ศูนย์ข่าวภาคใต้ - เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ตามคุกคามเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถึงสถานีรถไฟเทพา พร้อมส่งเจ้าหน้าที่เจรจาชาวบ้านเครือขายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เพื่อสกัดให้ไม่เข้าสมทุบกลุ่มค้านพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฉบับคสช. ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
รายงานแจ้งว่า วานนี้ (5 ธ.ค.) ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า อ.เทพา จ.สงขลา ได้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนหลายคน เข้าแสดงท่าทีคุกคามและไล่ถ่ายภาพกลุ่มประชาชนประมาณ 10 คนในเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่อ.เทพา จ.สงขลา
โดยได้มีการตั้งข้อสังเกตพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว เป็นผลจากคำสั่งของผู้นำในคณะรัฐบาลบางคน ให้ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่นัดแนะจะเดินทางไปร่วมแสดงพลังคัดค้าน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ของรัฐบาล คสช.ที่กำลังจะถูกบังคับใช้ เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างผลกระทบตามมาให้กับชุมชนทั่วประเทศ โดยได้นัดแนะกันบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลช่วงสายของวันนี้ (6 ธ.ค.)
นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายอันดามันไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวไว้ว่า ก่อนถึงวันที่ 6 ธ.ค. หน้าทำเนียบรัฐบาล เราได้พยายามเจรจากับรัฐมาแล้ว 4 รอบ แต่ถูกตบหน้ากลับมาทุกครั้ง ครั้งที่ 1 ที่ กพร.ตรงทำเนียบรัฐบาล ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงทรัพย์ฯ โดยรองปลัดฯ ครั้งที่ 3 ที่กระทรวงทรัพย์ฯ โดยรองปลัดฯ และครั้งที่ 4 ที่ กพร.ตรงทำเนียบรัฐบาล
ทั้ง 4 ครั้งข้อเสนอของประชาชน ซึ่งได้ทำการจัดเวทีสรุปบทเรียนมาทั้งภาคตะวันออก อีสาน ใต้ และฝ่ายวิชาการ จัดทำข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอต่อผู้ร่างกฎหมายตั้งแต่ต้น แต่เนื้อหาของประชาชน แม้มีผู้มารับฟัง แต่ไม่ได้ยิน มันเป็นการดูถูกเหยียดหยามกันชัดเจน ทำไมกฎหมายสิ่งแวดล้อมจึงถูกผลักดันอย่างแข็งขันจากรัฐบาลทหาร ก็เพราะว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นด่านสำคัญของการเกิดเมกกะโปรเจกต์
“เจตนารมณ์ของรัฐบาลนี้ชัดเจนว่า ไม่เห็นสิ่งแวดล้อม ชีวิตคน อยู่ในสายตา จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมมีกฎหมาย อีอีซี ยกที่ดินให้ต่างชาติ 99 ปี มีกฎหมายเมล็ดพันธุ์ ที่ชาวบ้านเอาเมล็ดไปปลูกต่ออาจติดคุก ฯลฯ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ อยู่ในโครงข่ายวิธีคิดเดียวกัน กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล คสช. ถ้าสำเร็จพร้อมกันทุกฉบับ ในระยะยาวประเทศจะเข้าสู่หายนะ เราจะปล่อยให้ผ่านไป หรือหยุดยั้งมัน” นายประสิทธิ์ชัย ระบุ
ขณะที่ พอ.กิตติ อิ่มศิริ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รองผอ.รมน.) จังหวัดกระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ กอรมน.กระบี่ รวม 3 คน ได้เดินทางไปหาพี่น้องเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ถึงบ้านที่คลองรั้วเพื่อเจรจาว่า ไม่ต้องขึ้นไปกรุงเทพ มีอะไรก็ไปยื่นหนังสือที่จังหวัดได้ ผู้ว่าฯ พร้อมพูดคุย
โดยพี่น้องเครือข่ายฯ ได้ยืนยันว่า จะเดินทางเข้าไปเรียกร้องต่อนายกฯ เพราะที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 4 ปี ได้ใช้วิธีการส่งเรื่องทางจังหวัดเสมอ แต่กลับไม่มีผลใดใดจากการเรียกร้องในระดับจังหวัดเลย แหละนี้ยิ่งเป็นเรื่อง พรบ.สิ่งแวดล้อม ที่ยัดไส้ ม.44 ให้มีการดำเนินโครงการได้ง่ายขึ้น ระดับผู้ว่าฯจะมีอำนาจตัดสินใจอะไรได้
รายงานแจ้งว่า วานนี้ (5 ธ.ค.) ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า อ.เทพา จ.สงขลา ได้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนหลายคน เข้าแสดงท่าทีคุกคามและไล่ถ่ายภาพกลุ่มประชาชนประมาณ 10 คนในเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่อ.เทพา จ.สงขลา
โดยได้มีการตั้งข้อสังเกตพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว เป็นผลจากคำสั่งของผู้นำในคณะรัฐบาลบางคน ให้ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่นัดแนะจะเดินทางไปร่วมแสดงพลังคัดค้าน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ของรัฐบาล คสช.ที่กำลังจะถูกบังคับใช้ เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างผลกระทบตามมาให้กับชุมชนทั่วประเทศ โดยได้นัดแนะกันบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลช่วงสายของวันนี้ (6 ธ.ค.)
นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายอันดามันไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวไว้ว่า ก่อนถึงวันที่ 6 ธ.ค. หน้าทำเนียบรัฐบาล เราได้พยายามเจรจากับรัฐมาแล้ว 4 รอบ แต่ถูกตบหน้ากลับมาทุกครั้ง ครั้งที่ 1 ที่ กพร.ตรงทำเนียบรัฐบาล ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงทรัพย์ฯ โดยรองปลัดฯ ครั้งที่ 3 ที่กระทรวงทรัพย์ฯ โดยรองปลัดฯ และครั้งที่ 4 ที่ กพร.ตรงทำเนียบรัฐบาล
ทั้ง 4 ครั้งข้อเสนอของประชาชน ซึ่งได้ทำการจัดเวทีสรุปบทเรียนมาทั้งภาคตะวันออก อีสาน ใต้ และฝ่ายวิชาการ จัดทำข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอต่อผู้ร่างกฎหมายตั้งแต่ต้น แต่เนื้อหาของประชาชน แม้มีผู้มารับฟัง แต่ไม่ได้ยิน มันเป็นการดูถูกเหยียดหยามกันชัดเจน ทำไมกฎหมายสิ่งแวดล้อมจึงถูกผลักดันอย่างแข็งขันจากรัฐบาลทหาร ก็เพราะว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นด่านสำคัญของการเกิดเมกกะโปรเจกต์
“เจตนารมณ์ของรัฐบาลนี้ชัดเจนว่า ไม่เห็นสิ่งแวดล้อม ชีวิตคน อยู่ในสายตา จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมมีกฎหมาย อีอีซี ยกที่ดินให้ต่างชาติ 99 ปี มีกฎหมายเมล็ดพันธุ์ ที่ชาวบ้านเอาเมล็ดไปปลูกต่ออาจติดคุก ฯลฯ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ อยู่ในโครงข่ายวิธีคิดเดียวกัน กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล คสช. ถ้าสำเร็จพร้อมกันทุกฉบับ ในระยะยาวประเทศจะเข้าสู่หายนะ เราจะปล่อยให้ผ่านไป หรือหยุดยั้งมัน” นายประสิทธิ์ชัย ระบุ
ขณะที่ พอ.กิตติ อิ่มศิริ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รองผอ.รมน.) จังหวัดกระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ กอรมน.กระบี่ รวม 3 คน ได้เดินทางไปหาพี่น้องเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ถึงบ้านที่คลองรั้วเพื่อเจรจาว่า ไม่ต้องขึ้นไปกรุงเทพ มีอะไรก็ไปยื่นหนังสือที่จังหวัดได้ ผู้ว่าฯ พร้อมพูดคุย
โดยพี่น้องเครือข่ายฯ ได้ยืนยันว่า จะเดินทางเข้าไปเรียกร้องต่อนายกฯ เพราะที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 4 ปี ได้ใช้วิธีการส่งเรื่องทางจังหวัดเสมอ แต่กลับไม่มีผลใดใดจากการเรียกร้องในระดับจังหวัดเลย แหละนี้ยิ่งเป็นเรื่อง พรบ.สิ่งแวดล้อม ที่ยัดไส้ ม.44 ให้มีการดำเนินโครงการได้ง่ายขึ้น ระดับผู้ว่าฯจะมีอำนาจตัดสินใจอะไรได้