นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกส.ว.ไขว้ 20 อาชีพ เป็นเลือกภายในกลุ่มอาชีพ โดยจะลดกลุ่มอาชีพลงเหลือ 10 -15 กลุ่ม ว่า การลดจำนวนกลุ่มลงนั้น กรธ.รับได้ หากลดลงไม่มาก และยังคำนึงถึงความหลากหลายของกลุ่มอาชีพอยู่ ซึ่ง กรธ.ยืนยันว่า แม้จะมีกลุ่มอาชีพลดลง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของผู้ที่จะเข้ามาเป็น ส.ว.ลดลง ซึ่งแตกต่างจากความเห็นของกมธ. ที่มองว่า กลุ่มมากจะทำให้คุณภาพของผู้ที่จะเป็นมาเป็น ส.ว.ลดลง แต่ประเด็นที่ กรธ.ให้ความเป็นห่วงมากคือ การปรับเปลี่ยนวิธีการเลือก จากเลือกไขว้ระหว่างกลุ่มอาชีพ มาเป็นเลือกกันภายในกลุ่มอาชีพ ซึ่ง กรธ.เห็นว่า วิธีเดิมที่กรธ.เสนอไปนั้น เป็นแนวทางที่ป้องกันการสมยอมระหว่างผู้สมัคร หรือ การป้องกันการฮั้วกันได้มากกว่าวิธีที่ กมธ.สนช. จะแก้ไขมาเป็นแบบเลือกตั้งเองภายในกลุ่ม เพราะเป็นการทำลายระบบการป้องกันการสมยอม ตามที่ กรธ.ได้คิดมา ซึ่งกรธ.ยืนยันว่าไม่ได้ปิดกั้นวิธีการเลือกตั้งส.ว.ในรูปแบบอื่น แต่อยากได้วิธีการที่รัดกุมป้องกันการฮั้วมากกว่าที่ กรธ. เสนอ
เมื่อถามว่า หากสนช. ยังยืนยันที่จะผลักดันหลักการเลือก ส.ว.กันเองภายในกลุ่ม จนผ่านวาระ 3 ทางกรธ. จะเสนอตั้งกมธ.ร่วม 3 ฝ่ายหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ที่ประชุมกรธ. ยังไม่ได้คุยกันถึงประเด็นดังกล่าว เหตุที่ตนมาแถลงเพราะอยากให้ สนช.เห็นปัญหา หากเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งส.ว. เป็นแบบเลือกกันเองภายในกลุ่ม
ด้านนายนรชิต กล่าวว่า การลดจำนวนกลุ่ม กรธ. ยอมรับได้ แต่ก็มีความเป็นห่วง เช่น กลุ่มคนคนพิการ และกลุ่มตรีที่มีโอกาสทางสังคมน้อยอยู่แล้ว และยังนำไปรวมกับกลุ่มอื่น ก็ยิ่งทำให้เป็นการตัดสิทธิยิ่งเข้าไปอีก แต่ส่วนที่กังวลก็คือ การแก้ไขของสนช. จากการเลือกไขว้มาเป็นเลือกกันเองนั้น ในที่ประชุมกรธ.พูดกันว่า หากสุดท้ายแล้ว สนช.ยืนยันว่าจะเลือกกันเองภายในกลุ่ม หากเกิดการฮั้วขึ้น ก็อย่ามาโทษกรธ.ก็แล้วกัน
เมื่อถามว่า หากสนช. ยังยืนยันที่จะผลักดันหลักการเลือก ส.ว.กันเองภายในกลุ่ม จนผ่านวาระ 3 ทางกรธ. จะเสนอตั้งกมธ.ร่วม 3 ฝ่ายหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ที่ประชุมกรธ. ยังไม่ได้คุยกันถึงประเด็นดังกล่าว เหตุที่ตนมาแถลงเพราะอยากให้ สนช.เห็นปัญหา หากเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งส.ว. เป็นแบบเลือกกันเองภายในกลุ่ม
ด้านนายนรชิต กล่าวว่า การลดจำนวนกลุ่ม กรธ. ยอมรับได้ แต่ก็มีความเป็นห่วง เช่น กลุ่มคนคนพิการ และกลุ่มตรีที่มีโอกาสทางสังคมน้อยอยู่แล้ว และยังนำไปรวมกับกลุ่มอื่น ก็ยิ่งทำให้เป็นการตัดสิทธิยิ่งเข้าไปอีก แต่ส่วนที่กังวลก็คือ การแก้ไขของสนช. จากการเลือกไขว้มาเป็นเลือกกันเองนั้น ในที่ประชุมกรธ.พูดกันว่า หากสุดท้ายแล้ว สนช.ยืนยันว่าจะเลือกกันเองภายในกลุ่ม หากเกิดการฮั้วขึ้น ก็อย่ามาโทษกรธ.ก็แล้วกัน