คำว่า สาธารณะ เป็นคุณศัพท์ใช้เป็นคำขยายคำนาม และมีความหมายว่าทั่วไป มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชนโดยรวมเช่นคำว่า สาธารณประโยชน์หมายถึงประโยชน์ที่ทุกคนได้รับ เป็นต้น
ดังนั้น คำว่าบุคคลสาธารณะจึงหมายถึงคนของประชาชน เช่น ดารานักแสดงที่ประชาชนนิยมชมชอบ และนักการเมืองที่ขันอาสาเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชนอันเป็นส่วนรวม เป็นต้น
เมื่อเป็นคนของประชาชน บุคคลสาธารณะจะพูดอะไรหรือทำสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พูดและทำนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นแง่บวกหรือว่าแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเป็นเรื่องของส่วนรวม
ดังนั้น จึงพูดได้ว่าเรื่องส่วนตัวกับเรื่องส่วนรวมสำหรับบุคคลสาธารณะแล้ว แทบจะเป็นอันเดียวกัน แยกกันได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรื่องนั้นไปเกี่ยวพันกับการทำผิดกฎหมาย จริยธรรม หรือแม้กระทั่งประเพณีอันดีงาม ซึ่งเป็นกติกาทางสังคม
เรื่องส่วนตัวในลักษณะดังกล่าวแล้ว จึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ประชาชนคาดหวังว่าบุคคลสาธารณะซึ่งเป็นคนเด่น เป็นคนดังมีชื่อเสียงได้รับการยกย่องนับถือ จะต้องเป็นคนดี มีจริยธรรม และเป็นแบบอย่างให้ผู้คนในสังคมยึดถือและทำตาม
2. โดยนัยตามข้อ 1 ดังนั้น เมื่อบุคคลสาธารณะพูดอะไรหรือทำสิ่งใด จึงเป็นที่สนใจของประชาชน ไม่ว่าสิ่งที่พูด และทำนั้นจะผิดหรือถูก และผลที่บุคคลสาธารณะได้รับจากการพูด และทำนั้นขึ้นกับความผิด ความถูกนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าสิ่งที่ทำ คำที่พูดถูกต้อง การแซ่ซ้องสรรเสริญก็ดังขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่ทำ คำที่พูดไม่ถูกต้อง เสียงตำหนิติเตียนก็ดังขึ้นไม่น้อยไปกว่าเสียงสรรเสริญ หรือบางทีจะดังกว่าด้วยซ้ำไป
ด้วยเหตุนี้ บุคคลสาธารณะโดยเฉพาะนักการเมืองซึ่งมีสถานภาพทางสังคมในระดับผู้บริหารประเทศ จะต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะพูดหรือทำ มิฉะนั้นจะตกเป็นทาสแห่งคำพูด และการกระทำของตนเอง ดังที่ได้เกิดขึ้นกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในกรณีนาฬิการาคาแพงซึ่งเกี่ยวข้องกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยตรง จากการนำนาฬิกาหรูมาใส่ และมีผู้หยิบยกประเด็นการถือครองทรัพย์สิน และการไม่แจ้งต่อ ป.ป.ช.ขึ้นมาฟ้องร้องให้ ป.ป.ช.สอบสวนหาข้อเท็จจริง และในขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการของ ป.ป.ช. และเกี่ยวข้องกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอ้อมในประเด็นที่แสดงความเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวขอให้เลิกพูดได้แล้ว
เรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นได้อย่างไร และจบลงได้อย่างไร มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่?
กรณีนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั่งประชุมและยกมือที่สวมนาฬิการาคาแพง และสวมแหวนเพชรขึ้นบังแสงแดดซึ่งส่องมากระทบหน้า ทำให้มองเห็นนาฬิกาและแหวนชัดเจน ภาพนั้นได้ปรากฏทางสื่อ จึงได้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อมีผู้ตั้งคำถามว่า นาฬิกาและแหวนเพชร ได้ปรากฏในรายการทรัพย์สินที่แจ้ง ป.ป.ช. เมื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และได้มีผู้นำเรื่องนี้ไปร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบเรื่องนี้
ในระหว่างที่ ป.ป.ช.ทำการตรวจสอบเรื่องนี้ สื่อมวลชนก็ทำหน้าที่ของสื่อโดยการสืบค้น ด้วยการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และคนหนึ่งที่สื่อมวลชนสอบถามก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำรัฐบาล และคำตอบที่ได้รับกลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาก็คือ เป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวกับพล.อ.ประวิตร อันเกิดจากการถามของสื่อมวลชนก็คือ นาฬิกาของเพื่อน และแหวนของแม่ให้ยืมมาใส่
ทั้งประเด็นเป็นเรื่องส่วนตัว และนาฬิกาของเพื่อน และแหวนของแม่ได้กลายเป็นจุดด้อย บั่นทอนศรัธาของรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าพิจารณาในแง่กฎหมาย ป.ป.ช.ในประเด็นที่ว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องแจ้งรายการทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่แจ้งก็เป็นความผิด และยังมีประเด็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินว่าได้มาถูกต้องหรือไม่ด้วย
2. ถ้าเป็นการยืมจากคนอื่นๆ (ตามที่พล.อ.ประวิตรชี้แจง) ก็ไม่เข้าข่ายการถือครองทรัพย์สิน และไม่ต้องแจ้ง ป.ป.ช. แต่จะต้องมีหลักฐาน และพยานบุคคลยืนยันการยืม ทั้งพยานและหลักฐาน จะต้องเป็นที่เชื่อถือ จึงจะทำให้เรื่องนี้จบลงด้วยความใสสะอาด ปราศจากข้อกังขา ทั้งในแง่ของกฎหมายและในแง่ของสังคม แต่ถ้าพยานและหลักฐานไม่เป็นที่เชื่อถือของผู้คนในสังคม ถึงแม้ ป.ป.ช.จะยุติเรื่องนี้และทำให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พ้นจากความผิดในแง่กฎหมาย แต่ก็คงยังเป็นจำเลยทางสังคม และเป็นจุดบั่นทอนศรัทธารัฐบาลต่อไป ตราบเท่าที่ยังอยู่ในตำแหน่งทางการเมือง
ดังนั้น คำว่าบุคคลสาธารณะจึงหมายถึงคนของประชาชน เช่น ดารานักแสดงที่ประชาชนนิยมชมชอบ และนักการเมืองที่ขันอาสาเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชนอันเป็นส่วนรวม เป็นต้น
เมื่อเป็นคนของประชาชน บุคคลสาธารณะจะพูดอะไรหรือทำสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พูดและทำนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นแง่บวกหรือว่าแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเป็นเรื่องของส่วนรวม
ดังนั้น จึงพูดได้ว่าเรื่องส่วนตัวกับเรื่องส่วนรวมสำหรับบุคคลสาธารณะแล้ว แทบจะเป็นอันเดียวกัน แยกกันได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรื่องนั้นไปเกี่ยวพันกับการทำผิดกฎหมาย จริยธรรม หรือแม้กระทั่งประเพณีอันดีงาม ซึ่งเป็นกติกาทางสังคม
เรื่องส่วนตัวในลักษณะดังกล่าวแล้ว จึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ประชาชนคาดหวังว่าบุคคลสาธารณะซึ่งเป็นคนเด่น เป็นคนดังมีชื่อเสียงได้รับการยกย่องนับถือ จะต้องเป็นคนดี มีจริยธรรม และเป็นแบบอย่างให้ผู้คนในสังคมยึดถือและทำตาม
2. โดยนัยตามข้อ 1 ดังนั้น เมื่อบุคคลสาธารณะพูดอะไรหรือทำสิ่งใด จึงเป็นที่สนใจของประชาชน ไม่ว่าสิ่งที่พูด และทำนั้นจะผิดหรือถูก และผลที่บุคคลสาธารณะได้รับจากการพูด และทำนั้นขึ้นกับความผิด ความถูกนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าสิ่งที่ทำ คำที่พูดถูกต้อง การแซ่ซ้องสรรเสริญก็ดังขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่ทำ คำที่พูดไม่ถูกต้อง เสียงตำหนิติเตียนก็ดังขึ้นไม่น้อยไปกว่าเสียงสรรเสริญ หรือบางทีจะดังกว่าด้วยซ้ำไป
ด้วยเหตุนี้ บุคคลสาธารณะโดยเฉพาะนักการเมืองซึ่งมีสถานภาพทางสังคมในระดับผู้บริหารประเทศ จะต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะพูดหรือทำ มิฉะนั้นจะตกเป็นทาสแห่งคำพูด และการกระทำของตนเอง ดังที่ได้เกิดขึ้นกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในกรณีนาฬิการาคาแพงซึ่งเกี่ยวข้องกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยตรง จากการนำนาฬิกาหรูมาใส่ และมีผู้หยิบยกประเด็นการถือครองทรัพย์สิน และการไม่แจ้งต่อ ป.ป.ช.ขึ้นมาฟ้องร้องให้ ป.ป.ช.สอบสวนหาข้อเท็จจริง และในขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการของ ป.ป.ช. และเกี่ยวข้องกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอ้อมในประเด็นที่แสดงความเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวขอให้เลิกพูดได้แล้ว
เรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นได้อย่างไร และจบลงได้อย่างไร มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่?
กรณีนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั่งประชุมและยกมือที่สวมนาฬิการาคาแพง และสวมแหวนเพชรขึ้นบังแสงแดดซึ่งส่องมากระทบหน้า ทำให้มองเห็นนาฬิกาและแหวนชัดเจน ภาพนั้นได้ปรากฏทางสื่อ จึงได้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อมีผู้ตั้งคำถามว่า นาฬิกาและแหวนเพชร ได้ปรากฏในรายการทรัพย์สินที่แจ้ง ป.ป.ช. เมื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และได้มีผู้นำเรื่องนี้ไปร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบเรื่องนี้
ในระหว่างที่ ป.ป.ช.ทำการตรวจสอบเรื่องนี้ สื่อมวลชนก็ทำหน้าที่ของสื่อโดยการสืบค้น ด้วยการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และคนหนึ่งที่สื่อมวลชนสอบถามก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำรัฐบาล และคำตอบที่ได้รับกลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาก็คือ เป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวกับพล.อ.ประวิตร อันเกิดจากการถามของสื่อมวลชนก็คือ นาฬิกาของเพื่อน และแหวนของแม่ให้ยืมมาใส่
ทั้งประเด็นเป็นเรื่องส่วนตัว และนาฬิกาของเพื่อน และแหวนของแม่ได้กลายเป็นจุดด้อย บั่นทอนศรัธาของรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าพิจารณาในแง่กฎหมาย ป.ป.ช.ในประเด็นที่ว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องแจ้งรายการทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่แจ้งก็เป็นความผิด และยังมีประเด็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินว่าได้มาถูกต้องหรือไม่ด้วย
2. ถ้าเป็นการยืมจากคนอื่นๆ (ตามที่พล.อ.ประวิตรชี้แจง) ก็ไม่เข้าข่ายการถือครองทรัพย์สิน และไม่ต้องแจ้ง ป.ป.ช. แต่จะต้องมีหลักฐาน และพยานบุคคลยืนยันการยืม ทั้งพยานและหลักฐาน จะต้องเป็นที่เชื่อถือ จึงจะทำให้เรื่องนี้จบลงด้วยความใสสะอาด ปราศจากข้อกังขา ทั้งในแง่ของกฎหมายและในแง่ของสังคม แต่ถ้าพยานและหลักฐานไม่เป็นที่เชื่อถือของผู้คนในสังคม ถึงแม้ ป.ป.ช.จะยุติเรื่องนี้และทำให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พ้นจากความผิดในแง่กฎหมาย แต่ก็คงยังเป็นจำเลยทางสังคม และเป็นจุดบั่นทอนศรัทธารัฐบาลต่อไป ตราบเท่าที่ยังอยู่ในตำแหน่งทางการเมือง