ผู้จัดการรายวัน360- "ต่อตระกูล" เผยยื่นหนังสือถึง“บิ๊กตู่”ปมนาฬิกาหรู หวังให้พิจารณาเอา"บิ๊กป้อม"ออกจาก"คตช."ไม่ต้องรอ ป.ป.ช.ชี้มูล เพราะเป็นเรื่องจริยธรรม รับ อนุกรรมการหลายคน ลำบากใจ ด้าน"ประมนต์" ชี้หนังสือกระทุ้ง“บิ๊กตู่”ให้ข้อคิด ถ้าไม่เอาจริงเอาจังแก้ทุจริต กองหนุนมีแต่ถดถอย
วานนี้ (19 ก.พ.) นายต่อตระกูล ยมนาค ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริต ในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในฐานะประธาน คตช. ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อเรียกศรัทธาการแก้ปัญหาทุจริตกลับคืนมา จากกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สวมใส่นาฬิกาและแหวนเพชรราคาแพง แต่ไม่ได้แสดงไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ในกรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่า สาเหตุที่ต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพราะตนในฐานะ ประธานอนุกรรมการฯ ต้องทำหน้าที่ เหมือนกับที่เราทำหน้าที่มาตลอด 3 ปี ว่ามีเรื่องอะไรที่นายกฯ ทำได้ สามารถสั่งการได้ แล้วจะช่วยในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการ คตช. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประธานคตช. เหมือนกับ นายวิษณุ เครืองาม และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่สามารถให้ความเห็นได้ เรามองว่า มันสำคัญ
"นายกฯ อาจจะทำเรื่องอื่นไม่ได้ แต่อย่างน้อยในคตช. ท่านอาจจะพิจารณาหรือขอร้อง พล.อ.ประวิตร ให้ลาออกได้ เพราะนายกฯมีอำนาจตรงนี้ โดยไม่ต้องคิดว่า ต้องรอให้มีการชี้มูล หรือตัดสินความผิดก่อน เพราะกรณีนี้มันเป็นเรื่องของจริยธรรม และ จรรยาบรรณ เป็นสิ่งที่นายกฯ ทำได้ เพื่อเป็นตัวอย่าง ที่ผ่านมาท่านใช้ มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการที่มีแค่ข้อหา ออกจากตำแหน่งมาประจำที่สำนักนายกฯ ทำไปหลายร้อยคนแล้ว ดังนั้น นายกฯ ทำได้เลย โดยการขอให้ ลาออก หรือพิจารณาให้ออก เพราะตำแหน่งกรรมการ คตช. เป็นเพียงตำแหน่งเล็กๆ" นายต่อตระกูล กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าหากนายกฯไม่พิจารณา อนุกรรมการหลายคน จะลาออกจากการเป็นกรรมการ จริงหรือไม่ นายต่อตระกูล กล่าวว่า มีบางคนพูดกันอยู่ แต่ไม่ได้มาจากสาเหตุนี้เรื่องเดียว เพราะมันมีหลายเรื่อง ตอนนี้อนุกรรมการทุกคณะ นั่งรอมา 4 -5 เดือนกว่าแล้ว ว่าเมื่อไรคตช.จะนัดประชุม ไม่เหมือนแรกๆ ที่มีการประชุมกันทุกเดือน แต่ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา ว่างเว้นไปนาน ยอมรับว่า กรรมการต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งมา เคยทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันมาโดยตลอด ทำงานด้วยความลำบากใจ บรรยากาศมันต่างจากวันแรกๆ ที่พอเราเสนออะไรไป วันสองวัน นายกฯ จะนำเข้าที่ประชุม ครม.ทันที เพื่อออก มาตรการต่างๆ อย่างรวดเร็ว เรียกว่า นายกฯ อยากให้เร็วยิ่งกว่าคนที่อยู่ในวงการมานาน ทั้งนี้ การที่ตนทำหนังสือถึงนายกฯ นั้น เราตั้งใจให้เป็นเรื่องภายในของผู้ที่ทำงานกับนายกฯ โดยส่งหนังสือเป็นทางการ ไปที่ทำเนียบรัฐบาล ตามขั้นตอน
