1.ความเป็นมา
“โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสาน” ในที่นี้หมายถึง “โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 400 เตียงซึ่งได้เปิดให้บริการมาแล้ว 11 ปี โดยการดำริของคณะสงฆ์และประชาชน 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ในขณะนั้น) ทรงทราบถึงปัญหาของพระภิกษุสงฆ์อาพาธ และทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พร้อมพระราชทานนามดังกล่าว
และ “พระสงฆ์ + ศิษย์” หมายถึงพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากจะเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านยังเป็นผู้บริหารโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่นักเรียนร่วม 200 คน ได้เรียนฟรี แถมอาหารกลางวันและมีรถรับส่งฟรี
โรงเรียนศรีแสงธรรมได้ปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการพึ่งตนเองด้านพลังงานด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง สามารถลดรายจ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 1.3หมื่นบาท นอกจากนี้ท่านพระครูวิมลฯ ยังได้สอนและฝึกนักเรียนให้สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อหารายได้มาเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียนอีกด้วย
นอกจากการฝึกนักเรียนแล้วท่านพระครูฯ ยังได้เปิดอบรมให้ประชาชนทั่วไปมาแล้วนับสิบรุ่น โดยผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลากหลายอาชีพทั่วประเทศ และจากกิจกรรมการอบรมดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสงฆ์อีสานกับโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งผมรู้สึกภูมิใจที่จะนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านในที่นี้

2. ความต้องการของโรงพยาบาลสงฆ์
นายแพทย์เศวต ศรีศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (เพิ่งได้รับรางวัล “ศิษย์เก่าศัลยศาสตร์รามาธิบดี” มาหยกๆ) ได้เล่าให้ผมฟังทางโทรศัพท์ว่า “โรงพยาบาลนี้รับคนไข้ทั่วไป มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา ให้บริการทั้งพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ในจำนวนนี้มีพระสงฆ์เป็นผู้ป่วยนอกเกือบ 4 หมื่นรูปต่อปี ในแต่ละเดือนทางโรงพยาบาลต้องจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 7 แสนบาท ถือเป็นภาระจำนวนไม่น้อย หากสามารถลดรายจ่ายเรื่องนี้ลงได้ ก็สามารถไปปรับปรุงด้านอื่นให้ดีขึ้นกว่านี้”
เมื่อถามถึงแรงจูงใจในการคิดโครงการนี้ และทำไมจึงร่วมกับท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ คุณหมอตอบว่า หลักๆ ก็ต้องการจะลดรายจ่ายของโรงพยาบาล และเป็นการให้ “พระสงฆ์ได้ช่วยพระสงฆ์” นอกจากนี้ยังอยากให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกคนในองค์กรของโรงพยาบาลเองรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ได้เห็นความยาก-ง่ายของโครงการ ได้รู้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของทางราชการ ตอนนี้ขอเป็นโครงการนำร่องก่อน หากประสบผลสำเร็จแล้วก็ค่อยขยายติดตั้งเพิ่มเติม
ตอนนี้ทางโรงพยาบาลมีเงินรายได้ที่จะนำมาใช้กับโครงการนี้ 3 แสนบาท
