ผู้จัดการรายวัน360- ครม.ผ่านฉลุยลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน ร.ฟ.ท.เร่งเคาะ TOR ประกาศเชิญชวนก่อนสงกรานต์ และไฟเขียวกฎกระทรวงกำหนดอายุเรือหมดพร้อมใบอนุญาตทำประมง ให้สอดคล้องมาตรฐานของ IUU เผยนายกฯสั่งคุมเข้มรถบัส 2 ชั้น ขยาดอุบัติเหตุซ้ำช่วงสงกรานต์
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (27 มี.ค.) มีมติอนุมัติโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. โดยอนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ที่เป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยทยอยจ่ายให้เอกชนหลักจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงทั้งระบบแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี และอนุมัติให้ ร.ฟ.ท. มีอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก และอนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ในกรอบวงเงินจำนวน 3,570.29 ล้านบาท และเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 22,558.06 ล้านบาท
รูปแบบลงทุนรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (PPP) ภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนด้านงานโยธา ประเภท PPP Net Cost โดยเอกชน 1 ราย รับงานโครงการไปทั้ง 100% (ก่อสร้างและเดินรถ) อายุสัมปทาน 50 ปี เอกชนจะเป็นผู้บริหาร จัดเก็บรายได้ และแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ ขณะที่รัฐจะช่วยอุดหนุนโครงการไม่เกินมูลค่างานโยธาที่ 1.6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อครบสัมปทาน 50 ปีแล้ว จะไม่มีการต่อสัญญาอีก โครงการก็จะโอนคืนสู่รัฐ ซึ่งขั้นตอนจากนี้ คือ การจัดทำเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) เพื่อหาผู้ลงทุน และจะเสนอเข้าครม.อีกครั้ง โดยสายทางนี้จะใช้ความเร็วที่ 250 กม.ต่อชั่วโมง มีทั้งหมด 5 สถานี คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา ค่าโดยสารสูงสุด 330 บาท
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคืบหน้าแล้ว 90% ซึ่งหลังจากที่ครม.มีมติเห็นชอบโครงการ ทางคณะกรรมการร่าง TOR ที่มีตนเป็นประธาน จะประชุมเพื่อปรับเงื่อนไข TOR ให้สอดคล้องกันกับรายละเอียดโครงการที่ครม.เห็นชอบ ซึ่งร่าง TOR จะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนเม.ย. และจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์
โดยขณะนี้มีเงื่อนไขที่ยังไม่สรุป เช่น สัดส่วนของต่างชาติที่จะเข้ามาร่วมลงทุนว่าควรจะไม่เกิน 49% ไทย 51% หรือจะให้ต่างชาติเกิน50% ได้เสนอให้คณะกรรมการ นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตัดสินใจ และประเด็น กรณีที่อาจจะมีบริษัทจีนยื่นประมูลใน 2 กลุ่ม ซึ่งอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจาก บริษัทจีนส่วนใหญ่ มีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นด้วยดังนั้นหากมี บริษัท จีน 2 บริษัท แยกประมูลกันคนละกลุ่มจะเกิดปัญหา เพราะมีรัฐบาลจีนถือหุ้นเหมือนกัน เข้าข่ายเป็นการถือหุ้นไขว้และมีประโยชน์ทับซ้อนกันของ 2 กลุ่ม ได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีการประชุมภายในสัปดาห์นี้
***นายกฯสั่งคุมรถบัส 2 ชั้นขยาดอุบัติเหตุ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคมกล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางการอำนวยความสะดวกประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2561 กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสภาพรถ คนขับ ต้องไม่มีสารเสพติดและแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบในทุกสถานี และจุดพักรถ ซึ่งมาตรการด้านความปลอดภัยเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะใช้แนวทาง 7 7 7 ยกกำลัง 3 โดยจะเริ่มทุกมาตรการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ในขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้กรมขนส่งฯ พิจารณาแนวทางในการควบคุมการใช้งานรถบัส 2 ชั้น รวมถึงหารือกับกรมทางหลวง (ทล.) ในการกำหนดเส้นทางที่ให้รถบัส 2 ชั้นวิ่งได้ เส้นทางใดห้ามวิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางลาดชัน และภูเขาเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอีก ซึ่งรถบัส 2 ชั้น จะต้องใช้ความเร็วต่ำเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในต่างประเทศจะวิ่งในเมือง เป็นหลัก
***ครม.ไฟเขียวกฎกระทรวง อายุเรือ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมกล่าวว่า ครม. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและออกใบอนุญาตใช้เรือและการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้การประมงไทยสอดคล้องกับมาตรฐานของ IUU โดยเป็นกฎกระทรวงฉบับสุดท้ายที่ออกเพื่อรองรับประกาศ คสช.ที่ให้ใบอนุญาตเรือสิ้นอายุไปพร้อมกับใบอนุญาตทำประมง
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (27 มี.ค.) มีมติอนุมัติโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. โดยอนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ที่เป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยทยอยจ่ายให้เอกชนหลักจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงทั้งระบบแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี และอนุมัติให้ ร.ฟ.ท. มีอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก และอนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ในกรอบวงเงินจำนวน 3,570.29 ล้านบาท และเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 22,558.06 ล้านบาท
รูปแบบลงทุนรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (PPP) ภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนด้านงานโยธา ประเภท PPP Net Cost โดยเอกชน 1 ราย รับงานโครงการไปทั้ง 100% (ก่อสร้างและเดินรถ) อายุสัมปทาน 50 ปี เอกชนจะเป็นผู้บริหาร จัดเก็บรายได้ และแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ ขณะที่รัฐจะช่วยอุดหนุนโครงการไม่เกินมูลค่างานโยธาที่ 1.6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อครบสัมปทาน 50 ปีแล้ว จะไม่มีการต่อสัญญาอีก โครงการก็จะโอนคืนสู่รัฐ ซึ่งขั้นตอนจากนี้ คือ การจัดทำเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) เพื่อหาผู้ลงทุน และจะเสนอเข้าครม.อีกครั้ง โดยสายทางนี้จะใช้ความเร็วที่ 250 กม.ต่อชั่วโมง มีทั้งหมด 5 สถานี คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา ค่าโดยสารสูงสุด 330 บาท
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคืบหน้าแล้ว 90% ซึ่งหลังจากที่ครม.มีมติเห็นชอบโครงการ ทางคณะกรรมการร่าง TOR ที่มีตนเป็นประธาน จะประชุมเพื่อปรับเงื่อนไข TOR ให้สอดคล้องกันกับรายละเอียดโครงการที่ครม.เห็นชอบ ซึ่งร่าง TOR จะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนเม.ย. และจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์
โดยขณะนี้มีเงื่อนไขที่ยังไม่สรุป เช่น สัดส่วนของต่างชาติที่จะเข้ามาร่วมลงทุนว่าควรจะไม่เกิน 49% ไทย 51% หรือจะให้ต่างชาติเกิน50% ได้เสนอให้คณะกรรมการ นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตัดสินใจ และประเด็น กรณีที่อาจจะมีบริษัทจีนยื่นประมูลใน 2 กลุ่ม ซึ่งอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจาก บริษัทจีนส่วนใหญ่ มีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นด้วยดังนั้นหากมี บริษัท จีน 2 บริษัท แยกประมูลกันคนละกลุ่มจะเกิดปัญหา เพราะมีรัฐบาลจีนถือหุ้นเหมือนกัน เข้าข่ายเป็นการถือหุ้นไขว้และมีประโยชน์ทับซ้อนกันของ 2 กลุ่ม ได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีการประชุมภายในสัปดาห์นี้
***นายกฯสั่งคุมรถบัส 2 ชั้นขยาดอุบัติเหตุ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคมกล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางการอำนวยความสะดวกประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2561 กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสภาพรถ คนขับ ต้องไม่มีสารเสพติดและแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบในทุกสถานี และจุดพักรถ ซึ่งมาตรการด้านความปลอดภัยเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะใช้แนวทาง 7 7 7 ยกกำลัง 3 โดยจะเริ่มทุกมาตรการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ในขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้กรมขนส่งฯ พิจารณาแนวทางในการควบคุมการใช้งานรถบัส 2 ชั้น รวมถึงหารือกับกรมทางหลวง (ทล.) ในการกำหนดเส้นทางที่ให้รถบัส 2 ชั้นวิ่งได้ เส้นทางใดห้ามวิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางลาดชัน และภูเขาเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอีก ซึ่งรถบัส 2 ชั้น จะต้องใช้ความเร็วต่ำเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในต่างประเทศจะวิ่งในเมือง เป็นหลัก
***ครม.ไฟเขียวกฎกระทรวง อายุเรือ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมกล่าวว่า ครม. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและออกใบอนุญาตใช้เรือและการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้การประมงไทยสอดคล้องกับมาตรฐานของ IUU โดยเป็นกฎกระทรวงฉบับสุดท้ายที่ออกเพื่อรองรับประกาศ คสช.ที่ให้ใบอนุญาตเรือสิ้นอายุไปพร้อมกับใบอนุญาตทำประมง