วานนี้ (25 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงเรื่องแผนปฏิรูปประเทศไทย 11 ด้านบวก 2 คณะ คือ ตำรวจ และ การศึกษา ว่า ทุกคณะร่างพิมพ์เขียวเสร็จแล้ว ได้ยกร่างที่หนึ่ง จนเป็นแผนปฏิรูปที่ชัดเจน ว่าแต่ละด้านมีประเด็นและกิจกรรมอะไรบ้าง รวมถึงหน่วยงานไหน ดำเนินการอย่างไร และใช้งบประมาณเท่าไร และประมาณเดือนก.พ. จะเสนอแผนให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และในเดือนมี.ค. หรือต้นเม.ย. จะเสนอครม.เพื่อพิจารณาและประกาศใช้ โดยจากนี้ไป จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหรือสื่อพร้อมกับเปิดเวทีวิพากษ์วิจารณ์โดยจะนัดแถลงเป็นกลุ่ม เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยให้ประธานแต่ละคณะแถลงข่าวทุกช่องทางการสื่อสาร
ในเบื้องต้น ได้ตรวจสอบความสอดคล้องแผนปฏิรูปประเทศ กับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การลดความเหลื่อมล้ำ หรือประเทศที่มีรายได้สูง และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาด้านโครงสร้าง และเชื่อมโยงระหว่างแผนหรือนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ ได้ให้การบ้านเพิ่มเติม เรื่องการประชาสัมพันธ์ของทุกแผนปฏิรูป ว่าประชาชนได้อะไรจากการปฏิรูปครั้งนี้
สำหรับข้อเสนอของแต่ละคณะที่น่าสนใจ อาทิ คณะปฏิรูปการเมือง เน้นการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย แบบปรึกษาหารือ เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง โดยจะให้มีโรงเรียนประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ด้วยการบรรจุเป็นหลักสูตรพิเศษสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงอุดมศึกษา โดยไม่ได้เป็นการตั้งโรงเรียนใหม่ขึ้นมา , คณะปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน เน้นการให้บริการภาครัฐที่ทันสมัย ตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ด้วยการนำระบบดิจิทัล e–government มาใช้ให้มากขึ้น รวมถึงให้ทบทวนความเป็นนิติบุคคลใหม่ของทุกหน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวง และ 140 กรม เพราะเมื่อมีสถานะเป็นนิติบุคคล เกิดปัญหาตามมามากมาย ด้านการหวงแหนอำนาจ และงบประมาณตัวเอง เช่น งบประมาณเหลือจ่าย ไม่สามารถแบ่งหรือจัดสรรให้ต่างกรมหรือต่างกระทรวงได้, คณะปฏิรูปกฎหมาย เน้นการปฏิรูปกฎหมายที่ช่วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงให้ทบทวนกฎหมายทั้งหมด และ ให้ออก พ.ร.บ.กลาง เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การออกกฎหมายใหม่ ต้องมีการพิจารณาถึงความจำเป็นเท่านั้น ,
คณะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เน้นการให้ความช่วยเหลือด้านความเป็นธรรม , คณะปฏิรูปเศรษฐกิจ เน้นการแข่งขันลดความเหลื่อมล้ำ และความยากจน ดัวยการตั้งสำนักงานแก้ปัญหาความยกจน , คณะปฏิรูปสิ่งแวดล้อม เน้นการดูแลทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบ , คณะปฏิรูปสาธารณสุข เน้นการให้บริการสุขภาพแบบถึงตัวประชาชน และเสนอให้ตั้งแพทย์ครอบครัวขึ้นทุกตำบล เน้นการรักษาพยาบาลประชาชนถึงบ้าน โดยเน้นคนจนที่ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการของรัฐบาล , คณะปฏิรูปสื่อสารมวลชน เน้นดุลยภาพ เสรีภาพกับการกำกับด้วยความชอบธรรม หรือ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ , คณะปฏิรูปสังคม เน้นการสร้างบทบาทชุมชนให้เข้มแข็ง, คณะปฏิรูปพลังงาน เน้นส่งเสริมโซลาร์ฟาร์ม และ คณะปฏิรูปการทุจริต เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเบาะแสการทุจริต
ในเบื้องต้น ได้ตรวจสอบความสอดคล้องแผนปฏิรูปประเทศ กับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การลดความเหลื่อมล้ำ หรือประเทศที่มีรายได้สูง และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาด้านโครงสร้าง และเชื่อมโยงระหว่างแผนหรือนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ ได้ให้การบ้านเพิ่มเติม เรื่องการประชาสัมพันธ์ของทุกแผนปฏิรูป ว่าประชาชนได้อะไรจากการปฏิรูปครั้งนี้
สำหรับข้อเสนอของแต่ละคณะที่น่าสนใจ อาทิ คณะปฏิรูปการเมือง เน้นการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย แบบปรึกษาหารือ เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง โดยจะให้มีโรงเรียนประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ด้วยการบรรจุเป็นหลักสูตรพิเศษสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงอุดมศึกษา โดยไม่ได้เป็นการตั้งโรงเรียนใหม่ขึ้นมา , คณะปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน เน้นการให้บริการภาครัฐที่ทันสมัย ตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ด้วยการนำระบบดิจิทัล e–government มาใช้ให้มากขึ้น รวมถึงให้ทบทวนความเป็นนิติบุคคลใหม่ของทุกหน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวง และ 140 กรม เพราะเมื่อมีสถานะเป็นนิติบุคคล เกิดปัญหาตามมามากมาย ด้านการหวงแหนอำนาจ และงบประมาณตัวเอง เช่น งบประมาณเหลือจ่าย ไม่สามารถแบ่งหรือจัดสรรให้ต่างกรมหรือต่างกระทรวงได้, คณะปฏิรูปกฎหมาย เน้นการปฏิรูปกฎหมายที่ช่วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงให้ทบทวนกฎหมายทั้งหมด และ ให้ออก พ.ร.บ.กลาง เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การออกกฎหมายใหม่ ต้องมีการพิจารณาถึงความจำเป็นเท่านั้น ,
คณะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เน้นการให้ความช่วยเหลือด้านความเป็นธรรม , คณะปฏิรูปเศรษฐกิจ เน้นการแข่งขันลดความเหลื่อมล้ำ และความยากจน ดัวยการตั้งสำนักงานแก้ปัญหาความยกจน , คณะปฏิรูปสิ่งแวดล้อม เน้นการดูแลทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบ , คณะปฏิรูปสาธารณสุข เน้นการให้บริการสุขภาพแบบถึงตัวประชาชน และเสนอให้ตั้งแพทย์ครอบครัวขึ้นทุกตำบล เน้นการรักษาพยาบาลประชาชนถึงบ้าน โดยเน้นคนจนที่ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการของรัฐบาล , คณะปฏิรูปสื่อสารมวลชน เน้นดุลยภาพ เสรีภาพกับการกำกับด้วยความชอบธรรม หรือ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ , คณะปฏิรูปสังคม เน้นการสร้างบทบาทชุมชนให้เข้มแข็ง, คณะปฏิรูปพลังงาน เน้นส่งเสริมโซลาร์ฟาร์ม และ คณะปฏิรูปการทุจริต เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเบาะแสการทุจริต