ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังจัดทำ “แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า” หรือที่เรียกว่า “แผนพีดีพี” ฉบับใหม่ ทั้งๆ ที่แผนพีพีดีฉบับปัจจุบัน ได้วางแผนไว้ว่าจะมีอายุใช้งาน 20 ปี (2558-2579) แต่ได้ใช้จริงเพียง 3 ปีเท่านั้น รัฐมนตรีพลังงานได้ประกาศว่าจะจัดทำแผนใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้
ในการจัดทำแผนพีดีพีดังกล่าว รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชาชน แต่ในความเป็นจริงทุกแผน (รวมกันประมาณ 20 แผนนับจากปี 2536 เป็นต้นมา) ก็จัดรับฟังเพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น
ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอความเห็นต่อการจัดทำแผนดังกล่าวโดยยึดเอาแผนพีดีพี 2015 เป็นตัวอย่างเพราะทุกแผนที่ผ่านมารวมทั้งฉบับที่กำลังจัดทำอยู่นี้ผู้จัดทำหลัก (คือเรื่องการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในอนาคต) ก็คือบุคคลคนเดิมตลอด
นอกจากนี้ผมเชื่อว่า กรอบความคิดในการจัดทำแผนฉบับใหม่ก็น่าจะเป็นกรอบเดิมๆ ซึ่งในแผนพีดีพี 2015 ได้ให้ความสำคัญกับ 3 ด้านคือ
(1)ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) ต้องตอบสนองปริมาณความต้องการไฟฟ้าเพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะสอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัวของเขตเมือง รวมถึงการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสม
(2)ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ประชาชนและภาคธุรกิจยอมรับได้ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าและลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และ
(3)ด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าจากการปลดปล่อยของโรงไฟฟ้า
ก่อนที่ผมจะนำเสนอประเด็นตามชื่อบทความที่ตั้งไว้ ผมขออนุญาตพูดถึงหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ก่อน เพราะหากคนเราไม่มีหลักคิดที่ถูกต้อง ไม่ยึดมั่นต่อหลักคุณค่าร่วมกันก็คงจะอันตรายยิ่ง หลักการที่ว่านี้มีเพียง 2 ประการเท่านั้น เป็นคุณค่า (Value) ที่ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนก็ใช้หลักคุณค่านี้สั่งสอนลูกของตนเอง
หลักคุณค่าแรกคือ มนุษย์ทุกคนต้องเป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสใคร และหลักคุณค่าที่สองคือ มนุษย์ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าเราใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า ในฐานะผู้บริโภคเราจะยังมีความเป็นอิสระได้ไหมเพราะเราจะถูกบังคับให้เป็นผู้ซื้อเพียงอย่างเดียว เขาจะขึ้นราคาเมื่อไหร่ก็ได้ ครั้นจะผลิตเองก็ถูกกีดกัน และถ้าในฐานะผู้ผลิตจะถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมไหมเพราะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ผมเชื่อว่า “ค่านิยม 12 ประการ” ของ คสช.ตอนที่เข้ามาใหม่ๆ ถ้าจำแนกกันให้ดีๆ ก็จะตกอยู่ในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 2 ประการนี้แหละครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ หรือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ในแผนพีดี 2015 ไม่ได้เขียนหลักการดังกล่าวเป็นกรอบกำกับทิศทางไว้ เพราะถ้าเขียนไว้ รายละเอียดของแผนก็จะขัดแย้งกับกรอบที่กำกับทิศทาง นี่คือความจงใจที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นมนุษย์
ขอย้อนหลังไปนิดหนึ่งครับ ความจริงแล้วแผนพีดีพี 2015 ก็ปรับปรุงมาจากฉบับ 2010 หรือฉบับ 2007 เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในวันนั้นยังไม่มีใครเชื่อหรือรู้ว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โซลาร์เซลล์และกังหันลมจะมีราคาถูกเท่าทุกวันนี้จนสามารถแข่งขันได้กับพลังงานฟอสซิลเกือบทุกชนิด เกือบทั่วพื้นผิวโลก และจะ “โคตรถูก” กว่านี้อีกในอนาคตอันใกล้เพียง 4-5 ปีเท่านั้น
