ผู้จัดการรายวัน360- "บิ๊กตู่"ชี้ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กล้าฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. เพราะมีวัตถุประสงค์อื่นด้วย ขู่จัดการพรรคการเมืองที่หนุนหลัง อุบแผนนั่งนายกฯ จะมาแบบให้พรรคการเมืองเสนอชื่อ หรือรอเป็นนายกฯคนนอก ถ้าหาคนอื่นมาเป็นนายกฯไม่ได้ แล้วค่อยมาคุยกัน ยังตอบไม่ได้ว่าเลือกตั้งจะโมฆะหรือไม่ ยันไม่มีทฤษฎีสมคบคิดยื้อเลือกตั้ง ขณะที่การยื่นตีความ ร่าง พ.ร.ป. ส.ส. มีเวลาถึง 12 เม.ย. ย้ำส่งศาลรธน.หรือไม่ ต้องไม่กระทบ โรดแมป
วานนี้ (27มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เริ่มเคลื่อนไหว ฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ว่า ตนไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรมากมาย เพราะรู้ว่าเป็นคนกลุ่มเดิม และมีวัตถุประสงค์อย่างอื่นด้วย อาจมีการสนับสนุนมากจากภายนอกบ้าง อะไรบ้าง
" ก็ต้องตรวจสอบว่าเชื่อมโยงพรรคการเมืองใด หรือไม่ ในการละเมิดกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งจะมีผลในเรื่องพรรคการเมืองด้วยในอนาคต ฉะนั้นจะเตรียมการตรวจสอบทั้งทางลึก ไม่ได้ไปปิดกั้น หากอยากจะเลือกตั้งเราก็จะให้มีการเลือกตั้ง ระยะเวลาก็ออกมาหมดแล้ว กฎหมายก็ออกมาแล้ว แล้วจะเร่งเลือกตั้งได้อย่างไร แสดงว่ามีจุดประสงค์อย่างอื่นหรือเปล่า ข้อสำคัญเท่าที่ทราบตอนนี้ประชาชนอื่นๆที่เขาเดือดร้อน กำลังจะร้องทุกข์กล่าวโทษมา ผมไม่อยากให้เด็กเหล่านี้ต้องไปติดคดีความ แล้วกลับมาโทษรัฐบาลอีก สิ่งอันตรายมันจะเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อมีคนมาประท้วง แต่คนไม่เห็นด้วยก็มีอยู่ ฉะนั้น ขอให้เลิกเถอะ เพราะการจัดม็อบฝ่าฝืนคำสั่ง เมื่อมีคำสั่งขนาดนี้ยังฝ่าฝืนกัน วันหน้าจะเกิดอะไรขึ้นผมไม่แน่ใจ ไม่ใช่ผมมาขู่ หลายคนบอกว่าผมมาพูดในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่มันก็เริ่มจากตรงนี้ทุกที ทุกครั้งไป"
** ยังอุบแผนนั่งนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง ท่าทีของตนเองในการยินยอมให้พรรคการเมือง เสนอชื่อเป็นนายกฯ หรือเป็นนายกฯคนนอกหลังเลือกตั้ง ว่า ยังไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ หากมีพรรคการเมืองเสนอมา ก็รับได้เพียงพรรคเดียว ก็ยังไม่รู้ว่าจะดูพรรคไหน เวลายังมี ต้องค่อยๆดูนโยบายพรรค จะรับหรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกัน และก็ยังไม่รู้จะอยู่ตรงไหนเหมือนกัน
"จริงๆ แล้วผมอยากให้ไปเสนอชื่อคนอื่นดูก่อน ไม่มี หรืออย่างไร แล้วค่อยมาพูดกับผม ไม่ใช่เอาผมเป็นตัวตั้งผมไม่ใช่คนเก่ง ดีเลิศประเสริฐศรีคนเดียวเมื่อไหร่"
เมื่อถามว่า ในขณะนี้สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า การเลือกตั้งจะไม่โมฆะ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้า พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ออกมาชัดเจน ไม่มีปัญหา การเลือกตั้งก็ไม่โมฆะ ซึ่งตนกำลังทำไม่ให้เป็นโมฆะอยู่
เมื่อถามอีกว่า เมื่อไร จะชัดเจนถึงการตอบรับพรรคการเมืองที่จะเสนอชื่อเป็นนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไปหาคนอื่นก่อน ถ้าไม่ได้แล้วค่อยมาหาตน
เมื่อถามว่า ตัวนายกฯควรจะชัดเจนเรื่องนี้ ก่อนพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งประกาศใช้ หรือไม่ เรื่องจะรับเสนอชื่อเป็นนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะคนอื่นยังมีอยู่ไปหาก่อน เมื่อถามว่า ทำไมโรดแมปเลือกตั้ง ถึงดูแกว่งไป แกว่งมา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่ "แกว่งเพราะพวกสื่อแกว่งไปเอง" เมื่อถามย้ำว่า ตกลงจะเลือกเป็นนายกฯ คนนอก ที่ ส.ส. หรือ ส.ว. เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ว่าจะเป็นคนนอกคนใน ยังไม่รู้เลย
***"บิ๊กตู่" ยันไม่มีทฤษฎีสมคบคิดยื้อลต.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ถึงการจะส่ง ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ศาลรธน. ตีความหรือไม่ ว่า วันนี้รัฐบาลได้รับร่าง พ.ร.ป.ฉบับดังกล่าวมาแล้ว และเรายังมีเวลาในการพิจารณา ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อถวายในการลงพระปรมาภิไธย ซึ่งมีเวลาจนถึงวันที่ 12 เม.ย.นี้ วันนี้ ก็ได้สั่งการให้ฝ่ายกม. ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ ว่าควรจะต้องมีการยื่นตีความหรือไม่ อย่างไรก็ตาม กำหนดการเลือกตั้ง ก็ยังคงอยู่ภายใต้โรดแมปที่วางไว้
เมื่อถามว่า สรุปแล้วจะส่ง ร่างพ.ร.ป.ฯ ไปตีความหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่เสร็จ และยังไม่ได้พูดกันว่าจะยื่นหรือไม่ยื่น กำลังพิจารณาร่วมกันอยู่ ยังมีเวลา แต่ตนได้บอกไปแล้วว่าไม่ว่าจะยื่นตีความหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของโรดแมปด้วย
"เดี๋ยวก็จะหาว่าผมไปถ่วงเวลา เป็นทฤษฎีสมคบคิด มันไม่ใช่ พวกคุณไปคิดกันเองนั้นแหละ พวกคุณสมคบคิดกันเอง ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วรัฐบาลจะทำอะไรได้ รัฐบาลก็ต้องเดินหน้าไปตามกรอบเวลาที่กำหนด และตามกฎหมายที่มีอยู่ ผมไม่ได้ต้องการที่จะไปลากยาวอะไรทั้งสิ้น ส่วนเมื่อมีการเลือกตั้ง แล้วจะได้อย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องของผมแล้ว ถ้าท่านอยากเลือกตั้ง ก็เลือกตั้งกันเข้ามา จะเลือกได้คนดีหรือเปล่า แล้วอย่ามาโทษรัฐบาลนี้ว่า เลือกตั้งแล้วก็ได้คนไม่ดีเข้ามาอีก เพราะผมไม่ได้เป็นคนเลือกตั้งรัฐบาลกับเขา ขอร้องสื่ออย่าเขียนอะไรที่มันพาดไป พาดมา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**ยังไม่ตัดสินใจตีความกม.ลูกส.ส.
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม กล่าวถึงแนวโน้มการยื่นศาลรธน. ตีความ ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่านายกฯ กำลังพิจารณาอยู่ ว่าจะยื่นเอง หรือให้สนช.เป็นผู้ยื่น ซึ่งถ้ายื่นต้องไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง ก.พ.62
เมื่อถามว่าหากศาลรธน.ให้แก้ไข ก็อาจกระทบกับวันเลือกตั้ง ตามที่นักกฎหมายหลายฝ่ายคาดไว้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ต้องตกไป ต้องทำใหม่ แต่ตอนนี้ เรายังไม่รู้ว่าจะยื่นตีความหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องมีการหารือกับหลายภาคส่วน
เมื่อถามว่า ขณะนี้เหมือนมีประเด็นที่อาจเข้าข่ายว่า ขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. มองว่าจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องยื่นตีความก่อนการเลือกตั้งเพราะถ้าถึงเวลานั้น อาจส่งผลกระทบกับการเลือกตั้งได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า กำลังให้นักกฎหมายพิจารณาให้ชัดเจนอยู่ว่า ที่สนช.ทำมา ขัดกับรธน. หรือไม่ เมื่อถามว่า กลัวเรื่องนี้จะเป็นระเบิดเวลาในอนาคตหรือไม่ ถึงต้องพิจารณา เพื่อถอดสลักก่อน พล.อ.ประวิตร กล่าว เพียงว่า“ใช่”
** สนช.โยนนายกฯยื่นตีความเอง
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมคสช.ว่า นายกฯได้สอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ส่งตีความ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. แต่ส่ง ร่างพ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. โดยตนชี้แจงว่า นายกฯ ไม่จำเป็นต้องส่ง ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. กลับมาที่สนช. หากต้องการส่งตีความ เพราะนายกฯ สามารถส่งเองได้อยู่แล้ว และได้อธิบายว่า นายกฯ มีเวลา 5 วัน และให้นายกฯรอ บวกอีก 20 วัน ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ รวมเป็น 25 วัน ดังนั้น ตราบใดที่นายกฯ ยังไม่ทูลเกล้าฯ ก็มีสิทธิ์ยื่นศาลรธน.
ด้านนายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าเลยขั้นตอนของสนช.ไปแล้ว เพราะได้ส่งร่างฯให้นายกฯไปแล้ว ดังนั้นหากนายกฯ จะส่งกลับมาได้ จะต้องมีเหตุว่าเป็นประเด็นอะไร จึงส่งกลับมา ทั้งนี้ โดยปกติแล้วหากจะส่งร่างฯ ให้ศาลรธน.ตีความ จะต้องส่งก่อนที่จะยื่นให้นายกฯ
** นายกฯ-สนช.ใครยื่นตีความก็ได้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ชี้แจงถึงกรอบเวลาตามรธน. มาตรา 145 และ 148 เพื่อยื่นให้ศาลรธน.ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ว่า รธน.กำหนดว่า เมื่อร่างกม.ลูกไปถึงมือนายกฯ อย่างน้อยให้รอเวลาไว้ 5 วันก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้นายกฯ หรือสมาชิกสนช. เข้าชื่อเพื่อให้นายกฯ ส่งศาลรธน. ตีความร่างกม.ได้ ส่วนระยะเวลา 20 วันหลังจากนั้น เป็นกรอบเวลาที่ให้นายกฯ นำร่างกม.ขึ้นทูลเกล้าฯได้ แต่ตราบใดที่นายกฯ ยังไม่นำร่างกม.ขึ้นทูลเกล้าฯ นายกฯ หรือ สมาชิกสนช.ที่เข้าชื่อกัน มีสิทธิ์ยื่นร่างกม. ให้ศาลรธน.ตีความได้ แม้จะพ้นช่วงเวลา 5 วันแรก แล้วก็ตาม ไม่ถือว่าขัดรธน. แต่ก็ไม่ทราบว่า ช่วงเวลา 5 วันแรกนี้ เริ่มนับตั้งแต่วันใด เพราะยังไม่ได้มีการพูดคุยกับนายกฯ
หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่งร่างกม. ไปตีความจะกระทบต่อโรดแมปเลือกตั้งหรือไม่นั้น ก็อาจจะไม่กระทบก็ได้ หากไปขอให้ศาลรธน.วินิจฉัยเร็วขึ้น และหากกกต. มีความพร้อมจัดการเลือกตั้ง ก่อนครบกรอบเวลา 150 วัน นับแต่ร่างกม.ลูก ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ บังคับใช้ อาจไม่กระทบต่อโรดแมปก็ได้ ซึ่งการยื่นให้ศาลรธน. วินิจฉัยหรือไม่ แล้วจะส่งผลกระทบต่อโรดแมปหรือไม่ ก็ต้องไปถามนายกฯ
