**หากบอกว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเรื่องของการสาดน้ำ แต่ขณะเดียวกันนับจากนี้ไป จะเป็นช่วงของการ"สาดน้ำลาย"กันแบบเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาเท่าไร เสียงโจมตีและแรงกดดันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วย
แม้ว่าเวลานี้ยังมีความเสี่ยงที่จะต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากเดิมที่เคยกำหนดเอาไว้ในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพราะต้องรอดูร่างกฎหมายหรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งก็ต้องรอตามกำหนดเวลาที่เหนือการควบคุม และแม้ว่าจะมีการเผื่อเวลาเอาไว้แล้ว และยังมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะยังเป็นไปตามกำหนดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์หลายอย่างที่เป็นองค์ประกอบหลักๆ มันก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ที่ทำให้การเลื่อนตั้งอาจต้องเลื่อนออกไปอีกก็เป็นไปได้เหมือนกัน
แน่นอนว่ากระแสโจมตีนั้นต้องมาจากฝั่งนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยเฉพาะจากสองพรรคใหญ่ คือเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นหลัก แม้ว่าในรายละเอียดจะมาแบบ"แยกส่วน"กันโจมตี แต่เป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งตรงไปที่รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นแหละ
**หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าสิ่งพวกเขาโจมตีมักจะเป็นเรื่องประเด็น"ปากท้อง" รวมไปถึงการดักคอในเรื่อง"เลื่อนเลือกตั้ง" ลักษณะเหมือนกับการกดดันทางอ้อม ไม่ให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก
เริ่มจากฝั่งเพื่อไทย แม้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันจะมีการตอบโต้และโหมโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ กรณีถูกพาดพิงรัฐบาลในยุค ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใช้งบประมาณไม่เป็นธรรมกับภาคใต้ ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อ "เจ้าของพรรค" ถูกโจมตี บรรดา"ลูกน้อง" ที่ไม่ต่างจากพนักงานบริษัทชินวัตร ก็ต้องดาหน้าออกมาปกป้องกันเป็นเรื่องปกติ แต่หากแยกเรื่องดังกล่าวออกไป พวกเขาก็ถล่มรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ
หากพิจารณาในภาพรวมทั้งสองพรรคต่างมุ่งโจมตีในเรื่องหลักนั่นคือ เรื่องปากท้อง หรือเรื่องเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว สิ่งที่พรรคการเมืองพยายามเน้นให้เห็นก็คือ ชี้ให้เห็นถึง"ความล้มเหลว" ของการแก้ปัญหาของรัฐบาล ตัวอย่างที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ให้เห็นก็คืองบประมาณที่รัฐบาลทุ่มลงไปนั้น"ได้ผลไม่คุ้มค่า" หรือชี้ให้เห็นว่าการพัฒนากระจุกตัวหรือได้ประโยชน์เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากเสียงวิจารณ์จากพรรคเพื่อไทย ที่ดาหน้าออกมาชี้ให้เห็นในแบบเดียวกัน เริ่มจาก พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีพลังงาน ในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่แม้เพิ่งถูก "โอ๊ค" พานทองแท้ ชินวัตร โพสข้อความด่าแบบไม่ให้ราคามาแล้ว ในกรณีออกมาหนุนลูกชายตัวเองที่วิจารณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในศึกชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคก็ตาม ถึงอย่างไรก็ยกเอาเรื่องเศรษฐกิจมาอัดรัฐบาล พูดสวนทางกับ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เพิ่งจะปลื้มกับการประเมินของธนาคารโลก ว่าไทยจะมีการเติบโตในปี 2561 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.1 ซึ่งถือว่าโตมากที่สุด ตั้งแต่ปี 55 ซึ่ง พิชัย ก็ดิสเครดิตสวนไปอีกทางว่า ธนาคารโลกกลับเตือนในทางตรงกันข้ามนั่นคือ ความล้มเหลวของไทย ผ่านทางธนาคารโลกและการส่งเสียงเตือนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
นอกจากการสร้างกระแสโจมตีในเรื่องการใช้อำนาจเกินขอบเขต จากมาตรา 44 ของหัวหน้าคสช. โดยมุ่งเน้นให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเลื่อนการเลือกตั้ง หรือเลวร้ายถึงขั้นไม่มีการเลือกตั้งกันเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดีหากประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมไปถึงแนวโน้มข้างหน้า เชื่อว่ากระแสโจมตีแบบนี้มันจะยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่านี่คือความพยายามดิสเครดิตรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้มากที่สุด อย่างน้อยก็ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส่วนจะได้ผลทำให้ฝ่ายตรงข้ามร่วง หรือรุ่ง อีกไม่นานก็จะเห็นกัน
**เพราะเวลานี้ทางฝ่ายรัฐบาล ก็เร่งโหมโปรเจกต์ด้านเศรษฐกิจรากหญ้ากันแบบเล็งเห็นผลกันในเวลาจำกัด ต่างเดิมพันสูงด้วยกันทั้งคู่ !!
