ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ศาล ไม่อนุญาตให้คณะกรรมการร่วมฯ เข้าสำรวจพื้นที่โครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการรอบ 2 เตรียมขอซ้ำอีกครั้ง 20 เม.ย.นี้ พร้อมย้ำย้ำจุดยืนขอคืนพื้นที่ป่า ยึดแนวเขตป่าดั้งเดิมรื้อบ้านพักทั้ง 45 หลัง และและอาคารแฟลตที่พัก 9 หลัง จากทั้งหมด 13 หลัง วอนนายกรัฐมนตรีเร่งตัดสินใจปกป้องผืนป่า ขณะที่ตัวแทนอุทยานฯ และป่าไม้ ชี้ต้องฟื้นฟูสภาพพื้นที่โดยด่วนไม่ว่าจะรื้อหรือไม้รื้อบ้านพักก็ตาม
ความคืบหน้าการเคลื่อนไหวของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่เรียกร้องให้มีการยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บนพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
วานนี้ (18 เม.ย.) คณะกรรมการร่วม ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ร่วมประชุมหารือข้อเรียกร้องของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ให้ยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 บนพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ก่อนที่จะลงพื้นที่สำรวจแนวเขตรื้อถอนเป็นครั้งที่ 2
โดยเบื้องต้นมีการกำหนดแนวเขตเพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจไว้ 3 แนว ได้แก่ 1. รื้อบ้านพักทั้งหมด และอาคารแฟลตที่พัก 9 หลัง จากทั้งหมด 13 หลัง ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของเครือข่าย โดยยึดแนวเขตป่าดั้งเดิม 2. รื้อบ้านพักทั้งหมด และอาคารแฟลตที่พัก 6 หลัง และ 3. รื้อบ้านพักทั้งหมด พร้อมคงอาคารแฟลตที่พักไว้ทั้งหมด 13 หลัง
นายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กล่าว่า หลังการประชุมเสร็จสิ้น คณะกรรมการร่วมฯ ยังไม่สามารถเข้าไปลงพื้นที่เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลโครงการก่อสร้างบ้านพักดังกล่าวได้ เนื่องจากศาลยังไม่อนุญาตเป็นครั้งที่ 2 แล้ว อย่างไรก็ตาม ทางธนารักษ์จะทำหนังสือขออนุญาตอีกครั้งเพื่อขอเข้าพื้นที่โครงการในวันที่ 20 เม.ย. 61 หากยังไม่ได้รับการอนุญาตอีกครั้ง คณะกรรมการร่วมฯ จะต้องประชุมสรุปร่วมกัน เพื่อหาแนวทางดำเนินการต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่แล้ว เพราะเบื้องต้นมีข้อมูลประกอบการพิจารณาอยู่แล้วพอสมควร ทั้งจากการสำรวจภาคพื้นและทางอากาศ
"ภาคประชาชนต้องการให้คืนพื้นที่ป่าโดยยึดแนวเขตป่าดั้งเดิมที่ลากผ่านจากห้วยตึงเฒ่าต่อเนื่องมาถึงพื้นที่โครงการก่อสร้างบ้านพัก หากเป็นไปได้อยากให้มีการมอบพื้นที่นี้ให้อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยในวันที่ 20 เม.ย. 61 นี้จะต้องพูดคุยกันให้ได้ข้อสรุปอย่างแน่นอนเพื่อนำเสนอให้นายกฯ พิจารณาตัดสินใจ และอยากเรียกร้องวิงวอนนายกฯ ให้ตัดสินใจเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายมากไปกว่านี้ โดยเชื่อว่าหากนายกรัฐมนตรีได้มาเห็นสภาพพื้นที่จริงที่เป็นป่าจะต้องรู้สึกอยากปกป้องป่าเอาไว้อย่างแน่นอน" นายธีระศักดิ์ กล่าว
ความคืบหน้าการเคลื่อนไหวของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่เรียกร้องให้มีการยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บนพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
วานนี้ (18 เม.ย.) คณะกรรมการร่วม ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ร่วมประชุมหารือข้อเรียกร้องของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ให้ยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 บนพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ก่อนที่จะลงพื้นที่สำรวจแนวเขตรื้อถอนเป็นครั้งที่ 2
โดยเบื้องต้นมีการกำหนดแนวเขตเพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจไว้ 3 แนว ได้แก่ 1. รื้อบ้านพักทั้งหมด และอาคารแฟลตที่พัก 9 หลัง จากทั้งหมด 13 หลัง ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของเครือข่าย โดยยึดแนวเขตป่าดั้งเดิม 2. รื้อบ้านพักทั้งหมด และอาคารแฟลตที่พัก 6 หลัง และ 3. รื้อบ้านพักทั้งหมด พร้อมคงอาคารแฟลตที่พักไว้ทั้งหมด 13 หลัง
นายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กล่าว่า หลังการประชุมเสร็จสิ้น คณะกรรมการร่วมฯ ยังไม่สามารถเข้าไปลงพื้นที่เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลโครงการก่อสร้างบ้านพักดังกล่าวได้ เนื่องจากศาลยังไม่อนุญาตเป็นครั้งที่ 2 แล้ว อย่างไรก็ตาม ทางธนารักษ์จะทำหนังสือขออนุญาตอีกครั้งเพื่อขอเข้าพื้นที่โครงการในวันที่ 20 เม.ย. 61 หากยังไม่ได้รับการอนุญาตอีกครั้ง คณะกรรมการร่วมฯ จะต้องประชุมสรุปร่วมกัน เพื่อหาแนวทางดำเนินการต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่แล้ว เพราะเบื้องต้นมีข้อมูลประกอบการพิจารณาอยู่แล้วพอสมควร ทั้งจากการสำรวจภาคพื้นและทางอากาศ
"ภาคประชาชนต้องการให้คืนพื้นที่ป่าโดยยึดแนวเขตป่าดั้งเดิมที่ลากผ่านจากห้วยตึงเฒ่าต่อเนื่องมาถึงพื้นที่โครงการก่อสร้างบ้านพัก หากเป็นไปได้อยากให้มีการมอบพื้นที่นี้ให้อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยในวันที่ 20 เม.ย. 61 นี้จะต้องพูดคุยกันให้ได้ข้อสรุปอย่างแน่นอนเพื่อนำเสนอให้นายกฯ พิจารณาตัดสินใจ และอยากเรียกร้องวิงวอนนายกฯ ให้ตัดสินใจเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายมากไปกว่านี้ โดยเชื่อว่าหากนายกรัฐมนตรีได้มาเห็นสภาพพื้นที่จริงที่เป็นป่าจะต้องรู้สึกอยากปกป้องป่าเอาไว้อย่างแน่นอน" นายธีระศักดิ์ กล่าว