นายมีชัย ยังกล่าวถึงกรณี หัวหน้าคสช. ใช้ ม.44 ปลดนายสมชัย ศรีสุทธิยากร จากตำแหน่ง กกต.ว่า ตนเองและ กรธ.ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ปรึกษากม. ตามที่นายกฯระบุว่าเป็นฝ่ายที่ขอให้ปลด นายสมชัย
*** "สมชัย" เตือนรัฐดูกรอบเวลาตีความให้ชัด
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. กล่าวกรณีนายกฯ สั่งให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าควรจะยื่นตีความกม.ลูกส.ส.หรือไม่ ว่าเรื่องนี้ มีจุดที่ต้องต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ
1. เนื้อหาของร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว ควรจะมีการยื่นตีความหรือไม่ และเรื่องดังกล่าว จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ส่วนตัวมองว่า ประเด็นที่มีการตัดสิทธิคนที่ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่สามารถเป็นขรก.การเมืองได้นั้น เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ถึงจะมีการแต่งตั้งขรก.การเมืองขึ้น หากผู้ที่เห็นว่า ตัวเองได้รับความเสียหาย ก็มีช่องทางในการฟ้องร้องขอความเป็นธรรมอยู่แล้ว
2. เรื่องกรอบเวลาตามรธน. ที่จะต้องพิจารณาว่า ขณะนี้ยังอยู่ในชั้นที่สามารถทำการยื่นศาลรธน.ตีความได้หรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาตามรธน. มาตรา 145 ที่ระบุว่า นายกฯ มีเวลารอไว้ 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างกม. ถ้าไม่มีกรณีต้องดําเนินการตาม มาตรา 148 ซึ่งก็คือ การทักท้วงจากสนช. หรือนายกฯเห็นว่าร่างกม.ขัดรธน. หากไม่มีการดำเนินการตาม มาตรา 148 ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว นายกฯ จะต้องนํากฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20วัน ดังนั้น กรอบเวลาการยื่นให้ศาลรธน.ตีความ จึงไม่ใช่ 5+20 วัน เพราะหากเป็นอย่างนั้น ใน กม. คงจะเขียนกรอบเวลาให้ สนช.ทักท้วง หรือนายกฯ ยื่นตีความภายใน 25 วัน ตั้งแต่แรกแล้ว
" ตอนนี้น่าจะเกิน 5 วัน ตามที่รธน.กำหนดแล้ว หากนายกฯ ได้รับร่างกฎหมายจาก สนช.วันที่ 20 มี.ค. อยากให้อ่านรธน. มาตรา 145 และ 148 ให้ดี ว่าอยู่ในกรอบ 5 วัน ที่รธน.กำหนดหรือไม่ เพราะหากมีการยื่นตีความแล้ว ผู้ที่ยื่นตีความจะกระทำขัดรธน." นายสมชัย กล่าว
วานนี้ (27มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เริ่มเคลื่อนไหว ฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ว่า ตนไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรมากมาย เพราะรู้ว่าเป็นคนกลุ่มเดิม และมีวัตถุประสงค์อย่างอื่นด้วย อาจมีการสนับสนุนมากจากภายนอกบ้าง อะไรบ้าง
" ก็ต้องตรวจสอบว่าเชื่อมโยงพรรคการเมืองใด หรือไม่ ในการละเมิดกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งจะมีผลในเรื่องพรรคการเมืองด้วยในอนาคต ฉะนั้นจะเตรียมการตรวจสอบทั้งทางลึก ไม่ได้ไปปิดกั้น หากอยากจะเลือกตั้งเราก็จะให้มีการเลือกตั้ง ระยะเวลาก็ออกมาหมดแล้ว กฎหมายก็ออกมาแล้ว แล้วจะเร่งเลือกตั้งได้อย่างไร แสดงว่ามีจุดประสงค์อย่างอื่นหรือเปล่า ข้อสำคัญเท่าที่ทราบตอนนี้ประชาชนอื่นๆที่เขาเดือดร้อน กำลังจะร้องทุกข์กล่าวโทษมา ผมไม่อยากให้เด็กเหล่านี้ต้องไปติดคดีความ แล้วกลับมาโทษรัฐบาลอีก สิ่งอันตรายมันจะเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อมีคนมาประท้วง แต่คนไม่เห็นด้วยก็มีอยู่ ฉะนั้น ขอให้เลิกเถอะ เพราะการจัดม็อบฝ่าฝืนคำสั่ง เมื่อมีคำสั่งขนาดนี้ยังฝ่าฝืนกัน วันหน้าจะเกิดอะไรขึ้นผมไม่แน่ใจ ไม่ใช่ผมมาขู่ หลายคนบอกว่าผมมาพูดในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่มันก็เริ่มจากตรงนี้ทุกที ทุกครั้งไป"
** ยังอุบแผนนั่งนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง ท่าทีของตนเองในการยินยอมให้พรรคการเมือง เสนอชื่อเป็นนายกฯ หรือเป็นนายกฯคนนอกหลังเลือกตั้ง ว่า ยังไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ หากมีพรรคการเมืองเสนอมา ก็รับได้เพียงพรรคเดียว ก็ยังไม่รู้ว่าจะดูพรรคไหน เวลายังมี ต้องค่อยๆดูนโยบายพรรค จะรับหรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกัน และก็ยังไม่รู้จะอยู่ตรงไหนเหมือนกัน
"จริงๆ แล้วผมอยากให้ไปเสนอชื่อคนอื่นดูก่อน ไม่มี หรืออย่างไร แล้วค่อยมาพูดกับผม ไม่ใช่เอาผมเป็นตัวตั้งผมไม่ใช่คนเก่ง ดีเลิศประเสริฐศรีคนเดียวเมื่อไหร่"
เมื่อถามว่า ในขณะนี้สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า การเลือกตั้งจะไม่โมฆะ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้า พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ออกมาชัดเจน ไม่มีปัญหา การเลือกตั้งก็ไม่โมฆะ ซึ่งตนกำลังทำไม่ให้เป็นโมฆะอยู่
เมื่อถามอีกว่า เมื่อไร จะชัดเจนถึงการตอบรับพรรคการเมืองที่จะเสนอชื่อเป็นนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไปหาคนอื่นก่อน ถ้าไม่ได้แล้วค่อยมาหาตน
เมื่อถามว่า ตัวนายกฯควรจะชัดเจนเรื่องนี้ ก่อนพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งประกาศใช้ หรือไม่ เรื่องจะรับเสนอชื่อเป็นนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะคนอื่นยังมีอยู่ไปหาก่อน เมื่อถามว่า ทำไมโรดแมปเลือกตั้ง ถึงดูแกว่งไป แกว่งมา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่ "แกว่งเพราะพวกสื่อแกว่งไปเอง" เมื่อถามย้ำว่า ตกลงจะเลือกเป็นนายกฯ คนนอก ที่ ส.ส. หรือ ส.ว. เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ว่าจะเป็นคนนอกคนใน ยังไม่รู้เลย
***"บิ๊กตู่" ยันไม่มีทฤษฎีสมคบคิดยื้อลต.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ถึงการจะส่ง ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ศาลรธน. ตีความหรือไม่ ว่า วันนี้รัฐบาลได้รับร่าง พ.ร.ป.ฉบับดังกล่าวมาแล้ว และเรายังมีเวลาในการพิจารณา ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อถวายในการลงพระปรมาภิไธย ซึ่งมีเวลาจนถึงวันที่ 12 เม.ย.นี้ วันนี้ ก็ได้สั่งการให้ฝ่ายกม. ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ ว่าควรจะต้องมีการยื่นตีความหรือไม่ อย่างไรก็ตาม กำหนดการเลือกตั้ง ก็ยังคงอยู่ภายใต้โรดแมปที่วางไว้
เมื่อถามว่า สรุปแล้วจะส่ง ร่างพ.ร.ป.ฯ ไปตีความหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่เสร็จ และยังไม่ได้พูดกันว่าจะยื่นหรือไม่ยื่น กำลังพิจารณาร่วมกันอยู่ ยังมีเวลา แต่ตนได้บอกไปแล้วว่าไม่ว่าจะยื่นตีความหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของโรดแมปด้วย
"เดี๋ยวก็จะหาว่าผมไปถ่วงเวลา เป็นทฤษฎีสมคบคิด มันไม่ใช่ พวกคุณไปคิดกันเองนั้นแหละ พวกคุณสมคบคิดกันเอง ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วรัฐบาลจะทำอะไรได้ รัฐบาลก็ต้องเดินหน้าไปตามกรอบเวลาที่กำหนด และตามกฎหมายที่มีอยู่ ผมไม่ได้ต้องการที่จะไปลากยาวอะไรทั้งสิ้น ส่วนเมื่อมีการเลือกตั้ง แล้วจะได้อย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องของผมแล้ว ถ้าท่านอยากเลือกตั้ง ก็เลือกตั้งกันเข้ามา จะเลือกได้คนดีหรือเปล่า แล้วอย่ามาโทษรัฐบาลนี้ว่า เลือกตั้งแล้วก็ได้คนไม่ดีเข้ามาอีก เพราะผมไม่ได้เป็นคนเลือกตั้งรัฐบาลกับเขา ขอร้องสื่ออย่าเขียนอะไรที่มันพาดไป พาดมา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**ยังไม่ตัดสินใจตีความกม.ลูกส.ส.
