ผู้จัดการรายวัน360- "ศิริ " รมว.พลังงานตบเท้าร่วมลงนามMOUกับเครือข่ายคนเทพาฯ หนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อยุติการชุมนุมลากยาว วางเงื่อนไข 5 ข้อร่วมกันโดยเฉพาะให้ยอมรับผลการศึกษาSEA และหากผลศึกษาไม่เห็นชอบก็ให้กฟผ.หาที่อื่นเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป จับตาคณะกรรมการ SEA ประชุมนัดแรกสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(28 มี.ค.) เวลา 13.30 น. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)สำนักงานใหญ่ บางกรวย เพื่อลงนาม(MOU) กับเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ปักหลักการชุมนุมมาตั้งแต่ 5 มี.ค. โดย MOUดังกล่าวมีสาระสำคัญ 5 ข้อดังนี้
1. ฝ่ายสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าเทพา ยินดีให้มีการจัดทำการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการที่เป็นกลางและมีกระบวนการทำงานตามหลักสากลที่เป็นกลาง
2.การทำ SEA จะต้องให้ความสำคัญไปที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเนื่องจากถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP) มาตั้งแต่ต้นตามนโยบายของรัฐ
3.ให้กระทรวงพลังงานนำข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ดำเนินการแล้วมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำSEA
4.หากผลการศึกษา SEA ได้ข้อสรุปให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาได้ ให้กฟผ.นำรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่มีอยู่แล้วยื่นต่อสผ.และดำเนินการศึกษา EHAI ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
5. หากผลการศึกษา SEA ไม่เห็นชอบกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา ให้กฟผ.พิจารณาพื้นที่อื่นที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน กล่าวกับเครือข่ายคนเทพาฯที่ปักหลักชุมนุมหน้ากฟผ. ว่า นายกรัฐมนตรีท่านมีความเป็นห่วงด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของทุกท่านจึงฝากบอกให้กฟผ.ดูแลทุกคนและเข้าใจว่าทุกคนรักท้องถิ่นและประเทศชาติ เราเองก็จะทำให้ดีที่สุด ความเห็นต่างกันได้แต่ต้องไม่แตกแยก ประเทศไทยจะต้องเดินหน้าไปด้วยกัน กระทรวงพลังงานและรัฐบาลก็เข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาภาคใต้ให้ทัดเทียมไม่ใช่แค่กับไทยแต่ต้องทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว
อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าตนและทีมงานจะลงไป 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจะนำเอากิจการด้านพลังงานมาสร้างเศรษฐกิจ และความมั่นคงให้กับประเทศ โดยเฉพาะชุมชนที่จะต้องได้รับประโยชน์
นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ หรือ SEA กล่าวว่า ขณะนี้รายชื่อกรรมการ SEA ได้มีการเสนอชื่อปรับเปลี่ยนบางท่านเพื่อให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายเพื่อเสนอรมว.พลังงานเห็นชอบหากไม่มีปัญหาใดๆ ก็คาดว่าจะประชุมได้ในสัปดาห์หน้า
นายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ผู้ชุมนุมรู้สึกสบายใจเมื่อทราบว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะยังคงอยู่ในแผน PDP แต่คงต้องรอผลการศึกษา SEA ภายใน 1 ปีก่อนว่าจะเป็นอย่างไรยังไม่อยากให้สมมติว่าจะเกิดไม่ได้แต่หากที่สุดผลศึกษาไม่สามารถเดินหน้าได้จริงก็ต้องดูเหตุและผล อย่างไรก็ตามรมว.พลังงานเองก็ยืนยันว่าพร้อมจะดูแลชาวเทพาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(28 มี.ค.) เวลา 13.30 น. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)สำนักงานใหญ่ บางกรวย เพื่อลงนาม(MOU) กับเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ปักหลักการชุมนุมมาตั้งแต่ 5 มี.ค. โดย MOUดังกล่าวมีสาระสำคัญ 5 ข้อดังนี้
1. ฝ่ายสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าเทพา ยินดีให้มีการจัดทำการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการที่เป็นกลางและมีกระบวนการทำงานตามหลักสากลที่เป็นกลาง
2.การทำ SEA จะต้องให้ความสำคัญไปที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเนื่องจากถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP) มาตั้งแต่ต้นตามนโยบายของรัฐ
3.ให้กระทรวงพลังงานนำข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ดำเนินการแล้วมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำSEA
4.หากผลการศึกษา SEA ได้ข้อสรุปให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาได้ ให้กฟผ.นำรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่มีอยู่แล้วยื่นต่อสผ.และดำเนินการศึกษา EHAI ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
5. หากผลการศึกษา SEA ไม่เห็นชอบกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา ให้กฟผ.พิจารณาพื้นที่อื่นที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน กล่าวกับเครือข่ายคนเทพาฯที่ปักหลักชุมนุมหน้ากฟผ. ว่า นายกรัฐมนตรีท่านมีความเป็นห่วงด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของทุกท่านจึงฝากบอกให้กฟผ.ดูแลทุกคนและเข้าใจว่าทุกคนรักท้องถิ่นและประเทศชาติ เราเองก็จะทำให้ดีที่สุด ความเห็นต่างกันได้แต่ต้องไม่แตกแยก ประเทศไทยจะต้องเดินหน้าไปด้วยกัน กระทรวงพลังงานและรัฐบาลก็เข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาภาคใต้ให้ทัดเทียมไม่ใช่แค่กับไทยแต่ต้องทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว
อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าตนและทีมงานจะลงไป 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจะนำเอากิจการด้านพลังงานมาสร้างเศรษฐกิจ และความมั่นคงให้กับประเทศ โดยเฉพาะชุมชนที่จะต้องได้รับประโยชน์
นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ หรือ SEA กล่าวว่า ขณะนี้รายชื่อกรรมการ SEA ได้มีการเสนอชื่อปรับเปลี่ยนบางท่านเพื่อให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายเพื่อเสนอรมว.พลังงานเห็นชอบหากไม่มีปัญหาใดๆ ก็คาดว่าจะประชุมได้ในสัปดาห์หน้า
นายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ผู้ชุมนุมรู้สึกสบายใจเมื่อทราบว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะยังคงอยู่ในแผน PDP แต่คงต้องรอผลการศึกษา SEA ภายใน 1 ปีก่อนว่าจะเป็นอย่างไรยังไม่อยากให้สมมติว่าจะเกิดไม่ได้แต่หากที่สุดผลศึกษาไม่สามารถเดินหน้าได้จริงก็ต้องดูเหตุและผล อย่างไรก็ตามรมว.พลังงานเองก็ยืนยันว่าพร้อมจะดูแลชาวเทพาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น