ถ้าจะถามว่าเรื่องที่ผมจะเขียนถึงต่อไปนี้มีความสำคัญมากนักหรือ มีผลต่อความเป็นประชาธิปไตยของประเทศหรือไม่ เป็นเรื่องปากท้องของประชาชนไหม? ก็คงตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไม่หรอกครับ” แต่ที่ต้องเขียนถึงและรอจังหวะนี้มานานแล้วก็เพราะว่า ผมได้สังเกตพบว่า ผู้รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นหรือ “โพล” จำนวนมากหรือจะเรียกว่าส่วนใหญ่ก็ได้รวมทั้งวงการวิชาการอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศยังขาดความเข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของจำนวนทศนิยมที่เขาใช้หรือเขียนถึงพูดง่ายๆ คือเขียนไปโดยไม่ได้คิดถึงพื้นฐานความเป็นมาของจำนวนนั้นๆ
ก่อนอื่นขออนุญาตทดสอบความเข้าใจเบื้องต้นก่อนด้วยคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้
(1) ถ้านำทรายละเอียดมาผสมกับทรายหยาบจะได้ทรายอะไร
(2) ถ้านำแป้งมันจำนวน 1.5 กิโลกรัม มาชั่งรวมกับผงฟูจำนวน 60 กรัม จะมีน้ำหนักรวมเท่าใด
(3) จำนวน 12.0 กับ 12 มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผมจะยังไม่เฉลยในตอนนี้นะครับ แต่ขอนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนซึ่งจัดทำโดยบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศเดนมาร์กมาให้ดูกันก่อนครับ (ดูภาพประกอบ)

สิ่งที่แตกต่างจากการนำเสนอของผลโพลอื่นๆ อย่างชัดเจนก็คือ ไม่มีการใช้จำนวนทศนิยมเลย
ทำไมจึงไม่มี
โดยปกติ ในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน คนในวงการมักจะยอมรับว่า ผลการสำรวจของตนจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่ระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวอย่างที่สามารถสะท้อนความเห็นแทนคนทั้งสังคมได้หรือไม่ ถ้าคนในสังคมมีความคิดเห็นใกล้เคียงกัน จำนวนตัวอย่างที่จะสำรวจก็ไม่จำเป็นต้องมีมาก
ในอดีต การสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันทั้งประเทศกว่า 200 ล้านคน ผู้สำรวจใช้จำนวนตัวอย่างไม่ถึง 1 พันคน ก็สามารถพยากรณ์ผลได้อย่างแม่นยำมาตลอด แต่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด ผลการสำรวจทุกสำนักแตกต่างจากความจริงค่อนข้างมาก (ผมไม่ทราบจำนวนตัวอย่าง) ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะความคิดเห็นของคนแตกต่างกันมาก
อย่างไรก็ตาม ระดับความคลาดเคลื่อนของผลสำรวจที่ยอมรับกันได้ประมาณ 5 % เมื่อเรายอมรับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ดังนั้น ทำไมเราจะต้องมาสนใจในผลลัพธ์ที่มีความละเอียดถึงระดับจุดทศนิยม (ซึ่งมีขนาดไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์) ด้วยเล่า ตามทันนะครับ!
