ผู้จัดการรายวัน 360 - 'บิ๊กตู่' ย้ำ พศ. สอบทุจริตเงินทอดวัดตามหลักฐาน หลังพบเชื่อมโยงพระผู้ใหญ่ เตือนพระทุกกลุ่มอย่าเคลื่อนไหวไม่เกิดประโยชน์ ด้าน “ป.ป.ช.” ลุยสอบ 5 พระเถระพัวพันทุจริตเงินทอนวัด สั่ง สตร.1 ตรวจคำกล่าวหา
วานนี้ (17 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึง กรณีปัญหาการทุจริตเงินทอนวัด ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) โดยดำเนินการตามหลักฐานต่างๆที่ปรากฎ แต่ทั้งนี้ ต้องนำข้อมูลส่งไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อทำการตรวจสอบต่อไป
“แต่ที่เป็นห่วงคือ พระสงฆ์กลุ่มต่างๆ ที่ต้องขอให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยเพราะจะทำให้ความชัดเจนเกิดขึ้น อีกทั้งการออกมาเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย เนื่องจากพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่คนไทยร้อยละ 90 นับถือ และผมขอยืนยันว่า จะดำเนินการไปตามหลักฐานทั้งวัตถุพยาน และพยานบุคคลที่ปรากฎ”นายกฯ ระบุ
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ส่งสำนวนคดีทุจริตเงินทอนวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 คดี ซึ่งมีพระชั้นผู้ใหญ่เกี่ยวข้อง 5 รูป ว่า อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักไต่สวนภาครัฐ 1 ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งรัดการตรวจสอบแล้ว หากมีข้อมูลเพียงพอก็สามารถตั้งอนุกรรมการไต่สวนได้ โดยตนจะกำชับกับเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เร่งรัดดำเนินการ เพราะเกี่ยวข้องกับพระชั้นผู้ใหญ่
ด้าน นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงกรณีกองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) ส่งสำนวนคดีเงินทอนวัด ล็อต 3 ที่มีพระผู้ใหญ่ 5 รูป ถูกผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร้องทุกข์กล่าวโทษ มาให้ป.ป.ช. ว่า ก่อนหน้านี้ ปปป. ส่งสำนวนทุจริตเงินทอนวัดมายัง ป.ป.ช.แล้ว 34 เรื่อง ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนไปแล้ว 11 เรื่อง อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงอีก 23 เรื่อง
สำหรับเรื่องใหม่นี้ เพิ่งส่งเข้ามาถึงป.ป.ช. เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา และในช่วงเช้านี้ พบว่า เป็นเรื่องที่ ปปป. รับเรื่องกรณีที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ และเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจ ป.ป.ช. จึงส่งเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน ตามกฎหมายระบุ เข้าใจว่าครบกำหนดแล้ว จึงต้องรีบส่งมาพร้อมหลักฐานในเบื้องต้น
"คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ และผมในฐานะเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้สำนักไต่สวนภาครัฐ 1 (สตร.1) เข้าไปตรวจสอบ โดยตั้งเป็นคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริง หากพบว่ามีมูล จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนต่อไป จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทางตำรวจยังรวบรวมพยานหลักฐานไม่ได้มากนัก เพราะมีเวลาแค่ 30 วัน ก่อนที่จะส่งให้ ป.ป.ช. แต่ผมได้ให้นโยบายเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่า ให้เร่งรัดเรื่องนี้ " นายวรวิทย์ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเป็นพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม (มส.) ถือว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช. ใช่หรือไม่ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า พระไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามคำนิยามในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับปัจจุบัน แต่ถ้าแสวงหาข้อเท็จจริงแล้วพบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ถือว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช. ทั้งหมด ส่วนเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับเรื่องของป.ป.ช. และให้คณะทำงานไปแสวงหาข้อเท็จจริงก่อน ว่ามีมูลพอที่จะรับไว้ดำเนินการไต่สวนหรือไม่
วานนี้ (17 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึง กรณีปัญหาการทุจริตเงินทอนวัด ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) โดยดำเนินการตามหลักฐานต่างๆที่ปรากฎ แต่ทั้งนี้ ต้องนำข้อมูลส่งไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อทำการตรวจสอบต่อไป
“แต่ที่เป็นห่วงคือ พระสงฆ์กลุ่มต่างๆ ที่ต้องขอให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยเพราะจะทำให้ความชัดเจนเกิดขึ้น อีกทั้งการออกมาเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย เนื่องจากพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่คนไทยร้อยละ 90 นับถือ และผมขอยืนยันว่า จะดำเนินการไปตามหลักฐานทั้งวัตถุพยาน และพยานบุคคลที่ปรากฎ”นายกฯ ระบุ
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ส่งสำนวนคดีทุจริตเงินทอนวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 คดี ซึ่งมีพระชั้นผู้ใหญ่เกี่ยวข้อง 5 รูป ว่า อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักไต่สวนภาครัฐ 1 ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งรัดการตรวจสอบแล้ว หากมีข้อมูลเพียงพอก็สามารถตั้งอนุกรรมการไต่สวนได้ โดยตนจะกำชับกับเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เร่งรัดดำเนินการ เพราะเกี่ยวข้องกับพระชั้นผู้ใหญ่
ด้าน นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงกรณีกองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) ส่งสำนวนคดีเงินทอนวัด ล็อต 3 ที่มีพระผู้ใหญ่ 5 รูป ถูกผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร้องทุกข์กล่าวโทษ มาให้ป.ป.ช. ว่า ก่อนหน้านี้ ปปป. ส่งสำนวนทุจริตเงินทอนวัดมายัง ป.ป.ช.แล้ว 34 เรื่อง ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนไปแล้ว 11 เรื่อง อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงอีก 23 เรื่อง
สำหรับเรื่องใหม่นี้ เพิ่งส่งเข้ามาถึงป.ป.ช. เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา และในช่วงเช้านี้ พบว่า เป็นเรื่องที่ ปปป. รับเรื่องกรณีที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ และเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจ ป.ป.ช. จึงส่งเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน ตามกฎหมายระบุ เข้าใจว่าครบกำหนดแล้ว จึงต้องรีบส่งมาพร้อมหลักฐานในเบื้องต้น
"คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ และผมในฐานะเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้สำนักไต่สวนภาครัฐ 1 (สตร.1) เข้าไปตรวจสอบ โดยตั้งเป็นคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริง หากพบว่ามีมูล จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนต่อไป จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทางตำรวจยังรวบรวมพยานหลักฐานไม่ได้มากนัก เพราะมีเวลาแค่ 30 วัน ก่อนที่จะส่งให้ ป.ป.ช. แต่ผมได้ให้นโยบายเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่า ให้เร่งรัดเรื่องนี้ " นายวรวิทย์ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเป็นพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม (มส.) ถือว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช. ใช่หรือไม่ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า พระไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามคำนิยามในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับปัจจุบัน แต่ถ้าแสวงหาข้อเท็จจริงแล้วพบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ถือว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช. ทั้งหมด ส่วนเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับเรื่องของป.ป.ช. และให้คณะทำงานไปแสวงหาข้อเท็จจริงก่อน ว่ามีมูลพอที่จะรับไว้ดำเนินการไต่สวนหรือไม่