ผู้จัดการรายวัน 360- ครม.อนุมัติโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก พร้อมเห็นชอบ 4 ยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจรตามที่พาณิชย์เสนอ "สนธิรัตน์" ดึง 4 หน่วยงานเซ็นMOU ดันไทยเป็นมหานครผลไม้ของโลก โฆษกรัฐบาล เผยรองนายกฯ เชื่อนักลงทุนไหลเข้าภาคตะวันออก- ครม.อนุมัติแผนจัดการน้ำ เขตศก.พิเศษ กรมทรัพยากรน้ำเชื่ออีก 10 ปี ต้องใช้น้ำ 800 ล้านลบ.ม. พร้อมรับทราบแผนลงทุนโครงข่ายคมนาคม ในพื้นที่ EEC ต่อเนื่อง ถึง 2566 “สมคิด”เร่งประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน 2.3 แสนล้าน ส่วนแหลมฉบังขั้นที่3 คาดเปิดให้บริการในปี 2568 ปปช.ขีดเส้น 8ก.พ.'บิ๊กป้อม'แจงนาฬิกา รอบ 3
วานนี้ (6ก.พ.) ที่อาคารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคสช. เป็นประธานการประชุมครม.นอกสถานที่ โดยหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงความพึงพอใจในการลงพื้นที่จ.ตราดและจันทบุรี ว่าประสบความสำเร็จในหลายหลายๆ ด้านรวมทั้งได้รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆจากภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับหลักการข้อเสนอต่างๆ กว่า 10 โครงการ และจะนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยจะพัฒนาให้พื้นที่ อีอีซี เกิดผลประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุด ทั้งในเรื่องภาษีรายได้เข้ารัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต และที่มีความพอใจ โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว
**ครม.อนุมัติจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก
ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมครม. ได้อนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor)ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยได้อนุมัติวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ ในระยะที่ 1 จำนวน 80 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปีงบฯ 61 ภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการผลผลิต, การบบริหารจัดการการตลาด, การวิจัยและพัฒนา, พัฒนาองค์กรและเกษตรกร และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
*** ดึง4หน่วยงานลงMOUดันไทยเป็นมหานครผลไม้โลก
ด้านนายสนธิรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานสักขีพยานในการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลักดันประเทศไทยให้เป็นมหานครผลไม้ของโลก ระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจะร่วมกันกำหนดมาตรฐานผลไม้ไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เช่น ThaiGAP และ Q-GAP และยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตและเครือข่ายตลาด นำไปสู่การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าผลไม้ของไทย
ทั้งนี้ การลงนามใน MOU ยังครอบคลุมไปถึงการเชื่อมโยงตลาดผลไม้ระหว่างผู้ผลิตผลไม้ในภาคตะวันออกและในภูมิภาคต่างๆ กับผู้รับซื้อ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ชาวสวนผลไม้มีตลาดรองรับที่แน่นอน และยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เพราะใน MOU ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพผลไม้ของไทยเอาไว้ ตลอดจนจะมีความร่วมมือในการรวบรวม การขนส่ง และการกระจายสินค้า ทั้งในประเทศและการส่งออกด้วย
นายสนธิรัตน์กล่าวว่า นอกจากจะมีการทำข้อตกลงดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนยุทธ์ศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีเป้าหมายผลักดันประเทศไทยเป็นมหานครผลไม้ของโลก ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1.มุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้เมืองร้อน สดและแปรรูป ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยกำหนดมาตรฐานการผลิตและการค้าผลไม้เกรดพรีเมี่ยมและเกรดรอง และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลไม้ของไทย
2.การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายให้มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายช่องทางไปถึงตลาดออนไลน์ การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตลาดชายแดน 3.สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะด้านการเงินของผู้ประกอบการค้าผลไม้ของไทย โดยจัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อเป็นเงินทุนให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้คุณภาพ และ 4.การประชาสัมพันธ์สินค้าผลไม้เมืองร้อนของไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด
***มั่นใจนักลงทุนแห่เข้าอีอีซี
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้รายงานต่อที่ประชุมครม. เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่า ผู้ที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ต้องกังวลเรื่องผังเมือง เมื่อมีคนที่ลงทุนสามารถถือครองที่ดินได้ รวมทั้งด้านแรงงาน โดยไม่ต้องวุ่นวายไปสอบไลเซนส์ เพราะเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว รวมทั้ง บีโอไอ ได้ประกาศมาแล้วว่า เม็ดเงินที่ มาในภาคตะวันออก มีประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ สามารถสร้างความเชื่อมันได้ อย่างไรก็ตาม เดิมจังหวัดจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่วันข้างหน้าก็จะมี การประกาศได้อีก โดยจะประกาศได้เป็นโซนๆไป
นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมติตามแผนจัดการเรื่องน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ของกรมทรัพยากรแห่งชาติน้ำ ที่เสนอให้ครม. จัดทำแผนแหล่งในภาคตะวันออก เพราะมีเป็นพื้นที่เขต อีอีซี ต้องมีแหล่งอุตสาหกรรม และคาดหมายว่าต้องมีแรงงานเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 ล้านคน ทำให้มีความต้องการใช้น้ำทั้งอุปโภค บริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม โดยเชื่อว่าในปี 2570 มี ความต้องการใช้น้ำประมาณ 800 ล้านลบ.ม. และปี 2579 น่าจะใช้น้ำถึง 1 พันล้านลบ.ม. โดยปัจจุบันได้มีการสำรวจพบว่า สามารถจัดหาน้ำได้ 427 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอ เพราะมีความต้องการใช้จริงอยู่ ที่ 320 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ มีการกำหนดแผนว่า ต้องปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมที่อยู่ในพื้นที่ 6 แห่ง เพื่อเพิ่มน้ำได้อีก 75 ล้านลบ.ม. และจะจัดทำอ่างเก็บน้ำใหม่ 3 แห่ง เมื่อทำแล้วจะสามารถเก็บน้ำได้ ปริมาณเพิ่ม 308 ล้านลบ.ม. พร้อมทั้งเชื่อมโยงแหล่งน้ำด้วยการขุดคลองระบายน้ำให้น้ำพร่องถึงกัน และผันน้ำ ในระยะ 5 ปี น่าจะเพิ่มต้นทุนน้ำได้อีก 20 ล้านลบ.ม. ซึ่งถ้าทำตามแผนนี้รวมทั้งแหล่งสำรอง ของภาคเอกชน ก็จะเพียงพอสำหรับ 800 ล้านลบ.ม. ใน 10 ปีข้างหน้า โดยครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องไปดำเนินการ เตรียมความพร้อมจัดทำแผนปฎิบัติ การของตัวเองที่จะรองรับแผนใหญ่
***ครม.รับทราบแผนลงทุนโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ EEC ถึง 2566
รายงานข่าว แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก (EEC) ของกระทรวงคมนาคม ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบแผน และคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561 โดยแบ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ช่วงปี 2557-2561 วงเงินรวม 77,323.783. ล้านบาท เช่น มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด ซึ่งจะเปิดใช้ในปี2563
ด้านการพัฒนาระบบราง การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) มีแผนดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.มูลค่าโครงการ 236,700 ล้านบาทและมีการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน 145 ไร่ และที่ดินรอบสถานีศรีราชา 30 ไร่ โดยที่ประชุม กนศ.ได้รับทราบกรอบหลักการร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อพิจารณาให้ความเห็นรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ก่อนนำเสนอ กนศ.ต่อไป
ส่วนระยะต่อไปจะมีการเชื่อมโยงรถไฟต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV และจีนตอนล่างเข้ากับ 3ท่าเรือ คือ แหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ และแผนโครงการรองรับนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่ง ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคมนาคมของบกลางปี 2561 เพื่อศึกษาความเหมาะสม
นอกจากนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ยังอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและสิ่งสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่3 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 ส่วนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ระยะที่1 ที่สนามบินอู่ตะเภามูลค่าประมาณ 10,300 ล้านบาทเป็นโครงการนำร่องใน EEC
**ปัด"พลังชล"ถูกจีบร่วมรัฐบาลทหาร
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงกรณี นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล พร้อมด้วยอดีต ส.ส.ของพรรค พบปะพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างเดินทางไปประชุม ครม.สัญจร ที่จ.จันทบุรี ทำให้เกิดกระแสข่าวเตรียมเข้าร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมัยหน้าว่า นายสนธยา เป็นนักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่ ได้ทำงานสนับสนุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตลอดมา เมื่อนายกฯ เดินทางมาประชุม ครม.สัญจร ในฐานะเจ้าบ้านเลยเดินทางไปต้อนรับ ยิ่งในอนาคตจะมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เกิดขึ้น จึงได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้ง ด้านคมนาคมทางบก อากาศ น้ำ การท่องเที่ยว การกีฬา มาร่วมแลกเปลี่ยน ส่วนประเด็นการเมืองที่มีการตั้งข้อสังเกตุกันนั้น ไม่มีการพูดคุยประเด็นการเมืองใดๆทั้งสิ้น
**ขีดเส้น 8ก.พ.'บิ๊กป้อม'แจงนาฬิกา รอบ 3
แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช. เผยถึงความคืบหน้ากรณี พล.อ.ประวิตร สวมใส่นาฬิกา และแหวนเพชร ราคาแพง แต่ไม่ได้แสดงไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ยื่นต่อป.ป.ช.ว่า เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง วันที่ 4 ก.ย.57 ว่า หลังจากมีการแฉเรื่องนาฬิกาหรู ของพล.อ.ประวิตร ออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นนาฬิกา 25 เรือนนั้น ทางป.ป.ช. จึงให้ พล.อ.ประวิตร ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม เป็นครั้งที่ 3 โดยส่งหนังสือไป เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีการชี้แจงมาแต่อย่างใด ทั้งที่จะครบกำหนดในวันที่ 8 ก.พ.นี้
ส่วนกรณี ป.ป.ช. ให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากบุคคลภายนอก ที่มีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาดังกล่าว ตามที่พล.อ.ประวิตรกล่าวอ้าง จำนวน 4 รายนั้น ขณะนี้ได้รับความร่วมมือในการให้ถ้อยคำ และให้ข้อมูลเป็นอย่างดี รวมทั้งจากการที่ ป.ป.ช. มีหนังสือไปยัง บริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาภายในประเทศ ที่ปรากฏเป็นข่าว เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ก็ได้รับเอกสารจากบริษัทเอกชนบางส่วนมาแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จภายในเดือนก.พ.นี้
วานนี้ (6ก.พ.) ที่อาคารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคสช. เป็นประธานการประชุมครม.นอกสถานที่ โดยหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงความพึงพอใจในการลงพื้นที่จ.ตราดและจันทบุรี ว่าประสบความสำเร็จในหลายหลายๆ ด้านรวมทั้งได้รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆจากภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับหลักการข้อเสนอต่างๆ กว่า 10 โครงการ และจะนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยจะพัฒนาให้พื้นที่ อีอีซี เกิดผลประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุด ทั้งในเรื่องภาษีรายได้เข้ารัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต และที่มีความพอใจ โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว
**ครม.อนุมัติจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก
ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมครม. ได้อนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor)ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยได้อนุมัติวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ ในระยะที่ 1 จำนวน 80 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปีงบฯ 61 ภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการผลผลิต, การบบริหารจัดการการตลาด, การวิจัยและพัฒนา, พัฒนาองค์กรและเกษตรกร และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
*** ดึง4หน่วยงานลงMOUดันไทยเป็นมหานครผลไม้โลก
ด้านนายสนธิรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานสักขีพยานในการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลักดันประเทศไทยให้เป็นมหานครผลไม้ของโลก ระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจะร่วมกันกำหนดมาตรฐานผลไม้ไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เช่น ThaiGAP และ Q-GAP และยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตและเครือข่ายตลาด นำไปสู่การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าผลไม้ของไทย
ทั้งนี้ การลงนามใน MOU ยังครอบคลุมไปถึงการเชื่อมโยงตลาดผลไม้ระหว่างผู้ผลิตผลไม้ในภาคตะวันออกและในภูมิภาคต่างๆ กับผู้รับซื้อ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ชาวสวนผลไม้มีตลาดรองรับที่แน่นอน และยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เพราะใน MOU ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพผลไม้ของไทยเอาไว้ ตลอดจนจะมีความร่วมมือในการรวบรวม การขนส่ง และการกระจายสินค้า ทั้งในประเทศและการส่งออกด้วย
นายสนธิรัตน์กล่าวว่า นอกจากจะมีการทำข้อตกลงดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนยุทธ์ศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีเป้าหมายผลักดันประเทศไทยเป็นมหานครผลไม้ของโลก ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1.มุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้เมืองร้อน สดและแปรรูป ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยกำหนดมาตรฐานการผลิตและการค้าผลไม้เกรดพรีเมี่ยมและเกรดรอง และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลไม้ของไทย
2.การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายให้มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายช่องทางไปถึงตลาดออนไลน์ การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตลาดชายแดน 3.สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะด้านการเงินของผู้ประกอบการค้าผลไม้ของไทย โดยจัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อเป็นเงินทุนให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้คุณภาพ และ 4.การประชาสัมพันธ์สินค้าผลไม้เมืองร้อนของไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด
***มั่นใจนักลงทุนแห่เข้าอีอีซี
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้รายงานต่อที่ประชุมครม. เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่า ผู้ที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ต้องกังวลเรื่องผังเมือง เมื่อมีคนที่ลงทุนสามารถถือครองที่ดินได้ รวมทั้งด้านแรงงาน โดยไม่ต้องวุ่นวายไปสอบไลเซนส์ เพราะเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว รวมทั้ง บีโอไอ ได้ประกาศมาแล้วว่า เม็ดเงินที่ มาในภาคตะวันออก มีประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ สามารถสร้างความเชื่อมันได้ อย่างไรก็ตาม เดิมจังหวัดจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่วันข้างหน้าก็จะมี การประกาศได้อีก โดยจะประกาศได้เป็นโซนๆไป
นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมติตามแผนจัดการเรื่องน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ของกรมทรัพยากรแห่งชาติน้ำ ที่เสนอให้ครม. จัดทำแผนแหล่งในภาคตะวันออก เพราะมีเป็นพื้นที่เขต อีอีซี ต้องมีแหล่งอุตสาหกรรม และคาดหมายว่าต้องมีแรงงานเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 ล้านคน ทำให้มีความต้องการใช้น้ำทั้งอุปโภค บริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม โดยเชื่อว่าในปี 2570 มี ความต้องการใช้น้ำประมาณ 800 ล้านลบ.ม. และปี 2579 น่าจะใช้น้ำถึง 1 พันล้านลบ.ม. โดยปัจจุบันได้มีการสำรวจพบว่า สามารถจัดหาน้ำได้ 427 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอ เพราะมีความต้องการใช้จริงอยู่ ที่ 320 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ มีการกำหนดแผนว่า ต้องปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมที่อยู่ในพื้นที่ 6 แห่ง เพื่อเพิ่มน้ำได้อีก 75 ล้านลบ.ม. และจะจัดทำอ่างเก็บน้ำใหม่ 3 แห่ง เมื่อทำแล้วจะสามารถเก็บน้ำได้ ปริมาณเพิ่ม 308 ล้านลบ.ม. พร้อมทั้งเชื่อมโยงแหล่งน้ำด้วยการขุดคลองระบายน้ำให้น้ำพร่องถึงกัน และผันน้ำ ในระยะ 5 ปี น่าจะเพิ่มต้นทุนน้ำได้อีก 20 ล้านลบ.ม. ซึ่งถ้าทำตามแผนนี้รวมทั้งแหล่งสำรอง ของภาคเอกชน ก็จะเพียงพอสำหรับ 800 ล้านลบ.ม. ใน 10 ปีข้างหน้า โดยครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องไปดำเนินการ เตรียมความพร้อมจัดทำแผนปฎิบัติ การของตัวเองที่จะรองรับแผนใหญ่
***ครม.รับทราบแผนลงทุนโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ EEC ถึง 2566
รายงานข่าว แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก (EEC) ของกระทรวงคมนาคม ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบแผน และคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561 โดยแบ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ช่วงปี 2557-2561 วงเงินรวม 77,323.783. ล้านบาท เช่น มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด ซึ่งจะเปิดใช้ในปี2563
ด้านการพัฒนาระบบราง การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) มีแผนดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.มูลค่าโครงการ 236,700 ล้านบาทและมีการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน 145 ไร่ และที่ดินรอบสถานีศรีราชา 30 ไร่ โดยที่ประชุม กนศ.ได้รับทราบกรอบหลักการร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อพิจารณาให้ความเห็นรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ก่อนนำเสนอ กนศ.ต่อไป
ส่วนระยะต่อไปจะมีการเชื่อมโยงรถไฟต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV และจีนตอนล่างเข้ากับ 3ท่าเรือ คือ แหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ และแผนโครงการรองรับนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่ง ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคมนาคมของบกลางปี 2561 เพื่อศึกษาความเหมาะสม
นอกจากนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ยังอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและสิ่งสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่3 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 ส่วนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ระยะที่1 ที่สนามบินอู่ตะเภามูลค่าประมาณ 10,300 ล้านบาทเป็นโครงการนำร่องใน EEC
**ปัด"พลังชล"ถูกจีบร่วมรัฐบาลทหาร
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงกรณี นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล พร้อมด้วยอดีต ส.ส.ของพรรค พบปะพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างเดินทางไปประชุม ครม.สัญจร ที่จ.จันทบุรี ทำให้เกิดกระแสข่าวเตรียมเข้าร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมัยหน้าว่า นายสนธยา เป็นนักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่ ได้ทำงานสนับสนุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตลอดมา เมื่อนายกฯ เดินทางมาประชุม ครม.สัญจร ในฐานะเจ้าบ้านเลยเดินทางไปต้อนรับ ยิ่งในอนาคตจะมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เกิดขึ้น จึงได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้ง ด้านคมนาคมทางบก อากาศ น้ำ การท่องเที่ยว การกีฬา มาร่วมแลกเปลี่ยน ส่วนประเด็นการเมืองที่มีการตั้งข้อสังเกตุกันนั้น ไม่มีการพูดคุยประเด็นการเมืองใดๆทั้งสิ้น
**ขีดเส้น 8ก.พ.'บิ๊กป้อม'แจงนาฬิกา รอบ 3
แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช. เผยถึงความคืบหน้ากรณี พล.อ.ประวิตร สวมใส่นาฬิกา และแหวนเพชร ราคาแพง แต่ไม่ได้แสดงไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ยื่นต่อป.ป.ช.ว่า เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง วันที่ 4 ก.ย.57 ว่า หลังจากมีการแฉเรื่องนาฬิกาหรู ของพล.อ.ประวิตร ออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นนาฬิกา 25 เรือนนั้น ทางป.ป.ช. จึงให้ พล.อ.ประวิตร ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม เป็นครั้งที่ 3 โดยส่งหนังสือไป เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีการชี้แจงมาแต่อย่างใด ทั้งที่จะครบกำหนดในวันที่ 8 ก.พ.นี้
ส่วนกรณี ป.ป.ช. ให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากบุคคลภายนอก ที่มีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาดังกล่าว ตามที่พล.อ.ประวิตรกล่าวอ้าง จำนวน 4 รายนั้น ขณะนี้ได้รับความร่วมมือในการให้ถ้อยคำ และให้ข้อมูลเป็นอย่างดี รวมทั้งจากการที่ ป.ป.ช. มีหนังสือไปยัง บริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาภายในประเทศ ที่ปรากฏเป็นข่าว เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ก็ได้รับเอกสารจากบริษัทเอกชนบางส่วนมาแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จภายในเดือนก.พ.นี้