มีกองทัพภาค 3 และ ฝ่ายความมั่นคงดูแลอยู่แล้ว โดยหลังจากลงพื้นที่แล้วจะนำจิ๊กซอว์มาต่อกัน เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ถูกต้อง จากนั้นจึงเสนอนายกฯ ต่อไป
นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ได้รู้สึกกังวลอะไร เชื่อว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้น อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ ไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ไม่มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีสัญญาณว่า มีความไม่สงบ หรือการเมืองเข้ามาแทรกแซงแต่อย่างใด ไม่ว่าเป็นระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ และความเข้าใจทั้ง 3 ฝ่าย คือ ตุลาการ ประชาชน และฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยต้องใช้ข้อมูลด้านวิชาการ และเชิงความต้องการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวโน้มจะใช้ มาตรา 44 หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าไม่ทราบ แต่มองว่า คงไม่ถึงขั้นนั้น เพราะคำสั่ง คสช. จะต้องใช้ในทางสร้างสรรค์ ต้องไม่ใช้ในการทุบตึก และรื้อบ้าน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ก่อน เพราะตนไม่ได้รับมอบหายโดยตรง เป็นเพียงผู้รับผิดชอบดูแลพื้นที่พัฒนาภาคเหนือ และส่งที่ปรึกษาไปดูเท่านั้น เพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะลงพื้นที่ ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ จะพยายามให้ได้ข้อยุติ พูดคุยภาคประชาชนเป็นหลัก เพราะทราบว่า ในพื้นที่มีถึง 17 เครือข่าย ที่รวมกันอยู่ โดยให้ผู้ตรวจราชการ ประสานในพื้นที่ และ ผวจ.เชียงใหม่ ติดต่อกลุ่มที่จะมาพูดคุยกับตน
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการรับฟังข้อเสนอแนะ ของกลุ่มที่คัดค้าน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับฟังมาบ้างแล้ว รวมถึงประชาชนต่างๆ ที่แสดงความเห็นผ่านโซลเชียลมีเดีย ที่มีความเห็นที่หลากหลาย ดังนั้น การลงพื้นที่วันที่ 6 พ.ค. จะเป็นการพูดคุยในภาคปฏิบัติ ว่าเราจะสามารถทำอะไรได้ ก่อนและหลัง เราควรทำอย่างไร ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และ 3 ทางออกควรจะเป็นอย่างไร โดยบางเรื่อง อาจได้ข้อสรุปเลย บางประเด็นอาจต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมา เวลานี้จึงไม่สามารถบอกได้ว่า หลังวันที่ 6 พ.ค. จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งเราอยากให้ได้ข้อยุติโดยเร็วที่สุด
"การแก้ไขปัญหาของความเห็นที่ไม่ตรงกัน ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว และเป็นทุกเรื่อง แต่ถ้าทุกฝ่ายเห็นว่า เราต้องยืนอยู่หลักความจริงและความถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คิดว่าน่าจะมีทางออกที่จะเกิดขึ้นได้ รัฐบาลพร้อมเปิดกว้าง พูด คุย และเท่าที่ทราบกลุ่มที่คัดค้านก็อยากพูดคุยด้วย ส่วนรายละเอียดต้องมาพูดจาร่วมกัน เช่น ถ้าเขาต้องการให้รื้อทั้งหมด ต้องมาพิจารณาร่วมกันว่า ทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ประเด็นการพูดคุยไม่สามารถตอบได้ว่าจะจบได้วันนั้น หรือไม่ เพราะบางประเด็นอาจมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด แต่ส่วนตัวยังมองว่า เรื่องนี้น่าจะจบรวดเร็วได้ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับในหนทางที่เห็นตรงกัน"
เมื่อถามว่า สามารถกันเป็นพื้นที่แนวเขตอุทยาน ได้หรือไม่ นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ แต่การทำให้เป็นไปได้จะเป็นอย่างไร ใช้กฎหมายข้อไหน ทำได้มากน้อยแค่ไหน ใช้เวลาเท่าไร ต้องดูว่าประชาชนเขาต้องการหรือไม่ จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับ ตรงนี้ก็ต้องหาทางทำให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้ ม.44 น่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง หรือไม่ นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ทุกเรื่องถ้าสามารถแก้ได้ด้วยกฎหมายปกติ ก็จะเป็นข้อดี เราต้องตระหนักอย่างหนึ่งว่า ถ้าวันหน้าไม่มี ม.44 จะทำอย่างไร และนโยบายของหัวหน้าคสช. ก็ชัดเจนว่า จะใช้มาตรา 44 เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ถ้าเรื่องไหนสามารถหาทางออกด้วยเส้นทางปกติได้ ก็ให้ไปเส้นทางนั้น
