วานนี้ (11 มี.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยว่า พ.ร.ป. ว่าด้วย ป.ป.ช.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำความเห็นส่วนตน และ มีการร่วมลงมติว่า ประเด็นที่สนช. ส่งมานั้น ศาลมีความเห็นว่า ไม่ขัดรธน. โดยไม่มีรายละเอียดว่า ลงคะแนน ด้วยคะแนนเสียงเท่าไร และตุลาการท่านใด ลงมติอย่างไรบ้าง คนที่ไม่ติดตามเรื่องก็คงอ่านผ่านๆ อย่างไม่ได้สนใจ ยิ่งมาแจ้งแบบเงียบเชียบ ในรูปเอกสารในตอนบ่ายของวันศุกร์ ที่คนใกล้เลิกงาน ก็ยิ่งแทบไม่มีคนสนใจ
แต่สำหรับผู้ที่ติดตาม น่าจะจำได้ว่า ป.ป.ช.ชุดนี้ สนช.ได้ลงมติให้อยู่ต่อไปจนครบวาระ เช่นเดียวกับ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญนั้น สนช.ใจดีมาก มีแถมให้คนที่ครบวาระแล้วอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีสภาฯ มีผู้นำฝ่ายค้านในสภา แล้วจึงเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ แตกต่างจาก กกต. และ กสม. ที่แม้จะเป็นองค์กรอิสระด้วยกัน แต่ถูกเซตซีโร
ประเด็นการให้ป.ป.ช.ทั้งชุด อยู่ต่อไปจนครบวาระ มีประเด็นที่แตกต่างจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ศาลรัฐธรรมนูญ คือนอกจากคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบ จำนวนประมาณ 7-8 คนแล้ว ในจำนวนนี้ยังมี 2 คน ที่มีลักษณะต้องห้ามด้วย คือ คนหนึ่งเคยดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอื่นมาก่อน และ อีกคนคือประธาน ป.ป.ช. เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง และพ้นตำแหน่งมายังไม่ครบสิบปี
"รัฐธรรมนูญเขียนห้าม แต่กฎหมายลูกโดยสนช.ไปอนุญาต ทางสนช.ที่ไม่เห็นด้วยจึงส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ว่าขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีตุลาการศาล 5 คน ที่อยู่ครบวาระ 9 ปีแล้ว แต่สนช.ให้อยู่ต่อ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีก 3 คน ที่ขาดคุณสมบัติ แต่สนช.ให้อยู่ต่อได้ลงมติแบบเงียบๆ ไม่มีการแสดงผลการลงมติ ไม่มีการระบุชื่อ ว่าใครลงมติอย่างไร ว่าด้วยเสียงข้างมาก หรือ เอกฉันท์ ให้ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติ และ มีลักษณะต้องห้ามอยู่ต่อไปจนครบวาระได้ จากนี้ใครจะเชื่อว่า องค์กรอิสระ เป็นอิสระจริง" นายสมชัย ระบุ
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษก วิป สนช. กล่าวถึงกรณี นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คนที่ 1 ในฐานะอดีต ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่ากรณีที่สมาชิกสนช. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยการเว้นลักษณะต้องห้าม ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน ในส่วนของการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป จนครบวาระนั้น การเขียนกฎหมายของ สนช. เช่นนี้ อาจจะกลายเป็นกฎหมายลูก ฆ่ากฎหมายแม่ หรือ เป็นกฎหมายลูกทรพี ว่า หากติดตามการอภิปรายของกรรมาธิการฯ และในการประชุม สนช. จะเห็นว่า สมาชิก สนช. อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก ได้อภิปรายในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ไม่ขัด หรือแย้งต่อรธน. เพราะในรธน. ให้อิสระสภาฯออกแบบเป็นแบบเซตซีโร หรือจะปล่อยทั้งหมดก็ได้
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของ นายสุพจน์ ในฐานะของนักกฎหมายนั้น เราก็เคารพ แต่ความเห็นของนักกฎหมายนั้น ไม่ตรงกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ จึงต้องใช้เสียงข้างมากตัดสิน ดังนั้นศาลรธน. จึงเป็นองค์กรที่วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด เราต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาลรธน.
แต่สำหรับผู้ที่ติดตาม น่าจะจำได้ว่า ป.ป.ช.ชุดนี้ สนช.ได้ลงมติให้อยู่ต่อไปจนครบวาระ เช่นเดียวกับ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญนั้น สนช.ใจดีมาก มีแถมให้คนที่ครบวาระแล้วอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีสภาฯ มีผู้นำฝ่ายค้านในสภา แล้วจึงเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ แตกต่างจาก กกต. และ กสม. ที่แม้จะเป็นองค์กรอิสระด้วยกัน แต่ถูกเซตซีโร
ประเด็นการให้ป.ป.ช.ทั้งชุด อยู่ต่อไปจนครบวาระ มีประเด็นที่แตกต่างจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ศาลรัฐธรรมนูญ คือนอกจากคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบ จำนวนประมาณ 7-8 คนแล้ว ในจำนวนนี้ยังมี 2 คน ที่มีลักษณะต้องห้ามด้วย คือ คนหนึ่งเคยดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอื่นมาก่อน และ อีกคนคือประธาน ป.ป.ช. เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง และพ้นตำแหน่งมายังไม่ครบสิบปี
"รัฐธรรมนูญเขียนห้าม แต่กฎหมายลูกโดยสนช.ไปอนุญาต ทางสนช.ที่ไม่เห็นด้วยจึงส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ว่าขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีตุลาการศาล 5 คน ที่อยู่ครบวาระ 9 ปีแล้ว แต่สนช.ให้อยู่ต่อ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีก 3 คน ที่ขาดคุณสมบัติ แต่สนช.ให้อยู่ต่อได้ลงมติแบบเงียบๆ ไม่มีการแสดงผลการลงมติ ไม่มีการระบุชื่อ ว่าใครลงมติอย่างไร ว่าด้วยเสียงข้างมาก หรือ เอกฉันท์ ให้ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติ และ มีลักษณะต้องห้ามอยู่ต่อไปจนครบวาระได้ จากนี้ใครจะเชื่อว่า องค์กรอิสระ เป็นอิสระจริง" นายสมชัย ระบุ
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษก วิป สนช. กล่าวถึงกรณี นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คนที่ 1 ในฐานะอดีต ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่ากรณีที่สมาชิกสนช. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยการเว้นลักษณะต้องห้าม ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน ในส่วนของการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป จนครบวาระนั้น การเขียนกฎหมายของ สนช. เช่นนี้ อาจจะกลายเป็นกฎหมายลูก ฆ่ากฎหมายแม่ หรือ เป็นกฎหมายลูกทรพี ว่า หากติดตามการอภิปรายของกรรมาธิการฯ และในการประชุม สนช. จะเห็นว่า สมาชิก สนช. อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก ได้อภิปรายในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ไม่ขัด หรือแย้งต่อรธน. เพราะในรธน. ให้อิสระสภาฯออกแบบเป็นแบบเซตซีโร หรือจะปล่อยทั้งหมดก็ได้
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของ นายสุพจน์ ในฐานะของนักกฎหมายนั้น เราก็เคารพ แต่ความเห็นของนักกฎหมายนั้น ไม่ตรงกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ จึงต้องใช้เสียงข้างมากตัดสิน ดังนั้นศาลรธน. จึงเป็นองค์กรที่วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด เราต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาลรธน.