ผู้จัดการรายวัน360-"หมออุดม"ลั่น ภายใน 1-2 วันนี้ รู้ผลแน่“หัวหน้าภาควิชาทุบหลัง “น้องแบม”จริงหรือไม่ ชี้ “มมส.”ควรส่งเสริมทำดี มากกว่าไปตำหนิเด็ก ด้านรมว.พัฒนาสังคมฯ เผยพบ จนท.เอี่ยวทุจริตเงินคนจน 24 หน่วยงาน ใน 14 จังหวัด ลั่นสิ้นเดือนมี.ค. ชัด ลงโทษใครบ้าง "บิ๊กตู่"บอกไม่บ้าจี้ตามกระแสให้ "อดุลย์"ออก ปมทุจริตเงินคนจน ขอรอผลการสอบสวนก่อน ขออย่าโยนทุกเรื่องมาให้ "นายกฯ"รับผิดชอบ
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึง กรณีน.ส.ปณิดา ยศปัญญา หรือ น้องแบม นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาพัฒนาชุมชน คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( มมส.) เปิดเผยข้อมูลการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้และผู้ป่วยโรคเอดส์ ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่กลับหัวหน้าภาควิชาทำร้ายร่างกาย ด้วยการทุบหลัง ว่า ต้องรอฟังผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน ว่ามีการทำร้ายจริงหรือไม่ ซึ่งตนได้สั่งให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปตรวจสอบแล้ว ตอนนี้อย่าพึ่งฟังความข้างเดียว แต่ส่วนตัวยืนยันว่า สิ่งที่นักศึกษาทำเป็นสิ่งดีงาม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทางมหาวิทยาลัยควรจะต้องส่งเสริม ไม่ควรที่จะทำให้เกิดการปิดกั้น หรือสร้างความเสียหายกับนักศึกษา ควรต้องปกป้องด้วยซ้ำ ดังนั้น เรื่องนี้ ตนขอเวลา1 - 2 วัน ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากตรวจสอบพบว่า สิ่งที่น้องแบมออกมาพูดนั้นเป็นเรื่องจริง ทางผู้บริหารของ มมส.จะมีความผิดหรือไม่ นพ.อุดม กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอยู่แล้ว ต่อข้อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตอย่างไร กรณีที่ผู้บริหารหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างพากันตำหนิเด็กนักศึกษา นพ.อุดม กล่าวว่า “ตรงนี้ต้องไปถามผู้บริหารและอาจารย์ดังกล่าวเอง ว่าทำไมจึงไปตำหนิเด็ก แต่ส่วนตัว ผมเห็นว่าเด็กได้ทำสิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เราควรมีหน้าที่ชื่นชม และให้กำลังใจแก่เด็ก”
เมื่อถามว่า จะต้องมีการตรวจสอบอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ด้วยหรือไม่ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุจริตหรือไม่ นพ.อุดม กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน เพราะเรื่องการทุจริตดังกล่าว อยู่ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แล้วที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้ส่งนักศึกษาฝึกงานไปหลายแห่ง เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นความบังเอิญมากกว่า จึงคิดว่าไม่น่าจะมีความเชื่อมโยงกัน เพราะเป็นคนละกระทรวง แต่จะเกี่ยวข้องหรือไม่ให้กระทรวง พม.และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท. )ไปตรวจสอบ
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะส่งเสริมหรือมีส่วนผลักดันให้เด็กต่อยอดในการทำความดีในครั้งนี้ นพ.อุดม กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมอยู่แล้ว เพื่อให้มีกิจกรรมไปทำความดี ยืนยันอีกครั้ง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยควรต้องส่งเสริมเด็กที่จะทำความดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเป็นตัวอย่างที่ดี
ด้านพล.อ.อนัตพร กาญจนรัตน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ติดเชื้อเอดส์ ว่า ขณะนี้ทีมตรวจสอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจสอบทั่วประเทศ และมีรายงานเข้ามาทุกวัน จึงสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องเรียนทุกวัน เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้เท่าที่ ป.ป.ท.รายงานเข้ามา พบตัวเลขยังอยู่ที่ 14 จังหวัด แต่ก็พบเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ใน 24 หน่วยงาน ซึ่งสิ้นเดือนมี.ค.นี้ จะครบกำหนดการตรวจสอบรอบแรก และจะชัดเจนว่าใครจะถูกลงโทษบ้าง
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กำลังสอบสวนอยู่ ถ้ามีหลักฐานก็ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ ไม่อยากให้มีการพูดให้เกิดความเสียหาย หรือไปคาดการณ์อะไรล่วงหน้า ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งตนเข้าใจดีว่า หลายคนอาจจะมองด้วยความไม่ไว้วางใจกับการดำเนินการที่ผ่านมา แต่อยากถามว่า รัฐบาลนี้ทำอะไรให้เกิดขึ้นตั้งมากมาย หลายเรื่องไม่เคยเกิดขึ้น ไม่เคยมีการสอบสวน แต่ถ้ามาเปรียบเทียบกันไปมาแบบนี้ มันก็สับสนอลหม่านไปหมด จะสอบสวนก็ลำบาก ทำไม่ได้ ผลออกมาประชาชนไม่พอใจ ก็ไม่ได้อีก
"ผมอยากให้เข้าใจว่า กฎหมายก็คือกฎหมาย มันอยู่ที่การตีความ ก็ต้องฟังเขาด้วย เพราะถึงอย่างไรเขาก็ต้องไปต่อสู้กันในกระบวนการศาลอีก มีทนายมาแก้ต่างกันไป กันมา และท้ายที่สุดศาลตัดสินออกมา ก็เป็นไปตามวัตถุพยาน กับพยานบุคคล มันบิดเบือนเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ก็ขอว่าอย่าไปพูดให้เสียหายเลย"
ส่วนที่มีการเรียกร้องให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ซึ่งเป็นรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในขณะนั้น พิจารณาตัวเองด้วยการลาออกนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ฟังไป มันยังไม่ใช่เวลาในตอนนี้ รอให้มีการสอบสวนก่อน แล้วใครรับผิดชอบตรงไหน ก็ว่ากันมา
"ถ้าคิดกันแบบนี้ นายกฯ ก็ต้องรับทุกเรื่อง จนกระทั่งถึงเสมียนข้างล่าง นายกฯต้องรับผิดชอบหมด จริงอยู่ในสายการบังคับบัญชาในฐานะที่ผมเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบทางกฎหมาย มันก็มีระดับของมันลงไป ดังนั้นต้องไปดูด้วย และนโยบายของผมชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการทุจริต และนโยบายบางเรื่องก็มีการสืบต่อเนื่องกันมานานแล้ว แต่การทำความผิดอาจจะตรวจสอบไม่พบ หรือสมยอมอะไรกันมา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กรุณาใช้สิ่งเหล่านี้เป็นหลักคิดให้ด้วย" นายกฯ กล่าว
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึง กรณีน.ส.ปณิดา ยศปัญญา หรือ น้องแบม นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาพัฒนาชุมชน คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( มมส.) เปิดเผยข้อมูลการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้และผู้ป่วยโรคเอดส์ ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่กลับหัวหน้าภาควิชาทำร้ายร่างกาย ด้วยการทุบหลัง ว่า ต้องรอฟังผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน ว่ามีการทำร้ายจริงหรือไม่ ซึ่งตนได้สั่งให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปตรวจสอบแล้ว ตอนนี้อย่าพึ่งฟังความข้างเดียว แต่ส่วนตัวยืนยันว่า สิ่งที่นักศึกษาทำเป็นสิ่งดีงาม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทางมหาวิทยาลัยควรจะต้องส่งเสริม ไม่ควรที่จะทำให้เกิดการปิดกั้น หรือสร้างความเสียหายกับนักศึกษา ควรต้องปกป้องด้วยซ้ำ ดังนั้น เรื่องนี้ ตนขอเวลา1 - 2 วัน ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากตรวจสอบพบว่า สิ่งที่น้องแบมออกมาพูดนั้นเป็นเรื่องจริง ทางผู้บริหารของ มมส.จะมีความผิดหรือไม่ นพ.อุดม กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอยู่แล้ว ต่อข้อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตอย่างไร กรณีที่ผู้บริหารหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างพากันตำหนิเด็กนักศึกษา นพ.อุดม กล่าวว่า “ตรงนี้ต้องไปถามผู้บริหารและอาจารย์ดังกล่าวเอง ว่าทำไมจึงไปตำหนิเด็ก แต่ส่วนตัว ผมเห็นว่าเด็กได้ทำสิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เราควรมีหน้าที่ชื่นชม และให้กำลังใจแก่เด็ก”
เมื่อถามว่า จะต้องมีการตรวจสอบอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ด้วยหรือไม่ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุจริตหรือไม่ นพ.อุดม กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน เพราะเรื่องการทุจริตดังกล่าว อยู่ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แล้วที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้ส่งนักศึกษาฝึกงานไปหลายแห่ง เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นความบังเอิญมากกว่า จึงคิดว่าไม่น่าจะมีความเชื่อมโยงกัน เพราะเป็นคนละกระทรวง แต่จะเกี่ยวข้องหรือไม่ให้กระทรวง พม.และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท. )ไปตรวจสอบ
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะส่งเสริมหรือมีส่วนผลักดันให้เด็กต่อยอดในการทำความดีในครั้งนี้ นพ.อุดม กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมอยู่แล้ว เพื่อให้มีกิจกรรมไปทำความดี ยืนยันอีกครั้ง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยควรต้องส่งเสริมเด็กที่จะทำความดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเป็นตัวอย่างที่ดี
ด้านพล.อ.อนัตพร กาญจนรัตน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ติดเชื้อเอดส์ ว่า ขณะนี้ทีมตรวจสอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจสอบทั่วประเทศ และมีรายงานเข้ามาทุกวัน จึงสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องเรียนทุกวัน เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้เท่าที่ ป.ป.ท.รายงานเข้ามา พบตัวเลขยังอยู่ที่ 14 จังหวัด แต่ก็พบเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ใน 24 หน่วยงาน ซึ่งสิ้นเดือนมี.ค.นี้ จะครบกำหนดการตรวจสอบรอบแรก และจะชัดเจนว่าใครจะถูกลงโทษบ้าง
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กำลังสอบสวนอยู่ ถ้ามีหลักฐานก็ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ ไม่อยากให้มีการพูดให้เกิดความเสียหาย หรือไปคาดการณ์อะไรล่วงหน้า ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งตนเข้าใจดีว่า หลายคนอาจจะมองด้วยความไม่ไว้วางใจกับการดำเนินการที่ผ่านมา แต่อยากถามว่า รัฐบาลนี้ทำอะไรให้เกิดขึ้นตั้งมากมาย หลายเรื่องไม่เคยเกิดขึ้น ไม่เคยมีการสอบสวน แต่ถ้ามาเปรียบเทียบกันไปมาแบบนี้ มันก็สับสนอลหม่านไปหมด จะสอบสวนก็ลำบาก ทำไม่ได้ ผลออกมาประชาชนไม่พอใจ ก็ไม่ได้อีก
"ผมอยากให้เข้าใจว่า กฎหมายก็คือกฎหมาย มันอยู่ที่การตีความ ก็ต้องฟังเขาด้วย เพราะถึงอย่างไรเขาก็ต้องไปต่อสู้กันในกระบวนการศาลอีก มีทนายมาแก้ต่างกันไป กันมา และท้ายที่สุดศาลตัดสินออกมา ก็เป็นไปตามวัตถุพยาน กับพยานบุคคล มันบิดเบือนเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ก็ขอว่าอย่าไปพูดให้เสียหายเลย"
ส่วนที่มีการเรียกร้องให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ซึ่งเป็นรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในขณะนั้น พิจารณาตัวเองด้วยการลาออกนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ฟังไป มันยังไม่ใช่เวลาในตอนนี้ รอให้มีการสอบสวนก่อน แล้วใครรับผิดชอบตรงไหน ก็ว่ากันมา
"ถ้าคิดกันแบบนี้ นายกฯ ก็ต้องรับทุกเรื่อง จนกระทั่งถึงเสมียนข้างล่าง นายกฯต้องรับผิดชอบหมด จริงอยู่ในสายการบังคับบัญชาในฐานะที่ผมเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบทางกฎหมาย มันก็มีระดับของมันลงไป ดังนั้นต้องไปดูด้วย และนโยบายของผมชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการทุจริต และนโยบายบางเรื่องก็มีการสืบต่อเนื่องกันมานานแล้ว แต่การทำความผิดอาจจะตรวจสอบไม่พบ หรือสมยอมอะไรกันมา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กรุณาใช้สิ่งเหล่านี้เป็นหลักคิดให้ด้วย" นายกฯ กล่าว