1. กล่าวนำ : ข้อมูลทั่วไป
ประเทศอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) ตั้งอยู่ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา (ดูภาพที่ 1) มีพื้นที่ทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทรายของคาบสมุทรไซนาย (Sinai) ติดกับอิสราเอล ด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลแดง ทางด้านทิศตะวันตกติดกับลิเบีย และด้านทิศใต้ติดกับประเทศซูดาน

*http://souvenirchronicles.blogspot.com/2015/08/egypt-aswan-and-philae-temple.html ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย (ดัดแปลงโดย วีระศักดิ์ นาทะสิริ)
นอกจากนี้อียิปต์ยังมีพื้นที่ด้านตะวันออกของคาบสมุทรไซนายติดกับทะเลคือ อ่าว Aqaba ซึ่งจะทอดยาวคั่นอียิปต์กับประเทศจอร์แดน และประเทศซาอุดีอาระเบีย ดูวงกลมแดงในภาพที่ 1
อียิปต์ได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศมหาอำนาจในย่านแอฟริกาเหนือและย่านตะวันออกกลาง มีประชากรมากกว่า 95 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับ ชาวอียิปต์เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด (ประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์) ของประเทศ ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชาว Abazas, //en.wikipedia.org/wiki/Turkish_people" \o "Turkish people"Turks, Greeks, Bedouin ซึ่งจะอาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกของคาบสมุทรไซนาย และชาว Berber ที่พูดภาษา Siwis (Amazigh) และชาว Nubian ที่ตั้งชุมชนริมแม่น้ำไนล์ เป็นต้น (ข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Egypt#Ethnic_groups ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
ในด้านศาสนา ชาวอียิปต์นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (Sunni) ประมาณร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 9 นับถือศาสนาคริสต์ (Coptic Christians) ชาวอียิปต์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่จะเป็นพวก Copts ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่ยุคโรมันมีอำนาจในภูมภาคนี้ และมีภาษา Coptic ซึ่งเป็นภาษาเก่าในยุคโรมันเป็นภาษาพูด แต่ในปัจจุบันจะนิยมพูดภาษาอาราบิก (Arabic) กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับชาวอียิปต์ที่เหลืออีกร้อยละ 1 จะนับถืออิสลาม แนวทาง Sufiและนิกายอื่นๆ และรวมทั้งศาสนาอื่นด้วย
สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงการโจมตีประชาชนที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า al Rawdah Sufi Mosque ในเมือง Bir al-Abed ทางเหนือของคาบสมุทรไซนายเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2017โดยมีการใช้อาวุธปืนและระเบิดโจมตีกลุ่มคน (ชาวบ้านในพื้นที่) ที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากกว่า 300คน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสุเหร่าที่ถูกสังหารจะมาจากชนเผ่า Sawarka ที่นับถือศาสนาอิสลาม ตามแนวทาง Sufi ที่มีความเชื่อในเรื่องลี้ลับต่างๆ ทางศาสนา
2. การโจมตีสังหารประชาชนในสุเหร่า al-Rawda ที่ Bir al-Abed ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง Arish ในอียิปต์ (ดูภาพที่ 2 และภาพที่ 3 แผนที่ตั้งของสุเหร่า al-Rawda)
การโจมตีสังหารประชาชนที่สุเหร่า al-Rawda โดยในวันศุกร์ที่ 24 พ.ย. 2017 เวลาประมาณบ่ายสองโมงกลุ่มก่อการร้ายได้ใช้ระเบิดทำลายรถเพื่อกีดขวางเส้นทางหลบหนีของประชาชน หลังจากนั้นก็ขับรถ off-road 4 คัน ที่บรรทุกกลุ่มก่อการร้ายเข้ามาใกล้สุเหร่า และได้ใช้อาวุธต่างๆ ระดมยิงผู้ที่เข้ามาปฏิบัติศาสนกิจ (คาดว่า กลุ่มก่อการร้ายมีจำนวนมากกว่า 20 คน โดยการประมาณการ) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวน 309 คน และบาดเจ็บประมาณ 128 คน
(ข้อมูลผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บมาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack) ดูภาพที่ 4 ประกอบ

*มาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack"https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)

The Rawda mosque, roughly 40 kilometers west of el-Arish in Egypt's Sinai, after a gun and bombing terror attack, on November 24, 2017. (AFP/Stringerfromhttps://www.timesofisrael.com/who-are-the-sufis-associated-with-the-mosque-attacked-in-egypt/) ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

*http://www.aljazeera.com/news/2017/11/blast-strikes-mosque-egypt-sinai-171124113423231.html ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

3. ทำไมต้องโจมตีสุเหร่า al-Rawda
สุเหร่า al-Rawda ตั้งอยู่บน Highway ที่เชื่อมเมือง Port Said กับฉนวนกาซา ซึ่งอยู่ด้านตะวันออกของเมือง Bir al-Abed และอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทร Sinai (ดูภาพที่ 2 ประกอบ) เป็นหนึ่งในสุเหร่าหลักที่ยึดถือแนวทาง Jaririya Sufi และเป็นหนึ่งในสุเหร่าแนวทาง Sufi ที่ใหญ่ที่สุดในตอนเหนือของคาบสมุทร Sinai
สำหรับชื่อที่เรียกว่า แนวทาง Jaririya Sufi มาจากชื่อของผู้ก่อตั้งคือ Sheikh ki/Eid_Abu_Jarir" \o "Eid Abu Jarir"Eid Abu Jarir ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในชนเผ่า Sawarka และมาจากตระกูล Jarir ซึ่งคนในตระกูลนี้จะอยู่อาศัยใกล้ๆ กับเมือง Bir al-Abed และเป็นที่ทราบกันดีว่าชนเผ่า Sawarka มักจะให้ความร่วมมือต่อหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลอียิปต์ และที่สำคัญคือ กลุ่มก่อการร้ายในตอนเหนือของ Sinai จะประณามและไม่ยอมรับกลุ่มคนจากชนเผ่า Sawarka ที่มีความเชื่อถือในความลี้ลับตามแนวทาง Sufi ซึ่งแตกแยกออกไปจากมุสลิมนิกายสุหนี่และชีอะห์
ดังนั้น การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายต่อสุเหร่า al-Rawda ที่ชนเผ่า Sawarka ไปใช้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ จึงไม่เพียงต้องการลงโทษชนเผ่า Sawarka ที่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์เท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะกำจัดชนเผ่า Sawarka ที่มีความเชื่อตามแนวทาง Sufi ให้หมดสิ้นไปจากคาบสมุทร Sinai และเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ชนกลุ่มน้อยจากเผ่าต่างๆ ให้ความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลประธานาธิบดี el-Sisi อีกต่อไปด้วย (ถ้าไม่เห็นด้วยหรือมีความเชื่อที่แตกต่าง ก็กำจัดให้หมดสิ้นเสียเลย เหี้ยมโหดเกินความเป็นมนุษย์จริงๆ- ผู้เขียน)
4. ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติการสังหารโหดในครั้งนี้
4.1 ประการแรก การก่อการร้ายในหลายครั้งนี้แตกต่างจากการก่อการร้ายในหลายครั้งที่ผ่านมา คือ ภายหลังการก่อการร้ายในครั้งนี้ ไม่มีกลุ่มก่อการร้ายใดๆออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบเลยแม้แต่กลุ่มเดียว แต่มีรายงานจากแหล่งข่าวหลายแหล่งระบุว่า การปฏิบัติการโหดในครั้งนี้เป็นฝีมือของกลุ่ม Wilayat Sinai สังกัดรัฐอิสลาม (Islamic State) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2017 สำนักงานอัยการของอียิปต์โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของผู้ที่รอดชีวิตได้ระบุว่า ผู้ปฏิบัติการก่อการร้ายในครั้งนี้ได้ถือธงของรัฐอิสลามในขณะเข้าโจมตีสุเหร่าด้วย
4.2 ประการต่อมา หลังจากกลุ่มทหารได้โค่นล้มรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Mohammed Morsi ในปี 2013 กลุ่มก่อการร้ายได้ปฏิบัติการโจมตีกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลในคาบสมุทรไซนายเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ตำรวจ ทหาร และพลเรือนได้ถูกสังหารไปหลายร้อยคน และในการโจมตีกำลังทหารตำรวจมักจะกระทำโดยกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่คาบสมุทรไซนาย ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม IS
4.3 ประการที่สามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้พบว่า มีการโจมตีชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ (Coptic Christian หรือชาว Coptic ที่นับถือศาสนาคริสต์) หลายครั้งโดยกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของคาบสมุทรไซนาย และน่าเชื่อว่า เป็นกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2015 (เพื่อตอบโต้ที่เครื่องบินรบรัสเซียทิ้งระเบิดใส่กองกำลังของรัฐอิสลาม ทางตอนเหนือของซีเรีย) ซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวรัสเซียและนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เสียชีวิตไปเป็นจำนวนถึง 224 คน (ดูภาพที่ 5)
4.4 ประการสุดท้าย การโจมตีสุเหร่า al-Rawda ในครั้งนี้เป็นการปฏิบัติที่เกินความคาดหมายของหน่วยงานข่าวกรองและหน่วยงานความมั่นคง ทั้งของรัฐบาลอียิปต์และของประเทศมหาอำนาจต่างๆ เพราะเป็นการกระทำความรุนแรงโหดเหี้ยมต่อชาวมุสลิมด้วยกัน ไม่ใช่การกระทำต่อคนที่นับถือศาสนาอื่น ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวคงไม่ได้คิดว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติการก่อการร้ายจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อเป้าหมายที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายใดๆ ทั้งสิ้น (คือ วิธีการปฏิบัติรวมทั้งเป้าหมายที่ถูกกระทำ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน)
ในเรื่องนี้กลุ่มก่อการร้ายคงได้หาข้อมูลล่วงหน้ามาเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ตกลงใจเลือกสถานที่คือ สุเหร่า al-Rawda และเลือกปฏิบัติการคือ วันศุกร์ช่วงเวลาบ่ายที่ชาว Sawarka ส่วนใหญ่จะมาปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า เพราะคงมุ่งประสงค์ที่จะทำลายชีวิตของชาว Sawarka ที่มีความเชื่อถือในแนวทาง Sufi ให้ได้มากที่สุด และเพื่อแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า จะตอบโต้และทำลายมุสลิมทุกกลุ่ม (ไม่ว่ายึดถือแนวทางใด) ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลอียิปต์ในขณะนี้ในทุกวิถีทางที่จะทำได้
5. บทสรุป - ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากข้อพิจารณาที่กล่าวข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ปฏิบัติการโหดในครั้งนี้ คงเป็นกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของไซนาย (ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม IS หรืออาจอยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐอิสลาม) โดยมีความมุ่งหมายที่จะต่อต้านและล้มล้างรัฐบาลของประธานาธิบดี el-Sisi และกวาดล้างชนเผ่า Sawarka หรือชาวมุสลิมที่ยึดถือหรือนิยมความลี้ลับตามแนวทาง Sufiให้หมดสิ้นไป
อะไรคือ Sufi http://www.islammore.com/view/1224 ได้อธิบายความหมายของ Sufi ไว้ว่า
“การนิยมความลี้ลับจึงมิใช่สิ่งที่เกิดใหม่ มันมีอยู่ในทุกชนชาติ ทุกภาษา และทุกศาสนา จะมีความแตกต่างกันบ้างในด้านรูปแบบและทฤษฎี บ่อเกิดแห่งการคิดใคร่ครวญถึงความลี้ลับนี้ถูกบันทึกครั้งแรกในดินแดนอียิปต์โบราณ อินเดีย กรีก และเปอร์เซีย (เสถียร พันธรังษี, 2521:12) หลังจากนั้นมีการแพร่หลายเข้าไปทั่วทุกแห่ง มีพฤติกรรมทางปฏิบัติในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด จนถึงแปลกประหลาดที่สุด แต่จะมีจุดมุ่งหมายปลายทางไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกัน คือการนำตนเองเข้าไปใกล้ชิดหรือรวมอยู่กับเทพเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระองค์ ซึ่งถือเป็นความใฝ่ฝันสูงสุดของผู้นิยมความลี้ลับทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาจึงเริ่มสร้างทฤษฎีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่หลงใหลคลั่งไคล้ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ใช้ปฏิบัติสืบต่อกันมา และนี่เองคือจุดกำเนิดของลัทธินิยมความลี้ลับหรือรหัสยนิยม (Mystism) ลัทธินี้ถือว่ามีภาวะความจริงหรือคุณค่าบางอย่างที่บุคคลที่มีผัสสะพิเศษเท่านั้นที่เข้าถึงได้ โดยทั่วไปหมายถึงประสบการณ์ทางศาสนา เช่น การบรรลุญาณ การเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น (พจนานุกรมปรัชญา, 2532:76).................................................................................................
นักการศาสนาผู้เคร่งครัดบางท่านจึงลุกขึ้นมาต่อต้านกระแสดังกล่าว...............................................................”
นั่นอาจรวมถึงกระแสการต่อต้านแนวทาง Sufi ในพื้นที่ของคาบสมุทรไซนายในกรณีนี้ด้วย
6. ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการก่อการร้าย
6.1 การก่อการร้ายโดยการทำลายหรือสังหารกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงกันข้าม หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ให้การสนับสนุนต่อแนวทางของกลุ่มก่อการร้าย เป็นวิธีการที่มักกระทำกันเป็นปกติและเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ผลที่ได้จะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับตัวชี้วัด 3 ประการ ประการแรกคือ เป้าหมายที่ถูกกระทำหรือถูกใช้ความรุนแรงประการที่สองคือ ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายตรงกันข้าม และประการสุดท้ายคือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับกลุ่มก่อการร้ายจากการปฏิบัติการในครั้งนี้
ในกรณีนี้พบว่า เป้าหมายคือ ชาวบ้านที่มาจากชนเผ่า Sawarka ที่นับถือแนวทาง Sufi ได้เสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 309 คน และบาดเจ็บอีก 128 คน โดยไม่มีรายงานความสูญเสียของกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่า การปฏิบัติการโจมตีชาว Sawarka บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง สามารถทำลายกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนและเป็นผู้ส่งข่าวต่างๆ ให้กับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์ได้เป็นจำนวนมาก
6.2 ผลจากการก่อการร้ายในครั้งนี้ยังได้บ่งชี้ว่า หน่วยงานการข่าวและหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์อยู่ในสภาพที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่สามารถล่วงรู้แผนการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายได้ก่อนที่จะดำเนินการยับยั้ง นอกจากนี้ยังไม่มีระบบเตือนภัยหรือตรวจสอบความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใดอีกด้วย จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า การทำสงครามของอียิปต์ที่ผ่านมาในอดีตหลายครั้ง (Six-Day War, Yom Kippur War และ 1948 Arab-Israel War) กำลังทหารของอียิปต์และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางยังไม่เคยเอาชนะคู่ต่อสู้คือ กองทัพอิสราเอลได้แม้แต่ครั้งเดียว (ดูภาพที่ 6)

6.3 การก่อการร้ายในครั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการที่กลุ่มรัฐอิสลามกำลังถูกทำลายลงที่ซีเรียและที่อิรัก ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างของอำนาจการนำกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นพลังผลักดันให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเพื่อที่จะเข้ามามีบทบาทนำกลุ่มหรือกองกำลังอิสลามต่างๆ แทนที่กลุ่มรัฐอิสลามที่กำลังจะสูญสลายไปเพราะถูกกำลังทหารของซีเรียและอิรัก (โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและสหรัฐอเมริกา) รุกเข้าโจมตีและทำลาย จนสูญเสียกำลังพลและดินแดนที่เคยมีอำนาจครอบครองไปจนเกือบจะหมดสิ้นในอีกไม่ช้านี้
ท้ายบทความ
ผู้เขียนต้องขออภัยทุกท่านที่หายไปนานพอสมควร และเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก็จะขอเริ่มต้นด้วยบทความที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในอียิปต์ ก่อนที่จะเขียนเรื่องอื่นๆ ตามที่มีผู้อ่านบางท่านเสนอมา และถ้าท่านมีความคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ udomdee@gmail.com ขอบคุณครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ
ประเทศอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) ตั้งอยู่ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา (ดูภาพที่ 1) มีพื้นที่ทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทรายของคาบสมุทรไซนาย (Sinai) ติดกับอิสราเอล ด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลแดง ทางด้านทิศตะวันตกติดกับลิเบีย และด้านทิศใต้ติดกับประเทศซูดาน
*http://souvenirchronicles.blogspot.com/2015/08/egypt-aswan-and-philae-temple.html ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย (ดัดแปลงโดย วีระศักดิ์ นาทะสิริ)
นอกจากนี้อียิปต์ยังมีพื้นที่ด้านตะวันออกของคาบสมุทรไซนายติดกับทะเลคือ อ่าว Aqaba ซึ่งจะทอดยาวคั่นอียิปต์กับประเทศจอร์แดน และประเทศซาอุดีอาระเบีย ดูวงกลมแดงในภาพที่ 1
อียิปต์ได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศมหาอำนาจในย่านแอฟริกาเหนือและย่านตะวันออกกลาง มีประชากรมากกว่า 95 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับ ชาวอียิปต์เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด (ประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์) ของประเทศ ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชาว Abazas, //en.wikipedia.org/wiki/Turkish_people" \o "Turkish people"Turks, Greeks, Bedouin ซึ่งจะอาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกของคาบสมุทรไซนาย และชาว Berber ที่พูดภาษา Siwis (Amazigh) และชาว Nubian ที่ตั้งชุมชนริมแม่น้ำไนล์ เป็นต้น (ข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Egypt#Ethnic_groups ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
ในด้านศาสนา ชาวอียิปต์นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (Sunni) ประมาณร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 9 นับถือศาสนาคริสต์ (Coptic Christians) ชาวอียิปต์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่จะเป็นพวก Copts ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่ยุคโรมันมีอำนาจในภูมภาคนี้ และมีภาษา Coptic ซึ่งเป็นภาษาเก่าในยุคโรมันเป็นภาษาพูด แต่ในปัจจุบันจะนิยมพูดภาษาอาราบิก (Arabic) กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับชาวอียิปต์ที่เหลืออีกร้อยละ 1 จะนับถืออิสลาม แนวทาง Sufiและนิกายอื่นๆ และรวมทั้งศาสนาอื่นด้วย
สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงการโจมตีประชาชนที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า al Rawdah Sufi Mosque ในเมือง Bir al-Abed ทางเหนือของคาบสมุทรไซนายเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2017โดยมีการใช้อาวุธปืนและระเบิดโจมตีกลุ่มคน (ชาวบ้านในพื้นที่) ที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากกว่า 300คน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสุเหร่าที่ถูกสังหารจะมาจากชนเผ่า Sawarka ที่นับถือศาสนาอิสลาม ตามแนวทาง Sufi ที่มีความเชื่อในเรื่องลี้ลับต่างๆ ทางศาสนา
2. การโจมตีสังหารประชาชนในสุเหร่า al-Rawda ที่ Bir al-Abed ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง Arish ในอียิปต์ (ดูภาพที่ 2 และภาพที่ 3 แผนที่ตั้งของสุเหร่า al-Rawda)
การโจมตีสังหารประชาชนที่สุเหร่า al-Rawda โดยในวันศุกร์ที่ 24 พ.ย. 2017 เวลาประมาณบ่ายสองโมงกลุ่มก่อการร้ายได้ใช้ระเบิดทำลายรถเพื่อกีดขวางเส้นทางหลบหนีของประชาชน หลังจากนั้นก็ขับรถ off-road 4 คัน ที่บรรทุกกลุ่มก่อการร้ายเข้ามาใกล้สุเหร่า และได้ใช้อาวุธต่างๆ ระดมยิงผู้ที่เข้ามาปฏิบัติศาสนกิจ (คาดว่า กลุ่มก่อการร้ายมีจำนวนมากกว่า 20 คน โดยการประมาณการ) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวน 309 คน และบาดเจ็บประมาณ 128 คน
(ข้อมูลผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บมาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack) ดูภาพที่ 4 ประกอบ
*มาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack"https://en.wikipedia.org/wiki/2017_Sinai_mosque_attack (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
The Rawda mosque, roughly 40 kilometers west of el-Arish in Egypt's Sinai, after a gun and bombing terror attack, on November 24, 2017. (AFP/Stringerfromhttps://www.timesofisrael.com/who-are-the-sufis-associated-with-the-mosque-attacked-in-egypt/) ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
*http://www.aljazeera.com/news/2017/11/blast-strikes-mosque-egypt-sinai-171124113423231.html ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
3. ทำไมต้องโจมตีสุเหร่า al-Rawda
สุเหร่า al-Rawda ตั้งอยู่บน Highway ที่เชื่อมเมือง Port Said กับฉนวนกาซา ซึ่งอยู่ด้านตะวันออกของเมือง Bir al-Abed และอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทร Sinai (ดูภาพที่ 2 ประกอบ) เป็นหนึ่งในสุเหร่าหลักที่ยึดถือแนวทาง Jaririya Sufi และเป็นหนึ่งในสุเหร่าแนวทาง Sufi ที่ใหญ่ที่สุดในตอนเหนือของคาบสมุทร Sinai
สำหรับชื่อที่เรียกว่า แนวทาง Jaririya Sufi มาจากชื่อของผู้ก่อตั้งคือ Sheikh ki/Eid_Abu_Jarir" \o "Eid Abu Jarir"Eid Abu Jarir ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในชนเผ่า Sawarka และมาจากตระกูล Jarir ซึ่งคนในตระกูลนี้จะอยู่อาศัยใกล้ๆ กับเมือง Bir al-Abed และเป็นที่ทราบกันดีว่าชนเผ่า Sawarka มักจะให้ความร่วมมือต่อหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลอียิปต์ และที่สำคัญคือ กลุ่มก่อการร้ายในตอนเหนือของ Sinai จะประณามและไม่ยอมรับกลุ่มคนจากชนเผ่า Sawarka ที่มีความเชื่อถือในความลี้ลับตามแนวทาง Sufi ซึ่งแตกแยกออกไปจากมุสลิมนิกายสุหนี่และชีอะห์
ดังนั้น การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายต่อสุเหร่า al-Rawda ที่ชนเผ่า Sawarka ไปใช้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ จึงไม่เพียงต้องการลงโทษชนเผ่า Sawarka ที่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์เท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะกำจัดชนเผ่า Sawarka ที่มีความเชื่อตามแนวทาง Sufi ให้หมดสิ้นไปจากคาบสมุทร Sinai และเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ชนกลุ่มน้อยจากเผ่าต่างๆ ให้ความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลประธานาธิบดี el-Sisi อีกต่อไปด้วย (ถ้าไม่เห็นด้วยหรือมีความเชื่อที่แตกต่าง ก็กำจัดให้หมดสิ้นเสียเลย เหี้ยมโหดเกินความเป็นมนุษย์จริงๆ- ผู้เขียน)
4. ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติการสังหารโหดในครั้งนี้
4.1 ประการแรก การก่อการร้ายในหลายครั้งนี้แตกต่างจากการก่อการร้ายในหลายครั้งที่ผ่านมา คือ ภายหลังการก่อการร้ายในครั้งนี้ ไม่มีกลุ่มก่อการร้ายใดๆออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบเลยแม้แต่กลุ่มเดียว แต่มีรายงานจากแหล่งข่าวหลายแหล่งระบุว่า การปฏิบัติการโหดในครั้งนี้เป็นฝีมือของกลุ่ม Wilayat Sinai สังกัดรัฐอิสลาม (Islamic State) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2017 สำนักงานอัยการของอียิปต์โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของผู้ที่รอดชีวิตได้ระบุว่า ผู้ปฏิบัติการก่อการร้ายในครั้งนี้ได้ถือธงของรัฐอิสลามในขณะเข้าโจมตีสุเหร่าด้วย
4.2 ประการต่อมา หลังจากกลุ่มทหารได้โค่นล้มรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Mohammed Morsi ในปี 2013 กลุ่มก่อการร้ายได้ปฏิบัติการโจมตีกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลในคาบสมุทรไซนายเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ตำรวจ ทหาร และพลเรือนได้ถูกสังหารไปหลายร้อยคน และในการโจมตีกำลังทหารตำรวจมักจะกระทำโดยกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่คาบสมุทรไซนาย ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม IS
4.3 ประการที่สามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้พบว่า มีการโจมตีชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ (Coptic Christian หรือชาว Coptic ที่นับถือศาสนาคริสต์) หลายครั้งโดยกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของคาบสมุทรไซนาย และน่าเชื่อว่า เป็นกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2015 (เพื่อตอบโต้ที่เครื่องบินรบรัสเซียทิ้งระเบิดใส่กองกำลังของรัฐอิสลาม ทางตอนเหนือของซีเรีย) ซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวรัสเซียและนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เสียชีวิตไปเป็นจำนวนถึง 224 คน (ดูภาพที่ 5)
4.4 ประการสุดท้าย การโจมตีสุเหร่า al-Rawda ในครั้งนี้เป็นการปฏิบัติที่เกินความคาดหมายของหน่วยงานข่าวกรองและหน่วยงานความมั่นคง ทั้งของรัฐบาลอียิปต์และของประเทศมหาอำนาจต่างๆ เพราะเป็นการกระทำความรุนแรงโหดเหี้ยมต่อชาวมุสลิมด้วยกัน ไม่ใช่การกระทำต่อคนที่นับถือศาสนาอื่น ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวคงไม่ได้คิดว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติการก่อการร้ายจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อเป้าหมายที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายใดๆ ทั้งสิ้น (คือ วิธีการปฏิบัติรวมทั้งเป้าหมายที่ถูกกระทำ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน)
ในเรื่องนี้กลุ่มก่อการร้ายคงได้หาข้อมูลล่วงหน้ามาเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ตกลงใจเลือกสถานที่คือ สุเหร่า al-Rawda และเลือกปฏิบัติการคือ วันศุกร์ช่วงเวลาบ่ายที่ชาว Sawarka ส่วนใหญ่จะมาปฏิบัติศาสนกิจในสุเหร่า เพราะคงมุ่งประสงค์ที่จะทำลายชีวิตของชาว Sawarka ที่มีความเชื่อถือในแนวทาง Sufi ให้ได้มากที่สุด และเพื่อแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า จะตอบโต้และทำลายมุสลิมทุกกลุ่ม (ไม่ว่ายึดถือแนวทางใด) ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลอียิปต์ในขณะนี้ในทุกวิถีทางที่จะทำได้
5. บทสรุป - ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากข้อพิจารณาที่กล่าวข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ปฏิบัติการโหดในครั้งนี้ คงเป็นกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของไซนาย (ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม IS หรืออาจอยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐอิสลาม) โดยมีความมุ่งหมายที่จะต่อต้านและล้มล้างรัฐบาลของประธานาธิบดี el-Sisi และกวาดล้างชนเผ่า Sawarka หรือชาวมุสลิมที่ยึดถือหรือนิยมความลี้ลับตามแนวทาง Sufiให้หมดสิ้นไป
อะไรคือ Sufi http://www.islammore.com/view/1224 ได้อธิบายความหมายของ Sufi ไว้ว่า
“การนิยมความลี้ลับจึงมิใช่สิ่งที่เกิดใหม่ มันมีอยู่ในทุกชนชาติ ทุกภาษา และทุกศาสนา จะมีความแตกต่างกันบ้างในด้านรูปแบบและทฤษฎี บ่อเกิดแห่งการคิดใคร่ครวญถึงความลี้ลับนี้ถูกบันทึกครั้งแรกในดินแดนอียิปต์โบราณ อินเดีย กรีก และเปอร์เซีย (เสถียร พันธรังษี, 2521:12) หลังจากนั้นมีการแพร่หลายเข้าไปทั่วทุกแห่ง มีพฤติกรรมทางปฏิบัติในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด จนถึงแปลกประหลาดที่สุด แต่จะมีจุดมุ่งหมายปลายทางไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกัน คือการนำตนเองเข้าไปใกล้ชิดหรือรวมอยู่กับเทพเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระองค์ ซึ่งถือเป็นความใฝ่ฝันสูงสุดของผู้นิยมความลี้ลับทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาจึงเริ่มสร้างทฤษฎีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่หลงใหลคลั่งไคล้ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ใช้ปฏิบัติสืบต่อกันมา และนี่เองคือจุดกำเนิดของลัทธินิยมความลี้ลับหรือรหัสยนิยม (Mystism) ลัทธินี้ถือว่ามีภาวะความจริงหรือคุณค่าบางอย่างที่บุคคลที่มีผัสสะพิเศษเท่านั้นที่เข้าถึงได้ โดยทั่วไปหมายถึงประสบการณ์ทางศาสนา เช่น การบรรลุญาณ การเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น (พจนานุกรมปรัชญา, 2532:76).................................................................................................
นักการศาสนาผู้เคร่งครัดบางท่านจึงลุกขึ้นมาต่อต้านกระแสดังกล่าว...............................................................”
นั่นอาจรวมถึงกระแสการต่อต้านแนวทาง Sufi ในพื้นที่ของคาบสมุทรไซนายในกรณีนี้ด้วย
6. ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการก่อการร้าย
6.1 การก่อการร้ายโดยการทำลายหรือสังหารกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงกันข้าม หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ให้การสนับสนุนต่อแนวทางของกลุ่มก่อการร้าย เป็นวิธีการที่มักกระทำกันเป็นปกติและเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ผลที่ได้จะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับตัวชี้วัด 3 ประการ ประการแรกคือ เป้าหมายที่ถูกกระทำหรือถูกใช้ความรุนแรงประการที่สองคือ ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายตรงกันข้าม และประการสุดท้ายคือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับกลุ่มก่อการร้ายจากการปฏิบัติการในครั้งนี้
ในกรณีนี้พบว่า เป้าหมายคือ ชาวบ้านที่มาจากชนเผ่า Sawarka ที่นับถือแนวทาง Sufi ได้เสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 309 คน และบาดเจ็บอีก 128 คน โดยไม่มีรายงานความสูญเสียของกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่า การปฏิบัติการโจมตีชาว Sawarka บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง สามารถทำลายกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนและเป็นผู้ส่งข่าวต่างๆ ให้กับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์ได้เป็นจำนวนมาก
6.2 ผลจากการก่อการร้ายในครั้งนี้ยังได้บ่งชี้ว่า หน่วยงานการข่าวและหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์อยู่ในสภาพที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่สามารถล่วงรู้แผนการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายได้ก่อนที่จะดำเนินการยับยั้ง นอกจากนี้ยังไม่มีระบบเตือนภัยหรือตรวจสอบความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใดอีกด้วย จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า การทำสงครามของอียิปต์ที่ผ่านมาในอดีตหลายครั้ง (Six-Day War, Yom Kippur War และ 1948 Arab-Israel War) กำลังทหารของอียิปต์และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางยังไม่เคยเอาชนะคู่ต่อสู้คือ กองทัพอิสราเอลได้แม้แต่ครั้งเดียว (ดูภาพที่ 6)
6.3 การก่อการร้ายในครั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการที่กลุ่มรัฐอิสลามกำลังถูกทำลายลงที่ซีเรียและที่อิรัก ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างของอำนาจการนำกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นพลังผลักดันให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเพื่อที่จะเข้ามามีบทบาทนำกลุ่มหรือกองกำลังอิสลามต่างๆ แทนที่กลุ่มรัฐอิสลามที่กำลังจะสูญสลายไปเพราะถูกกำลังทหารของซีเรียและอิรัก (โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและสหรัฐอเมริกา) รุกเข้าโจมตีและทำลาย จนสูญเสียกำลังพลและดินแดนที่เคยมีอำนาจครอบครองไปจนเกือบจะหมดสิ้นในอีกไม่ช้านี้
ท้ายบทความ
ผู้เขียนต้องขออภัยทุกท่านที่หายไปนานพอสมควร และเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก็จะขอเริ่มต้นด้วยบทความที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในอียิปต์ ก่อนที่จะเขียนเรื่องอื่นๆ ตามที่มีผู้อ่านบางท่านเสนอมา และถ้าท่านมีความคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ udomdee@gmail.com ขอบคุณครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