ผู้จัดการรายวัน360- นายกฯประชุมบอร์ดบีโอไอ เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน กระตุ้นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการเกษตรครบวงจร กำหนดให้อุตสาหกรรม s-Surve-กิจการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ฯ เป็นประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับเขตส่งเสริมฯ ในพื้นที่ EEC
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (14ก.พ.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ครั้งที่ 1/2561 โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งภายหลังการประชุม น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ ได้แถลงผลสรุปของการประชุมดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการยกระดับความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการลดผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมถึงการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้ โดยกิจการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน และให้ปรับปรุงมาตรการเพื่อความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง (Big Data Analysis, Internet of Things)เป็นต้น โดยจะให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ร้อยละ 200 ของเงินลงทุน หรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ส่งเสริมการลงทุนในกิจการด้านการเกษตรเป็นกรณีพิเศษ หากยื่นขอรับการส่งเสริมภายในสิ้นปี 61 เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรอย่างครบวงจร และช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรในประเทศให้สูงขึ้น โดยผ่อนปรนเงื่อนไขด้านการผลิตให้ง่ายขึ้น และปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน และสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืชชีวภัณฑ์ กิจการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ กิจการคัดคุณภาพบรรจุและเก็บรักษาพืชผักผลไม้ หรือดอกไม้ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ กิจการผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้ทางการเกษตร การผลิตเชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตร การผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ การผลิตหรือถนอมอาหารและเครื่องดื่ม กิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร เป็นต้น และกำหนดแนวทางการส่งเสริมออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1. หากเป็นผู้ประกอบการไทยขนาดย่อมที่ลงทุนในกิจการด้านการเกษตรตามที่กำหนด จะผ่อนปรนเงินลงทุนขั้นต่ำของโครงการจาก 1 ล้านบาท เหลือ 5 แสนบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) และผ่อนปรนให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศ มาใช้ในโครงการได้บางส่วน โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5-8 ปี ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 200 ของมูลค่าเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
2. หากเป็นผู้ประกอบการที่สนับสนุน หรือร่วมดำเนินการกับท้องถิ่นลงทุนในกิจการด้านการเกษตรตามที่กำหนด จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน
เลขาธิการบีโอไอ กล่าวด้วยว่า หลังจากที่บอร์ดบีโอไอ ได้อนุมัติมาตรการอีอีซี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 ที่ผ่านมา และได้ประกาศกำหนดประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับ“เขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ”และ “นิคมหรือเขตอุตสาหกรรมทั่วไป”แล้ว ในครั้งนี้ บอร์ด ยังได้อนุมัติให้กำหนดกลุ่มประเภทกิจการเป้าหมาย เพื่อรองรับการประกาศ“เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย”ของคณะกรรมการนโยบาย อีอีซี ซึ่งจะทำให้ประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับแต่ละเขตมีผลใช้บังคับทันที ที่คณะกรรมการนโยบายอีอีซีออกประกาศกำหนด “เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย”ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย อุตสาหกรรมเอสเคิร์ฟ (s-Surve) และกิจการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตเอทานอล 99.5% ของบริษัท อิมเพรส เอทานอล จำกัด (หุ้นไทย และมาเลเซีย) เงินลงทุน 2,970 ล้านบาท เพื่อผลิตเอทานอลปีละประมาณ 109,500,000 ลิตร ซึ่งจะใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ มันสำปะหลัง ปีละ 700,000 ตัน ตั้งอยู่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (14ก.พ.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ครั้งที่ 1/2561 โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งภายหลังการประชุม น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ ได้แถลงผลสรุปของการประชุมดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการยกระดับความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการลดผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมถึงการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้ โดยกิจการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน และให้ปรับปรุงมาตรการเพื่อความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง (Big Data Analysis, Internet of Things)เป็นต้น โดยจะให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ร้อยละ 200 ของเงินลงทุน หรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ส่งเสริมการลงทุนในกิจการด้านการเกษตรเป็นกรณีพิเศษ หากยื่นขอรับการส่งเสริมภายในสิ้นปี 61 เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรอย่างครบวงจร และช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรในประเทศให้สูงขึ้น โดยผ่อนปรนเงื่อนไขด้านการผลิตให้ง่ายขึ้น และปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน และสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืชชีวภัณฑ์ กิจการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ กิจการคัดคุณภาพบรรจุและเก็บรักษาพืชผักผลไม้ หรือดอกไม้ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ กิจการผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้ทางการเกษตร การผลิตเชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตร การผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ การผลิตหรือถนอมอาหารและเครื่องดื่ม กิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร เป็นต้น และกำหนดแนวทางการส่งเสริมออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1. หากเป็นผู้ประกอบการไทยขนาดย่อมที่ลงทุนในกิจการด้านการเกษตรตามที่กำหนด จะผ่อนปรนเงินลงทุนขั้นต่ำของโครงการจาก 1 ล้านบาท เหลือ 5 แสนบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) และผ่อนปรนให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศ มาใช้ในโครงการได้บางส่วน โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5-8 ปี ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 200 ของมูลค่าเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
2. หากเป็นผู้ประกอบการที่สนับสนุน หรือร่วมดำเนินการกับท้องถิ่นลงทุนในกิจการด้านการเกษตรตามที่กำหนด จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน
เลขาธิการบีโอไอ กล่าวด้วยว่า หลังจากที่บอร์ดบีโอไอ ได้อนุมัติมาตรการอีอีซี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 ที่ผ่านมา และได้ประกาศกำหนดประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับ“เขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ”และ “นิคมหรือเขตอุตสาหกรรมทั่วไป”แล้ว ในครั้งนี้ บอร์ด ยังได้อนุมัติให้กำหนดกลุ่มประเภทกิจการเป้าหมาย เพื่อรองรับการประกาศ“เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย”ของคณะกรรมการนโยบาย อีอีซี ซึ่งจะทำให้ประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับแต่ละเขตมีผลใช้บังคับทันที ที่คณะกรรมการนโยบายอีอีซีออกประกาศกำหนด “เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย”ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย อุตสาหกรรมเอสเคิร์ฟ (s-Surve) และกิจการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตเอทานอล 99.5% ของบริษัท อิมเพรส เอทานอล จำกัด (หุ้นไทย และมาเลเซีย) เงินลงทุน 2,970 ล้านบาท เพื่อผลิตเอทานอลปีละประมาณ 109,500,000 ลิตร ซึ่งจะใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ มันสำปะหลัง ปีละ 700,000 ตัน ตั้งอยู่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา