“นกน้อยทำรังแต่พอตัว และอย่าขี้ตามช้าง” นี่คือคำพังเพยที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ในอดีตสอนลูกหลานในการดำเนินชีวิตให้ดำรงตนแต่พอเหมาะพอดี จะจับจ่ายใช้สอยอะไรให้คำนึงฐานะทางด้านการเงินของตนเองก่อน อย่าเอาเยี่ยงอย่างคนอื่น ซึ่งมีฐานะทางด้านการเงินและสังคมดีกว่าตนมาเป็นแบบอย่างด้านการเงิน และสังคมที่ดีกว่าตนมาเป็นแบบอย่างแล้วทำตาม แต่ให้คำนึงถึงศักยภาพของแต่ละคนซึ่งไม่เท่ากัน การที่คนอื่นทำอะไรได้มิได้หมายความว่าเราทำได้ แต่ให้ดูว่าเขากับเรามีสถานภาพเท่าเทียมกันหรือไม่ โดยนัยนี้มิได้หมายความว่า ห้ามมิให้ทำ แต่ให้ทำตามสถานะของตนที่ควรจะมี และควรจะเป็น
คำพังเพยทั้งสองคำนี้น่าจะมีที่มาจากสัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ 3 คือ อัตตัญญุตา รู้จักตนว่าตนเองมีสภาวะและสถานะเป็นอย่างไรแล้วปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับสภาวะและสถานะแห่งตน และข้อที่ 7 คือ ปุคคลัญญุตาคือ รู้จักบุคคลคือ รู้จักความแตกต่างของบุคคลแต่ละคนว่ามีอุปนิสัย มีความสามารถ และมีคุณธรรมเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ถูกต้องตามสถานะทางสังคมที่ควรจะเป็น
ส่วนเนื้อหาของความพอเพียงที่นำมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตนั้น น่าจะมาจากสันโดษหรือความยินดี 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือ ยินดีในสิ่งที่ตนหามาได้โดยความชอบธรรม
2. ยถาพลสันโดษคือ ยินดีตามกำลัง และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน
3. ยถาสารุปสันโดษคือ ยินดีตามควรแก่สถานะของตน
ประชากรของประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงเรียนรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา ดังนั้นจึงรับเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานไว้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ยังผลให้ตนเองและครอบครัวอยู่ดีกินดีตามอัตภาพมีความสุข เนื่องจากพ้นวิกฤตจากการเป็นหนี้ ซึ่งเกิดจากการดำเนินชีวิตตามแนวทางทุนนิยม
ด้วยเหตุนี้ คนไทยที่เรียนรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปใช้จนเกิดผลดีในทางปฏิบัติ จึงแปลกใจเมื่อได้เห็นรัฐบาลซึ่งได้ประกาศว่า จะดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในทางปฏิบัติเท่าที่เป็นมาแล้วจนถึงปัจจุบัน ได้เป็นไปในรูปแบบของทุนนิยม จะเห็นได้จากโครงการประชารัฐที่มุ่งส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ เพื่อหวังกระตุ้นการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ชอปช่วยชาติ เป็นต้น และการลงทุนโครงการขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมหลายๆ โครงการพร้อมกัน ในภาวะที่ฐานะทางด้านการเงินการคลังของประเทศไม่เอื้ออำนวย และต้องเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศ ทั้งๆ ที่บางโครงการถ้ามองในแง่ของความพอเพียงแล้ว ถือได้ว่าสวนทางกับแนวคิดนี้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง และการซื้อเรือดำน้ำ เป็นต้น เพราะถ้ายึดแนวพอเพียงแค่รถไฟรางคู่ 3 เส้นทางคือ อีสาน เหนือ และใต้ ตามแนวทางรถไฟที่มีอยู่เดิม และซื้อเรือผิวน้ำเพื่อป้องกันทรัพยากรทางทะเลก็เพียงพอแล้ว
จริงอยู่ การพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ แต่ถ้ายึดแนวทางพอเพียงจะต้องไม่กระทบฐานะทางด้านการเงิน การคลังของประเทศจนถึงขั้นต้องกู้เงินเป็นจำนวนมาก และเป็นภาระให้ลูกหลานต้องทำงานใช้หนี้ที่รุ่นพ่อ รุ่นปู่ได้ทำไว้ โดยที่พวกเขาไม่มีส่วนในการก่อหนี้แต่ประการใด
อย่างไรก็ตาม มาถึงขั้นนี้การดำเนินการต่างๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่คาดหวังว่าจะต้องยกเลิกเพียงแต่ขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และประหยัดก็จะพูดได้ว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
อีกประการหนึ่ง ถ้ายึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศไทยควรจะเน้นการพัฒนาภาคเกษตร โดยมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการในประเทศ และความต้องการของตลาดโลก โดยยึดส่วนแบ่งการตลาดเท่าที่คาดว่าประเทศไทยจะทำได้ โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคามากนัก ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำในประเทศ
ส่วนทางด้านอุตสาหกรรม ควรจะเน้นอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางด้านเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นหลัก
สำหรับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ควรจะมุ่งเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้ามากกว่าการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งรัฐจะต้องให้สิทธิพิเศษเช่นการยกเว้นภาษี เป็นต้น
ทั้งหมดที่ว่ามาก็เป็นมุมมองในแง่ของความพอเพียง โดยยึดความสุขที่คนไทยควรจะได้รับมากกว่าการยึดตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์อันเกิดจากการมีหนี้ตามแนวทางของทุนนิยม
คำพังเพยทั้งสองคำนี้น่าจะมีที่มาจากสัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ 3 คือ อัตตัญญุตา รู้จักตนว่าตนเองมีสภาวะและสถานะเป็นอย่างไรแล้วปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับสภาวะและสถานะแห่งตน และข้อที่ 7 คือ ปุคคลัญญุตาคือ รู้จักบุคคลคือ รู้จักความแตกต่างของบุคคลแต่ละคนว่ามีอุปนิสัย มีความสามารถ และมีคุณธรรมเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ถูกต้องตามสถานะทางสังคมที่ควรจะเป็น
ส่วนเนื้อหาของความพอเพียงที่นำมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตนั้น น่าจะมาจากสันโดษหรือความยินดี 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือ ยินดีในสิ่งที่ตนหามาได้โดยความชอบธรรม
2. ยถาพลสันโดษคือ ยินดีตามกำลัง และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน
3. ยถาสารุปสันโดษคือ ยินดีตามควรแก่สถานะของตน
ประชากรของประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงเรียนรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา ดังนั้นจึงรับเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานไว้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ยังผลให้ตนเองและครอบครัวอยู่ดีกินดีตามอัตภาพมีความสุข เนื่องจากพ้นวิกฤตจากการเป็นหนี้ ซึ่งเกิดจากการดำเนินชีวิตตามแนวทางทุนนิยม
ด้วยเหตุนี้ คนไทยที่เรียนรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปใช้จนเกิดผลดีในทางปฏิบัติ จึงแปลกใจเมื่อได้เห็นรัฐบาลซึ่งได้ประกาศว่า จะดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในทางปฏิบัติเท่าที่เป็นมาแล้วจนถึงปัจจุบัน ได้เป็นไปในรูปแบบของทุนนิยม จะเห็นได้จากโครงการประชารัฐที่มุ่งส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ เพื่อหวังกระตุ้นการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ชอปช่วยชาติ เป็นต้น และการลงทุนโครงการขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมหลายๆ โครงการพร้อมกัน ในภาวะที่ฐานะทางด้านการเงินการคลังของประเทศไม่เอื้ออำนวย และต้องเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศ ทั้งๆ ที่บางโครงการถ้ามองในแง่ของความพอเพียงแล้ว ถือได้ว่าสวนทางกับแนวคิดนี้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง และการซื้อเรือดำน้ำ เป็นต้น เพราะถ้ายึดแนวพอเพียงแค่รถไฟรางคู่ 3 เส้นทางคือ อีสาน เหนือ และใต้ ตามแนวทางรถไฟที่มีอยู่เดิม และซื้อเรือผิวน้ำเพื่อป้องกันทรัพยากรทางทะเลก็เพียงพอแล้ว
จริงอยู่ การพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ แต่ถ้ายึดแนวทางพอเพียงจะต้องไม่กระทบฐานะทางด้านการเงิน การคลังของประเทศจนถึงขั้นต้องกู้เงินเป็นจำนวนมาก และเป็นภาระให้ลูกหลานต้องทำงานใช้หนี้ที่รุ่นพ่อ รุ่นปู่ได้ทำไว้ โดยที่พวกเขาไม่มีส่วนในการก่อหนี้แต่ประการใด
อย่างไรก็ตาม มาถึงขั้นนี้การดำเนินการต่างๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่คาดหวังว่าจะต้องยกเลิกเพียงแต่ขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และประหยัดก็จะพูดได้ว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
อีกประการหนึ่ง ถ้ายึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศไทยควรจะเน้นการพัฒนาภาคเกษตร โดยมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการในประเทศ และความต้องการของตลาดโลก โดยยึดส่วนแบ่งการตลาดเท่าที่คาดว่าประเทศไทยจะทำได้ โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคามากนัก ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำในประเทศ
ส่วนทางด้านอุตสาหกรรม ควรจะเน้นอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางด้านเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นหลัก
สำหรับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ควรจะมุ่งเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้ามากกว่าการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งรัฐจะต้องให้สิทธิพิเศษเช่นการยกเว้นภาษี เป็นต้น
ทั้งหมดที่ว่ามาก็เป็นมุมมองในแง่ของความพอเพียง โดยยึดความสุขที่คนไทยควรจะได้รับมากกว่าการยึดตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์อันเกิดจากการมีหนี้ตามแนวทางของทุนนิยม