ไม่ใช่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่ไม่รู้เรื่องนี้ (เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว) แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาก็เพิ่งมารู้ก็ตอนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาสมัยที่สองนี่เอง
การที่เราไม่รู้อนาคตแล้วไม่นำมาเป็นเข็มทิศนำทางของแผนสำคัญ ถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ครับ แต่ถ้ารู้แล้ว แต่ยังไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติซิเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ
การไม่รู้อนาคตหรือคาดหมายอนาคตผิดพลาดมีผลเสียหายมหาศาล เช่น ในปี 2520 ซีอีโอของบริษัท Digital Equipment Corporation (ซึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ใช้กับสำนักงาน) ได้เคยยึดแนวคิดว่า “เป็นเรื่องไม่มีเหตุผลเลยที่คนธรรมดาจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานที่บ้าน” ได้ทำให้บริษัทด้านคอมพิวเตอร์ระดับยักษ์ใหญ่ของโลกได้ล่มสลายมาแล้วเพราะทุกวันนี้แทบทุกคนต่างก็มีคอมพิวเตอร์ติดบ้านและติดตัวจนกลายเป็นสังคมก้มหน้าที่เราเห็นได้ทั่วไป
รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เริ่มชูแนวคิด “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งเป็นเรื่องของการเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระบบการบริหารและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพก็ประมาณ 2 ปีมานี้เอง นั่นแสดงว่ารัฐบาลนี้ก็สามารถมองทิศทางในอนาคตได้ ดังนั้น หากจะยังเน้นระบบพลังงานแบบ 1.0 ซึ่งใช้ถ่านหินขับเครื่องจักรไอน้ำก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดมาก
ดังนั้น ในการจัดทำแผนพีดีพีฉบับใหม่นี้ ผมจึงขอเสนอให้เขียนกำกับทิศทางด้วย 2 เรื่องที่ผมได้กล่าวมาแล้ว คือ ยึดมั่นในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และ ความทันสมัย มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีราคาถูกของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นผลิตผลของวิชา “ฟิสิกส์ยุคใหม่”
นอกจากนี้ยังต้องยึดมั่นในอีก 2 ฉันทามติขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ และ ข้อตกลงปารีสในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ท่านประยุทธ์ได้ลงนามไว้แล้วด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องประเด็นที่เป็นชื่อบทความ คือ “ความมั่นคงทางพลังงาน” กับ “ประชาธิปไตยพลังงาน (Energy Democracy)”
“ความมั่นคงทางพลังงาน” เป็นคำที่ดูเท่ ดูทันสมัย ฟังแล้วก็ยอมรับโดยไม่คิดอะไรต่อ แต่ถ้าถามว่าหมายถึงอะไรคราวนี้แหละตอบยากมากครับ
ผมเคยได้ยินพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ถามเอง-ตอบเองว่า “ความมั่นคงทางพลังงานหมายถึงการมีพลังงานใช้ตลอดไปในราคาที่ไม่แพง” ถ้าตอบเพียงแค่นี้ ผมถือว่าเป็นคำตอบที่ไม่ยึดมั่นในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เพราะไม่สนใจผลกระทบต่อผู้อื่นต้องการรักษาวิถีชีวิตของตนให้เหมือนเดิมโลกจะร้อนแค่ไหนก็ไม่สนใจ
ถ้าไปถามประเทศกำลังพัฒนา ก็มักจะตอบว่า “การมีพลังงานใช้เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ” ถ้าถามประเทศยากจนก็จะได้คำตอบว่า “การมีไม้ฟืนใช้อย่างต่อเนื่อง”แต่ถ้าถามบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าก็จะได้คำตอบว่า “การได้ขายไฟฟ้าตลอด แม้ไม่ต้องเดินเครื่องเลยก็ยังได้รับเงินเป็นกอบเป็นกำ”
ศาสตราจารย์ด้านภูมิเศรษศาสตร์ท่านหนึ่ง (Evan Hillebrand) ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า “ความมั่นคงทางพลังไม่ใช่แค่เรื่องของพลังงานตามลำพัง แต่ยังเกี่ยวข้องกับว่าพลังงานมีผลต่อความมั่นคงของชาติอย่างไรด้วย”
เห็นไหมครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง “ซับซ้อน” ความมั่นคงของชาติก็ไม่ใช่แค่ความมั่นคงทางการทหารเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำ มีความสงบ การมีน้ำสะอาดใช้ การมีงานทำ การมีส่วนร่วม ฯลฯ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ไนจีเรียเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 6 ของโลกมาเป็นเวลานาน น่าจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงมาก แต่ทำไมประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนมาก
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่า “ความมั่นคงทางพลังงาน” ไม่มีนิยามที่ชัดเจน (Well-Defined) และไม่ครอบคลุมหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ผมจึงสรุปว่าความมั่นคงทางพลังงานคือของปลอม เมื่อนำมาเป็นเกณฑ์หลักในการวางแผนพีดีพีจึงจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่ไม่อาจยอมรับร่วมกันได้
ทางเลือกจึงจำเป็นต้องใช้หลักการประชาธิปไตย (เช่น เป็นกระบวนของประชาชน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้) ที่สังคมยอมรับร่วมกัน นั่นคือ ทั้งด้านแหล่งพลังงาน (เช่นแสงแดด ลม และชีวมวล) และความเป็นเจ้าของการผลิต ที่ต้องมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง การตัดสินใจในนโยบายพลังงานต้องกระทำโดยผู้ใช้พลังงาน ไม่ใช่โดยพ่อค้า
เราเรียกสิ่งนี้ว่า “ประชาธิปไตยพลังงาน (Energy Democracy)” ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวความคิดด้านการเมือง เศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลังงาน และเทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งจะช่วยทำให้ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของสาธารณะเข้มแข็งยิ่งขึ้น
สถาบันที่ชื่อว่า “Institute for Local Self-Reliance” (สถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้องถิ่น-ก่อตั้งปี 2517 ในสหรัฐอเมริกา สนใจเรื่องการพัฒนาชุมชนและความยั่งยืน) ได้ให้คำแนะนำว่าต้องยึดมั่นใน “เสาหลัก 5 ประการของประชาธิปไตยพลังงาน” ซึ่งประกอบด้วย
1.มีความยืดหยุ่น (Flexible) สามารถปรับตัวเองเพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจที่เติบโตและถดถอย และทั้งต่อการผลิตไฟฟ้าที่ตอบสนองความต้องการที่นับเป็นนาที ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินจะทำได้ยาก เพราะต้องใช้เวลานานกว่า 5-10 ปีในการก่อสร้าง รวมทั้งการทำงานเครื่องจักรที่อืดอาดด้วย
2.มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้ผลิตและผู้ใช้อยู่ใกล้กัน จึงลดการสูญเสียในสายส่ง
3.มีคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon) ตามข้อตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.มีความเป็นท้องถิ่น (Local) ทั้งแหล่งพลังงาน การผลิต การตัดสินใจ การควบคุม รวมทั้งรายได้จากการขายพลังงานควรจะเป็นของชุมชนท้องถิ่น ผู้บริโภคควรจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค (Prosumer) ในรายเดียวกัน ไม่ใช่ถูกบังคับให้เป็นผู้ซื้อเพียงอย่างเดียว
5.มีความเป็นธรรม (Equitable) เพราะแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า (คือแสงแดดและลม) เป็นของทุกคน ดังนั้น ทุกคนในชุมชนจึงควรจะได้รับส่วนแบ่งจากความมั่งคั่งของทรัพยากรเหล่านั้น
อ่านมาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูซิครับว่า ระหว่างการมีแหล่งพลังงานเป็นของตนเองภายในประเทศกับการต้องเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน อย่างไหนจะมีความมั่นคงมากกว่ากัน
เรายอมรับหลักการประชาธิปไตยในการบริหารประเทศ ใช้ระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียงในการเลือกตั้ง แล้วทำไมเราจะขยายอุดมการณ์ให้เป็นจริงมากขึ้นด้วย “ประชาธิปไตยพลังงาน” หนึ่งคนหนึ่งหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไม่ได้
ในปี 2560 คนไทย 66 ล้านคน ใช้ไฟฟ้ารวมกันทั้งประเทศ 183,618 ล้านหน่วย เฉลี่ยคนละ 2,780 หน่วย ผมอยากจะสรุปให้คนหมั่นไส้ว่า ถ้าเราใช้พื้นที่หลังคาเพียงคนละ 12 ตารางเมตรเพื่อติดโซลาร์เซลล์ก็ได้ไฟฟ้าตามที่ต้องการแล้วไม่ต้องซื้อเชื้อเพลิง
อ้อ ผมทราบแล้วว่าบางคนจะค้านเรื่องอะไร แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านจะเหมือนกับตู้เย็นเก็บอาหาร คือจะเป็นสิ่งปกติใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ ไม่เชื่อก็ขอให้ช่วยเก็บเอาเรื่องนี้ไปคิดต่อครับ
ในการจัดทำแผนพีดีพีดังกล่าว รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชาชน แต่ในความเป็นจริงทุกแผน (รวมกันประมาณ 20 แผนนับจากปี 2536 เป็นต้นมา) ก็จัดรับฟังเพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น
ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอความเห็นต่อการจัดทำแผนดังกล่าวโดยยึดเอาแผนพีดีพี 2015 เป็นตัวอย่างเพราะทุกแผนที่ผ่านมารวมทั้งฉบับที่กำลังจัดทำอยู่นี้ผู้จัดทำหลัก (คือเรื่องการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในอนาคต) ก็คือบุคคลคนเดิมตลอด
นอกจากนี้ผมเชื่อว่า กรอบความคิดในการจัดทำแผนฉบับใหม่ก็น่าจะเป็นกรอบเดิมๆ ซึ่งในแผนพีดีพี 2015 ได้ให้ความสำคัญกับ 3 ด้านคือ
(1)ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) ต้องตอบสนองปริมาณความต้องการไฟฟ้าเพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะสอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัวของเขตเมือง รวมถึงการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสม
(2)ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ประชาชนและภาคธุรกิจยอมรับได้ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าและลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และ
(3)ด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าจากการปลดปล่อยของโรงไฟฟ้า
ก่อนที่ผมจะนำเสนอประเด็นตามชื่อบทความที่ตั้งไว้ ผมขออนุญาตพูดถึงหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ก่อน เพราะหากคนเราไม่มีหลักคิดที่ถูกต้อง ไม่ยึดมั่นต่อหลักคุณค่าร่วมกันก็คงจะอันตรายยิ่ง หลักการที่ว่านี้มีเพียง 2 ประการเท่านั้น เป็นคุณค่า (Value) ที่ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนก็ใช้หลักคุณค่านี้สั่งสอนลูกของตนเอง
หลักคุณค่าแรกคือ มนุษย์ทุกคนต้องเป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสใคร และหลักคุณค่าที่สองคือ มนุษย์ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าเราใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า ในฐานะผู้บริโภคเราจะยังมีความเป็นอิสระได้ไหมเพราะเราจะถูกบังคับให้เป็นผู้ซื้อเพียงอย่างเดียว เขาจะขึ้นราคาเมื่อไหร่ก็ได้ ครั้นจะผลิตเองก็ถูกกีดกัน และถ้าในฐานะผู้ผลิตจะถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมไหมเพราะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ผมเชื่อว่า “ค่านิยม 12 ประการ” ของ คสช.ตอนที่เข้ามาใหม่ๆ ถ้าจำแนกกันให้ดีๆ ก็จะตกอยู่ในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 2 ประการนี้แหละครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ หรือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ในแผนพีดี 2015 ไม่ได้เขียนหลักการดังกล่าวเป็นกรอบกำกับทิศทางไว้ เพราะถ้าเขียนไว้ รายละเอียดของแผนก็จะขัดแย้งกับกรอบที่กำกับทิศทาง นี่คือความจงใจที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นมนุษย์
ขอย้อนหลังไปนิดหนึ่งครับ ความจริงแล้วแผนพีดีพี 2015 ก็ปรับปรุงมาจากฉบับ 2010 หรือฉบับ 2007 เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในวันนั้นยังไม่มีใครเชื่อหรือรู้ว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โซลาร์เซลล์และกังหันลมจะมีราคาถูกเท่าทุกวันนี้จนสามารถแข่งขันได้กับพลังงานฟอสซิลเกือบทุกชนิด เกือบทั่วพื้นผิวโลก และจะ “โคตรถูก” กว่านี้อีกในอนาคตอันใกล้เพียง 4-5 ปีเท่านั้น
ไม่ใช่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่ไม่รู้เรื่องนี้ (เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว) แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาก็เพิ่งมารู้ก็ตอนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาสมัยที่สองนี่เอง
การที่เราไม่รู้อนาคตแล้วไม่นำมาเป็นเข็มทิศนำทางของแผนสำคัญ ถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ครับ แต่ถ้ารู้แล้ว แต่ยังไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติซิเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ
การไม่รู้อนาคตหรือคาดหมายอนาคตผิดพลาดมีผลเสียหายมหาศาล เช่น ในปี 2520 ซีอีโอของบริษัท Digital Equipment Corporation (ซึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ใช้กับสำนักงาน) ได้เคยยึดแนวคิดว่า “เป็นเรื่องไม่มีเหตุผลเลยที่คนธรรมดาจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานที่บ้าน” ได้ทำให้บริษัทด้านคอมพิวเตอร์ระดับยักษ์ใหญ่ของโลกได้ล่มสลายมาแล้วเพราะทุกวันนี้แทบทุกคนต่างก็มีคอมพิวเตอร์ติดบ้านและติดตัวจนกลายเป็นสังคมก้มหน้าที่เราเห็นได้ทั่วไป
รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เริ่มชูแนวคิด “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งเป็นเรื่องของการเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระบบการบริหารและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพก็ประมาณ 2 ปีมานี้เอง นั่นแสดงว่ารัฐบาลนี้ก็สามารถมองทิศทางในอนาคตได้ ดังนั้น หากจะยังเน้นระบบพลังงานแบบ 1.0 ซึ่งใช้ถ่านหินขับเครื่องจักรไอน้ำก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดมาก
ดังนั้น ในการจัดทำแผนพีดีพีฉบับใหม่นี้ ผมจึงขอเสนอให้เขียนกำกับทิศทางด้วย 2 เรื่องที่ผมได้กล่าวมาแล้ว คือ ยึดมั่นในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และ ความทันสมัย มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีราคาถูกของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นผลิตผลของวิชา “ฟิสิกส์ยุคใหม่”
นอกจากนี้ยังต้องยึดมั่นในอีก 2 ฉันทามติขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ และ ข้อตกลงปารีสในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ท่านประยุทธ์ได้ลงนามไว้แล้วด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องประเด็นที่เป็นชื่อบทความ คือ “ความมั่นคงทางพลังงาน” กับ “ประชาธิปไตยพลังงาน (Energy Democracy)”
“ความมั่นคงทางพลังงาน” เป็นคำที่ดูเท่ ดูทันสมัย ฟังแล้วก็ยอมรับโดยไม่คิดอะไรต่อ แต่ถ้าถามว่าหมายถึงอะไรคราวนี้แหละตอบยากมากครับ
ผมเคยได้ยินพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ถามเอง-ตอบเองว่า “ความมั่นคงทางพลังงานหมายถึงการมีพลังงานใช้ตลอดไปในราคาที่ไม่แพง” ถ้าตอบเพียงแค่นี้ ผมถือว่าเป็นคำตอบที่ไม่ยึดมั่นในหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เพราะไม่สนใจผลกระทบต่อผู้อื่นต้องการรักษาวิถีชีวิตของตนให้เหมือนเดิมโลกจะร้อนแค่ไหนก็ไม่สนใจ
ถ้าไปถามประเทศกำลังพัฒนา ก็มักจะตอบว่า “การมีพลังงานใช้เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ” ถ้าถามประเทศยากจนก็จะได้คำตอบว่า “การมีไม้ฟืนใช้อย่างต่อเนื่อง”แต่ถ้าถามบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าก็จะได้คำตอบว่า “การได้ขายไฟฟ้าตลอด แม้ไม่ต้องเดินเครื่องเลยก็ยังได้รับเงินเป็นกอบเป็นกำ”
ศาสตราจารย์ด้านภูมิเศรษศาสตร์ท่านหนึ่ง (Evan Hillebrand) ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า “ความมั่นคงทางพลังไม่ใช่แค่เรื่องของพลังงานตามลำพัง แต่ยังเกี่ยวข้องกับว่าพลังงานมีผลต่อความมั่นคงของชาติอย่างไรด้วย”
เห็นไหมครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง “ซับซ้อน” ความมั่นคงของชาติก็ไม่ใช่แค่ความมั่นคงทางการทหารเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำ มีความสงบ การมีน้ำสะอาดใช้ การมีงานทำ การมีส่วนร่วม ฯลฯ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ไนจีเรียเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 6 ของโลกมาเป็นเวลานาน น่าจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงมาก แต่ทำไมประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนมาก
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่า “ความมั่นคงทางพลังงาน” ไม่มีนิยามที่ชัดเจน (Well-Defined) และไม่ครอบคลุมหลักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ผมจึงสรุปว่าความมั่นคงทางพลังงานคือของปลอม เมื่อนำมาเป็นเกณฑ์หลักในการวางแผนพีดีพีจึงจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่ไม่อาจยอมรับร่วมกันได้
ทางเลือกจึงจำเป็นต้องใช้หลักการประชาธิปไตย (เช่น เป็นกระบวนของประชาชน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้) ที่สังคมยอมรับร่วมกัน นั่นคือ ทั้งด้านแหล่งพลังงาน (เช่นแสงแดด ลม และชีวมวล) และความเป็นเจ้าของการผลิต ที่ต้องมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง การตัดสินใจในนโยบายพลังงานต้องกระทำโดยผู้ใช้พลังงาน ไม่ใช่โดยพ่อค้า
เราเรียกสิ่งนี้ว่า “ประชาธิปไตยพลังงาน (Energy Democracy)” ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวความคิดด้านการเมือง เศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลังงาน และเทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งจะช่วยทำให้ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของสาธารณะเข้มแข็งยิ่งขึ้น
สถาบันที่ชื่อว่า “Institute for Local Self-Reliance” (สถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้องถิ่น-ก่อตั้งปี 2517 ในสหรัฐอเมริกา สนใจเรื่องการพัฒนาชุมชนและความยั่งยืน) ได้ให้คำแนะนำว่าต้องยึดมั่นใน “เสาหลัก 5 ประการของประชาธิปไตยพลังงาน” ซึ่งประกอบด้วย
1.มีความยืดหยุ่น (Flexible) สามารถปรับตัวเองเพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจที่เติบโตและถดถอย และทั้งต่อการผลิตไฟฟ้าที่ตอบสนองความต้องการที่นับเป็นนาที ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินจะทำได้ยาก เพราะต้องใช้เวลานานกว่า 5-10 ปีในการก่อสร้าง รวมทั้งการทำงานเครื่องจักรที่อืดอาดด้วย
2.มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้ผลิตและผู้ใช้อยู่ใกล้กัน จึงลดการสูญเสียในสายส่ง
3.มีคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon) ตามข้อตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.มีความเป็นท้องถิ่น (Local) ทั้งแหล่งพลังงาน การผลิต การตัดสินใจ การควบคุม รวมทั้งรายได้จากการขายพลังงานควรจะเป็นของชุมชนท้องถิ่น ผู้บริโภคควรจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค (Prosumer) ในรายเดียวกัน ไม่ใช่ถูกบังคับให้เป็นผู้ซื้อเพียงอย่างเดียว
5.มีความเป็นธรรม (Equitable) เพราะแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า (คือแสงแดดและลม) เป็นของทุกคน ดังนั้น ทุกคนในชุมชนจึงควรจะได้รับส่วนแบ่งจากความมั่งคั่งของทรัพยากรเหล่านั้น
อ่านมาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูซิครับว่า ระหว่างการมีแหล่งพลังงานเป็นของตนเองภายในประเทศกับการต้องเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน อย่างไหนจะมีความมั่นคงมากกว่ากัน
เรายอมรับหลักการประชาธิปไตยในการบริหารประเทศ ใช้ระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียงในการเลือกตั้ง แล้วทำไมเราจะขยายอุดมการณ์ให้เป็นจริงมากขึ้นด้วย “ประชาธิปไตยพลังงาน” หนึ่งคนหนึ่งหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไม่ได้
ในปี 2560 คนไทย 66 ล้านคน ใช้ไฟฟ้ารวมกันทั้งประเทศ 183,618 ล้านหน่วย เฉลี่ยคนละ 2,780 หน่วย ผมอยากจะสรุปให้คนหมั่นไส้ว่า ถ้าเราใช้พื้นที่หลังคาเพียงคนละ 12 ตารางเมตรเพื่อติดโซลาร์เซลล์ก็ได้ไฟฟ้าตามที่ต้องการแล้วไม่ต้องซื้อเชื้อเพลิง
อ้อ ผมทราบแล้วว่าบางคนจะค้านเรื่องอะไร แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านจะเหมือนกับตู้เย็นเก็บอาหาร คือจะเป็นสิ่งปกติใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ ไม่เชื่อก็ขอให้ช่วยเก็บเอาเรื่องนี้ไปคิดต่อครับ