** ก็เป็นไปตามที่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก และเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวเอาไว้ว่า เวลานี้การเมืองยังอยู่ในกรอบ โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์ของบรรดาแกนนำพรรคการเมืองต่างๆ ก็เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ยังไม่พบเห็นการเคลื่อนไหวแบบเป็นขบวนการที่สร้างความปั่นป่วนอะไร ดังนั้น จึงยังไม่น่ากังวลอะไร
ซึ่งหากพิจารณากันให้ดี ก็เป็นแบบนั้น เพราะอย่างมากก็เป็นเพียงการที่สื่อไปจ่อปากคนนั้น คนนี้ให้พูด หรือแม้แต่การโพสต์ลงในสื่อโซเชียลฯ ส่วนตัวก็คอมเมนต์ วิจารณ์ไปมา ไม่มีอะไร บางทีออกจะน่ารำคาญด้วยซ้ำไป สรุปรวมก็ต้องถือว่า ยังไม่มีเนื้อหนังใดๆ เลย
ที่ผ่านมาอาจมีกระแสของละครดังอย่าง "บุพเพสันนิวาส" มาสร้างความสุข หันเหความสนใจจากการเมืองไปนานนับสัปดาห์ และล่าสุดก็ยังเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ หยุดยาวอีกอย่างน้อย 4-5 วัน เรื่องน่าเบื่อแบบนี้คงจมหายไปเลย กว่าจะกลับมาอีกครั้งก็ราวสัปดาห์หน้า ยืดเวลาได้อีกพักใหญ่
หากพิจารณากันในสถานการณ์รวมๆ ต่อเนื่องจากวันนี้ไปจนถึงวันหน้า หากมองกันตามความเป็นจริง นาทีนี้ก็ยังถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นต่ออยู่หลายขุม เพราะเมื่อพิจารณาจากทุกบรรยากาศ ถือว่ายังควบคุมทุกอย่างเอาไว้ได้อยู่หมัด เสียงวิจารณ์ที่เคยหยิบยกเอาเงื่อนไข "เผด็จการ" มาโจมตีก่อนหน้านี้ ก็เริ่มซาลง แม้ว่าอาจจะยังวัดไม่ได้ว่าที่เงียบเสียง เป็นเพราะพูดจนเบื่อ หรือฟังจนเบื่อ ก็ไม่อาจประเมินได้ เพียงแต่ว่าเวลานี้เสียงเริ่มซาลงไปแล้ว
อีกทั้งถ้าตัดเอาเรื่อง"นายกฯคนนอก"ออกไปก่อน แล้วลองหันไปพิจารณาจากตัวเลือกนายกรัฐมนตรี ที่เสนอตัวเข้ามาแบบไม่เป็นทางการก่อน อันดับแรกก็เห็นหน้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลอยมาก่อนใคร
**ขณะที่พรรคเพื่อไทย เวลานี้ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร มีแต่ความเคลื่อนไหวถือหางคนโน้น คนนี้ ว่าจะมาเป็นหัวหน้าพรรค ไม่ว่าจะเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่สุดท้ายก็ต้องรอให้ "เจ้าของพรรค" อย่าง ทักษิณ ชินวัตร และคนในครอบครัวของเขา เคาะออกมาเสียก่อน
แต่ถามว่าถ้าเป็นสามคนที่ว่านี้จริง มันจะสร้างความหวังให้กับคนไทยทั้งประเทศได้จริงหรือไม่ หรือเพียงแค่ความหวังของ ทักษิณ เพียงคนเดียวก็พอแล้ว ที่เหลือแล้วแต่จะชี้นิ้ว งั้นหรือ
หรือแม้แต่ หากเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มันจะยอมรับกันได้แค่ไหน และคนไทยจะยอมรับแนวทาง "เสรีนิยม" อย่างที่พวกเขาพยายาชูขึ้นมาได้หรือไม่
