พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รักษาการเลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง กล่าวว่า กกต. เตรียมจัดชี้แจงให้กับกลุ่มบุคคลที่สนใจจัดตั้งพรรคการเมือง ให้ทราบถึงกระบวนการจัดตั้งพรรคฯ ตามกฎหมายใหม่ โดยจะจัดการประชุมชี้แจงในวันที่ 9 ก.พ.นี้ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่สนใจ สามารถลงทะเบียนที่สำนักงานกกต. หรือ โทรศัพท์ 02-1418478 โทรสาร หมายเลข 02-1438584 และ ส่งผ่านอีเมล์ ppd.ect2017@ gmail.com โดยให้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมรับฟังได้ ไม่เกิน 3 คนต่อกลุ่มการจัดตั้งพรรค เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 26 ม.ค.61
ขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงค์ขอร่วมเข้ารับฟังแล้ว 10 กลุ่ม รวม 26 คน ซึ่งทางกกต.จะจัดเตรียม คู่มือ แบบฟอร์มต่างๆไว้ให้กับกลุ่มการเมือง เพื่อที่เมื่อถึงวันที่ 1 มี.ค. ที่คำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 กำหนดให้กลุ่มการเมืองที่จะประสงค์จะจัดตั้งพรรคได้ยื่นคำขอจดจัดตั้งพรรคกับ กกต.ได้เลย
สำหรับแนวปฏิบัติของพรรคการเมือง ตามคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 ในส่วนของพรรคการเมืองเก่า สมาชิกพรรคฯต้องยืนยันความเป็นสมาชิกพรรคต่อหัวหน้าพรรค ภายในวันที่ 1-30 เม.ย. โดยให้ยื่นกับหัวหน้าพรรค ไม่ใช่ยื่นกับกรรมการบริหารพรรค ที่ต้องขออนุญาตคสช. เพื่อเรียกประชุม ดังนั้นหัวหน้าพรรค จึงสามารถแจ้งปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เลย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ
ส่วนกลุ่มการเมืองที่จะจัดตั้งพรรคใหม่ แม้จะยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนแล้ว ในวันที่ 1 มี.ค. แต่ยังไม่สามารถประชุมกรรมการบริหารพรรคได้ ต้องรอให้มีการปลดล็อกพรรคการเมืองก่อน ทั้งนี้เห็นว่าการดำเนินการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง จะสมบูรณ์ได้ ต่อเมื่อสามารถจัดประชุมแล้วเสร็จ คือต้องปลดล็อกพรรคการเมืองก่อน แต่ก็ขึ้นอยู่กับ คสช. ที่ยังต้องพิจารณาในเรื่องของปัญหาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยก่อน ทางกกต.ไม่สามารถไปก้าวก่ายได้
นายสมพล พรผล ผอ.สำนักกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กรณีพรรคการเมืองมีความเป็นห่วงว่า การปลดล็อกล่าช้า จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดทำไพรมารีโหวต เพื่อคัดตัวผู้สมัครส.ส. ว่า ตามเนื้อหาในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่สนช. กำลังพิจารณาอยู่นั้น ได้กำหนดว่า หลังพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. บังคับใช้ ต้องมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ภายใน 90 วัน จากนั้นกกต. ต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศจำนวน ส.ส. ประกาศเขตเลือกตั้ง ภายใน 5 วัน ที่สำคัญคือ ต้องประกาศวันรับสมัคร ภายใน 20 วัน นับแต่มีพระราชกฤษฎีกา เท่ากับว่า พรรคการเมืองเหลือเวลาที่จะดำเนินกระบวนการจัดทำไพรมารีโหวต ประมาณ 19 วันเท่านั้น แม้ในพื้นที่ขณะนี้พรรคการเมืองจะทราบว่า การแบ่งเขตจะเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องรอ กม.เลือกตั้งบังคับใช้ และรอการประกาศเขตเลือกตั้งก่อน จึงจะดำเนินการได้ ดังนั้นพรรคการเมืองจะทำไพรมารีโหวต ทันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพรรคการเมืองเอง
ขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงค์ขอร่วมเข้ารับฟังแล้ว 10 กลุ่ม รวม 26 คน ซึ่งทางกกต.จะจัดเตรียม คู่มือ แบบฟอร์มต่างๆไว้ให้กับกลุ่มการเมือง เพื่อที่เมื่อถึงวันที่ 1 มี.ค. ที่คำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 กำหนดให้กลุ่มการเมืองที่จะประสงค์จะจัดตั้งพรรคได้ยื่นคำขอจดจัดตั้งพรรคกับ กกต.ได้เลย
สำหรับแนวปฏิบัติของพรรคการเมือง ตามคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 ในส่วนของพรรคการเมืองเก่า สมาชิกพรรคฯต้องยืนยันความเป็นสมาชิกพรรคต่อหัวหน้าพรรค ภายในวันที่ 1-30 เม.ย. โดยให้ยื่นกับหัวหน้าพรรค ไม่ใช่ยื่นกับกรรมการบริหารพรรค ที่ต้องขออนุญาตคสช. เพื่อเรียกประชุม ดังนั้นหัวหน้าพรรค จึงสามารถแจ้งปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เลย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ
ส่วนกลุ่มการเมืองที่จะจัดตั้งพรรคใหม่ แม้จะยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนแล้ว ในวันที่ 1 มี.ค. แต่ยังไม่สามารถประชุมกรรมการบริหารพรรคได้ ต้องรอให้มีการปลดล็อกพรรคการเมืองก่อน ทั้งนี้เห็นว่าการดำเนินการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง จะสมบูรณ์ได้ ต่อเมื่อสามารถจัดประชุมแล้วเสร็จ คือต้องปลดล็อกพรรคการเมืองก่อน แต่ก็ขึ้นอยู่กับ คสช. ที่ยังต้องพิจารณาในเรื่องของปัญหาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยก่อน ทางกกต.ไม่สามารถไปก้าวก่ายได้
นายสมพล พรผล ผอ.สำนักกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กรณีพรรคการเมืองมีความเป็นห่วงว่า การปลดล็อกล่าช้า จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดทำไพรมารีโหวต เพื่อคัดตัวผู้สมัครส.ส. ว่า ตามเนื้อหาในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่สนช. กำลังพิจารณาอยู่นั้น ได้กำหนดว่า หลังพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. บังคับใช้ ต้องมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ภายใน 90 วัน จากนั้นกกต. ต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศจำนวน ส.ส. ประกาศเขตเลือกตั้ง ภายใน 5 วัน ที่สำคัญคือ ต้องประกาศวันรับสมัคร ภายใน 20 วัน นับแต่มีพระราชกฤษฎีกา เท่ากับว่า พรรคการเมืองเหลือเวลาที่จะดำเนินกระบวนการจัดทำไพรมารีโหวต ประมาณ 19 วันเท่านั้น แม้ในพื้นที่ขณะนี้พรรคการเมืองจะทราบว่า การแบ่งเขตจะเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องรอ กม.เลือกตั้งบังคับใช้ และรอการประกาศเขตเลือกตั้งก่อน จึงจะดำเนินการได้ ดังนั้นพรรคการเมืองจะทำไพรมารีโหวต ทันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพรรคการเมืองเอง