ผู้จัดการรายวัน 360 - อย.ยกเลิกให้ทะเบียนอัตโนมัติ "เครื่องสำอาง-อาหารเสริม" ผ่านระบบออนไลน์ เพิ่มเจ้าหน้าที่คัดกรอง เร่งออกกฎกระทรวงมาตรฐานโรงงานผลิตเครื่องสำอาง หลัง ก.ย.ยื่นผลิตเครื่องสำอางต้องเป็นโรงงานมาตรฐานตามฐานข้อมูล อย. พร้อมร่วมสภาอุตฯ แก้ปัญหาโลโก้ อย.ปลอม เล็งทำสำนวนร่วม ตร.เอาผิดคนเอี่ยว "เมจิกสกิน-ลีน" โทษสูงสุด ขู่ดารารีวิวสินค้าทำคนตาย เอาผิดถึงขั้นจำคุกด้วย ผบ.ตร.แถลงยึด”LYN”ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักผิดกฎหมายมูลค่ากว่า 24 ล้านบาท จ่อเอาผิดเจ้าของแบรนด์หลังพบใส่สารต้องห้าม ด้านแพทยสภาเรียกสอบ “หมอบอนด์” รีวิวเมจิกสกิน เตือนแพทย์ทั่วประเทศอย่าใช้วิชาชีพหากิน
จากกรณีการจับกุมผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย "เมจิกสกิน" และ "Lyn ลีน" ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่น่าเชื่อถือของเลข อย. เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลข อย.อยู่ในระบบจริง แต่ไม่ได้ผลิตตามสูตรหรือสถานที่ที่จดแจ้งไว้กับ อย.
วานนี้ (30 เม.ย.) นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดได้ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด แต่ผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตตามกฎหมาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะมี 2 กลุ่มหลัก คือ 1.เข้ามาขออนุญาตอย่างถูกต้องกับ อย. แต่ผู้ที่ไม่สุจริตก็จะเอาเลข อย.ที่ได้ไปผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่ผลิตตามสถานที่แจ้งหรือเติมสารหรือลดสารที่ไม่เป็นไปตามสูตรที่แจ้งไว้กับ อย. และ 2.กลุ่มที่ลักลอบผลิตอยู่แล้ว แอบเปิดโรงงาน วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ
โดยขณะนี้ อย.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสภาอุตสากรรมกลุ่มเครื่องสำอาง กลุ่มเสริมอาหาร และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อหามาตรการร่วมกันในการทำให้ระบบคุ้มครองผู้บริโภคเข้มแข็งขึ้น ซึ่งมีหลายข้อเสนอ เช่น เพิ่มโทษทางกฎหมาย การทบทวนการยื่นผ่านระบบออนไลน์หรือ E-Submission เนื่องจากบางส่วนมองว่าทำให้คนไม่สุจริตได้เลข อย.ง่ายในการไปทำสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
พร้อมกันนี้ อย. จะเพิ่มมาตรการภายใต้หลักการไมให้กระทบผู้ประกอบการที่ดี ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.เพิ่มเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองการยื่นขออนุญาตทางระบบ E-Submission จากเดิมหากยื่นตรงตามหลักเกณฑ์จะออกใบอนุญาตหรือเลข อย.แบบอัตโนมัติ แต่ได้ยกเลิกการให้ทะเบียนอัตโนมัติแล้วตั้งแต่ ก.ย. 2560 หลังจากนี้จะเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองอีก ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน เช่น ตั้งชื่อไม่เหมาะสม อ้างสรรพคุณไม่เหมาะสม ก็จะกรองออก และเมื่อมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็จะจับตามองผลิตภัณฑ์นั้นๆ
2.การออกกฎกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ในการกำหนดมาตรฐานสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม ซึ่งจะออกมาบังคับใช้ในช่วง มิ.ย.นี้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาคออกไปตรวจสอบตัวโรงงานทั้งหมด คาดว่าใช้เวลา 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ และ 3.สร้างเครือข่ายผู้บริโภคในการร่วมตรวจสอบ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แอบผลิต เนื่องจากเจ้าหน้าที่ อย.เองมีน้อย โดยสามารถแจ้งเบาะแสหรือตรวจสอบเลข อย. ได้ผ่านสายด่วน 1556 ผ่านไลน์ "FDAThai" ผ่านแอปพลิเคชัน "oryor smart application" และเว็บไซต์ อย.
นพ.วันชัย กล่าวถึง กรณีของเมจิกสกินและ Lyn ว่า อย.จะร่วมพนักงานสอบสวนในการทำข้อมูลเพื่อดำเนินคดีสูงสุด ตั้งข้อหาหนักที่สุดเพื่อให้เข็ดหลาบ คือโทษจำคุก นอกจากนี้ จะประสาน กสทช. ในการอำนวยความสะดวกให้ อย.เข้าไปตรวจสอบโฆษณาทุกชิ้น ซึ่งหากพบว่าไม่เหมาะสม กสทช.จะระงับทันที และในอนาคตจ่อขึ้นแบล็กลิสต์ผู้ประกอบการที่ทำผิดซ้ำๆ ไม่ให้ยื่นขอเลข อย.ได้อีก
สำหรับการรีวิวสินค้าของศิลปินดารา ย้ำว่าถือเป็นการโฆษณาชัดเจน คนที่จะรีวิวต้องตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะจะดูแค่ว่ามี อย.อย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากอย่างที่บอกว่ามีบางส่วนแม้จะขอเลข อย.จริง แต่ตอนผลิตไม่ได้ทำตามที่จดแจ้งไว้ ลอบใส่สารอันตรายอื่น ดังนั้น ขอแนะนำว่า หากได้รับการติดต่อให้มารีวิว ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมหรือเครื่องสำอาง ให้ติดต่อมายัง อย.ก่อน โดยอาจมาติดต่อเองหรือต้นสังกัดเข้ามาติดต่อก็ได้ว่า สินค้าตัวนี้ถูกกฎหมายหรือไม่ และใช้คำพูดตามที่เจ้าของสินค้าส่งมาให้แบบนี้ได้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันในการกระทำผิดกฎหมาย เพราะในส่วนของอาหารเสริมจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตโฆษณาก่อน ซึ่งการเข้ามาติดต่อว่าจะโฆษณาด้วยคำพูดเช่นนี้ตามเจ้าของสินค้าส่งมา จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการโฆษณาเกินจริง ทั้งอาหารเสริมและเครื่องสำอาง
*** ยึด”LYN”ผิดกฎหมายมูลค่า24 ล้าน
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย ตำรวจ ปคบ. แถลงผลการตรวจยึดผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก Lyn (ลีน) ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ตรวจพบสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายในผลิตภัณฑ์ และพบผู้เสียชีวิตมีพฤติกรรมจากการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ถึง 4ราย
โดยการตรวจยึดของกลางในครั้งนี้ ทางตำรวจได้เข้าตรวจค้น บริษัท food science supply sevice จำกัด จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงงานบรรจุผลิตภัณฑ์ สามารถยึดของกลางเป็น detox Lyn มีแคปซูลสีเขียวอ่อน บรรจุ 1 แผง ต่อ 10 แคปซูล ได้ 3,500 แผง และผลิตภัณฑ์ Lyn block burn break build แคปซูลสีขาวมุก จำนวน 1,400 แผง รวมถึง ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในซองสีแดง ไม่มีการแสดงสลาก อีก 200 ซอง ผลิตภัณฑ์ผงสีน้ำตาลอ่อน ที่ยังไม่ได้บรรจุในบรรจุภัณฑ์ อีก 6 ถุง หนักรวม 240 กิโลกรัม อีกทั้งยังได้ตรวจค้น บริษัท เอกอัครินทร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี โดยมีนางสาวพิมพ์ลภัทร เอกอัครินทร์ เป็นเจ้าของ ซึ่งบริษัทแห่งนี้เปิดเป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Lyn สามารถยึด Lyn กล่องดำได้ 1000 กล่อง และ Lyn กล่องขาว 3000 กล่อง โดยของกลางทั้งหมดที่ตรวจยึดได้ครั้งนี้ 62,000 กล่อง มูลค่ากว่า 24 ล้านบาท
*** แพทย์สภาพเรียกสอบ"หมอบอนด์"
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ กรรมการแพทยสภา กล่าวถึงกรณี นพ.ปิยะพงษ์ โหวิไลลักษ์ หรือหมอบอนด์ มีการรีวิวโฆษณาสินค้าในเครือเมจิกสกิน ว่า การที่บุคลากรในวิชาชีพไปโฆษณาหรือรีวิวผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพก็ไม่เป็นไร แต่กรณีนี้เหมือนเป็นการใช้วิชาชีพไปขายของ หาประโยชน์ เนื่องจากมีการใช้คำว่า นายแพทย์ ซึ่งเป็นหมอไปรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความงาม หรืออ้างลดน้ำหนัก หรือฟอกผิวขาว ซึ่งถือว่าผิด พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และข้อบังคับแพทยสภาข้อที่ 44 ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ถ้าต้องการแสดงตนเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ต่อสาธารณชนจะต้องไม่ใช้คำว่า นายแพทย์ แพทย์หญิง หรือคำอื่นใดหรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือกระทำอย่างใดๆ ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
จากกรณีการจับกุมผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย "เมจิกสกิน" และ "Lyn ลีน" ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่น่าเชื่อถือของเลข อย. เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลข อย.อยู่ในระบบจริง แต่ไม่ได้ผลิตตามสูตรหรือสถานที่ที่จดแจ้งไว้กับ อย.
วานนี้ (30 เม.ย.) นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดได้ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด แต่ผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตตามกฎหมาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะมี 2 กลุ่มหลัก คือ 1.เข้ามาขออนุญาตอย่างถูกต้องกับ อย. แต่ผู้ที่ไม่สุจริตก็จะเอาเลข อย.ที่ได้ไปผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่ผลิตตามสถานที่แจ้งหรือเติมสารหรือลดสารที่ไม่เป็นไปตามสูตรที่แจ้งไว้กับ อย. และ 2.กลุ่มที่ลักลอบผลิตอยู่แล้ว แอบเปิดโรงงาน วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ
โดยขณะนี้ อย.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสภาอุตสากรรมกลุ่มเครื่องสำอาง กลุ่มเสริมอาหาร และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อหามาตรการร่วมกันในการทำให้ระบบคุ้มครองผู้บริโภคเข้มแข็งขึ้น ซึ่งมีหลายข้อเสนอ เช่น เพิ่มโทษทางกฎหมาย การทบทวนการยื่นผ่านระบบออนไลน์หรือ E-Submission เนื่องจากบางส่วนมองว่าทำให้คนไม่สุจริตได้เลข อย.ง่ายในการไปทำสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
พร้อมกันนี้ อย. จะเพิ่มมาตรการภายใต้หลักการไมให้กระทบผู้ประกอบการที่ดี ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.เพิ่มเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองการยื่นขออนุญาตทางระบบ E-Submission จากเดิมหากยื่นตรงตามหลักเกณฑ์จะออกใบอนุญาตหรือเลข อย.แบบอัตโนมัติ แต่ได้ยกเลิกการให้ทะเบียนอัตโนมัติแล้วตั้งแต่ ก.ย. 2560 หลังจากนี้จะเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองอีก ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน เช่น ตั้งชื่อไม่เหมาะสม อ้างสรรพคุณไม่เหมาะสม ก็จะกรองออก และเมื่อมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็จะจับตามองผลิตภัณฑ์นั้นๆ
2.การออกกฎกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ในการกำหนดมาตรฐานสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม ซึ่งจะออกมาบังคับใช้ในช่วง มิ.ย.นี้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาคออกไปตรวจสอบตัวโรงงานทั้งหมด คาดว่าใช้เวลา 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ และ 3.สร้างเครือข่ายผู้บริโภคในการร่วมตรวจสอบ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แอบผลิต เนื่องจากเจ้าหน้าที่ อย.เองมีน้อย โดยสามารถแจ้งเบาะแสหรือตรวจสอบเลข อย. ได้ผ่านสายด่วน 1556 ผ่านไลน์ "FDAThai" ผ่านแอปพลิเคชัน "oryor smart application" และเว็บไซต์ อย.
