ในช่วงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครเผชิญกับปัญหาฝุ่นหมอกควันพิษอย่างมากจนเข้าสู่ภาวะอันตรายสร้างความกังวลว่าปัญหานี้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อเมืองหลวงของประเทศไทย นั่นหมายความว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมากในแต่ละปีนั้นจะเกิดปัญหาขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้เราต้องเข้าใจว่าสภาวะอากาศเป็นพิษเกิดจากปัญหาของสภาวะที่เรียกว่า “เรือนกระจก” แต่กรุงเทพมหานครในช่วงที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ลมสงัด เกิดการชะงักงันของกระแสลมทำให้หมอกควันที่เกิดจากปัญหาจราจรและอุตสาหกรรมลอยนิ่งครอบคลุมทั้งเมือง ทำให้คนที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจจะต้องระมัดระวัง
สภาวะเช่นนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่เป็นปัญหาในเมืองใหญ่ต่างๆ ของโลกซึ่งไม่มีมาตรการแก้ไขมลภาวะเป็นพิษ ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีการรณรงค์ให้ลดภาวะโลกร้อนด้วยการเลือกใช้พลังงานที่มีผลกระทบน้อยและยกเลิกการใช้ถ่านหินหรือพลังงานที่เกิดจากฟอสซิล ซึ่งบางประเทศยังลังเลในการบังคับใช้กฎระเบียบนี้
ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการเปิดเผยงานสำรวจและวิจัยสภาวะโลกร้อนซึ่งแสดงให้เห็นว่าทำให้เกิดธารน้ำแข็งละลายในขั้วโลกเหนือคือแอนตาร์กติกาและขั้วโลกใต้ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นต่อเนื่องในแต่ละปี ถ้าหากสถานการณ์นี้ยังคงต่อเนื่องเมืองต่างๆ ที่อยู่ชายฝั่งทะเลและมหาสมุทรจะต้องมีปัญหาถูกน้ำท่วมในที่สุดถ้าไม่มีการป้องกัน
จากการศึกษาของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้พบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมีทุกปี นักวิจัยนำโดยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด-โบลเดอร์ซึ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ได้ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลังไปถึงปี 1993 เพื่อตรวจสอบระดับของน้ำในมหาสมุทรต่างๆ และอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลซึ่งสำรวจได้ช่วงระหว่างปี 1992 ถึงปี 2014 ได้ปรากฏให้เห็นชัดเจน
การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมนอกเหนือจากการสังเกตน้ำขึ้นน้ำลง ก็เห็นว่าเป็นการวัดระดับน้ำทะเลเพื่อความแม่นยำและประเมินผลของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการวิเคราะห์ด้วยความมั่นใจว่าน้ำทะเล ได้เพิ่มขึ้นสูงประมาณ 7 เซนติเมตรหรือ 2.8 นิ้วในระยะเวลา 25 ปีที่มีการเก็บข้อมูลไว้ ซึ่งถือว่าระดับน้ำทะเลขึ้นสูงประมาณ 3 มิลลิเมตรหรือ 0.1 นิ้วในแต่ละปี
อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลไม่แน่นอนเสมอไปขึ้นอยู่กับระดับของภาวะเรือนกระจกในแต่ละปีที่ทำให้บรรยากาศของโลกโดยทั่วไปมีสูงขึ้น และการละลายของน้ำแข็งในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
การเร่งของการละลายน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาทำให้มีการวิเคราะห์ถึงความรวดเร็วในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลว่าจะเพิ่มอย่างมากภายในปี 2100 เมื่อเทียบกับการขยายตัวของการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งเท่ากับว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 60 เซนติเมตร
ดังนั้นการละลายของธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์จะทำให้น้ำท่วมในหลายเมืองทั่วโลก การคาดการณ์ดังกล่าว ก็คล้องจองกับการคาดคะเนของรายงานถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศด้วย
คณะผู้สังเกตการณ์นานาชาติซึ่งได้เห็นการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะเพิ่มขึ้นระหว่าง 52 และ 98 เซนติเมตรภายในปี 2100 และอัตราที่ว่านี้ถือว่าเป็นเพราะปกติถ้าปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจกยังไม่ลดลงจากระดับที่เป็นอยู่
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตว่ามีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเพื่อที่จะให้ผู้กำหนดนโยบายของแต่ละประเทศ ได้มีข้อมูลสำหรับการประเมินความเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล
ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 65 เซนติเมตร หรือ 2 ฟุตตามที่คาดการณ์ไว้ จะสร้างปัญหาอย่างมากมายสำหรับเมืองต่างๆ ที่อยู่บนชายฝั่งทะเลทั่วโลก ระดับน้ำทะเลสูงสุดหรือน้ำขึ้นหรือการยกตัวขึ้นสูงของน้ำด้วยพายุ จะทำให้เกิดวิกฤตจากเรื่องนี้เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่
จากการสังเกตบันทึกที่จะทำไว้โดยท่าเรือบอสตันในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งมีพายุไซโคลนและน้ำท่วมสม่ำเสมอในเมืองในช่วงที่มีน้ำทะเลขึ้นสูง ก็จะทำให้เห็นความสูงของระดับน้ำประมาณ 1 ฟุต
ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยให้เห็นระดับน้ำทะเลจากการคาดการณ์ว่าจะมีเรื่องของระดับน้ำที่สูงขึ้น นอกจากนั้นเป็นที่คาดหมายว่าเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้น้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างน้อย 2 ฟุต
การวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์ยังนำเอาปัจจัยอื่นในด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา หรือการระเบิดของภูเขาไฟพินาโตบูในปี 1991 ซึ่งมีอิทธิพลทำให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหลายปีดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ จึงเชื่อว่าภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์เป็นหลัก และยังไม่มีหนทางหยุดยั้งได้ ถ้าไม่มีมาตรการที่ได้ผลภายใต้ความร่วมมือกันทั่วโลก
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 65 เซนติเมตรในช่วงสิ้นปี 2100 ยังถือว่าเป็นปัจจัยที่ไม่น่ากังวลเท่าไหร่นัก แต่เกรงว่าผลของการเพิ่มขึ้นและอัตราเร่งจะทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นใน 25 ปีที่ผ่านมาจะยังคงอยู่นานต่อไปอีก 82 ปี
เราได้เห็นความไม่เสถียรของแผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ถ้ายังคงละลายในอัตราที่รวดเร็วเราอาจจะมองเห็นการยกระดับน้ำทะเลสูงกว่า 65 เซนติเมตรภายในสิ้นปี 2100
กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองที่ถูกน้ำท่วมเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วโลกเช่นกัน ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันที่ได้ผล