"ส่วนตัวเชื่อว่า ณ เวลานี้ กฎหมายปกติน่าจะแก้ปัญหาได้ การใช้มาตรา 44 อาจจะเห็นผล ปุ๊บปั๊บ แต่ไม่รู้ผลกระทบที่ตามมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ถ้าเราใช้กฎหมายปกติ ซึ่งมันเคยถูกใช้มาแล้ว ก็น่าจะดีมีประโยชน์มากกว่า ความจริงทางออกมีหลายทาง ก็รอดูกันไป" นายสุวพันธุ์ กล่าว
***50 องค์กรเตรียมเจรจา "สุวพันธุ์" ทางออกป่าแหว่ง
วานนี้ (2พ.ค.) ที่วัดล่ามช้าง อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมหารือแกนนำเกี่ยวกับการวางแผนจัดกิจกรรม ในแต่ละวัน ให้ออกมาในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งแถลงข่าว การเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดให้มีขึ้นหลังจากนี้ พร้อมเตรียมข้อมูลเพื่อเจรจาร่วมกับนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พ.ค.นี้
นายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการประสาน จากนายสุวพันธุ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกฯ ให้มาเจรจาแก้ปัญหาร่วมกับแกนนำเครือข่าย ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ แกนนำเครือข่ายฯ จึงประชุมหารือเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการเจรจาให้ชัดเจน กระชับ โดยกำหนดว่า จะมีตัวแทนเข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้ ประมาณ 50 องค์กร และคาดว่าผลการเจรจา จะมีความชัดเจนด้านข่าวดีออกมาบ้าง เนื่องจากเบื้องต้น ตัวแทนภาครัฐ และ ภาคประชาชน ที่มีความคิดเห็นร่วมกันคือ ต้องมีการฟื้นฟูบริเวณดังกล่าวเป็นการด่วน เพราะเป็นการเปิดหน้าดินในลักษณะที่เป็นอันตราย
ส่วนเรื่องที่ชาวเชียงใหม่ ต้องการให้ข้าราชการตุลาการย้ายไปอยู่ที่อื่น ได้เสนอให้ทางรัฐบาล และศาลพูดคุยกัน โดยหาสถานที่ และงบประมาณใหม่ให้ หากสามารถทำได้ ขอให้ประกาศออกมา ในวันที่ 6 พ.ค.นี้เลย ซึ่งจะเป็นข่าวดีที่ชาวเชียงใหม่ต่างรอคอย คาดว่าการเจรจาครั้งนี้ เครือข่าย คงจะไม่ได้รับการปฏิเสธไปทุกเรื่อง
สำหรับเครือข่ายภาคประชาชน จะมีการจัดกิจกรรม เขียวทั่วเมือง ตั้งแต่ วันที่ 2-4 พ.ค. มีการระดมอาสาสมัครในการตัดริบบิ้นสีเขียว ที่บริเวณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งแต่เวลา 16.00 - 19.00 น. เพื่อนำริบบิ้นไปติดตามสถานที่ต่างๆ ทั้งใน และนอกคูเมือง รวมทั้งแจกจ่ายริบบิ้น ให้กับรถแดง รถตุ๊กตุ๊ก เพื่อติดเป็นสัญลักษณ์เขียวไปทั้งเมือง ถือเป็นการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่ ที่ต้องการพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กลับคืนมาเป็นของประชาชน
ส่วนกิจกรรมที่เครือข่ายจะจัดขึ้น ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ เวลา 17.00 - 21.00 น. ที่ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นนิทรรศการ “ดอยสุเทพที่ฉันรัก”โดยการบอกรักดอยสุเทพ ผ่านภาพและเรื่องราวแต่ละยุคสมัย ทั้งเรื่องความเชื่อ ความศรัทธา และความหลากหลายทางธรรมชาติ ซึ่งในวันดังกล่าว จะมีศิลปินล้านนา มาร่วมร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ
หลังจากเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า”ได้โพสต์ข้อความ ขอความเห็นจากประชาชนในโซเชียลมีเดีย ถึงแนวทางแก้ปัญหาบ้านพักตุลาการ เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ปรากฏว่า ในช่วงค่ำของวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมานั้นเพจ “ไทยคู่ฟ้า”ได้โพสต์ข้อความขอบคุณทุกความเห็น โดยมีใจความว่า
"เพจไทยคู่ฟ้า ขอขอบพระคุณทุกความเห็นของพี่น้องประชาชน ต่อกรณีปัญหาบ้านพักตุลาการเชิง ดอยสุเทพ ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของภาครัฐได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม มั่นใจได้ว่า รัฐบาลจะพิจารณาและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงข้อกฎหมาย หลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใส และ ความรับผิดชอบ เพื่อให้ปัญหาคลี่คลายลงด้วยความราบรื่น"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่แก้ปัญหาสร้างบ้านพักตุลาการ เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ว่า ตนยังไม่ได้พูดคุยกับนายสุวพันธุ์ เป็นการส่วนตัว แต่ในขั้นตอนนี้ ยังไม่มีเรื่องที่ต้องหารือทางกฎหมาย ยกเว้นไปตรวจพบว่า ต้องมีการตอบในเชิงกฎหมาย อาจจะมาหารือในภายหลัง โดยการมอบหมาย นายสุวพันธุ์ถือเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ไปดูแลทั้งหมด ไปฐานะส่วนกลาง เพราะในพื้นที่มีกองทัพภาค 3 และ ฝ่ายความมั่นคงดูแลอยู่แล้ว โดยหลังจากลงพื้นที่แล้วจะนำจิ๊กซอว์มาต่อกัน เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ถูกต้อง จากนั้นจึงเสนอนายกฯ ต่อไป
นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ได้รู้สึกกังวลอะไร เชื่อว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้น อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ ไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ไม่มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีสัญญาณว่า มีความไม่สงบ หรือการเมืองเข้ามาแทรกแซงแต่อย่างใด ไม่ว่าเป็นระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ และความเข้าใจทั้ง 3 ฝ่าย คือ ตุลาการ ประชาชน และฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยต้องใช้ข้อมูลด้านวิชาการ และเชิงความต้องการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวโน้มจะใช้ มาตรา 44 หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าไม่ทราบ แต่มองว่า คงไม่ถึงขั้นนั้น เพราะคำสั่ง คสช. จะต้องใช้ในทางสร้างสรรค์ ต้องไม่ใช้ในการทุบตึก และรื้อบ้าน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ก่อน เพราะตนไม่ได้รับมอบหายโดยตรง เป็นเพียงผู้รับผิดชอบดูแลพื้นที่พัฒนาภาคเหนือ และส่งที่ปรึกษาไปดูเท่านั้น เพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะลงพื้นที่ ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ จะพยายามให้ได้ข้อยุติ พูดคุยภาคประชาชนเป็นหลัก เพราะทราบว่า ในพื้นที่มีถึง 17 เครือข่าย ที่รวมกันอยู่ โดยให้ผู้ตรวจราชการ ประสานในพื้นที่ และ ผวจ.เชียงใหม่ ติดต่อกลุ่มที่จะมาพูดคุยกับตน
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการรับฟังข้อเสนอแนะ ของกลุ่มที่คัดค้าน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับฟังมาบ้างแล้ว รวมถึงประชาชนต่างๆ ที่แสดงความเห็นผ่านโซลเชียลมีเดีย ที่มีความเห็นที่หลากหลาย ดังนั้น การลงพื้นที่วันที่ 6 พ.ค. จะเป็นการพูดคุยในภาคปฏิบัติ ว่าเราจะสามารถทำอะไรได้ ก่อนและหลัง เราควรทำอย่างไร ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และ 3 ทางออกควรจะเป็นอย่างไร โดยบางเรื่อง อาจได้ข้อสรุปเลย บางประเด็นอาจต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมา เวลานี้จึงไม่สามารถบอกได้ว่า หลังวันที่ 6 พ.ค. จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งเราอยากให้ได้ข้อยุติโดยเร็วที่สุด
"การแก้ไขปัญหาของความเห็นที่ไม่ตรงกัน ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว และเป็นทุกเรื่อง แต่ถ้าทุกฝ่ายเห็นว่า เราต้องยืนอยู่หลักความจริงและความถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คิดว่าน่าจะมีทางออกที่จะเกิดขึ้นได้ รัฐบาลพร้อมเปิดกว้าง พูด คุย และเท่าที่ทราบกลุ่มที่คัดค้านก็อยากพูดคุยด้วย ส่วนรายละเอียดต้องมาพูดจาร่วมกัน เช่น ถ้าเขาต้องการให้รื้อทั้งหมด ต้องมาพิจารณาร่วมกันว่า ทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ประเด็นการพูดคุยไม่สามารถตอบได้ว่าจะจบได้วันนั้น หรือไม่ เพราะบางประเด็นอาจมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด แต่ส่วนตัวยังมองว่า เรื่องนี้น่าจะจบรวดเร็วได้ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับในหนทางที่เห็นตรงกัน"