ขอย้อนกลับไปที่ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องถ่านหินข้างต้นอีกครั้งครับ สมมติว่ามีจำนวนตัวอย่าง 26,000 คน ถ้ามีคนตอบว่าเห็นด้วยกับคำถามนี้จำนวน 22,152 คน เมื่อคำนวณเป็นจำนวนร้อยละแล้วจะได้เท่ากับ 85.2% คำถามคือ เราควรจะนำเสนอผลด้วยจำนวน 85.2% หรือจำนวน 85% (เฉยๆ) เพราะทั้งสองจำนวนนี้ได้รวมเอาความคลาดเคลื่อนที่ระดับไม่เกิน 5% อยู่แล้ว
นั่นคือ แม้ว่าจริงๆ แล้วร้อยละของคนที่เห็นด้วยกับคำตอบนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ 81-89% เราก็ยังถือว่าการสำรวจนี้มีความแม่นยำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเสนอ 85.2% ให้รกหูรกตา
จริงๆ นะครับธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าเราต้องฟังหรืออ่านอะไรที่มันยาวๆ มันจะทำให้เราจำอะไรไม่ได้ไปเลย แทนที่ผู้รับสารจะนำไปขบคิดหรือช่วยนำไปเผยแพร่ต่อ ก็อาจจะไม่สามารถทำได้เพราะจำไม่ได้
สู้เรานำเสนอ “ตัวเลขกลมๆ” ไปเลยจะไม่ดีกว่าหรือ
เพราะผู้จัดทำการสำรวจรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ผลการสำรวจของตนจะมีความน่าเชื่อถือเพียง 95% หรือมีคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ของจำนวน 85 ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกตัวอย่าง
ถ้าผมจะเปรียบผลการสำรวจความเห็นเป็นเหมือนกับ “ทรายหยาบ” เพราะมีช่วงของความเป็นไปได้กว้างมาก และเปรียบความพยายามในการหาผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนทศนิยมเหมือนกับ “ทรายละเอียด” เมื่อนำสองสิ่งนี้มารวมหรือผสมกัน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเหมือนกับทรายหยาบ
ถ้าพิจารณาลึกลงไปอีก เมื่อนำทรายทั้งสองประเภทมาผสมกันแล้ว เผลอๆ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้เลย ไม่ว่านำไปผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อก่อ (ทรายหยาบ) หรือเพื่อนำไปฉาบผิว (ทรายละเอียด)
ผมคิดว่า ผมได้ตอบคำถามที่ (1) แล้วนะครับ
มาถึงคำถามที่ (2) ถ้านำแป้งมันจำนวน 1.5 กิโลกรัม มาชั่งรวมกับผงฟูจำนวน 60 กรัม จะหนักรวมเท่าใด
ในการชั่ง ตวง และวัด ก่อนจะลงมือทำการ เราได้เลือกความละเอียดของมาตรให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราจะนำไปชั่งแล้ว แต่เราอาจจะลืมประเด็นสำคัญนี้กันไปเช่น ถ้าเราจะชั่งทองคำ ไม่ว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายคงจะไม่ยอมใช้เครื่องชั่งสำหรับขายผักอย่างแน่นอน เพราะมีความคลาดเคลื่อนเยอะ การชั่งทองคำจึงต้องใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียดสูง
การที่เราเขียนว่าแป้งมันหนัก 1.5 กิโลกรัมนั้น ในความเป็นจริงเข็มของตาชั่งอาจจะไม่ตรง “1.5” พอดีเป๊ะ แต่อาจจะอยู่ในช่วง 1.4 ถึง 1.6 กิโลกรัม นั่นหมายความว่าเรายอมให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในระดับไม่เกิน 100 กรัม (หรือ 0.1 กิโลกรัม) ถึงผิดไปก็คงไม่เกิดความเสียหายอะไรนักหนา
ครั้นเมื่อนำผงฟูที่หนัก 60 กรัม เข้าไปเพิ่มเติม จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ “เข็มตาชั่งไม่กระดิก” น้ำหนักรวมที่ได้จึงเท่าเดิมคือ 1.5 กิโลกรัม
เรื่องนี้ท่านที่เคยชั่งน้ำหนักตัวที่โรงพยาบาลคงจะเคยผ่านมาแล้ว นั่นคือ แม้ว่าเราจะดึงโทรศัพท์มือถือออกไป น้ำหนักที่อ่านได้จากตาชั่งก็ยังเท่าเดิม แม้ว่าจะเป็นเครื่องชั่งแบบดิจิตอลก็ตามเพราะตัวเลขแบบดิจิตอลก็เป็นตัวเลขที่เกิดจากการประมาณมาแล้ว
สำหรับคำถามที่ (3) ผมได้ตอบไปแล้วครับ คือ 12.0 จะมีค่าอยู่ระหว่าง 11.9 ถึง 12.1 ในขณะที่ 12 เป็นจำนวนเต็มซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 11 กับ 13 เพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าว ผู้ที่จะเขียนจำนวนใดๆ จะต้องสะท้อนเจตนาว่าตนต้องการจะนำเสนออะไร ด้วยระดับความละเอียดขนาดไหน
เคยมีงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทคนหนึ่ง เขาวัดอุณหภูมิของน้ำ 3 ครั้ง ได้ 32.1, 32.3 และ 32.4 องศาเซลเซียส แล้วสรุปว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 32.26666667 องศาเซลเซียส ซึ่งมาจากการใช้เครื่องคิดเลข
จริงอยู่ครับว่าเรื่องนี้ไม่มีผลเสียต่อความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ แต่มันสะท้อนว่านักศึกษาคนนี้ไม่มีความเข้าใจทั้งในเรื่องประสิทธิภาพของเทอร์โมมิเตอร์ (ที่มีความละเอียดแค่ทศนิยม 1 ตำแหน่ง) และไม่เข้าใจความหมายของจำนวนที่ตนเขียนโดยใช้ทศนิยม 8 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องจำนวนทศนิยมอาจจะเป็นเรื่องสำคัญระดับคอขาดบาดตายก็ได้ เช่น ในกรณีชั่งทองคำ ที่กล่าวแล้ว เป็นต้น
โดยสรุปขอย้ำว่าเรื่องความเข้าใจและการใช้จำนวนทศนิยมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่เราต้องจำแนกให้ได้ว่ากรณีใดเป็นสิ่งจำเป็น กรณีใดไม่จำเป็น
ผมขอจบความเห็นเรื่องความหมายของจำนวนในคณิตศาสตร์และการคำนวณ (บางส่วน) ไว้เพียงแค่นี้นะครับ
แต่เรามาดูผลการสำรวจความคิดเห็นของ Orsted ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเดนมาร์ก (เดิมชื่อบริษัท DongEnergy ในปี 2017 บริษัทได้ประกาศว่าจะเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า) และบริษัท Edelman Intelligence ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา
ผมขอเสนอเพิ่มอีก 2 ภาพนะครับ
ภาพแรกเป็นความเห็นของประชาชนใน 13 ประเทศเกี่ยวกับความเชื่อของพวกเขา กล่าวคือพวกเขาเชื่อว่าปัญหาที่โลกกำลังเผชิญสูงสุด 5 ปัญหาที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ ภัยจากการก่อการร้าย (73%) รองลงมาคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (66%) อันดับสามคือ การดูแลประชากรผู้สูงอายุ (44%) อันดับสี่ การเข้าถึงการบริการสุขภาพ (42%) และอันดับที่ห้า คือการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน (40%)
ทุกจำนวนไม่มีทศนิยมนะครับ

ภาพสุดท้ายมี 2 ประเด็นอยู่ในรายงานฉบับเดียวกัน
ประเด็นแรก ผลการสำรวจความเห็นประชาชนพบว่า ร้อยละ 70 เห็นว่ารัฐบาลของตนควรมีความทะเยอทะยานในการใช้พลังงานสีเขียว
ประเด็นที่สอง เป็นการอ้างถึงรายงานของบริษัท Bloomberg พบว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมและแสงอาทิตย์มีราคาถูกกว่าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและนิวเคลียร์แล้ว

ขณะผมเขียนบทความนี้ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาถ่านหิน” กำลังเดินเท้าทางไกลเพื่อจะไปบอกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะจัดประชุม “ครม.สัญจร” ว่าพวกเขาไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และไม่เต็มใจที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ นั่นเป็นเรื่องของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
น่าเสียดายมาก ที่รัฐบาลไทยไม่สนใจกระแสโลก ทั้งๆ ที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสที่จะช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน ทั้งๆ ที่ถ้าพิจารณาในแง่ต้นทุนการผลิตของถ่านหิน (ซึ่งเราไม่มีเอง) ก็แพงกว่าผลิตจากแสงแดดซึ่งเรามีมากกว่าเกือบทุกประเทศในบรรดา 13 ประเทศที่ได้มีการสำรวจไปแล้ว
น่าสงสารคนไทยที่ถูกรัฐบาลของตนเองปิดบังความจริงเพียงเพื่อจะตอบสนองความโลภของกลุ่มทุนถ่านหินที่ล้าสมัยและเป็นภัยต่อโลกอย่างร้ยแรง!
ก่อนอื่นขออนุญาตทดสอบความเข้าใจเบื้องต้นก่อนด้วยคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้
(1) ถ้านำทรายละเอียดมาผสมกับทรายหยาบจะได้ทรายอะไร
(2) ถ้านำแป้งมันจำนวน 1.5 กิโลกรัม มาชั่งรวมกับผงฟูจำนวน 60 กรัม จะมีน้ำหนักรวมเท่าใด
(3) จำนวน 12.0 กับ 12 มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผมจะยังไม่เฉลยในตอนนี้นะครับ แต่ขอนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนซึ่งจัดทำโดยบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศเดนมาร์กมาให้ดูกันก่อนครับ (ดูภาพประกอบ)
สิ่งที่แตกต่างจากการนำเสนอของผลโพลอื่นๆ อย่างชัดเจนก็คือ ไม่มีการใช้จำนวนทศนิยมเลย
ทำไมจึงไม่มี
โดยปกติ ในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน คนในวงการมักจะยอมรับว่า ผลการสำรวจของตนจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่ระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวอย่างที่สามารถสะท้อนความเห็นแทนคนทั้งสังคมได้หรือไม่ ถ้าคนในสังคมมีความคิดเห็นใกล้เคียงกัน จำนวนตัวอย่างที่จะสำรวจก็ไม่จำเป็นต้องมีมาก
ในอดีต การสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันทั้งประเทศกว่า 200 ล้านคน ผู้สำรวจใช้จำนวนตัวอย่างไม่ถึง 1 พันคน ก็สามารถพยากรณ์ผลได้อย่างแม่นยำมาตลอด แต่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด ผลการสำรวจทุกสำนักแตกต่างจากความจริงค่อนข้างมาก (ผมไม่ทราบจำนวนตัวอย่าง) ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะความคิดเห็นของคนแตกต่างกันมาก
อย่างไรก็ตาม ระดับความคลาดเคลื่อนของผลสำรวจที่ยอมรับกันได้ประมาณ 5 % เมื่อเรายอมรับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ดังนั้น ทำไมเราจะต้องมาสนใจในผลลัพธ์ที่มีความละเอียดถึงระดับจุดทศนิยม (ซึ่งมีขนาดไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์) ด้วยเล่า ตามทันนะครับ!
ขอย้อนกลับไปที่ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องถ่านหินข้างต้นอีกครั้งครับ สมมติว่ามีจำนวนตัวอย่าง 26,000 คน ถ้ามีคนตอบว่าเห็นด้วยกับคำถามนี้จำนวน 22,152 คน เมื่อคำนวณเป็นจำนวนร้อยละแล้วจะได้เท่ากับ 85.2% คำถามคือ เราควรจะนำเสนอผลด้วยจำนวน 85.2% หรือจำนวน 85% (เฉยๆ) เพราะทั้งสองจำนวนนี้ได้รวมเอาความคลาดเคลื่อนที่ระดับไม่เกิน 5% อยู่แล้ว
นั่นคือ แม้ว่าจริงๆ แล้วร้อยละของคนที่เห็นด้วยกับคำตอบนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ 81-89% เราก็ยังถือว่าการสำรวจนี้มีความแม่นยำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเสนอ 85.2% ให้รกหูรกตา
จริงๆ นะครับธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าเราต้องฟังหรืออ่านอะไรที่มันยาวๆ มันจะทำให้เราจำอะไรไม่ได้ไปเลย แทนที่ผู้รับสารจะนำไปขบคิดหรือช่วยนำไปเผยแพร่ต่อ ก็อาจจะไม่สามารถทำได้เพราะจำไม่ได้
สู้เรานำเสนอ “ตัวเลขกลมๆ” ไปเลยจะไม่ดีกว่าหรือ
เพราะผู้จัดทำการสำรวจรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ผลการสำรวจของตนจะมีความน่าเชื่อถือเพียง 95% หรือมีคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ของจำนวน 85 ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกตัวอย่าง
ถ้าผมจะเปรียบผลการสำรวจความเห็นเป็นเหมือนกับ “ทรายหยาบ” เพราะมีช่วงของความเป็นไปได้กว้างมาก และเปรียบความพยายามในการหาผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนทศนิยมเหมือนกับ “ทรายละเอียด” เมื่อนำสองสิ่งนี้มารวมหรือผสมกัน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเหมือนกับทรายหยาบ
ถ้าพิจารณาลึกลงไปอีก เมื่อนำทรายทั้งสองประเภทมาผสมกันแล้ว เผลอๆ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้เลย ไม่ว่านำไปผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อก่อ (ทรายหยาบ) หรือเพื่อนำไปฉาบผิว (ทรายละเอียด)
ผมคิดว่า ผมได้ตอบคำถามที่ (1) แล้วนะครับ
มาถึงคำถามที่ (2) ถ้านำแป้งมันจำนวน 1.5 กิโลกรัม มาชั่งรวมกับผงฟูจำนวน 60 กรัม จะหนักรวมเท่าใด
ในการชั่ง ตวง และวัด ก่อนจะลงมือทำการ เราได้เลือกความละเอียดของมาตรให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราจะนำไปชั่งแล้ว แต่เราอาจจะลืมประเด็นสำคัญนี้กันไปเช่น ถ้าเราจะชั่งทองคำ ไม่ว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายคงจะไม่ยอมใช้เครื่องชั่งสำหรับขายผักอย่างแน่นอน เพราะมีความคลาดเคลื่อนเยอะ การชั่งทองคำจึงต้องใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียดสูง
การที่เราเขียนว่าแป้งมันหนัก 1.5 กิโลกรัมนั้น ในความเป็นจริงเข็มของตาชั่งอาจจะไม่ตรง “1.5” พอดีเป๊ะ แต่อาจจะอยู่ในช่วง 1.4 ถึง 1.6 กิโลกรัม นั่นหมายความว่าเรายอมให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในระดับไม่เกิน 100 กรัม (หรือ 0.1 กิโลกรัม) ถึงผิดไปก็คงไม่เกิดความเสียหายอะไรนักหนา
ครั้นเมื่อนำผงฟูที่หนัก 60 กรัม เข้าไปเพิ่มเติม จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ “เข็มตาชั่งไม่กระดิก” น้ำหนักรวมที่ได้จึงเท่าเดิมคือ 1.5 กิโลกรัม
เรื่องนี้ท่านที่เคยชั่งน้ำหนักตัวที่โรงพยาบาลคงจะเคยผ่านมาแล้ว นั่นคือ แม้ว่าเราจะดึงโทรศัพท์มือถือออกไป น้ำหนักที่อ่านได้จากตาชั่งก็ยังเท่าเดิม แม้ว่าจะเป็นเครื่องชั่งแบบดิจิตอลก็ตามเพราะตัวเลขแบบดิจิตอลก็เป็นตัวเลขที่เกิดจากการประมาณมาแล้ว
สำหรับคำถามที่ (3) ผมได้ตอบไปแล้วครับ คือ 12.0 จะมีค่าอยู่ระหว่าง 11.9 ถึง 12.1 ในขณะที่ 12 เป็นจำนวนเต็มซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 11 กับ 13 เพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าว ผู้ที่จะเขียนจำนวนใดๆ จะต้องสะท้อนเจตนาว่าตนต้องการจะนำเสนออะไร ด้วยระดับความละเอียดขนาดไหน
เคยมีงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทคนหนึ่ง เขาวัดอุณหภูมิของน้ำ 3 ครั้ง ได้ 32.1, 32.3 และ 32.4 องศาเซลเซียส แล้วสรุปว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 32.26666667 องศาเซลเซียส ซึ่งมาจากการใช้เครื่องคิดเลข
จริงอยู่ครับว่าเรื่องนี้ไม่มีผลเสียต่อความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ แต่มันสะท้อนว่านักศึกษาคนนี้ไม่มีความเข้าใจทั้งในเรื่องประสิทธิภาพของเทอร์โมมิเตอร์ (ที่มีความละเอียดแค่ทศนิยม 1 ตำแหน่ง) และไม่เข้าใจความหมายของจำนวนที่ตนเขียนโดยใช้ทศนิยม 8 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องจำนวนทศนิยมอาจจะเป็นเรื่องสำคัญระดับคอขาดบาดตายก็ได้ เช่น ในกรณีชั่งทองคำ ที่กล่าวแล้ว เป็นต้น
โดยสรุปขอย้ำว่าเรื่องความเข้าใจและการใช้จำนวนทศนิยมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่เราต้องจำแนกให้ได้ว่ากรณีใดเป็นสิ่งจำเป็น กรณีใดไม่จำเป็น
ผมขอจบความเห็นเรื่องความหมายของจำนวนในคณิตศาสตร์และการคำนวณ (บางส่วน) ไว้เพียงแค่นี้นะครับ
แต่เรามาดูผลการสำรวจความคิดเห็นของ Orsted ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเดนมาร์ก (เดิมชื่อบริษัท DongEnergy ในปี 2017 บริษัทได้ประกาศว่าจะเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า) และบริษัท Edelman Intelligence ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา
ผมขอเสนอเพิ่มอีก 2 ภาพนะครับ
ภาพแรกเป็นความเห็นของประชาชนใน 13 ประเทศเกี่ยวกับความเชื่อของพวกเขา กล่าวคือพวกเขาเชื่อว่าปัญหาที่โลกกำลังเผชิญสูงสุด 5 ปัญหาที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ ภัยจากการก่อการร้าย (73%) รองลงมาคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (66%) อันดับสามคือ การดูแลประชากรผู้สูงอายุ (44%) อันดับสี่ การเข้าถึงการบริการสุขภาพ (42%) และอันดับที่ห้า คือการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน (40%)
ทุกจำนวนไม่มีทศนิยมนะครับ
ภาพสุดท้ายมี 2 ประเด็นอยู่ในรายงานฉบับเดียวกัน
ประเด็นแรก ผลการสำรวจความเห็นประชาชนพบว่า ร้อยละ 70 เห็นว่ารัฐบาลของตนควรมีความทะเยอทะยานในการใช้พลังงานสีเขียว
ประเด็นที่สอง เป็นการอ้างถึงรายงานของบริษัท Bloomberg พบว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมและแสงอาทิตย์มีราคาถูกกว่าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและนิวเคลียร์แล้ว
ขณะผมเขียนบทความนี้ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาถ่านหิน” กำลังเดินเท้าทางไกลเพื่อจะไปบอกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะจัดประชุม “ครม.สัญจร” ว่าพวกเขาไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และไม่เต็มใจที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ นั่นเป็นเรื่องของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
น่าเสียดายมาก ที่รัฐบาลไทยไม่สนใจกระแสโลก ทั้งๆ ที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสที่จะช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน ทั้งๆ ที่ถ้าพิจารณาในแง่ต้นทุนการผลิตของถ่านหิน (ซึ่งเราไม่มีเอง) ก็แพงกว่าผลิตจากแสงแดดซึ่งเรามีมากกว่าเกือบทุกประเทศในบรรดา 13 ประเทศที่ได้มีการสำรวจไปแล้ว
น่าสงสารคนไทยที่ถูกรัฐบาลของตนเองปิดบังความจริงเพียงเพื่อจะตอบสนองความโลภของกลุ่มทุนถ่านหินที่ล้าสมัยและเป็นภัยต่อโลกอย่างร้ยแรง!