ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science)
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science)
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากองค์การเภสัชกรรมมายัง สปสช แทนที่จะนำไปรักษาชีวิตประชาชน เกิดในสมัยที่นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรมและเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทางองค์การเภสัชกรรมต้องการให้หน่วยราชการจ่ายเงินไวมากขึ้นเลยให้ cash discount หรือส่วนลดเงินสด
สปสช. ก็ไปซื้อยาโดยที่ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่อนุญาตให้ซื้อยาแทนโรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพแต่อย่างใด แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ แล้วคลี่คลายแปลงกายมาใช้ชื่อนี้ อย่างไรก็ตามการไปจัดซื้อยาของ สปสช. นั้นผิดกฎหมาย ทำไม่ได้ ดังนี้ รองเลขาธิการ สปสช. นายแพทย์ ชูชัย ศรชำนิ ได้ไปสารภาพกลางที่ประชุมใหญ่เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปีที่แล้วที่ไบเทค บางนา ว่าสิ่งที่ สปสช. ทำในเรื่องการจัดซื้อยานั้นเป็นการออฟไซด์ ล้ำเส้น
ปัญหาหนักคือเป็นการทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ทำ แล้วยังมีผลประโยชน์คือมีเงิน kick back ในชื่อของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ให้ สปสช. และ NGO ตระกูล ส ไปขอเงินไปใช้ทำโครงการต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลดูแลชีวิตประชาชน
สปสช. ซื้อยาต่าง ๆ และน้ำยาล้างไต เฉพาะน้ำยาล้างไต CAPD first ก็ซื้อปีละเกือบ 4 พันล้านแล้ว การซื้อยาเองโดยไม่ได้เป็นหน่วยบริการนี้ใช้งบบัตรทองปีละประมาณหนึ่งหมื่นล้านและน่าจะได้เงิน kick back เมื่อไปขอในนามของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐร้อยละห้าของเงินยอดซื้อยาดังกล่าว หรือคร่าว ๆ อาจจะถึงปีละ 500 ล้านบาท ถ้าเป็นแบบนี้มาสิบปีก็น่าจะมีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปแล้วเกือบ 5 พันล้าน เท่ากับพี่ตูนวิ่งห้าครั้ง และลุงตู่อนุมัติงบกลางมาแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุนหนึ่งครั้ง
เรื่องนี้องค์การเภสัชกรรมเคยอนุมัติเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐมาให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 75 ล้านบาท ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้นคือ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ไม่กล้ารับเงินดังกล่าวมาเป็นของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็เลยหารือไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และ/หรือ กฤษฎีกา ซึ่งตีความลงมาว่าสำนักปลัดกระทรวงไม่ใช่หน่วยบริการ ไม่ได้มีหน้าที่รักษาพยาบาลประชาชนรับเงินดังกล่าวไม่ได้ ทางสำนักปลัดกระทรวงก็ไม่รับ
ถ้าหาก สปสช. และ NGO ตระกูล ส คืนเงินลาภมิควรได้ก้อนนี้ที่ทำผิดกฏหมายต่อเนื่องมากว่าสิบปี ก็จะได้เงินคืนมารักษาประชาชนน่าจะมากถึงห้าพันล้าน
ซึ่งตามรายงานของ DSI หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษพบว่าเฉพาะ สปสช. ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปดังนี้
มาลองดูตัวอย่างกันว่า สปสช. นำเงินซึ่งต้องนำกลับไปรักษาประชาชนไปทำอะไรที่ไร้สาระและไม่ได้เป็นการรักษาสุขภาพของประชาชนกันบ้าง
ในปี 53 ใช้เงินทำบุญผ้าป่าไป 255,000 บาท ดูงานมิตรภาพบำบัด มูลนิธิที่ นพ. วิชัย โชควิวัฒน เป็นกรรมการ สามล้านบาท จัดหารถตู้สำหรับ สปสช. ใช้ 5,735,000 บาท
มีการขอเงินไปดูงานต่าง ๆ ในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เอามาจัดรถสวัสดิการรับส่งบุคลากร สปสช. เอามาให้รางวัลสรรหาบุคลากรดีเด่น เอามาทำสื่อมวลชนสัญจร เลี้ยงดูปูเสื่อนักข่าว
เอามาจัดรถรับส่งพนักงาน สปสช. ในปี 54 ไปเกือบเจ็ดล้าน เอามาตรวจสุขภาพพนักงาน สปสช. เอามาใช้อบรมภาษาอังกฤษพนักงาน สปสช. ให้ทุนพนักงาน สปสช. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เอามาให้พนักงาน สปสช. เล่นโยคะ ขอมาพิมพ์หนังสืองานศพ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ห้าแสนบาท ซึ่งคนดีมากอย่างท่านหากได้ทราบคงทุกข์ใจอย่างยิ่งที่มีการเอาเงินที่ควรนำไปรักษาประชาชนมาทำหนังสืองานศพให้
เอามาจัดรถรับส่งพนักงาน สปสช. ในปี 54 ไปเกือบเจ็ดล้าน เอามาตรวจสุขภาพพนักงาน สปสช. เอามาใช้อบรมภาษาอังกฤษพนักงาน สปสช. ให้ทุนพนักงาน สปสช. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เอามาให้พนักงาน สปสช. เล่นโยคะ ขอมาพิมพ์หนังสืองานศพ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ห้าแสนบาท ซึ่งคนดีมากอย่างท่านหากได้ทราบคงทุกข์ใจอย่างยิ่งที่มีการเอาเงินที่ควรนำไปรักษาประชาชนมาทำหนังสืองานศพให้
เอามาจัดซื้อเครื่องแบบพนักงาน เครื่องแบบสำนักงาน ให้ทุนพนักงาน สปสช. เรียนต่อปริญญาโท
เรื่องนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความ ทักท้วงและห้ามแล้วมาโดยตลอด
มติบอร์ด สปสช. ลงมาแล้วว่าเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ หัวคิวหรือส่วนลดจากการซื้อยาโดย สปสช. ร้อยละ 5 ได้จากองค์การเภสัชกรรม ไปใช้กันผิด ๆ มานับสิบปี แทนที่จะเอาไปรักษาชีวิตประชาชน เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ และต้องไม่ทำ เพราะผิดกฎหมาย จะยื้อทำต่อไปก็มีคุก!!!!
แล้วที่ทำผิดมาตลอดนับสิบปี เงินหลวงที่หายไปใช้แบบผิด ๆ เป็นร้อย ๆ ล้าน พัน ๆ ล้านใครรับผิดชอบ? ยังไงก็ต้องมีคนรับผิดชอบ
เงินที่ได้ส่วนลดจากการซื้อยาจาก องค์การเภสัชกรรม เรียกว่าเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ สปสช. เอาไปใช้ซื้อ Uniform ให้พนักงาน เอาไปเช่ารถตู้รับส่งพนักงาน เอาไปแจก NGO เอาไปส่งคนตระกูล ส เรียนต่อ ให้ในนามทุนวิจัยอะไรต่าง ๆ ใช้ผิด ๆ นั่นมัน 5% ของเงินซื้อยาหรือปีละเกือบหมื่นล้านบาท หรือเป็นเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ร้อยละห้าของยอดซื้อยาเชียวนะครับพี่น้องประชาชน
แล้วมี NGO ที่เป็นบอร์ด สปสช. เอง ไปขอเงินนี้จากองค์การเภสัชกรรมด้วย เอากะเขาสิ ทำไมช่างกล้าทำเช่นนี้ เป็น conflict of interest อย่างแรง ลองไปถามนายนิมิตร เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ดูก็จะดีครับ
บอร์ดหลักประกันสุขภาพ รู้ว่ายื้อต่อไม่ไหว เพราะว่าตามกฎหมาย เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐนี่ต้องเอาเข้ากองทุนบัตรทองตามมาตรา 39(7) ถือว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ ที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน ต้องนำกลับมาใช้เพื่อใน“กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป์นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
พูดง่าย ๆ ไม่ใช่ให้เงินเหล่านี้ไปใช้จ่ายกันตามอำเภอใจ สปสช. ซึ่งล้ำเส้น off side ไม่มีหน้าที่ซื้อยามารักษาคนไข้เลยซื้อมากมายเพื่อให้ได้เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐเอาไปใช้ตามอำเภอใจผิดกฎหมาย ผิดวัตถุประสงค์หรือไม่
เงินที่เอาไปแจก NGO แจกพนักงาน สปสช. ทางกฎหมายคือละเมิด เป็นลาภมิควรได้ ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ แทนที่จะนำเงินไปซื้อยารักษาชีวิตประชาชน กลับไปสร้างความสะดวกสบายให้ NGO และพนักงาน สปสช
ชีวิตประชาชน สำคัญน้อยกว่าความสะดวกสบายหรือสวัสดิการพนักงาน สปสช. และปากท้องของ NGO หรือไร?
การที่บอร์ด สปสช. ลงมติว่า เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ให้ยุติการอนุมัติโครงการและการใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ และแจ้งผลการหารือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปยังประธานอนุกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้ แปลว่าให้เลิกทำแบบนี้ และให้นำเงินกลับเข้ากองทุนเพื่อนำไปรักษาประชาชน
คำถามคือที่ทำมาแล้วเป็นสิบปี ปีหนึ่งเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐน่าจะมากถึง 500 ล้าน เกิดความเสียหายแก่ชีวิตประชาชนและคุณภาพการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลของรัฐ ใครจะรับผิดชอบ สปสช จะรับผิดชอบหรือไม่ จะเรียกเงินคืนจาก สปสช พนักงาน สปสช และ NGO ได้อย่างไร
เงินหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ เงินที่ต้องเอาไปใช้รักษาชีวิตประชาชน ต้องได้คืนกลับมา ถึงจะถูกต้อง ต้องไม่ทำตัวเป็นนายหน้าค้าความจน นายหน้าค้าความตายแบบนี้ มันทุเรศและอำมหิตมาก
ในนามของประชาชน ขอถามหาความรับผิดชอบและถามหาผู้กระทำความผิด เพื่อสิทธิ์ของประชาชน เพื่อชีวิตของประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเอาเปรียบและเป็นอภิสิทธิ์ชนเหนือประชาชน