วานนี้ (23ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำพรรค เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ของคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง และเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรธน.วินิจฉัย โดยยกเหตุผลประกอบคำร้อง 5 ข้อ คือ
1. ที่กำหนดให้สมาชิกพรรคต้องยืนยันความเป็นสมาชิก ต่อหัวหน้าพรรคภายใน 30 วัน มีผลไม่ต่างจากการรีเซตสมาชิกพรรค หรือเท่ากับบังคับให้สมาชิกพรรคพ้นสมาชิกภาพทั้งหมด และต้องสมัครใหม่โดยปริยาย
2. คำสั่งดังกล่าวห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง ทำให้พรรคไม่สามารถสื่อสารกับสมาชิกพรรคโดยวิธีปกติในทางการเมืองได้
3. คำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหม่ บ่อนทำลายพรรคการเมืองเดิมที่มีขนาดใหญ่ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเดือดร้อน
4. คำสั่งดังกล่าวละเมิดสิทธิ เสรีภาพของสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนตามรธน. จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. ในเรื่องการปฏิรูป และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ในรธน. ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกพรรคได้รับความเสียหาย
5. คำสั่งดังกล่าวตราขึ้นโดยมิได้ปฏิบัติตามกระบวนการตาม มาตรา77 และ มาตรา 132(2)ของรธน.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า คำสั่งนี้ไม่ได้ปลดล็อกทางการเมือง เพราะการห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองยังมีผลบังคับใช้อยู่ แต่อนุญาตให้คนตั้งพรรคการเมืองใหม่เริ่มดำเนินการได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.61 สามารถหาสมาชิกได้ รวมถึงการโน้มน้าวสมาชิกพรรคการเมืองอื่น ให้ลาออกไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคใหม่ได้ แต่ไม่อนุญาตให้พรรคเก่าหาสมาชิก หรือดำเนินกิจกรรมการเมืองได้ โดยกำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 30 เม.ย. ให้สมาชิก ยืนยันการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ด้วยการทำหนังสือไปถึงหัวหน้าพรรค และแสดงหลักฐานว่ามีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามครบถ้วนตามกม.พรรคการเมือง รวมทั้งต้องชำระเงินค่าบำรุงพรรคตามกฎหมาย โดยให้หัวหน้าพรรคตรวจสอบ ภายใน 30 วัน หลังจากนั้น ซึ่งปัจจุบันพรรคมีสมาชิกถึง 2.7 ล้านคน คำสั่งดังกล่าว จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อน และเป็นภาระที่เกินกว่าเหตุ อีกทั้งยังเป็นการเลือกปฏิบัติ ระหว่างพรรคการเมืองเดิม กับพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นการตรากฎหมายที่ละเมิดรธน. มาตรา 27 ที่บัญญัติมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลที่เกี่ยวกับความคิดทางการเมือง
นอกจากนี้ คำสั่งนี้ ยังไม่เข้าข่ายเงื่อนไขตาม มาตรา 44 ที่ต้องทำเฉพาะเรื่องปรองดอง สามัคคี ความมั่นคง และการปฏิรูป และตามรธน.60 มาตรา 279 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คำสั่งนี้ ไม่ถือเป็นที่สุดเหมือนที่เคยเขียนไว้ใน มาตรา 44 ของรธน.ชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าเจตนารมณ์ของรธน. ไม่ได้ต้องการให้คำสั่งหัวหน้าคสช. มายกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายประกอบรธน. คำสั่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ปราศจากเหตุผลโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุผลที่นำมาอ้าง ล้วนไม่สอดคล้องกับความจริง 4 ประการ คือ 1. กรณีที่อ้างว่ามีสมาชิกซ้ำซ้อนกัน ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีการตรวจสอบ และแก้ปัญหานี้ไปแล้ว 2 . ที่อ้างว่าสมาชิกพรรคปัจจุบัน อาจไม่ตั้งใจมาเป็นสมาชิกพรรค ก็ขอยืนยันว่าสมาชิกของพรรค ต้องถ่ายภาพลงลายมือชื่อ มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ข้ออ้างนี้ จึงไม่เป็นความจริง 3. การอ้างว่าคำสั่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมือง ทบทวนอุดมการณ์ก็ไม่เป็นความจริง เพราะการประชุมใหญ่ไม่สามารถทำได้ และ 4. ตามกฎหมายเดิม ไม่ได้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างพรรคการเมืองเก่า กับพรรคการเมืองใหม่ เนื่องจากทุกพรรค ต้องจัดให้มีสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงพรรคในจำนวน และตามเงื่อนเวลาที่เสมอภาคกันอยู่แล้ว
"ผมไม่มีเจตนาสร้างปัญหาทางการเมืองให้กับผู้ออกคำสั่งนี้ แต่ผมมีหน้าที่ที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และผมต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองเดินหน้า การตรากฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจบิดเบือนจนทำให้เกิดวิกฤตอย่างในปัจจุบัน ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขความเดือดร้อน สร้างภาระเกินแก่เหตุ จึงขอให้เสนอไปยังหน่วยงานรัฐ แก้ไขไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบ และส่งศาลรธน.ได้ หากเห็นว่าขัดรธน. และขอให้พิจารณาโดยเร่งด่วน เพราะความไม่เป็นธรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป"
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยื่นไปเถอะ เป็นเรื่องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่จะพิจารณา เพราะเขาไม่ได้ยื่นกับตน จะผิดหรือถูก อยู่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรธน. ที่เขาจะไปฟ้องร้องกัน ก็ให้ว่ามา เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า พอไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วตนต้องการให้ไปร้องศาลอีก มันคนละเรื่องกัน ขอให้เข้าใจด้วย
1. ที่กำหนดให้สมาชิกพรรคต้องยืนยันความเป็นสมาชิก ต่อหัวหน้าพรรคภายใน 30 วัน มีผลไม่ต่างจากการรีเซตสมาชิกพรรค หรือเท่ากับบังคับให้สมาชิกพรรคพ้นสมาชิกภาพทั้งหมด และต้องสมัครใหม่โดยปริยาย
2. คำสั่งดังกล่าวห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง ทำให้พรรคไม่สามารถสื่อสารกับสมาชิกพรรคโดยวิธีปกติในทางการเมืองได้
3. คำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหม่ บ่อนทำลายพรรคการเมืองเดิมที่มีขนาดใหญ่ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเดือดร้อน
4. คำสั่งดังกล่าวละเมิดสิทธิ เสรีภาพของสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนตามรธน. จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. ในเรื่องการปฏิรูป และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ในรธน. ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกพรรคได้รับความเสียหาย
5. คำสั่งดังกล่าวตราขึ้นโดยมิได้ปฏิบัติตามกระบวนการตาม มาตรา77 และ มาตรา 132(2)ของรธน.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า คำสั่งนี้ไม่ได้ปลดล็อกทางการเมือง เพราะการห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองยังมีผลบังคับใช้อยู่ แต่อนุญาตให้คนตั้งพรรคการเมืองใหม่เริ่มดำเนินการได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.61 สามารถหาสมาชิกได้ รวมถึงการโน้มน้าวสมาชิกพรรคการเมืองอื่น ให้ลาออกไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคใหม่ได้ แต่ไม่อนุญาตให้พรรคเก่าหาสมาชิก หรือดำเนินกิจกรรมการเมืองได้ โดยกำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 30 เม.ย. ให้สมาชิก ยืนยันการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ด้วยการทำหนังสือไปถึงหัวหน้าพรรค และแสดงหลักฐานว่ามีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามครบถ้วนตามกม.พรรคการเมือง รวมทั้งต้องชำระเงินค่าบำรุงพรรคตามกฎหมาย โดยให้หัวหน้าพรรคตรวจสอบ ภายใน 30 วัน หลังจากนั้น ซึ่งปัจจุบันพรรคมีสมาชิกถึง 2.7 ล้านคน คำสั่งดังกล่าว จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อน และเป็นภาระที่เกินกว่าเหตุ อีกทั้งยังเป็นการเลือกปฏิบัติ ระหว่างพรรคการเมืองเดิม กับพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นการตรากฎหมายที่ละเมิดรธน. มาตรา 27 ที่บัญญัติมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลที่เกี่ยวกับความคิดทางการเมือง
นอกจากนี้ คำสั่งนี้ ยังไม่เข้าข่ายเงื่อนไขตาม มาตรา 44 ที่ต้องทำเฉพาะเรื่องปรองดอง สามัคคี ความมั่นคง และการปฏิรูป และตามรธน.60 มาตรา 279 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คำสั่งนี้ ไม่ถือเป็นที่สุดเหมือนที่เคยเขียนไว้ใน มาตรา 44 ของรธน.ชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าเจตนารมณ์ของรธน. ไม่ได้ต้องการให้คำสั่งหัวหน้าคสช. มายกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายประกอบรธน. คำสั่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ปราศจากเหตุผลโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุผลที่นำมาอ้าง ล้วนไม่สอดคล้องกับความจริง 4 ประการ คือ 1. กรณีที่อ้างว่ามีสมาชิกซ้ำซ้อนกัน ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีการตรวจสอบ และแก้ปัญหานี้ไปแล้ว 2 . ที่อ้างว่าสมาชิกพรรคปัจจุบัน อาจไม่ตั้งใจมาเป็นสมาชิกพรรค ก็ขอยืนยันว่าสมาชิกของพรรค ต้องถ่ายภาพลงลายมือชื่อ มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ข้ออ้างนี้ จึงไม่เป็นความจริง 3. การอ้างว่าคำสั่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมือง ทบทวนอุดมการณ์ก็ไม่เป็นความจริง เพราะการประชุมใหญ่ไม่สามารถทำได้ และ 4. ตามกฎหมายเดิม ไม่ได้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างพรรคการเมืองเก่า กับพรรคการเมืองใหม่ เนื่องจากทุกพรรค ต้องจัดให้มีสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงพรรคในจำนวน และตามเงื่อนเวลาที่เสมอภาคกันอยู่แล้ว
"ผมไม่มีเจตนาสร้างปัญหาทางการเมืองให้กับผู้ออกคำสั่งนี้ แต่ผมมีหน้าที่ที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และผมต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองเดินหน้า การตรากฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจบิดเบือนจนทำให้เกิดวิกฤตอย่างในปัจจุบัน ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขความเดือดร้อน สร้างภาระเกินแก่เหตุ จึงขอให้เสนอไปยังหน่วยงานรัฐ แก้ไขไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบ และส่งศาลรธน.ได้ หากเห็นว่าขัดรธน. และขอให้พิจารณาโดยเร่งด่วน เพราะความไม่เป็นธรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป"
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยื่นไปเถอะ เป็นเรื่องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่จะพิจารณา เพราะเขาไม่ได้ยื่นกับตน จะผิดหรือถูก อยู่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรธน. ที่เขาจะไปฟ้องร้องกัน ก็ให้ว่ามา เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า พอไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วตนต้องการให้ไปร้องศาลอีก มันคนละเรื่องกัน ขอให้เข้าใจด้วย