แม้ว่าเวลานี้ยังมีความเสี่ยงที่จะต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากเดิมที่เคยกำหนดเอาไว้ในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพราะต้องรอดูร่างกฎหมายหรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งก็ต้องรอตามกำหนดเวลาที่เหนือการควบคุม และแม้ว่าจะมีการเผื่อเวลาเอาไว้แล้ว และยังมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะยังเป็นไปตามกำหนดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์หลายอย่างที่เป็นองค์ประกอบหลักๆ มันก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ที่ทำให้การเลื่อนตั้งอาจต้องเลื่อนออกไปอีกก็เป็นไปได้เหมือนกัน
แน่นอนว่ากระแสโจมตีนั้นต้องมาจากฝั่งนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยเฉพาะจากสองพรรคใหญ่ คือเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นหลัก แม้ว่าในรายละเอียดจะมาแบบ"แยกส่วน"กันโจมตี แต่เป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งตรงไปที่รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นแหละ
**หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าสิ่งพวกเขาโจมตีมักจะเป็นเรื่องประเด็น"ปากท้อง" รวมไปถึงการดักคอในเรื่อง"เลื่อนเลือกตั้ง" ลักษณะเหมือนกับการกดดันทางอ้อม ไม่ให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก
เริ่มจากฝั่งเพื่อไทย แม้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันจะมีการตอบโต้และโหมโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ กรณีถูกพาดพิงรัฐบาลในยุค ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใช้งบประมาณไม่เป็นธรรมกับภาคใต้ ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อ "เจ้าของพรรค" ถูกโจมตี บรรดา"ลูกน้อง" ที่ไม่ต่างจากพนักงานบริษัทชินวัตร ก็ต้องดาหน้าออกมาปกป้องกันเป็นเรื่องปกติ แต่หากแยกเรื่องดังกล่าวออกไป พวกเขาก็ถล่มรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ
หากพิจารณาในภาพรวมทั้งสองพรรคต่างมุ่งโจมตีในเรื่องหลักนั่นคือ เรื่องปากท้อง หรือเรื่องเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว สิ่งที่พรรคการเมืองพยายามเน้นให้เห็นก็คือ ชี้ให้เห็นถึง"ความล้มเหลว" ของการแก้ปัญหาของรัฐบาล ตัวอย่างที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ให้เห็นก็คืองบประมาณที่รัฐบาลทุ่มลงไปนั้น"ได้ผลไม่คุ้มค่า" หรือชี้ให้เห็นว่าการพัฒนากระจุกตัวหรือได้ประโยชน์เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากเสียงวิจารณ์จากพรรคเพื่อไทย ที่ดาหน้าออกมาชี้ให้เห็นในแบบเดียวกัน เริ่มจาก พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีพลังงาน ในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่แม้เพิ่งถูก "โอ๊ค" พานทองแท้ ชินวัตร โพสข้อความด่าแบบไม่ให้ราคามาแล้ว ในกรณีออกมาหนุนลูกชายตัวเองที่วิจารณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในศึกชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคก็ตาม ถึงอย่างไรก็ยกเอาเรื่องเศรษฐกิจมาอัดรัฐบาล พูดสวนทางกับ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เพิ่งจะปลื้มกับการประเมินของธนาคารโลก ว่าไทยจะมีการเติบโตในปี 2561 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.1 ซึ่งถือว่าโตมากที่สุด ตั้งแต่ปี 55 ซึ่ง พิชัย ก็ดิสเครดิตสวนไปอีกทางว่า ธนาคารโลกกลับเตือนในทางตรงกันข้ามนั่นคือ ความล้มเหลวของไทย ผ่านทางธนาคารโลกและการส่งเสียงเตือนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
นอกจากการสร้างกระแสโจมตีในเรื่องการใช้อำนาจเกินขอบเขต จากมาตรา 44 ของหัวหน้าคสช. โดยมุ่งเน้นให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเลื่อนการเลือกตั้ง หรือเลวร้ายถึงขั้นไม่มีการเลือกตั้งกันเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดีหากประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมไปถึงแนวโน้มข้างหน้า เชื่อว่ากระแสโจมตีแบบนี้มันจะยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่านี่คือความพยายามดิสเครดิตรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้มากที่สุด อย่างน้อยก็ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส่วนจะได้ผลทำให้ฝ่ายตรงข้ามร่วง หรือรุ่ง อีกไม่นานก็จะเห็นกัน
**เพราะเวลานี้ทางฝ่ายรัฐบาล ก็เร่งโหมโปรเจกต์ด้านเศรษฐกิจรากหญ้ากันแบบเล็งเห็นผลกันในเวลาจำกัด ต่างเดิมพันสูงด้วยกันทั้งคู่ !!