ล่าสุด จากการบอกเล่าของท่านพระครูวิมลปัญญาคุณว่า พระพรหมวชิรญาณกรรมการเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา และคณะลูกศิษย์ของท่านได้กรุณาร่วมบริจาคจำนวน 2 แสนบาท นับเป็นกำลังใจให้กับคณะผู้ริเริ่มโครงการนี้เป็นอย่างมาก (หมายเหตุ วัดยานนาวาเองก็ได้ติดโซลาร์เซลล์ไปแล้วจำนวน 33 กิโลวัตต์เมื่อประมาณ 2 ปีมาแล้ว) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเองก็รู้สึกตื่นเต้นกับโครงการนี้จึงได้คิดร่วมกันบริจาคสมทบด้วย
ผมเชื่อว่า ความรู้สึกที่อยากมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในครั้งนี้จะนำไปสู่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่อเนื่องอีกมากมาย เช่น การใช้พลังงานในสำนักงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใช้วัสดุอื่นๆ ด้วย นี่คือศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัว แต่มักจะถูกมองข้ามจากผู้เขียนนโยบายพลังงานของรัฐเสมอ
3. โครงการนี้จะติดตั้งขนาดเท่าใดและใช้เงินจำนวนเท่าใด
พระครูวิมลปัญญาคุณได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของท่านว่าจะติดตั้งขนาด 25 กิโลวัตต์ โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปกรณ์ทั้งหมดจำนวน 6 แสนบาท โดยไม่ต้องจ่ายค่าออกแบบและค่าแรงในการติดตั้งแต่อย่างใด เพราะค่าแรงในการติดตั้งนั้นจะระดมจากคณะศิษย์ของท่านพระครูฯ ทั้งที่เป็นนักเรียนและผู้ที่เคยผ่านอบรมจากโรงเรียนศรีแสงธรรมมาแล้ว ส่วนจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่อีก 3 แสนบาท (ตอนนี้ยังขาดอีก 1 แสนบาท) จะใช้วิธีการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปการติดตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 16-17 ธันวาคม นี้ครับ
4. บัญชีธนาคารเพื่อให้ประชาชนร่วมทำบุญ
ท่านที่สนใจจะร่วมทำบุญครั้งนี้สามารถโอนเงินผ่านบัญชี “กองทุนพัฒนาพลังงานทดแทน โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธนาคารกรุงไทย สาขาโขงเจียม เลขที่บัญชี 338-0-34123-1 หากท่านร่วมบริจาคแล้วกรุณาแจ้งได้ที่เฟซบุ๊ก “พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม” หรือเบอร์โทรศัพท์ 08-6233-1345 หรือที่อีเมล sisaengtham@hotmail.com
5. โครงการนี้จะลดค่าไฟฟ้าได้สักเท่าใด
เรื่องนี้เป็นการยากที่จะประเมินได้อย่างแม่นยำ เพราะสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ (1) เรายังไม่มีข้อมูลที่ทันสมัยจำนวนมากพอ ข้อมูลที่มีก็มักจะมาจากแผ่นเก่ามือสอง (2) ประสิทธิภาพของแผ่นโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มสูงกว่าเดิม และ (3) ทักษะในการติดตั้งก็มีส่วนสำคัญ
แต่จากข้อมูล 2 ชิ้นต่อไปนี้ พบว่า
หนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานีมีศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์สูงที่สุดในประเทศไทย คือประมาณ 1,900 หน่วย (kwh) ต่อตารางเมตร (ดูภาพประกอบ) แต่ในการผลิตจริงก็จะเกิดการสูญเสียในกระบวนการจำนวนหนึ่ง

สอง โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ติดตั้งเสร็จด้วยอุปกรณ์เกรดเอ เป็นของใหม่ทั้งหมด เมื่อปลายเดือนตุลาคมนี้เอง พบว่า ในบางวันทั้งๆ ที่เป็นฤดูฝนของภาคใต้ แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 4.3 หน่วย และ 5.0 หน่วยต่อกิโลวัตต์ (ดูภาพประกอบ)

จากข้อมูลทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าว ผมขอสมมติว่า โครงการที่โรงพยาบาลสงฆ์ ภาคอีสานนี้ จะสามารถผลิตได้ไฟฟ้าจำนวน 1,450 หน่วยต่อปี (ต่ำกว่า 4.3 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อวันเล็กน้อย) ทั้งโครงการ 25 กิโลวัตต์ จะได้ 36,250 หน่วยต่อปีหรือ 3,020 หน่วยต่อเดือน
ผมเองได้เคยดูรายการค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา (ซึ่งเคยจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 3 แสนบาท) ถ้าผมจำไม่ผิดราคาเฉลี่ยหน่วยละ 4.14 บาท
จากเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว พอจะประมาณได้ว่าโครงการที่โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสานนี้จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 12,500 บาท หรือปีละ 1.5 แสนบาท นั่นคือจะคุ้มทุนภายในเวลา 4 ปี
เงินจำนวนนี้คงจะนำไปซื้อกางเกงผ้าอ้อมถวายพระสงฆ์ที่อาพาธได้หลายผืนอยู่นะครับ
6. ต้นทุนไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ยตลอดโครงการ
ในการพิจารณาว่าโครงการผลิตไฟฟ้าใดน่าลงทุนหรือไม่ เขานิยมพิจารณาจากตัวชี้วัดที่เรียกว่า “ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ยตลอดอายุโครงการ (Levelized Cost Of Electricity, LCOE)” ซึ่งเกิดจากการนำต้นทุนเริ่มต้นทั้งหมดเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอดอายุโครงการ
เนื่องจากโครงการนี้ไม่ต้องจ่ายค่าแรงและค่าออกแบบ (แต่ใช้พลังบุญของจิตอาสา) ดังนั้น ต้นทุนเริ่มต้นจึงเท่ากับ 6 แสนบาท ในขณะที่จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอด25 ปีๆ ละ 36,250 หน่วย
หลังจากจิ้มตัวเลขลงบนโทรศัพท์มือถือ จะได้ว่า ค่า LCOE เท่ากับ 0.66 บาทต่อหน่วยเท่านั้นเอง
อย่าเพิ่งปฏิเสธนะครับว่า เป็นการประเมินแบบมั่วๆ ไม่มีทางเป็นไปได้ ผมมีสิ่งให้เปรียบเทียบครับ เอกสารในแผ่นภาพนี้ (จากการเปิดเผยของ Bloomberg) พบว่า บริษัทที่ชนะการประมูลเพื่อผลิตในประเทศซาอุดีอาระเบีย มีค่า LCOE เพียง 0.60 บาทต่อหน่วยเท่านั้น เพราะว่าประเทศนี้เขามีแดดดีกว่าประเทศไทยและเป็นโครงการขนาดใหญ่
แต่ของเรามีพลังบุญมาเสริมครับ

ในวงวิชาการ ถ้า LCOE มีค่าเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านต้องซื้อจากสายส่งของระบบไฟฟ้า เขาเรียกว่า “Grid Parity” (หมายถึง ราคาไฟฟ้าที่ผลิตเองเท่ากับราคาที่รับซื้อจากสายส่ง)
ซึ่งราคาไฟฟ้าจากสายส่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) ค่าพลังงานที่เกิดจากการผลิต (2) ค่าสายส่ง และ (3) ค่าบริการในการจัดจำหน่ายต่อผู้ใช้รายย่อย
จากเอกสาร “อัตราค่าไฟฟ้า” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (หน้าที่ 5) พบว่า ค่า “ระบบส่ง” และ “ระบบจำหน่าย” รวมกันเท่ากับ 0.77 บาทต่อหน่วย
นั่นหมายความว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่โครงการนี้ผลิตได้ซึ่งเท่ากับ 0.66 บาทต่อหน่วยนั้น ได้ต่ำกว่า 2 ค่าที่กล่าวแล้วรวมกัน
เหตุการณ์เช่นนี้ มีนักวิชาการบางคนเรียกว่าเป็น “God Parity” หรือ “เท่ากับที่พระเจ้าให้มา”
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสานครั้งนี้ ไม่ใช่เหตุการณ์ธรรมดาๆ ที่จะถูกมองข้ามไปได้ แต่มันคือสิ่งที่จะนำไปสู่การพลิกผันครั้งใหญ่ของโลกเลยทีเดียว
มันจะไม่พลิกผันได้อย่างไร ในเมื่อต่อให้ต้นการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินรวมทั้งก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ (ซึ่งได้ก่อปัญหาสารพัดต่อโลก) เป็นศูนย์หรือไม่มีต้นทุนเลยแล้ว ไฟฟ้าที่มากับระบบสายส่งยังแพงกว่าราคาไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตเอง หรือ “พระเจ้าให้มา” ซึ่งก็อยู่แค่เอื้อมเหนือศีรษะเราเอง ใครที่ยังไม่เชื่อในสิ่งที่ผมได้เรียนมาแล้วก็ไม่เป็นไรครับ ค่อยๆ นำไปคิด แต่ผมเองเชื่อและมั่นใจมากครับ
ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณได้กรุณาโทร. (ล่าสุด) มาบอกผมว่า ขณะนี้ยอดเงินที่รับบริจาคได้ครบแล้วครับ พร้อมกับได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากมีการรวมกลุ่มกันสั่งซื้ออุปกรณ์ครั้งละมากๆ เช่น 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป ก็จะได้ราคาต่ำกว่านี้อีก ในด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ก็มีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ทางโรงเรียนศรีแสงธรรมก็ได้นำมาให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้แล้วเชิญไปเรียนรู้ได้เลย
7. สรุป
โครงการที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นความร่วมมือของภาคประชาสังคมที่เริ่มต้นจากคนเล็กๆ ตั้งแต่การริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลสงฆ์เพื่อดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธเมื่อเกือบ20 ปีมาแล้ว เป็นพลังของเจตนารมณ์ที่จะทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกาะเกี่ยวและพัฒนาจนมาถึงปัจจุบัน อาจจะดูชักช้าไปบ้างในความรู้สึกของบางคน แต่มันก็มีมวล มีพลัง มีโมเมนตัมและขยายวงเติบโตขึ้นเป็นลำดับ พวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลจะไม่รู้สึกหนาวบ้างเชียวหรือ
ที่สำคัญกว่านั้นมันได้เริ่มเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “เท่ากับที่พระเจ้าให้มา (God Parity)” แล้ว
“โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสาน” ในที่นี้หมายถึง “โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 400 เตียงซึ่งได้เปิดให้บริการมาแล้ว 11 ปี โดยการดำริของคณะสงฆ์และประชาชน 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ในขณะนั้น) ทรงทราบถึงปัญหาของพระภิกษุสงฆ์อาพาธ และทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พร้อมพระราชทานนามดังกล่าว
และ “พระสงฆ์ + ศิษย์” หมายถึงพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากจะเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านยังเป็นผู้บริหารโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่นักเรียนร่วม 200 คน ได้เรียนฟรี แถมอาหารกลางวันและมีรถรับส่งฟรี
โรงเรียนศรีแสงธรรมได้ปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการพึ่งตนเองด้านพลังงานด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง สามารถลดรายจ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 1.3หมื่นบาท นอกจากนี้ท่านพระครูวิมลฯ ยังได้สอนและฝึกนักเรียนให้สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อหารายได้มาเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียนอีกด้วย
นอกจากการฝึกนักเรียนแล้วท่านพระครูฯ ยังได้เปิดอบรมให้ประชาชนทั่วไปมาแล้วนับสิบรุ่น โดยผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลากหลายอาชีพทั่วประเทศ และจากกิจกรรมการอบรมดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสงฆ์อีสานกับโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งผมรู้สึกภูมิใจที่จะนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านในที่นี้
2. ความต้องการของโรงพยาบาลสงฆ์
นายแพทย์เศวต ศรีศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (เพิ่งได้รับรางวัล “ศิษย์เก่าศัลยศาสตร์รามาธิบดี” มาหยกๆ) ได้เล่าให้ผมฟังทางโทรศัพท์ว่า “โรงพยาบาลนี้รับคนไข้ทั่วไป มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา ให้บริการทั้งพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ในจำนวนนี้มีพระสงฆ์เป็นผู้ป่วยนอกเกือบ 4 หมื่นรูปต่อปี ในแต่ละเดือนทางโรงพยาบาลต้องจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 7 แสนบาท ถือเป็นภาระจำนวนไม่น้อย หากสามารถลดรายจ่ายเรื่องนี้ลงได้ ก็สามารถไปปรับปรุงด้านอื่นให้ดีขึ้นกว่านี้”
เมื่อถามถึงแรงจูงใจในการคิดโครงการนี้ และทำไมจึงร่วมกับท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ คุณหมอตอบว่า หลักๆ ก็ต้องการจะลดรายจ่ายของโรงพยาบาล และเป็นการให้ “พระสงฆ์ได้ช่วยพระสงฆ์” นอกจากนี้ยังอยากให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกคนในองค์กรของโรงพยาบาลเองรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ได้เห็นความยาก-ง่ายของโครงการ ได้รู้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของทางราชการ ตอนนี้ขอเป็นโครงการนำร่องก่อน หากประสบผลสำเร็จแล้วก็ค่อยขยายติดตั้งเพิ่มเติม
ตอนนี้ทางโรงพยาบาลมีเงินรายได้ที่จะนำมาใช้กับโครงการนี้ 3 แสนบาท
ล่าสุด จากการบอกเล่าของท่านพระครูวิมลปัญญาคุณว่า พระพรหมวชิรญาณกรรมการเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา และคณะลูกศิษย์ของท่านได้กรุณาร่วมบริจาคจำนวน 2 แสนบาท นับเป็นกำลังใจให้กับคณะผู้ริเริ่มโครงการนี้เป็นอย่างมาก (หมายเหตุ วัดยานนาวาเองก็ได้ติดโซลาร์เซลล์ไปแล้วจำนวน 33 กิโลวัตต์เมื่อประมาณ 2 ปีมาแล้ว) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเองก็รู้สึกตื่นเต้นกับโครงการนี้จึงได้คิดร่วมกันบริจาคสมทบด้วย
ผมเชื่อว่า ความรู้สึกที่อยากมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในครั้งนี้จะนำไปสู่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่อเนื่องอีกมากมาย เช่น การใช้พลังงานในสำนักงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใช้วัสดุอื่นๆ ด้วย นี่คือศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัว แต่มักจะถูกมองข้ามจากผู้เขียนนโยบายพลังงานของรัฐเสมอ
3. โครงการนี้จะติดตั้งขนาดเท่าใดและใช้เงินจำนวนเท่าใด
พระครูวิมลปัญญาคุณได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของท่านว่าจะติดตั้งขนาด 25 กิโลวัตต์ โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปกรณ์ทั้งหมดจำนวน 6 แสนบาท โดยไม่ต้องจ่ายค่าออกแบบและค่าแรงในการติดตั้งแต่อย่างใด เพราะค่าแรงในการติดตั้งนั้นจะระดมจากคณะศิษย์ของท่านพระครูฯ ทั้งที่เป็นนักเรียนและผู้ที่เคยผ่านอบรมจากโรงเรียนศรีแสงธรรมมาแล้ว ส่วนจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่อีก 3 แสนบาท (ตอนนี้ยังขาดอีก 1 แสนบาท) จะใช้วิธีการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปการติดตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 16-17 ธันวาคม นี้ครับ
4. บัญชีธนาคารเพื่อให้ประชาชนร่วมทำบุญ
ท่านที่สนใจจะร่วมทำบุญครั้งนี้สามารถโอนเงินผ่านบัญชี “กองทุนพัฒนาพลังงานทดแทน โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธนาคารกรุงไทย สาขาโขงเจียม เลขที่บัญชี 338-0-34123-1 หากท่านร่วมบริจาคแล้วกรุณาแจ้งได้ที่เฟซบุ๊ก “พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม” หรือเบอร์โทรศัพท์ 08-6233-1345 หรือที่อีเมล sisaengtham@hotmail.com
5. โครงการนี้จะลดค่าไฟฟ้าได้สักเท่าใด
เรื่องนี้เป็นการยากที่จะประเมินได้อย่างแม่นยำ เพราะสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ (1) เรายังไม่มีข้อมูลที่ทันสมัยจำนวนมากพอ ข้อมูลที่มีก็มักจะมาจากแผ่นเก่ามือสอง (2) ประสิทธิภาพของแผ่นโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มสูงกว่าเดิม และ (3) ทักษะในการติดตั้งก็มีส่วนสำคัญ
แต่จากข้อมูล 2 ชิ้นต่อไปนี้ พบว่า
หนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานีมีศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์สูงที่สุดในประเทศไทย คือประมาณ 1,900 หน่วย (kwh) ต่อตารางเมตร (ดูภาพประกอบ) แต่ในการผลิตจริงก็จะเกิดการสูญเสียในกระบวนการจำนวนหนึ่ง
สอง โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ติดตั้งเสร็จด้วยอุปกรณ์เกรดเอ เป็นของใหม่ทั้งหมด เมื่อปลายเดือนตุลาคมนี้เอง พบว่า ในบางวันทั้งๆ ที่เป็นฤดูฝนของภาคใต้ แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 4.3 หน่วย และ 5.0 หน่วยต่อกิโลวัตต์ (ดูภาพประกอบ)
จากข้อมูลทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าว ผมขอสมมติว่า โครงการที่โรงพยาบาลสงฆ์ ภาคอีสานนี้ จะสามารถผลิตได้ไฟฟ้าจำนวน 1,450 หน่วยต่อปี (ต่ำกว่า 4.3 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อวันเล็กน้อย) ทั้งโครงการ 25 กิโลวัตต์ จะได้ 36,250 หน่วยต่อปีหรือ 3,020 หน่วยต่อเดือน
ผมเองได้เคยดูรายการค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา (ซึ่งเคยจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 3 แสนบาท) ถ้าผมจำไม่ผิดราคาเฉลี่ยหน่วยละ 4.14 บาท
จากเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว พอจะประมาณได้ว่าโครงการที่โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสานนี้จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 12,500 บาท หรือปีละ 1.5 แสนบาท นั่นคือจะคุ้มทุนภายในเวลา 4 ปี
เงินจำนวนนี้คงจะนำไปซื้อกางเกงผ้าอ้อมถวายพระสงฆ์ที่อาพาธได้หลายผืนอยู่นะครับ
6. ต้นทุนไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ยตลอดโครงการ
ในการพิจารณาว่าโครงการผลิตไฟฟ้าใดน่าลงทุนหรือไม่ เขานิยมพิจารณาจากตัวชี้วัดที่เรียกว่า “ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ยตลอดอายุโครงการ (Levelized Cost Of Electricity, LCOE)” ซึ่งเกิดจากการนำต้นทุนเริ่มต้นทั้งหมดเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอดอายุโครงการ
เนื่องจากโครงการนี้ไม่ต้องจ่ายค่าแรงและค่าออกแบบ (แต่ใช้พลังบุญของจิตอาสา) ดังนั้น ต้นทุนเริ่มต้นจึงเท่ากับ 6 แสนบาท ในขณะที่จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอด25 ปีๆ ละ 36,250 หน่วย
หลังจากจิ้มตัวเลขลงบนโทรศัพท์มือถือ จะได้ว่า ค่า LCOE เท่ากับ 0.66 บาทต่อหน่วยเท่านั้นเอง