**หากพิจารณาจากความเป็นจริงในเวลานี้ ก็ยังถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ยังเป็นต่อ ก็อย่างที่มีการยกตัวอย่างจากผลสำรวจหรือ "โพล" ทุกสำนักออกมาตรงกันว่า เสียงสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ยังมีเปอร์เซ็นต์"ทิ้งขาด" คนอื่นๆ ที่โผล่หน้าออกมาทั้งหมดในเวลานี้ ซึ่งมันก็จริงแบบนั้นเสียด้วย
ยิ่งเมื่อมีหลายเหตุการณ์มาเบี่ยงเบนเรื่องการเมืองให้หันเหไปทางอื่น อีกทั้งที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยังควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แบบอยู่หมัด และที่สำคัญ "ยังไม่เห็นร่องรอยความแตกแยก" ภายในออกมาให้เห็น ยังเป็น"ทีมเดียวกัน" อย่างเหนียวแน่น
**และยิ่งตามรูปการณ์ล่าสุดที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวตั้งพรรคสนับสนุนคสช. ที่อาจเรียกว่าเป็น "พรรคสีเขียว" ของจริง กำลังรวบรวมเอากลุ่มก๊วนการเมืองเข้ามาโดยใช้แนวทางในแบบเดียวกับที่ ทักษิณ ชินวัตร ใช้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยในอดีต แต่สำหรับการเมืองไทย มันก็ยังซ้ำรอยได้และใช้ได้ผลอยู่ดี แม้ว่าจะต้องมองกันยาวอีกสักพักหนึ่งถึงจะเห็นภาพชัดเจนกว่านี้ แต่เวลานี้ในวงการก็ถือว่าเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
ซึ่งหากจะให้เดาทางเผื่อเอาไว้ ก็เป็นไปได้สูงเหมือนกันว่าหากเส้นทาง"นายกฯคนนอก" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มตีบตัน ก็คงต้องหันมาทางพรรคการเมืองที่เตรียมเอาไว้รองรับในแบบ "เงื่อนไขคนใน" ให้พรรคเสนอชื่อ โดยตัวเองยอมเป็นที่ปรึกษาพรรค หากเข้ามาแบบนี้ก็น่าจะสง่างาม และลดเงื่อนไขโจมตีจากพวกโลกสวยลงไปได้อักโขทีเดียว
**แม้ว่านาทีนี้ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันชัดเจน แต่เอาเป็นว่าสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเลือกเดินทางไหน ก็ยังเป็นต่ออยู่หลายขุม ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางนายกฯคนนอก หรือ"คนใน" เพราะหันไปทางอื่น โดยเฉพาะเมื่อเห็นหน้าเห็นตากันแล้ว พูดก็พูดเถอะ มันน่าหนักใจจริงๆ !!
ซึ่งหากพิจารณากันให้ดี ก็เป็นแบบนั้น เพราะอย่างมากก็เป็นเพียงการที่สื่อไปจ่อปากคนนั้น คนนี้ให้พูด หรือแม้แต่การโพสต์ลงในสื่อโซเชียลฯ ส่วนตัวก็คอมเมนต์ วิจารณ์ไปมา ไม่มีอะไร บางทีออกจะน่ารำคาญด้วยซ้ำไป สรุปรวมก็ต้องถือว่า ยังไม่มีเนื้อหนังใดๆ เลย
ที่ผ่านมาอาจมีกระแสของละครดังอย่าง "บุพเพสันนิวาส" มาสร้างความสุข หันเหความสนใจจากการเมืองไปนานนับสัปดาห์ และล่าสุดก็ยังเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ หยุดยาวอีกอย่างน้อย 4-5 วัน เรื่องน่าเบื่อแบบนี้คงจมหายไปเลย กว่าจะกลับมาอีกครั้งก็ราวสัปดาห์หน้า ยืดเวลาได้อีกพักใหญ่
หากพิจารณากันในสถานการณ์รวมๆ ต่อเนื่องจากวันนี้ไปจนถึงวันหน้า หากมองกันตามความเป็นจริง นาทีนี้ก็ยังถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นต่ออยู่หลายขุม เพราะเมื่อพิจารณาจากทุกบรรยากาศ ถือว่ายังควบคุมทุกอย่างเอาไว้ได้อยู่หมัด เสียงวิจารณ์ที่เคยหยิบยกเอาเงื่อนไข "เผด็จการ" มาโจมตีก่อนหน้านี้ ก็เริ่มซาลง แม้ว่าอาจจะยังวัดไม่ได้ว่าที่เงียบเสียง เป็นเพราะพูดจนเบื่อ หรือฟังจนเบื่อ ก็ไม่อาจประเมินได้ เพียงแต่ว่าเวลานี้เสียงเริ่มซาลงไปแล้ว
อีกทั้งถ้าตัดเอาเรื่อง"นายกฯคนนอก"ออกไปก่อน แล้วลองหันไปพิจารณาจากตัวเลือกนายกรัฐมนตรี ที่เสนอตัวเข้ามาแบบไม่เป็นทางการก่อน อันดับแรกก็เห็นหน้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลอยมาก่อนใคร
**ขณะที่พรรคเพื่อไทย เวลานี้ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร มีแต่ความเคลื่อนไหวถือหางคนโน้น คนนี้ ว่าจะมาเป็นหัวหน้าพรรค ไม่ว่าจะเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่สุดท้ายก็ต้องรอให้ "เจ้าของพรรค" อย่าง ทักษิณ ชินวัตร และคนในครอบครัวของเขา เคาะออกมาเสียก่อน
แต่ถามว่าถ้าเป็นสามคนที่ว่านี้จริง มันจะสร้างความหวังให้กับคนไทยทั้งประเทศได้จริงหรือไม่ หรือเพียงแค่ความหวังของ ทักษิณ เพียงคนเดียวก็พอแล้ว ที่เหลือแล้วแต่จะชี้นิ้ว งั้นหรือ
หรือแม้แต่ หากเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มันจะยอมรับกันได้แค่ไหน และคนไทยจะยอมรับแนวทาง "เสรีนิยม" อย่างที่พวกเขาพยายาชูขึ้นมาได้หรือไม่
**หากพิจารณาจากความเป็นจริงในเวลานี้ ก็ยังถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ยังเป็นต่อ ก็อย่างที่มีการยกตัวอย่างจากผลสำรวจหรือ "โพล" ทุกสำนักออกมาตรงกันว่า เสียงสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ยังมีเปอร์เซ็นต์"ทิ้งขาด" คนอื่นๆ ที่โผล่หน้าออกมาทั้งหมดในเวลานี้ ซึ่งมันก็จริงแบบนั้นเสียด้วย
ยิ่งเมื่อมีหลายเหตุการณ์มาเบี่ยงเบนเรื่องการเมืองให้หันเหไปทางอื่น อีกทั้งที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยังควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แบบอยู่หมัด และที่สำคัญ "ยังไม่เห็นร่องรอยความแตกแยก" ภายในออกมาให้เห็น ยังเป็น"ทีมเดียวกัน" อย่างเหนียวแน่น
**และยิ่งตามรูปการณ์ล่าสุดที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวตั้งพรรคสนับสนุนคสช. ที่อาจเรียกว่าเป็น "พรรคสีเขียว" ของจริง กำลังรวบรวมเอากลุ่มก๊วนการเมืองเข้ามาโดยใช้แนวทางในแบบเดียวกับที่ ทักษิณ ชินวัตร ใช้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยในอดีต แต่สำหรับการเมืองไทย มันก็ยังซ้ำรอยได้และใช้ได้ผลอยู่ดี แม้ว่าจะต้องมองกันยาวอีกสักพักหนึ่งถึงจะเห็นภาพชัดเจนกว่านี้ แต่เวลานี้ในวงการก็ถือว่าเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
ซึ่งหากจะให้เดาทางเผื่อเอาไว้ ก็เป็นไปได้สูงเหมือนกันว่าหากเส้นทาง"นายกฯคนนอก" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มตีบตัน ก็คงต้องหันมาทางพรรคการเมืองที่เตรียมเอาไว้รองรับในแบบ "เงื่อนไขคนใน" ให้พรรคเสนอชื่อ โดยตัวเองยอมเป็นที่ปรึกษาพรรค หากเข้ามาแบบนี้ก็น่าจะสง่างาม และลดเงื่อนไขโจมตีจากพวกโลกสวยลงไปได้อักโขทีเดียว
**แม้ว่านาทีนี้ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันชัดเจน แต่เอาเป็นว่าสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเลือกเดินทางไหน ก็ยังเป็นต่ออยู่หลายขุม ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางนายกฯคนนอก หรือ"คนใน" เพราะหันไปทางอื่น โดยเฉพาะเมื่อเห็นหน้าเห็นตากันแล้ว พูดก็พูดเถอะ มันน่าหนักใจจริงๆ !!