เมื่อถามว่า สามารถกันเป็นพื้นที่แนวเขตอุทยาน ได้หรือไม่ นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ แต่การทำให้เป็นไปได้จะเป็นอย่างไร ใช้กฎหมายข้อไหน ทำได้มากน้อยแค่ไหน ใช้เวลาเท่าไร ต้องดูว่าประชาชนเขาต้องการหรือไม่ จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับ ตรงนี้ก็ต้องหาทางทำให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้ ม.44 น่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง หรือไม่ นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ทุกเรื่องถ้าสามารถแก้ได้ด้วยกฎหมายปกติ ก็จะเป็นข้อดี เราต้องตระหนักอย่างหนึ่งว่า ถ้าวันหน้าไม่มี ม.44 จะทำอย่างไร และนโยบายของหัวหน้าคสช. ก็ชัดเจนว่า จะใช้มาตรา 44 เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ถ้าเรื่องไหนสามารถหาทางออกด้วยเส้นทางปกติได้ ก็ให้ไปเส้นทางนั้น
"ส่วนตัวเชื่อว่า ณ เวลานี้ กฎหมายปกติน่าจะแก้ปัญหาได้ การใช้มาตรา 44 อาจจะเห็นผล ปุ๊บปั๊บ แต่ไม่รู้ผลกระทบที่ตามมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ถ้าเราใช้กฎหมายปกติ ซึ่งมันเคยถูกใช้มาแล้ว ก็น่าจะดีมีประโยชน์มากกว่า ความจริงทางออกมีหลายทาง ก็รอดูกันไป" นายสุวพันธุ์ กล่าว
***50 องค์กรเตรียมเจรจา "สุวพันธุ์" ทางออกป่าแหว่ง
วานนี้ (2พ.ค.) ที่วัดล่ามช้าง อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมหารือแกนนำเกี่ยวกับการวางแผนจัดกิจกรรม ในแต่ละวัน ให้ออกมาในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งแถลงข่าว การเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดให้มีขึ้นหลังจากนี้ พร้อมเตรียมข้อมูลเพื่อเจรจาร่วมกับนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พ.ค.นี้
นายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการประสาน จากนายสุวพันธุ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกฯ ให้มาเจรจาแก้ปัญหาร่วมกับแกนนำเครือข่าย ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ แกนนำเครือข่ายฯ จึงประชุมหารือเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการเจรจาให้ชัดเจน กระชับ โดยกำหนดว่า จะมีตัวแทนเข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้ ประมาณ 50 องค์กร และคาดว่าผลการเจรจา จะมีความชัดเจนด้านข่าวดีออกมาบ้าง เนื่องจากเบื้องต้น ตัวแทนภาครัฐ และ ภาคประชาชน ที่มีความคิดเห็นร่วมกันคือ ต้องมีการฟื้นฟูบริเวณดังกล่าวเป็นการด่วน เพราะเป็นการเปิดหน้าดินในลักษณะที่เป็นอันตราย
ส่วนเรื่องที่ชาวเชียงใหม่ ต้องการให้ข้าราชการตุลาการย้ายไปอยู่ที่อื่น ได้เสนอให้ทางรัฐบาล และศาลพูดคุยกัน โดยหาสถานที่ และงบประมาณใหม่ให้ หากสามารถทำได้ ขอให้ประกาศออกมา ในวันที่ 6 พ.ค.นี้เลย ซึ่งจะเป็นข่าวดีที่ชาวเชียงใหม่ต่างรอคอย คาดว่าการเจรจาครั้งนี้ เครือข่าย คงจะไม่ได้รับการปฏิเสธไปทุกเรื่อง
สำหรับเครือข่ายภาคประชาชน จะมีการจัดกิจกรรม เขียวทั่วเมือง ตั้งแต่ วันที่ 2-4 พ.ค. มีการระดมอาสาสมัครในการตัดริบบิ้นสีเขียว ที่บริเวณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งแต่เวลา 16.00 - 19.00 น. เพื่อนำริบบิ้นไปติดตามสถานที่ต่างๆ ทั้งใน และนอกคูเมือง รวมทั้งแจกจ่ายริบบิ้น ให้กับรถแดง รถตุ๊กตุ๊ก เพื่อติดเป็นสัญลักษณ์เขียวไปทั้งเมือง ถือเป็นการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่ ที่ต้องการพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กลับคืนมาเป็นของประชาชน
ส่วนกิจกรรมที่เครือข่ายจะจัดขึ้น ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ เวลา 17.00 - 21.00 น. ที่ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นนิทรรศการ “ดอยสุเทพที่ฉันรัก”โดยการบอกรักดอยสุเทพ ผ่านภาพและเรื่องราวแต่ละยุคสมัย ทั้งเรื่องความเชื่อ ความศรัทธา และความหลากหลายทางธรรมชาติ ซึ่งในวันดังกล่าว จะมีศิลปินล้านนา มาร่วมร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