อย่าเพิ่งปฏิเสธนะครับว่า เป็นการประเมินแบบมั่วๆ ไม่มีทางเป็นไปได้ ผมมีสิ่งให้เปรียบเทียบครับ เอกสารในแผ่นภาพนี้ (จากการเปิดเผยของ Bloomberg) พบว่า บริษัทที่ชนะการประมูลเพื่อผลิตในประเทศซาอุดีอาระเบีย มีค่า LCOE เพียง 0.60 บาทต่อหน่วยเท่านั้น เพราะว่าประเทศนี้เขามีแดดดีกว่าประเทศไทยและเป็นโครงการขนาดใหญ่
แต่ของเรามีพลังบุญมาเสริมครับ
ในวงวิชาการ ถ้า LCOE มีค่าเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านต้องซื้อจากสายส่งของระบบไฟฟ้า เขาเรียกว่า “Grid Parity” (หมายถึง ราคาไฟฟ้าที่ผลิตเองเท่ากับราคาที่รับซื้อจากสายส่ง)
ซึ่งราคาไฟฟ้าจากสายส่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) ค่าพลังงานที่เกิดจากการผลิต (2) ค่าสายส่ง และ (3) ค่าบริการในการจัดจำหน่ายต่อผู้ใช้รายย่อย
จากเอกสาร “อัตราค่าไฟฟ้า” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (หน้าที่ 5) พบว่า ค่า “ระบบส่ง” และ “ระบบจำหน่าย” รวมกันเท่ากับ 0.77 บาทต่อหน่วย
นั่นหมายความว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่โครงการนี้ผลิตได้ซึ่งเท่ากับ 0.66 บาทต่อหน่วยนั้น ได้ต่ำกว่า 2 ค่าที่กล่าวแล้วรวมกัน
เหตุการณ์เช่นนี้ มีนักวิชาการบางคนเรียกว่าเป็น “God Parity” หรือ “เท่ากับที่พระเจ้าให้มา”
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลสงฆ์ภาคอีสานครั้งนี้ ไม่ใช่เหตุการณ์ธรรมดาๆ ที่จะถูกมองข้ามไปได้ แต่มันคือสิ่งที่จะนำไปสู่การพลิกผันครั้งใหญ่ของโลกเลยทีเดียว
มันจะไม่พลิกผันได้อย่างไร ในเมื่อต่อให้ต้นการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินรวมทั้งก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ (ซึ่งได้ก่อปัญหาสารพัดต่อโลก) เป็นศูนย์หรือไม่มีต้นทุนเลยแล้ว ไฟฟ้าที่มากับระบบสายส่งยังแพงกว่าราคาไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตเอง หรือ “พระเจ้าให้มา” ซึ่งก็อยู่แค่เอื้อมเหนือศีรษะเราเอง ใครที่ยังไม่เชื่อในสิ่งที่ผมได้เรียนมาแล้วก็ไม่เป็นไรครับ ค่อยๆ นำไปคิด แต่ผมเองเชื่อและมั่นใจมากครับ
ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณได้กรุณาโทร. (ล่าสุด) มาบอกผมว่า ขณะนี้ยอดเงินที่รับบริจาคได้ครบแล้วครับ พร้อมกับได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากมีการรวมกลุ่มกันสั่งซื้ออุปกรณ์ครั้งละมากๆ เช่น 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป ก็จะได้ราคาต่ำกว่านี้อีก ในด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ก็มีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ทางโรงเรียนศรีแสงธรรมก็ได้นำมาให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้แล้วเชิญไปเรียนรู้ได้เลย
7. สรุป
โครงการที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นความร่วมมือของภาคประชาสังคมที่เริ่มต้นจากคนเล็กๆ ตั้งแต่การริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลสงฆ์เพื่อดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธเมื่อเกือบ20 ปีมาแล้ว เป็นพลังของเจตนารมณ์ที่จะทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกาะเกี่ยวและพัฒนาจนมาถึงปัจจุบัน อาจจะดูชักช้าไปบ้างในความรู้สึกของบางคน แต่มันก็มีมวล มีพลัง มีโมเมนตัมและขยายวงเติบโตขึ้นเป็นลำดับ พวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลจะไม่รู้สึกหนาวบ้างเชียวหรือ
ที่สำคัญกว่านั้นมันได้เริ่มเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “เท่ากับที่พระเจ้าให้มา (God Parity)” แล้ว