นพ.วันชัย กล่าวถึง กรณีของเมจิกสกินและ Lyn ว่า อย.จะร่วมพนักงานสอบสวนในการทำข้อมูลเพื่อดำเนินคดีสูงสุด ตั้งข้อหาหนักที่สุดเพื่อให้เข็ดหลาบ คือโทษจำคุก นอกจากนี้ จะประสาน กสทช. ในการอำนวยความสะดวกให้ อย.เข้าไปตรวจสอบโฆษณาทุกชิ้น ซึ่งหากพบว่าไม่เหมาะสม กสทช.จะระงับทันที และในอนาคตจ่อขึ้นแบล็กลิสต์ผู้ประกอบการที่ทำผิดซ้ำๆ ไม่ให้ยื่นขอเลข อย.ได้อีก
สำหรับการรีวิวสินค้าของศิลปินดารา ย้ำว่าถือเป็นการโฆษณาชัดเจน คนที่จะรีวิวต้องตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะจะดูแค่ว่ามี อย.อย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากอย่างที่บอกว่ามีบางส่วนแม้จะขอเลข อย.จริง แต่ตอนผลิตไม่ได้ทำตามที่จดแจ้งไว้ ลอบใส่สารอันตรายอื่น ดังนั้น ขอแนะนำว่า หากได้รับการติดต่อให้มารีวิว ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมหรือเครื่องสำอาง ให้ติดต่อมายัง อย.ก่อน โดยอาจมาติดต่อเองหรือต้นสังกัดเข้ามาติดต่อก็ได้ว่า สินค้าตัวนี้ถูกกฎหมายหรือไม่ และใช้คำพูดตามที่เจ้าของสินค้าส่งมาให้แบบนี้ได้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันในการกระทำผิดกฎหมาย เพราะในส่วนของอาหารเสริมจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตโฆษณาก่อน ซึ่งการเข้ามาติดต่อว่าจะโฆษณาด้วยคำพูดเช่นนี้ตามเจ้าของสินค้าส่งมา จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการโฆษณาเกินจริง ทั้งอาหารเสริมและเครื่องสำอาง
*** ยึด”LYN”ผิดกฎหมายมูลค่า24 ล้าน
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย ตำรวจ ปคบ. แถลงผลการตรวจยึดผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก Lyn (ลีน) ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ตรวจพบสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายในผลิตภัณฑ์ และพบผู้เสียชีวิตมีพฤติกรรมจากการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ถึง 4ราย
โดยการตรวจยึดของกลางในครั้งนี้ ทางตำรวจได้เข้าตรวจค้น บริษัท food science supply sevice จำกัด จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงงานบรรจุผลิตภัณฑ์ สามารถยึดของกลางเป็น detox Lyn มีแคปซูลสีเขียวอ่อน บรรจุ 1 แผง ต่อ 10 แคปซูล ได้ 3,500 แผง และผลิตภัณฑ์ Lyn block burn break build แคปซูลสีขาวมุก จำนวน 1,400 แผง รวมถึง ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในซองสีแดง ไม่มีการแสดงสลาก อีก 200 ซอง ผลิตภัณฑ์ผงสีน้ำตาลอ่อน ที่ยังไม่ได้บรรจุในบรรจุภัณฑ์ อีก 6 ถุง หนักรวม 240 กิโลกรัม อีกทั้งยังได้ตรวจค้น บริษัท เอกอัครินทร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี โดยมีนางสาวพิมพ์ลภัทร เอกอัครินทร์ เป็นเจ้าของ ซึ่งบริษัทแห่งนี้เปิดเป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Lyn สามารถยึด Lyn กล่องดำได้ 1000 กล่อง และ Lyn กล่องขาว 3000 กล่อง โดยของกลางทั้งหมดที่ตรวจยึดได้ครั้งนี้ 62,000 กล่อง มูลค่ากว่า 24 ล้านบาท
*** แพทย์สภาพเรียกสอบ"หมอบอนด์"
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ กรรมการแพทยสภา กล่าวถึงกรณี นพ.ปิยะพงษ์ โหวิไลลักษ์ หรือหมอบอนด์ มีการรีวิวโฆษณาสินค้าในเครือเมจิกสกิน ว่า การที่บุคลากรในวิชาชีพไปโฆษณาหรือรีวิวผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพก็ไม่เป็นไร แต่กรณีนี้เหมือนเป็นการใช้วิชาชีพไปขายของ หาประโยชน์ เนื่องจากมีการใช้คำว่า นายแพทย์ ซึ่งเป็นหมอไปรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความงาม หรืออ้างลดน้ำหนัก หรือฟอกผิวขาว ซึ่งถือว่าผิด พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และข้อบังคับแพทยสภาข้อที่ 44 ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ถ้าต้องการแสดงตนเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ต่อสาธารณชนจะต้องไม่ใช้คำว่า นายแพทย์ แพทย์หญิง หรือคำอื่นใดหรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือกระทำอย่างใดๆ ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม