ผู้จัดการรายวัน360 - “สมคิด”มอบนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก้ปัญหาปากท้องเกษตรกร ผลักดันราคาสินค้าเกษตรให้ขายไม่ต่ำกว่าทุน ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น"นายกฯตู่" เชื่อ "นายหัวชวน" หวังดี ทำจดหมายเปิดผนึกบอกเล่าปัญหาในภาคใต้ ขณะที่ครม. อนุมัติ 3 มาตรการเข้าแทรกแซงยางพารา เพื่อผลักดันราคาให้สูงขึ้นและช่วยเหลือชาวสวนยางอย่างเร่งด่วน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า งานเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งขับเคลื่อน คือ การผลักดันมาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์ การส่งเสริมเกษตรกรด้านปศุสัตว์ การแก้ปัญหาราคายางพารา รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ให้มีตลาดรองรับ เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงชีพ รวมถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านการเกษตรในระยะยาว อาทิ การปรับเปลี่ยนไปทำการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ การนำผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการผลิต เป็นต้น ซึ่งการทำงานในระยะต่อไปจะต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านข้อมูล และความเชื่อมโยงในการดำเนินงาน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กรณณี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนในภาคใต้ จากกรณียางพารา ปาล์มน้ำมัน ราคาตกต่ำ ว่า นายชวน ก็คงหวังดี แต่การเมืองมันไม่ใช่แบบนั้น ก็รู้รู้กันอยู่ ถามว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ให้งบประมาณในภาคใต้เท่าไร แล้ววันนี้รัฐบาลนี้ อนุมัติงบฯ ให้กลุ่มจังหวัดมากกว่าเดิม มีทั้งงบจากภาคท้องถิ่น ซึ่งแต่ก่อนงบเหล่านี้ เลือกให้เฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ พออีกครั้งก็ลงในภาคใต้ ไม่เคยมาพร้อมกัน ยอมรับว่า การจัดสรรงบประมาณมีความยากในการจัดลงไปแต่ละพื้นที่ และเป็นเรื่องยาก ที่จะเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการให้ได้ทั้งระดับบน กลาง และล่าง
อย่างไรก็ตามในครม.ได้มีการประชุมกัน เรื่องยางพารา มีการชี้แจงมาตรการที่จะดูดซับยางในตลาดใดได้บ้าง ทั้งในส่วนที่อยู่ในคลังก็เก็บไว้ก่อน ส่วนที่สอง อาจจะเป็นการซื้อยางจากตลาดเพิ่มเติม เอาไปผลิตใช้ในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนราชการ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วเอาไปใช้ได้เลย จะต้องนำไปแปรรูปแล้วนำมาใช้ในส่วนของรัฐบาล เช่น ผ้ายางรองพื้น ผ้ายางคอกสัตว์ สนามกีฬา เรื่องนี้ต้องหาภาคการผลิตมาร่วมด้วย ซึ่งก็ยังมีปัญหาอยู่ และการแก้ไขปัญหาขณะนี้ น่าจะทำให้ราคายางพาราดีขึ้น รวมถึงการลดปริมาณยางในตลาดลง
*** ครม.รับ3ข้อเสนอมาตรการแก้ราคายางตกต่ำ
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ หรือ ลดปริมาณยาง ที่ทางกระทรวงเกษตรได้ทำการรายงานเบื้องต้นไปต่อที่ประชุมฯ ประกอบไปด้วย 1.เป็นมาตรการที่ทางกระทรวงเกษตรได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา และกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอทราบความต้องการปริมาณยางที่จะใช้ในหน่วยงาน ซึ่งเบื้องต้น พบว่าปีนี้มีจำนวนยางพาราในแต่ละส่วนราชการจะใช้อยู่ที่ 70,000-80,000 ตัน หากเป็นปริมาณเท่านี้ยังต่ำ จึงเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานราชการประชุมและตกลงอีกครั้ง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนว่ามีจำนวนการใช้ยางในประเทศมากน้อย
มาตรการที่ 2 คือ การสนับสนุนชดเชยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการรับซื้อยางพาราไม่เกิน3% หรือประมาณ 600 ล้านบาท (คิดจากกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท) เพื่อดูดซับผลผลิตออกจากตลาดราว 3.5 แสนตันและมาตรการที่3 มาตรการลดการกรีดน้ำยางและลดพื้นที่การปลูกยางในพื้นที่ของส่วนราชการ ในอัตราส่วน 100% เป็นเวลา 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.61) ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ราว 1.2 แสนไร่ ช่วยลดปริมาณได้ประมาณ 5,000 ตัน และอีกส่วนเป็นการเชิญชวนให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกยางพาราลงแล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เป้าหมาย 2 แสนไร่ โดยการยางแห่งประเทศไทยจะมีทุนการซื้อปัจจัยการผลิต และซึ่งจะจ่ายเงินชดเชยให้ไร่ละ 400 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่
ทั้งนี้ยังมีมาตรการ เสริมอย่าง การทำความตกลงกับบริษัทกลางยางพารา 3 ประเทศ เพื่อลดการส่งออกชั่วคราว คาดว่าจะลดลงราวประเทศละ 2 แสนตัน ซึ่งทาง กยท.จะรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรเพื่อดูดซับปริมาณยางออกจากตลาดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยาวพาราที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
" ทั้ง 3 มาตรการดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอมาตการต่อกยท.เห็นชอบก่อนเสนอให้ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เชื่อว่า 3 มาตรการจะช่วยพยุงราคายางพาราให้กับเกษตรกรได้ โดยไม่ขาดทุน หรือมีราคาอยู่ที่50-60 บาทต่อกิโลกรัม" นายกฤษฎา กล่าว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า งานเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งขับเคลื่อน คือ การผลักดันมาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์ การส่งเสริมเกษตรกรด้านปศุสัตว์ การแก้ปัญหาราคายางพารา รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ให้มีตลาดรองรับ เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงชีพ รวมถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านการเกษตรในระยะยาว อาทิ การปรับเปลี่ยนไปทำการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ การนำผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการผลิต เป็นต้น ซึ่งการทำงานในระยะต่อไปจะต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านข้อมูล และความเชื่อมโยงในการดำเนินงาน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กรณณี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนในภาคใต้ จากกรณียางพารา ปาล์มน้ำมัน ราคาตกต่ำ ว่า นายชวน ก็คงหวังดี แต่การเมืองมันไม่ใช่แบบนั้น ก็รู้รู้กันอยู่ ถามว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ให้งบประมาณในภาคใต้เท่าไร แล้ววันนี้รัฐบาลนี้ อนุมัติงบฯ ให้กลุ่มจังหวัดมากกว่าเดิม มีทั้งงบจากภาคท้องถิ่น ซึ่งแต่ก่อนงบเหล่านี้ เลือกให้เฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ พออีกครั้งก็ลงในภาคใต้ ไม่เคยมาพร้อมกัน ยอมรับว่า การจัดสรรงบประมาณมีความยากในการจัดลงไปแต่ละพื้นที่ และเป็นเรื่องยาก ที่จะเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการให้ได้ทั้งระดับบน กลาง และล่าง
อย่างไรก็ตามในครม.ได้มีการประชุมกัน เรื่องยางพารา มีการชี้แจงมาตรการที่จะดูดซับยางในตลาดใดได้บ้าง ทั้งในส่วนที่อยู่ในคลังก็เก็บไว้ก่อน ส่วนที่สอง อาจจะเป็นการซื้อยางจากตลาดเพิ่มเติม เอาไปผลิตใช้ในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนราชการ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วเอาไปใช้ได้เลย จะต้องนำไปแปรรูปแล้วนำมาใช้ในส่วนของรัฐบาล เช่น ผ้ายางรองพื้น ผ้ายางคอกสัตว์ สนามกีฬา เรื่องนี้ต้องหาภาคการผลิตมาร่วมด้วย ซึ่งก็ยังมีปัญหาอยู่ และการแก้ไขปัญหาขณะนี้ น่าจะทำให้ราคายางพาราดีขึ้น รวมถึงการลดปริมาณยางในตลาดลง
*** ครม.รับ3ข้อเสนอมาตรการแก้ราคายางตกต่ำ
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ หรือ ลดปริมาณยาง ที่ทางกระทรวงเกษตรได้ทำการรายงานเบื้องต้นไปต่อที่ประชุมฯ ประกอบไปด้วย 1.เป็นมาตรการที่ทางกระทรวงเกษตรได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา และกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอทราบความต้องการปริมาณยางที่จะใช้ในหน่วยงาน ซึ่งเบื้องต้น พบว่าปีนี้มีจำนวนยางพาราในแต่ละส่วนราชการจะใช้อยู่ที่ 70,000-80,000 ตัน หากเป็นปริมาณเท่านี้ยังต่ำ จึงเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานราชการประชุมและตกลงอีกครั้ง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนว่ามีจำนวนการใช้ยางในประเทศมากน้อย
มาตรการที่ 2 คือ การสนับสนุนชดเชยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการรับซื้อยางพาราไม่เกิน3% หรือประมาณ 600 ล้านบาท (คิดจากกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท) เพื่อดูดซับผลผลิตออกจากตลาดราว 3.5 แสนตันและมาตรการที่3 มาตรการลดการกรีดน้ำยางและลดพื้นที่การปลูกยางในพื้นที่ของส่วนราชการ ในอัตราส่วน 100% เป็นเวลา 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.61) ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ราว 1.2 แสนไร่ ช่วยลดปริมาณได้ประมาณ 5,000 ตัน และอีกส่วนเป็นการเชิญชวนให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกยางพาราลงแล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เป้าหมาย 2 แสนไร่ โดยการยางแห่งประเทศไทยจะมีทุนการซื้อปัจจัยการผลิต และซึ่งจะจ่ายเงินชดเชยให้ไร่ละ 400 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่
ทั้งนี้ยังมีมาตรการ เสริมอย่าง การทำความตกลงกับบริษัทกลางยางพารา 3 ประเทศ เพื่อลดการส่งออกชั่วคราว คาดว่าจะลดลงราวประเทศละ 2 แสนตัน ซึ่งทาง กยท.จะรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรเพื่อดูดซับปริมาณยางออกจากตลาดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยาวพาราที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
" ทั้ง 3 มาตรการดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอมาตการต่อกยท.เห็นชอบก่อนเสนอให้ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เชื่อว่า 3 มาตรการจะช่วยพยุงราคายางพาราให้กับเกษตรกรได้ โดยไม่ขาดทุน หรือมีราคาอยู่ที่50-60 บาทต่อกิโลกรัม" นายกฤษฎา กล่าว