กรณีการถือครองนาฬิกา ของพล.อ.ประวิตร ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช.นั้น เดิมทีเรานึกว่า ป.ป.ช. คงเต็มที่กับเรื่องนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับทำงานได้ไม่เต็มที่ ทั้งที่ความจริง การตรวจสอบกรณีไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน โดยอ้างว่ายืมมาจากเพื่อน มีกรณีของ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว โดยกรณีของ นายสุพจน์ นอกจากข้อหาร่ำรวยผิดปกติที่ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว ในส่วนของ รถโฟล์ก ที่นายสุพจน์ อ้างว่ายืมมา ป.ป.ช.ก็ฟ้องข้อหาไม่แจ้งหนี้สินไปด้วย เพราะการยืมทรัพย์สินราคาแพงมาก ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องแจ้งทั้งหมด จะอ้างว่ายืมแล้วไม่แจ้งคงไม่ได้ และศาลฎีกาได้ตัดสินแล้วว่า ข้ออ้างเรื่องยืมมารับฟังไม่ได้ ดังนั้น กรณีแบบนี้ไม่น่าจะต้องใช้เวลานาน ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. บอกว่า ปลายเดือนก.พ.จะเสร็จ แต่ตอนนี้เหมือนว่าจะยืดเยื้อออกไปอีก
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในฐานะ กรรมการคตช. กล่าวว่า ตนเห็นก็อบปี้หนังสือดังกล่าวแล้ว ถือเป็นข้อคิดได้ว่า ถ้าผู้ใหญ่ในรัฐบาลทำอะไร ที่ทำให้คนมีความรู้สึกว่า ไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้แล้ว จะทำให้คนที่ต้องการสนับสนุน ถดถอยไปบ้าง
"การออกมาแสดงความชัดเจนของผู้นำรัฐบาล ก็เป็นเสียงเรียกร้องของประชาชนมาตลอด ที่ไม่ใช่แค่มีใครในรัฐบาลที่ทำผิด หรือไม่ผิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าการที่เราเป็นผู้นำ การแสดงการความเป็นผู้ที่มีจริยธรรม คุณธรรม ต้องสูงกว่าที่อื่น เป็นสิ่งที่คาดหวังของคนทั่วไปอยู่แล้ว ในฐานะที่ผมอยู่ในองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน มีพูดคุย และได้สะท้อนส่งสัญญาณออกไปในหลายๆ ประเด็น ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว" นายประมนต์ กล่าว
วานนี้ (19 ก.พ.) นายต่อตระกูล ยมนาค ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริต ในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในฐานะประธาน คตช. ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อเรียกศรัทธาการแก้ปัญหาทุจริตกลับคืนมา จากกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สวมใส่นาฬิกาและแหวนเพชรราคาแพง แต่ไม่ได้แสดงไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ในกรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่า สาเหตุที่ต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพราะตนในฐานะ ประธานอนุกรรมการฯ ต้องทำหน้าที่ เหมือนกับที่เราทำหน้าที่มาตลอด 3 ปี ว่ามีเรื่องอะไรที่นายกฯ ทำได้ สามารถสั่งการได้ แล้วจะช่วยในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการ คตช. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประธานคตช. เหมือนกับ นายวิษณุ เครืองาม และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่สามารถให้ความเห็นได้ เรามองว่า มันสำคัญ
"นายกฯ อาจจะทำเรื่องอื่นไม่ได้ แต่อย่างน้อยในคตช. ท่านอาจจะพิจารณาหรือขอร้อง พล.อ.ประวิตร ให้ลาออกได้ เพราะนายกฯมีอำนาจตรงนี้ โดยไม่ต้องคิดว่า ต้องรอให้มีการชี้มูล หรือตัดสินความผิดก่อน เพราะกรณีนี้มันเป็นเรื่องของจริยธรรม และ จรรยาบรรณ เป็นสิ่งที่นายกฯ ทำได้ เพื่อเป็นตัวอย่าง ที่ผ่านมาท่านใช้ มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการที่มีแค่ข้อหา ออกจากตำแหน่งมาประจำที่สำนักนายกฯ ทำไปหลายร้อยคนแล้ว ดังนั้น นายกฯ ทำได้เลย โดยการขอให้ ลาออก หรือพิจารณาให้ออก เพราะตำแหน่งกรรมการ คตช. เป็นเพียงตำแหน่งเล็กๆ" นายต่อตระกูล กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าหากนายกฯไม่พิจารณา อนุกรรมการหลายคน จะลาออกจากการเป็นกรรมการ จริงหรือไม่ นายต่อตระกูล กล่าวว่า มีบางคนพูดกันอยู่ แต่ไม่ได้มาจากสาเหตุนี้เรื่องเดียว เพราะมันมีหลายเรื่อง ตอนนี้อนุกรรมการทุกคณะ นั่งรอมา 4 -5 เดือนกว่าแล้ว ว่าเมื่อไรคตช.จะนัดประชุม ไม่เหมือนแรกๆ ที่มีการประชุมกันทุกเดือน แต่ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา ว่างเว้นไปนาน ยอมรับว่า กรรมการต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งมา เคยทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันมาโดยตลอด ทำงานด้วยความลำบากใจ บรรยากาศมันต่างจากวันแรกๆ ที่พอเราเสนออะไรไป วันสองวัน นายกฯ จะนำเข้าที่ประชุม ครม.ทันที เพื่อออก มาตรการต่างๆ อย่างรวดเร็ว เรียกว่า นายกฯ อยากให้เร็วยิ่งกว่าคนที่อยู่ในวงการมานาน ทั้งนี้ การที่ตนทำหนังสือถึงนายกฯ นั้น เราตั้งใจให้เป็นเรื่องภายในของผู้ที่ทำงานกับนายกฯ โดยส่งหนังสือเป็นทางการ ไปที่ทำเนียบรัฐบาล ตามขั้นตอน
กรณีการถือครองนาฬิกา ของพล.อ.ประวิตร ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช.นั้น เดิมทีเรานึกว่า ป.ป.ช. คงเต็มที่กับเรื่องนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับทำงานได้ไม่เต็มที่ ทั้งที่ความจริง การตรวจสอบกรณีไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน โดยอ้างว่ายืมมาจากเพื่อน มีกรณีของ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว โดยกรณีของ นายสุพจน์ นอกจากข้อหาร่ำรวยผิดปกติที่ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว ในส่วนของ รถโฟล์ก ที่นายสุพจน์ อ้างว่ายืมมา ป.ป.ช.ก็ฟ้องข้อหาไม่แจ้งหนี้สินไปด้วย เพราะการยืมทรัพย์สินราคาแพงมาก ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องแจ้งทั้งหมด จะอ้างว่ายืมแล้วไม่แจ้งคงไม่ได้ และศาลฎีกาได้ตัดสินแล้วว่า ข้ออ้างเรื่องยืมมารับฟังไม่ได้ ดังนั้น กรณีแบบนี้ไม่น่าจะต้องใช้เวลานาน ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. บอกว่า ปลายเดือนก.พ.จะเสร็จ แต่ตอนนี้เหมือนว่าจะยืดเยื้อออกไปอีก
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในฐานะ กรรมการคตช. กล่าวว่า ตนเห็นก็อบปี้หนังสือดังกล่าวแล้ว ถือเป็นข้อคิดได้ว่า ถ้าผู้ใหญ่ในรัฐบาลทำอะไร ที่ทำให้คนมีความรู้สึกว่า ไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้แล้ว จะทำให้คนที่ต้องการสนับสนุน ถดถอยไปบ้าง
"การออกมาแสดงความชัดเจนของผู้นำรัฐบาล ก็เป็นเสียงเรียกร้องของประชาชนมาตลอด ที่ไม่ใช่แค่มีใครในรัฐบาลที่ทำผิด หรือไม่ผิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าการที่เราเป็นผู้นำ การแสดงการความเป็นผู้ที่มีจริยธรรม คุณธรรม ต้องสูงกว่าที่อื่น เป็นสิ่งที่คาดหวังของคนทั่วไปอยู่แล้ว ในฐานะที่ผมอยู่ในองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน มีพูดคุย และได้สะท้อนส่งสัญญาณออกไปในหลายๆ ประเด็น ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว" นายประมนต์ กล่าว