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม กล่าวถึงแนวโน้มการยื่นศาลรธน. ตีความ ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่านายกฯ กำลังพิจารณาอยู่ ว่าจะยื่นเอง หรือให้สนช.เป็นผู้ยื่น ซึ่งถ้ายื่นต้องไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง ก.พ.62
เมื่อถามว่าหากศาลรธน.ให้แก้ไข ก็อาจกระทบกับวันเลือกตั้ง ตามที่นักกฎหมายหลายฝ่ายคาดไว้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ต้องตกไป ต้องทำใหม่ แต่ตอนนี้ เรายังไม่รู้ว่าจะยื่นตีความหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องมีการหารือกับหลายภาคส่วน
เมื่อถามว่า ขณะนี้เหมือนมีประเด็นที่อาจเข้าข่ายว่า ขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. มองว่าจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องยื่นตีความก่อนการเลือกตั้งเพราะถ้าถึงเวลานั้น อาจส่งผลกระทบกับการเลือกตั้งได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า กำลังให้นักกฎหมายพิจารณาให้ชัดเจนอยู่ว่า ที่สนช.ทำมา ขัดกับรธน. หรือไม่ เมื่อถามว่า กลัวเรื่องนี้จะเป็นระเบิดเวลาในอนาคตหรือไม่ ถึงต้องพิจารณา เพื่อถอดสลักก่อน พล.อ.ประวิตร กล่าว เพียงว่า“ใช่”
** สนช.โยนนายกฯยื่นตีความเอง
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมคสช.ว่า นายกฯได้สอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ส่งตีความ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. แต่ส่ง ร่างพ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. โดยตนชี้แจงว่า นายกฯ ไม่จำเป็นต้องส่ง ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. กลับมาที่สนช. หากต้องการส่งตีความ เพราะนายกฯ สามารถส่งเองได้อยู่แล้ว และได้อธิบายว่า นายกฯ มีเวลา 5 วัน และให้นายกฯรอ บวกอีก 20 วัน ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ รวมเป็น 25 วัน ดังนั้น ตราบใดที่นายกฯ ยังไม่ทูลเกล้าฯ ก็มีสิทธิ์ยื่นศาลรธน.
ด้านนายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าเลยขั้นตอนของสนช.ไปแล้ว เพราะได้ส่งร่างฯให้นายกฯไปแล้ว ดังนั้นหากนายกฯ จะส่งกลับมาได้ จะต้องมีเหตุว่าเป็นประเด็นอะไร จึงส่งกลับมา ทั้งนี้ โดยปกติแล้วหากจะส่งร่างฯ ให้ศาลรธน.ตีความ จะต้องส่งก่อนที่จะยื่นให้นายกฯ
** นายกฯ-สนช.ใครยื่นตีความก็ได้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ชี้แจงถึงกรอบเวลาตามรธน. มาตรา 145 และ 148 เพื่อยื่นให้ศาลรธน.ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ว่า รธน.กำหนดว่า เมื่อร่างกม.ลูกไปถึงมือนายกฯ อย่างน้อยให้รอเวลาไว้ 5 วันก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้นายกฯ หรือสมาชิกสนช. เข้าชื่อเพื่อให้นายกฯ ส่งศาลรธน. ตีความร่างกม.ได้ ส่วนระยะเวลา 20 วันหลังจากนั้น เป็นกรอบเวลาที่ให้นายกฯ นำร่างกม.ขึ้นทูลเกล้าฯได้ แต่ตราบใดที่นายกฯ ยังไม่นำร่างกม.ขึ้นทูลเกล้าฯ นายกฯ หรือ สมาชิกสนช.ที่เข้าชื่อกัน มีสิทธิ์ยื่นร่างกม. ให้ศาลรธน.ตีความได้ แม้จะพ้นช่วงเวลา 5 วันแรก แล้วก็ตาม ไม่ถือว่าขัดรธน. แต่ก็ไม่ทราบว่า ช่วงเวลา 5 วันแรกนี้ เริ่มนับตั้งแต่วันใด เพราะยังไม่ได้มีการพูดคุยกับนายกฯ
หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่งร่างกม. ไปตีความจะกระทบต่อโรดแมปเลือกตั้งหรือไม่นั้น ก็อาจจะไม่กระทบก็ได้ หากไปขอให้ศาลรธน.วินิจฉัยเร็วขึ้น และหากกกต. มีความพร้อมจัดการเลือกตั้ง ก่อนครบกรอบเวลา 150 วัน นับแต่ร่างกม.ลูก ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ บังคับใช้ อาจไม่กระทบต่อโรดแมปก็ได้ ซึ่งการยื่นให้ศาลรธน. วินิจฉัยหรือไม่ แล้วจะส่งผลกระทบต่อโรดแมปหรือไม่ ก็ต้องไปถามนายกฯ
นายมีชัย ยังกล่าวถึงกรณี หัวหน้าคสช. ใช้ ม.44 ปลดนายสมชัย ศรีสุทธิยากร จากตำแหน่ง กกต.ว่า ตนเองและ กรธ.ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ปรึกษากม. ตามที่นายกฯระบุว่าเป็นฝ่ายที่ขอให้ปลด นายสมชัย
*** "สมชัย" เตือนรัฐดูกรอบเวลาตีความให้ชัด
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. กล่าวกรณีนายกฯ สั่งให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าควรจะยื่นตีความกม.ลูกส.ส.หรือไม่ ว่าเรื่องนี้ มีจุดที่ต้องต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ
1. เนื้อหาของร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว ควรจะมีการยื่นตีความหรือไม่ และเรื่องดังกล่าว จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ส่วนตัวมองว่า ประเด็นที่มีการตัดสิทธิคนที่ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่สามารถเป็นขรก.การเมืองได้นั้น เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ถึงจะมีการแต่งตั้งขรก.การเมืองขึ้น หากผู้ที่เห็นว่า ตัวเองได้รับความเสียหาย ก็มีช่องทางในการฟ้องร้องขอความเป็นธรรมอยู่แล้ว
2. เรื่องกรอบเวลาตามรธน. ที่จะต้องพิจารณาว่า ขณะนี้ยังอยู่ในชั้นที่สามารถทำการยื่นศาลรธน.ตีความได้หรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาตามรธน. มาตรา 145 ที่ระบุว่า นายกฯ มีเวลารอไว้ 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างกม. ถ้าไม่มีกรณีต้องดําเนินการตาม มาตรา 148 ซึ่งก็คือ การทักท้วงจากสนช. หรือนายกฯเห็นว่าร่างกม.ขัดรธน. หากไม่มีการดำเนินการตาม มาตรา 148 ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว นายกฯ จะต้องนํากฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20วัน ดังนั้น กรอบเวลาการยื่นให้ศาลรธน.ตีความ จึงไม่ใช่ 5+20 วัน เพราะหากเป็นอย่างนั้น ใน กม. คงจะเขียนกรอบเวลาให้ สนช.ทักท้วง หรือนายกฯ ยื่นตีความภายใน 25 วัน ตั้งแต่แรกแล้ว
" ตอนนี้น่าจะเกิน 5 วัน ตามที่รธน.กำหนดแล้ว หากนายกฯ ได้รับร่างกฎหมายจาก สนช.วันที่ 20 มี.ค. อยากให้อ่านรธน. มาตรา 145 และ 148 ให้ดี ว่าอยู่ในกรอบ 5 วัน ที่รธน.กำหนดหรือไม่ เพราะหากมีการยื่นตีความแล้ว ผู้ที่ยื่นตีความจะกระทำขัดรธน." นายสมชัย กล่าว